อ่านความเข้าใจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


ความเข้าใจเพียงเบาบางที่เกิดจากการรับข้อมูลผิวเผิน ได้ย้อมสีของความสงสัยและห่วงใยให้กลายเป็นความกังขา ประหลาดใจ และหลายๆ ครั้งได้แปรรูปเป็นความเบื่อหน่ายที่จะรับทราบการตายด้วยน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเอง

สามจังหวัดชายแดนภาคใต้  ในสายตาของคนที่ไม่อยู่ในพื้นที่และไม่เข้าใจวิถีคิด ชีวิตและศาสนา ดูเป็นเรื่องที่เลื่อนลอยและเต็มไปด้วยความขัดแย้ง น่าหวาดกลัว และคำถามที่เพื่อนมนุษย์นอกพื้นที่หลายๆคนคงอยากถามด้วยความสงสัย เป็นห่วง คือ คนที่อยู่ที่นั่นเป็นอย่างไรบ้าง

ความเข้าใจเพียงเบาบางที่เกิดจากการรับข้อมูลผิวเผิน ได้ย้อมสีของความสงสัยและห่วงใยให้กลายเป็นความกังขา ประหลาดใจ และหลายๆ ครั้งได้แปรรูปเป็นความเบื่อหน่ายที่จะรับทราบการตายด้วยน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเอง

เมื่อได้รับหนังสือ ชื่อ ที่เกิดเหตุ ของ วรพจน์ พันธุ์พงศ์

%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%95%e0%b8%b8+%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%88%e0%b8%99%e0%b9%8c+%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b9%8c%e0%b8%9e%e0%b8%87%e0%b8%a8%e0%b9%8c 

จากเพื่อนคนหนึ่งที่ส่งมาให้อ่าน ก็ได้พบกับข้อมูลและรูปภาพกว่าร้อยรูปที่ทำให้ภาพของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ชัดเจนขึ้น

หนังสือไม่ได้สร้างความสบายใจต่อสถานการณ์ ไม่ได้ทำให้ปัญหาที่ดำเนินอยู่เบาบาง และไม่ได้จบลงแบบนวนิยาย แต่บันทึกที่ถ่ายทอดผ่านปากกาและเลนส์ขาวดำของคนที่ลงไปอยู่ในพื้นที่ 1 ปี ได้สร้างแรงจูงใจที่จะมองปัญหาอย่างเข้าใจมากขึ้น และนั่นคือเสน่ห์ในงานเขียนที่ วรพจน์ พันธุ์พงศ์ ทำได้อย่างเย้ายวนในหนังสือเล่มนี้

อันที่จริง สำหรับนักอ่านที่สนใจหนังสือที่มีประเด็นชัดเจน มีข้อมูลจากประสบการณ์ตรง และไม่ละเลยบริบทเชิงสังคม คงคุ้นเคยกับงานเขียนของ วรพจน์ พันธุ์พงศ์ กันดีอยู่แล้ว เช่นหนังสือชื่อ เสียงในความทรงจำ ที่คุณ  Kati เขียนแนะนำไว้อย่างละเอียดก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจน

และสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ที่เกิดเหตุ เป็นหนังสือที่น่านำมาใช้ประกอบการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่ได้เห็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านสายตาของคนนอกที่ลงไปคลุกในพื้นที่ ยังมีรูปภาพชีวิตที่ไม่เคยเห็นบ่อยนักของชาวบ้านร้านถิ่นรวมทั้งภาพปัญหาผ่านสายตาของทหารที่ต้องหมุมเวียนไปปฏิบัติงานในพื้นที่ประกอบทั้งเล่ม

 

...ปิดท้ายด้วย..ส่วนหนึ่งจากหนังสือค่ะ.....

....ทั้งที่เสียงสวดจากสองศาสนายังสอดประสาน...ทั้งที่เสื้อผ้า ชุดคลุมกายบุรุษสตรีงดงาม สงบ

มาลัยดอกมะลิในมือผู้เฒ่ามุสลิมหอมจรรโลงใจ..โรตีและข้าวยำยังน่ากิน ใบหน้าเด็กหญิงชายคงความน่ารัก

ทว่าโรงเรียนนับร้อยแห่งประกาศปิดการเรียนการสอนกลางเทอม...ปิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า.....

 

คุณๆ ละคะ....มองและเข้าใจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กันอย่างไรบ้าง..เชิญแลกเปลี่ยนกันค่ะ

หมายเลขบันทึก: 125135เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2007 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

ผมเห็นด้วยว่าเราเพียงแค่ "เข้าใจเพียงบางเบา"

         แล้วเราก็ถกเถียงกันบนความไม่รู้ และเกลียดชัง ยิ่งเมื่อมีเหตุความรุนแรง เราก็ยิ่งมองเป็นความแปลกแยก

          ทั้งที่จริง ผู้คนที่นั่นเขาพยายาม อยู่ สร้าง ร่วมมือ ช่วยเหลือ แก้ไข  เพื่อให้ทุกสิ่งกลับมาได้

           ผมไม่รู้รายละเอียดของชีวิตผู้คนที่นั่นนัก และไม่เคยมีวิธีการสร้างเสริมความเข้าใจระหว่าง ผู้คนอย่างชัดเจนนัก ทั้งในด้านนโยบายที่ผ่าน ๆ มาและ การปฏิบัติต่อกัน

          แต่จากการได้พูดคุยกับเพื่อน ๆ ทางใต้ และกับเพื่อนจากที่อื่นที่ไปใช้ชีวิตที่นั่น พวกเราที่นั่นล้วนมีสิ่งที่ยึดโยงกันไว้ด้วยความรักและความเป็นชาติเดียวกัน

         สิ่งหนึ่งที่ผมยังติดอยู่ในความรู้สึกที่ต่อว่าภาครัฐด้านการเสริมสร้างความเข้าใจคือ

         แบบเรียนภาษาไทยที่ผมเคยเรียนไม่เคยมีเรื่องราวของเพื่อน ๆ ที่ภาคใต้นัก ( ดูเรื่องมานี มานะ ปิติ ชูใจ ใครหายไปไหน ) และนั่นคือสิ่งที่นำมาซึ่งความไม่รู้และไม่เข้าใจกันบ้าง

         แต่เรามีเวลามีทาง มีโอกาส  ที่จะทำความรู้จัก ความรักความเข้าใจที่มีต่อกันได้ ตั้งแต่วันนี้

        ขอบคุณครับ  ขอให้เพื่อนทางใต้มีความสุขและขอให้เหตุการณ์ร้ายผ่านไปโดยความดีและความเข้าใจ

 

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์ ..

ยอมรับจริง ๆ ว่า ไม่ค่อยรู้รายละเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้   จากข่าวก็ทราบว่าสถานการณ์นี้มีมาร่วม 20 ปี    แต่เพิ่งมาปะทุเดือดไม่กี่ปีนี้   ทำให้มีผู้เสียชีวิตมาก

รู้เท่านี้เองค่ะ  TT_TT

แต่ก็นึกเป็นห่วงคนที่นั่นนะคะ

หนังสือเรียนในอดีต ในระดับไหนๆ ก็ตาม ไม่เคยสร้างความเคารพวัฒนธรรมของคนอื่นเลย.......จริงไหมคะ...เราสนับสนุนให้คนเก่งแบบศรีธนนชัย...และถูกหล่อหลอมวัฒนธรรมของการกลัวผู้มีเงิน และอำนาจที่มาจากตำแหน่งงานและการศึกษา...เราถูกใส่ความคิดว่า การศึกษาคือรายได้มากขึ้น หรืออีกนัยยะหนึ่งการศึกษาคือโอกาสเอาเปรียบคนอื่นมากขึ้น.... 

ส่วนหนึ่งของหนังสือ..บอกเล่าความคิดของคนๆ หนึ่งที่นั่นว่า...."คนเราไม่ต้องเรียนเยอะก็ได้ ขอให้เป็นคนดี ดีกว่า รู้กาลเทศะ จิตใจดี เอื้อเฟื้อเพื่อนพี่น้อง ผมว่าตรงนี้สำคัญกว่า".....

นักการศึกษาถ้าอ่านถึงตรงนี้..คงต้องทอดถอนใจหากยังไม่สามารถสร้างหลักสูตรที่จะดูแลลูกๆของเขาเหล่านั้นให้ไปสู่ความดีงามอย่างที่เขาต้องการ

 

ดิฉันตื่นเต้นที่พบว่า คุณmr. สุมิตรชัย คำเขาแดง มีโอกาสดีมากที่มีเพื่อนในพื้นที่จนสามารถบอกเล่าได้ว่า ทั้งที่จริง ผู้คนที่นั่นเขาพยายาม อยู่ สร้าง ร่วมมือ ช่วยเหลือ แก้ไข  เพื่อให้ทุกสิ่งกลับมาได้

เขาเหล่านั้นทำอย่างไรกันบ้าง....ช่วยเล่าสุ่กันฟังด้วยเถอะค่ะ

มันคือความอึดอัดกับความไม่ชัดเจนในสิ่งที่เกิดขึ้น...อย่างนั้นด้วยใช่ไหมคะ....

ลองอ่านหนังสือเล่มนี้ดูนะคะ...บางอย่างถึงจะยังไม่แน่ใจ ไม่เข้าใจทั้งหมด....แต่รูปภาพข้างในเล่ม..สื่อบางอย่างที่ทำให้สะท้อนใจ....

บันทึกหนึ่งเขียนว่า "ผมเป็นคนขี้หนาวที่ชอบหน้าฝน ยิ่งในเมืองที่ฝนตกแทบทั้งปีอย่างปัตตานีก็ยิ่งชอบ..ชอบและนึกไม่ถึงจริงๆว่าโลกนี้ยังมีผู้หญิงคนหนึ่งงกอดลูกนอนผวา ทุกครั้งที่ฟ้าร้องไห้"....

เมื่อคืนฝนตก..พี่ซุกตัวลงในผ้าห่มเพื่อหนีไกลความหนาว....พร้อมๆกับคิดว่า...ที่เกิดเหตุที่ดูเหมือนห่างไกลและดูๆเลื่อยลอยนั้น..จริงๆแล้ว...อยู่บนแผ่นดินเดียวกับเรานี่เอง....หากพี่ตะแคงตัวแนบหูลงเพื่อฟังให้ชัดๆ พี่อาจจะได้ยินเสียงสะอื้นของคนแทรกทะลุผิวดินขึ้นมาก็ได้....

  • อาจารย์ คะ ..

ค่ะ  เพราะความไม่ชัดเจนของอะไรหลายอย่าง  ก็เลยทำให้รู้สึกอึดอัด   อยากรู้เหลือเกินว่าคนในพื้นที่เขาต้องการอะไรและรู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นนี้   แต่ก็หวังให้ทุกอย่างคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น

และบันทึกที่อาจารย์ยกตัวอย่างมา .. อ่านแล้วเศร้าเหลือเกิน

ขอบคุณค่ะ

หวังให้ทุกอย่างคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ค่ะ เราต่างก็หวังเช่นนั้น...หวังเหมือนที่เราต่างหวังให้ทุกแห่งบนโลกใบนี้ สงบ สุข และสบาย

เราต่างพยายามข่มอาการกระวนกระวายใจต่อสิ่งที่มันเกิดขึ้น ...และหวังว่ามันจะผ่านไป

และเราก็ต่างหวังว่า "ผู้ที่เกี่ยวข้อง" มองเห็นปมของปัญหาและแก้ไขได้ตรงจุด

...

หนังสือเล่มนี้เท่าที่พี่อ่านและทำความเข้าใจ....กำลังพยายามจะบอกบางอย่างที่เป็นเงื่อนไข เป็นปม และเป็นสิ่งที่ ผู้คนทั่วไปควรจะ "พยายาม" อีกสักนิดในการเห็นและยอมรับว่า ทุกๆ คนล้วนเป็นเงื่อนไขของปัญหา

ที่จริงมีส่วนที่น่าทึ่งคือ ภาพถ่ายด้วยฟิลม์ขาวดำ ประกอบหนังสือ จากฝีมือของช่างภาพชื่อ ธวัชชัย พัฒนาภรณ์ ...เห็นมุมกล้องกับการถ่ายทอดชีวิตผ่านเลนส์แล้ว...รู้สึกว่า ได้ใจจริงๆค่ะ

 

...ไม่ได้มาโปรโมทหนังสือนะคะ.....เพราะไม่รู้จักทั้งนักเขียนและสำนักพิมพ์....แต่ว่ามีไม่กี่สำนักพิมพ์ที่รู้สึกว่า เห็นชื่อก็อยากอ่านหนังสือของเขา....openbooks คือสำนักพิมพ์หนึ่งที่พี่ยอมรับงานที่เขาเลือกขึ้นมาพิมพ์ค่ะ.... 

 

สวัสดีครับ

วันนี้ผมสามารถบังคับตนเองให้ว่างได้  ช่วงรอกลับบ้านเลยมีโอกาสได้อ่านบันทึกนี้เป็นบันทึกแรก -

ปัญหาชายแดนภาคใต้ซับซ้อนและละเอียดอ่อนมาก  พี่เขยของคนที่บ้านซึ่งเป็นทหารเลบ่าเหตุการณ์จริงของการไปปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างน่าฟัง

หลายเรื่องก็เป็นเรื่องธรรมดา  คนที่นั่นได้ยินเรื่องราวพร้อม ๆ กับคนทั่วประเทศผ่านสื่อโทรทัศน์  ขณะที่บางเรื่องก็ราวกับมีความตายเดินเกาะติดอยู่ทุกจังหวะก้าว

...

ส่วนหนังสือเล่มนี้ผมดูแค่ปกก็ชอบแล้วครับ ,  รูปภาพและโทนสีนำเสนอได้อย่างมีนัยสำคัญ ...

ไม่กี่วันนักศึกษาปัญญาชนของชาติถูกยิงตาย  และนี่คือสัญญาณอะไรบ้างหรือเปล่า ...

.....

ตอนนี้ผมก็ทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดีที่สุด และไม่ลืมสวดภาวนาให้พี่น้องไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ....

และความความสุขแห่งชีวิตมาเยือนคนไทยทั้งประเทศอย่างเป็นนิรันดร์

ขอบพระคุณครับ -

ผมขอภาวนาให้เหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จงสงยสุขโดยเร็ว

เมื่อไหร่เหตุการณ์จะสงบหนอ นึกถึงวันที่ขับรถเล่นลงใต้ไปเป็นสิบวัน แวะเที่ยวรายทางไปเรื่อย จุดมุ่งหมายปลายทางที่เบตง ใช้เวลาอย่างแสนเป็นสุขที่เมืองเล็กๆ เช้ากินติ่มซำ สายๆ ถีบจักรยานเล่น บ่ายก็จับนก (เล่นไพ่นกกระจอก) จิบน้ำชา โอ้แสนจะสุขใจ วันคืนแบบนี้จะได้สัมผัสอีกมั้ย คงต้องรอให้ทุกอย่างดีขึ้น สงสารเพื่อนๆ ต้องเลิกกิจการ อพยพครอบครัวมาอยู่กรุงเทพฯ กันหมด เคยอยู่กันอย่างเป็นสุขทุกคืนวัน เดี๋ยวนี้ไม่มีใครกล้ากลับไป ทิ้งบ้านช่องให้รกร้างว่างเปล่า

ตอนเห็นปกของหนังสือ ก็รีบพลิกไปดูชื่อคนออกแบบปกค่ะ คือคุณปราบดา หยุ่น

สีเขียวตัดกับสีแดง บาดลึกในอารมณ์

ส่วนหนึ่งของหนังสือที่ทำให้รู้สึกหนาวเข้าไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ คือคำสัมภาษณ์หนึ่ง

"มือถือกับปืน ขาดไม่ได้เด็ดขาด ยิ่งเวลาขับรถนี่ต้องวางไว้ข้างตัวตลอด เกิดเรื่องอะไรขึ้นมายิงไว้ก่อน"

 

มันชวนหนาวไม่น้อย....

 

ขอบคุณค่ะ...ดิฉันก็ภาวนาเช่นกันค่ะ

ได้ข่าวว่า โครงการบ้านจัดสรรที่สงขลา ขายได้อย่างรวดเร็ว.....

ยะลาเคยเป็นความฝันว่าจะไปเยือนค่ะ...อืม..ยังฝันอยู่นะ....ตอนนี้ส่งใจไปก่อน...

สวัสดีค่ะ...ตามมาอ่านค่ะ...มีหนังสือเล่มนี้อยู่เหมือนกันค่ะ..แต่ยังมิได้อ่าน...มีทั้งพี่สาว พี่เขย หลานๆ อยู่ในพื้นที่...รับฟังเหตการณ์ ด้วยความเข้าใจ...ทำใจ...
หลานชายวัย ประถม 4 เคยมีความเครียด...เนื่องจากเธอกลัวออกจากบ้านแล้วไม่ได้กลับมาเจอแม่อีก...จนต้องปรึกษาจิตแพทย์ไป รอบหนึ่งแล้ว ได้รับคำแนะนำ..ตอนนี้อาการดีขึ้นแล้วพร้อมกับออกมานอกพื้นที่...มาเรียนโรงเรียนประจำที่หาดใหญ่แล้ว...

  • ยังไม่ได้อ่านครับพี่สร้อย
  • ตอนที่น้องอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ 4 ปีก็มีความสุขดี
  • มีเพื่อนมัสลิมมากเลย
  • แต่ปัจจุบันไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรบ้าง
  • จะตามไปหาอ่านนะครับ
  • ขอบคุณครับ

ดีนะครับที่มีผู้รู้ขยายข้อเท็จจริงให้สังคมกว้างรู้เท่าทันด้วย

แม้ว่าจะมีภรรยาเป็นคนใต้  มีญาติพี่น้องอยู่ในเขต 3 จังหวัดนั่น และมีครูบาอาจารย์ มอ.ที่สนิทสนมกัน แต่ก็มิกล้าที่จะแสดงความเห็น

เพียงไม่อยากให้ความรุนแรงมันเกิดขึ้น  และมีส่วนช่วยอย่างใดก็อยากทำครับ

สวัสดีค่ะ คุณ. metta

  • น่าสงสารเด็กนะคะ....เป็นการปรับตัวที่จำเป็นไปเสียแล้ว
  • ดูรูปถ่ายในหนังสือ...ดูสงบ หาดทรายน่าเล่นน้ำ ตลาดดูมีชีวิตชีวา เด็กๆ ตาใสแจ๋วร่าเริง....ดูเป็นเมืองน่าอยู่มากๆเลยค่ะ...เมื่อเทียบกับจังหวัดใหญ่ๆอย่างเชียงใหม่ที่เริ่มจะแออัดมากขึ้นๆ
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาเล่าสู่กันฟัง

สวัสดีค่ะ น้องขจิต ฝอยทอง

  • พี่เคยไปใต้สุดที่สตูล....ได้กินแกงเหลืองกับผักเป็นกระจาด และกินน้ำพริกปลาทูกับผักสดเยอะมาก....ไปทะเลบันที่เงียบมากๆ ...พบเจอผู้คนที่ใจดี..
  • ภาพความน่ารักเหล่านั้นยังไม่เลือนแม้จะผ่านมานานมากแล้วค่ะ
  • ยังอยากไปอีกถ้ามีโอกาสค่ะ..ทุกวันนี้ก็ยังชอบกินแกงเหลืองอยู่นะ

สวัสดีค่ะ พี่บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

  • อันที่จริงก็คงมีหลายเวทีที่พยายามทำให้เกิดความเข้าใจกับคนนอกพื้นที่นะคะ...หนังสือเล่มนี้ก็มีส่วน
  • ที่ประทับใจคือนักเขียนและช่างภาพใช้เวลาในพื้นที่ และพูดคุยกับคนในพื้นที่แบบประสบการณ์ตรง บางส่วนก็เกี่ยวกับสามจังหวัดโดยตรง บางส่วนก็เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตของคนบางคนที่อยู่ที่นั่น...
  • เหมือนอ่านเรื่องเล่าน่ะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยือน

 

เพื่อนจ๊ะ

เรื่องที่เจอ ทำให้ต่อมความสุขอักเสบไประยะหนึ่งจ้ะ

 

เพื่อนจ๊ะ

  • แวะมาอนุโมทนาบุญเน้อ
  • ไปเจออยู่ที่บล็อกครูบา
  • "เต่า"บ่กล้าเขียนตี้บล็อกเปิ้น เลยมาบอกไว้ตี้นี่ อิ..อิ..

คุณเพื่อนที่รัก

แวะไปตอบใน เกร็ดไอที..ในโรงเรียน แล้วนะจ๊ะ....

อยู่บนดอยอากาศดี..มีแฮง....ลงมาในเมืองอากาศหนักๆ...ง่วงตลอดเลย...อือ...

  • ตามมาขอบคุณอีกรอบ
  • ว่าแต่ว่าเราชวนพี่สองอึ่ง
  • ไปเที่ยวใต้กันดีไหม
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์น้องขจิต

  • good ideaจ้า
  • คุณเพื่อนอึ่งและคุณน้าอึ่ง ทราบแล้วเปลี่ยนค่ะ
  • แต่ว่าไปเที่ยวใต้นี่..ใต้อะไรคะ ลำพูนหรือว่าโคราชจ๊ะ
  • อิอิ
  • เที่ยวไหนคะ..เที่ยวไหน
  • เห็นตาโตๆ ด้วยความกระหายของดิฉันไหมเนี่ย

คุณเพื่อน dd_L

ชวนไปมุกดาหาร..จะไปไหนจ๊ะ

มาเยี่ยม   คุณ
P
ผมพึ่งออกมาจาก 3 จว. นั้นเมื่อมีนา 49...
ที่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป...แล้ว...
ทุกสิ่งล้วนอนิจจัง...

เพื่อนจ๊ะ

  • มีเรื่องพึงระวังในการพิมพ์วิทยานิพนธ์   ไปดู ที่นี่ นะจ๊ะ
มือถือกับปืน ขาดไม่ได้เด็ดขาด ยิ่งเวลาขับรถนี่ต้องวางไว้ข้างตัวตลอด เกิดเรื่องอะไรขึ้นมายิงไว้ก่อน" .../// สะท้อนเรื่องราวความปลอดภัยที่แสนเปราะบางของสังคมอย่างน่าเป็นห่วง.. /// ผมแวะมาทักทายครับ ฯ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ umi

ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไม่เว้นสักตารางนิ้วบนโลกนี้นะคะ

สวัสดีจ๊ะ คุณเพื่อนdd_L

ตามไปอ่านแล้ว...ตลกดี...ขอบคุณนะคะได้หัวเราะก่อนเที่ยง

สวัสดีค่ะ คุณแผ่นดิน

ขอบคุณที่แวะมาทักทาย...

บางครั้งอ่านข่าวแล้วต้องเตือนตัวเองไม่ให้รู้สึกชินชาจนเฉยเมยกับความเปราะบางเหล่านี้อยู่เหมือนกันค่ะ....ชีวิตคนนี่เปราะบางจริงๆนะคะ....ดูข่าวเครื่องบินตกที่ภูเก็ตยิ่งเห็นถึงความไม่เที่ยงแท้และทำนายไม่ได้เลยของการมีชีวิตอยู่...ได้แต่เร่งรีบว่าจะทำความดีอะไรได้บ้างในวันแต่ละวัน...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท