ทำไม น้ำมันมะกอกดีกับสุขภาพ


ฝรั่งมีน้ำมันมะกอก ไทยเราก็มีน้ำมันรำข้าวกับพริก...

พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังเรื่องคุณค่าของน้ำมันมะกอกมาแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้มีข่าวดีสำหรับท่านที่ชื่นชอบน้ำมันมะกอกครับ...

เลือดคนเรามีสารเคมีจำนวนมากที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายค้านในการส่งเสริมการแข็งตัวของเลือด (blood clotting)

  • ถ้าปัจจัยส่งเสริม(ฝ่ายสนับสนุน)การแข็งตัวของเลือดทำงานมากเกินไป > อาจทำให้เลือดแข็งตัวง่ายเกิน เกิดโรคเส้นเลือดอุดตันได้ง่าย
  • ถ้าปัจจัยยับยั้ง(ฝ่ายค้าน)การแข็งตัวของเลือดทำงานมากเกินไป > อาจทำให้เลือดไม่แข็งตัว หรือไม่เกิดลิ่มเลือด ทำให้เกิดโรคเลือดออกง่าย หรือตกเลือดได้

ปัญหาที่พบบ่อยคือ ปัจจัยส่งเสริมการแข็งตัวของเลือดทำงานมากเกินไป หรือปัจจัยที่ยับยั้งการแข็งตัวของเลือดทำงานน้อยเกินไป ทำให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันเส้นเลือด เช่น เส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมอง ฯลฯ

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์ฟรานซิสโก เปเรซ-ไฮโมเนซ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยไรนา โซเฟีย เมืองคาร์โดบา สเปนทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 21 คนที่มีโคเลสเตอรอล(ไขมันในเลือด)สูง

ท่านแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม

  • กลุ่มที่ 1 > ให้กินขนมปังขาวกับน้ำมันมะกอกชนิดสีเข้ม (virgin) ซึ่งมีสารฟีนอล (phenols) หรือสารพฤกษเคมี(สารคุณค่าพืชผัก)สูง
  • กลุ่มที่ 2 > ให้กินขนมปังขาวกับน้ำมันมะกอกที่สกัดสารฟีนอลออก ทำให้สารพฤกษเคมีต่ำ

เมื่อเจาะเลือดหลังอาหาร 2 ชั่วโมงไปตรวจพบว่า

  • กลุ่มที่กินน้ำมันมะกอกชนิดสีเข้ม (virgin) มีสารส่งเสริมการแข็งตัวเลือดชนิดแฟคเตอร์ 7 (factor VII) ต่ำลงมากกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง
  • กลุ่มที่กินน้ำมันมะกอกชนิดสีเข้ม (virgin) มีสารส่งเสริมการแข็งตัวเลือดอีกชนิดหนึ่ง (plasminogen activator inhibitor-1) ลดลง

 

การที่สารพฤกษเคมีในน้ำมันมะกอกสีเข้มช่วยลดการทำงานของสารสนับสนุนการแข็งตัวของเลือดอาจอธิบายได้ว่า

ทำไมคนที่กินน้ำมันมะกอกสีเข้ม (virgin / extravirgin) โดยเฉพาะคนที่กินอาหารเมดิเตอร์เรเนียนจึงมีแนวโน้มจะมีอายุยืนอย่างมีคุณภาพ

 

ปัญหาคือ น้ำมันมะกอกชนิดสีเข้มมีราคาแพงมาก ประมาณลิตรละ 420  บาทขึ้นไป

น้ำมันชนิดอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันมะกอกได้แก่ น้ำมันถั่วลิสง(มีจำหน่ายในพม่า) และน้ำมันรำข้าว

พริกและพืชผักสมุนไพรในอาหารไทยอีกหลายชนิดมีส่วนช่วยป้องกันสารส่งเสริมการแข็งตัวของเลือดทำงานมากเกินไป

วิธีง่ายๆ ที่พวกเราอาจนำไปประยุกต์ใช้ได้คือ

  • ใช้น้ำมันรำข้าวผสมน้ำมันถั่วเหลือง > น้ำมันรำข้าวมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ส่วนน้ำมันถั่วเหลืองมีโอเมกา-3 ค่อนข้างสูง
  • กินพริก > พริกช่วยป้องกันไม่ให้ปัจจัยส่งเสริมการแข็งตัวของเลือดทำงานมากเกิน
  • ถ้ากินข้าวกล้อง ผัก น้ำพริกได้วันละ 1 มื้อ > จะได้อาหารแคลอรีต่ำ ช่วยป้องกันโรคอ้วนและโรคอ้วนลงพุง

ถ้าต้องการเลือกสรรน้ำมันรำข้าวชนิดดีพิเศษ ซึ่งมีสารโอรีซานอลสูงมาก ส่วนใหญ่ส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ เรียนเสนอให้ซื้อที่เซ็นทรัล 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

ข่าวประกาศ...                                                  

ข่าวประกาศ...                                                  

  • ผู้เขียนจำเป็นต้องปิดส่วนแสดงความคิดเห็นไปพลางก่อน เนื่องจากไม่มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงใช้
  • ตอนนี้ผู้เขียนต้องขับรถไปขอใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำที่โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี (ADSL เหมือนกัน แต่เส้นเดียวแบ่งใช้ทั้งโรงพยาบาล) ห่างออกไปคราวละ 7 กิโลเมตร
  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มีนโยบายที่จะไม่ตอบปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้เขียนมีงานมาก อินเตอร์เน็ตลำปางช้า+หลุดบ่อย และใช้เวลาเตรียมเขียนเรื่องใหม่+แก้ไขคำหลัก (keywords) ย้อนหลัง

ขอแนะนำ...                                                    

  • รวมเรื่องสุขภาพ > "สุขภาพเส้นเลือด"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "ฉลาดใช้น้ำมัน / น้ำมันชนิดดีกับสุขภาพ"
  • [ Click - Click ] 
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "สุขภาพหัวใจ"
  • [ Click - Click ]
  • ขอแนะนำบล็อก > "บ้านสาระ"
  • http://gotoknow.org/blog/talk2u

    แหล่งที่มา:                                      

  • Many thanks to Reuters > Virgin olive oil may help keep blood clot-free > [ Click ] > August 20, 2007. // source: American Journal of Clinical Nutrition. August 2007.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สำหรับการเอื้อเฟื้อทุกสิ่งทุกอย่างในการประชุม km เชียงใหม่ > 13-15 สิงหาคม 2550.
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ และทีม IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 4 กันยายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 125023เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2007 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท