จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ไวรัสที่สามารถสะท้อนพฤติกรรม


คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะโน้ตบุคกลายเป็นสิ่งที่ติดกายผมไปเกือบทุกที่เหมือนๆ กับนาฬิกาข้อมือ เพียงแต่น้ำหนักมันต่างกันเยอะ วันไหนไม่ได้หิ้วมันไปด้วยรู้สึกเหมือนขาดๆ อะไรสักอย่าง และส่วนใหญ่วันที่ไม่ได้พาไปด้วย มักจะต้องใช้เป็นประจำ

ผมเชื่อว่าหลายคนจะมีพฤติกรรมใช้โปรแกรมในเครื่องเหมือนๆ กับผม คือ ลงโปรแกรมไว้เยอะ แต่ใช้จริงไม่กี่โปรแกรม (แฮะแฮะ)

เมื่อวานผมเพิ่งรู้สึกตัวครับว่า มีบางอย่างในเครื่องผมหายไป คือ เมนู all Programes ที่อยู่ในปุ่ม start เหตุที่เพิ่งรู้ตัว เนื่องจากปกติ จะเลือกใช้โปรแกรมที่ปรากฏอยู่เหนือเมนู all programes เพราะจริงๆ ใช้อยู่ก็ประมาณนั่นแหละ แต่พอจะใช้โปรแกรมอื่นปรากฏว่า ไม่มีให้เลือกเสียแล้ว สงสัยโดนรังแกจากไวรัสตัวใดตัวหนึ่ง

ใครมีวิธีแก้ไข รบกวนช่วยหน่อยนะครับ 

ปัญหาที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น น่าจะเป็นเรื่องของลิขสิทธิ์ครับ เพราะทั้งหมดทั้งมวลที่เราใช้ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมละเมิดสิทธิ์ของผู้ผลิต ซึ่งหากมาคำนวณเล่น ผมว่ามูลค่าสิ่งที่เรากำลังละเมิดกันอยู่ในประเทศไทยน่าจะเป็นหมื่นๆ ล้านแล้วละครับ (หรือมากกว่านั้นก็ไม่ทราบ)

คำถามคือ ทำอย่างไรให้เราใช้โปรแกรมอย่างถูกลิขสิทธิ์

จริงๆ ผมว่า มันไม่ยากครับ หากเรามีเงินเราก็ซื้อ หากไม่มีเงิน เราก็ใช้ของฟรีเสีย ของฟรีในโลกอินเตอร์เน็ทก็มีเยอะครับ และก้อใช้ได้ดีพอๆ กับโปรแกรมที่ต้องจ่ายสตังค์

ปัญหาของการใช้ของฟรี คือ การไม่เป็นที่นิยม ซึ่งอันนี้ผมว่า มหาวิทยาลัยต้องร่วมกันสร้าง และเป็นแบบอย่าง เพราะกระบวนการเรียนรู้เทคโนโลยีส่วนใหญ่เริ่มมาจากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาต่างๆ

เริ่มกันที่ การสอนวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ก็ไม่ควรไปส่งเสริมการตลาดให้กับไมโครซอฟท์ให้มากนัก หันมาสอนนักศึกษาด้วยโปรแกรมฟรีต่างๆ เช่น ระบบปฏิบัติการก็ใช้ลีนุกซ์ ออฟฟิศก็ใช้ ออฟฟิศปลาดาว ปลาวาฬ เป็นต้น ใช้เราเริ่มสอนนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ด้วยสิ่งนี้ พวกเขาเหล่านี้ก็จะพัฒนาทักษะและเลือกใช้สิ่งนี้ต่อไปเช่นกันครับ

อันต่อมาคงต้องเริ่มสร้างค่านิยมในเรื่องของลิขสิทธิ์กันให้มากขึ้น อย่าให้เกิดความคิดว่า เป็นเรื่องปกติของสังคม แฮะ แฮะ ไม่ใช่จะดูถูกคนไทยนะครับ แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เรื่องนี้ถูกหยิบมาเป็นประเด็นหลัก อยู่ในจิตสำนึกของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

ผมเองติดตั้งโปรแกรมทางเลือกไว้แล้วครับ แต่โอกาสการใช้ยังไม่มีสักที เนื่องจากไฟล์งานหนึ่งชิ้นจำเป็นต้องแชร์ ต้องร่วมใช้กับทีมงาน แต่เมื่อไรทุกองค์กรสำคัญในประเทศไทยตื่นตัวเรื่องนี้ ปัญหาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของไทยก็ลดลงอย่างชัดเจนครับ

คำสำคัญ (Tags): #ไวรัส#ฟรีแวร์
หมายเลขบันทึก: 124825เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2007 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ.ต้องอัฟเดรดโปรแกรมไวรัส คอมฯบ่อยๆครับ เพราะไวรัสตัวใหม่ๆมาบ่อยมาก  เครื่องมันไม่รู้จัก เหมือนคนที่ดื้อยาครับ  คอมฯมันก็ดื้อไวรัสเหมือนกัน (สมัครการอัฟเดรดได้ในเว็บ  หรือให้ร้านทำให้ก็ได้ครับ ปกติ ทางร้านเขาจะติดตั้งการอัฟเดรดอัตโนมัติไว้ให้แล้วครับ) ผมไม่แน่ในรายละเอียดการอัฟเดรดจากเว็บ  โชคดีครับอาจารย์

ขอบคุณครับ

P
ปกติผมกับอับเดทเป็นประจำอยู่แล้วครับ แต่ก็มีส่วนรั่วทุกครั้ง

บังอีย์

นอกจาก update virus definition (virus database, virus pattern แล้วแต่จะเรียก) ต้องมีโปแกรมประเภท spyware protection ไว้บ้างนะครับ เช่น Windows Defender หรือ Ad-Ware อย่างน้อยก็ scan เครื่องตัวเองไว้บ้าง

แล้วต้องระมัดระวังการลงโปรแกรมไว้ด้วยนะครับ โดยเฉพาะโปรแกรมที่ crack เขามา หรือ download จาก internet ของฟรีใน internet บางอย่างก็ไม่ได้ฟรีจริงครับ ถ้าอ่านเงื่อนไขให้ดีๆ จะมีของแถมมาด้วย

พวกของแถมพวกนี้แหละครับ ที่ทำให้เครื่องมีปัญหาอืด ใช้งานช้าได้

แล้วที่สำคัญ โปรแกรมป้องกันไวรัส ไม่ใช่ผู้วิเศษครับ บ่อยครั้งที่ตัวมันตายซะก่อนที่จะได้ป้องกัน เพราะว่าไวรัสโดยส่วนใหญ่จะเล่นงาน ยามเฝ้าประตู ก่อน เอายามได้แล้ว ทีนี้ก็ไม่เหลือหล่ะครับ เพราะฉนั้นก็ update เจ้ายาม ให้ฉลาด ตื่นๆ อยู่ตลอด และอย่าเอาของแสลงให้ยามกิน เช่น Handy Drive ครับ

สุดท้าย หมั่น update windows ให้เป็น ปัจจุบันอยู่เสมอ (Windows Update) จากเวบไซต์ของ microsoft เอง เพราะว่า windows นี่แหละตัวร้ายเลย มักจะมีช่องโหว่เยอะแยะ (ถ้าใช้ windows เืถื่อนอาจจะ update ไม่ได้นะครับ) 

 และอย่าลืม ghost หรือ clone เครื่องตัวเองไว้บ้าง เวลามีปัญหาก็แค่ เรียก image ไฟล์เก่ากลับมา ทุกอย่างก็เหมือนเดิมคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท