ดาบหนอง
ดาบ สนองชาติ ดาบหนอง มะโฮงคำ

เจ้าชาย กบ ของฝากจากเคน


กระผมนายชนะชัย (เคน ) อนันเอื้อ ขอเสนอผลงานครับผม

วิธีเลี้ยงกบ       การเลี้ยงกบในปัจจุบัน ลูกกบที่นำมาเลี้ยงได้มาจาก 2 แหล่ง คือ

1. ลูกกบจากธรรมชาติ เป็นการรบกวนกบที่มีอยู่ในธรรมชาติมาเลี้ยงในบ่อ จนกระทั่งได้ขนาดก็จับขาย สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ดังนี้                 

                          1.1 การรวบรวมลูกอ๊อดและการอนุบาล ทำการรวบรวมไข่กบที่ผสมแล้ว จากแหล่งน้ำธรรมชาติมาเพาะฟักและอนุบาลในบ่อที่เตรียมไว้ หรืออาจช้อนลูกอ๊อดกบที่พบเห็น อยู่ตามธรรมชาติมาเลี้ยง หรือโดยการจับพ่อแม่พันธุ์กบ ในช่วงต้นฤดูฝนมาเลี้ยงในบ่อเพื่อ ให้ผสมพันธุ์กันและออกไข่ในบ่อเลี้ยง เป็นต้น อุปสรรค์สำคัญของการจับลูกอ๊อดมาเลี้ยงก็คือ มักจะมีลูกอ๊อดของเขียด หรือคางคกปะปนมาด้วยผู้จับจึงต้องมีความรู้และความชำนาญในการเลือก ข้อสังเกตง่าย ๆ คือ หัวลูกอ๊อตเขียดจะแหลมกว่าหัวลูกอ๊อดกบ ขนาดตัวก็เล็กกว่ารวมทั้งลายที่หลังและเส้นขาวที่พาด ตามลำตัวก็ไม่เหมือนกัน สีที่ด้านหลังและส่วนท้องก็แตกต่างกัน และถึงแม้จะเป็นลูกอ๊อดกบ แต่กบก็มีหลายชนิด เช่น กบบัว ชี่งมีขนาดโตเต็มที่เพียงแค่ 15 กรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ของผู้เลี้ยง

การรวบรวมลูกกบจากธรรมชาติเพื่อนำมาเลี้ยงมีหลายวิธีเช่น 

                           1.1.1 การจับด้วยมือเปล่าโดยใช้ไฟฉายหรือตะเกียงส่องแล้วใช้มือตะปบ จับใส่ถุงผ้าที่สะพายติดตัวไป

                            1.1.2 การจับด้วยแห จะใช้แหที่มีตาถี่ ทอดเหวี่ยงโดยวิธีเดียวกับการจับปลา                         

                          1.1.3 การจับด้วยการขุดหลุมดัก ทำหลุมลึกประมาณ 1 เมตรในบริเวณ ที่มีลูกกบชุกชุม ก้นหลุมวางอาหารผสมหรืออาหารหมักล่อไว้ในตอนเย็น ปากหลุมราดน้ำให้ เปียกชุ่มปรับให้เรียบและลื่นเป็นมัน ลูกกบจะมากินอาหารในตอนกลางคืนแล้วไม่สามารถขึ้น จากหลุมได้ ในตอนเช้าจึงมารวบรวมลูกกบ อย่าปล่อยทิ้งไว้ข้ามวันลูกกบจะมีโอกาสตายได้มาก                           

                          1.1.4 การจับด้วยเครื่องมือดัก คล้ายไชดักปลา ด้านหน้ามีทางเข้าทางเดียว ด้านท้ายมีประตูเปิดปิดได้ เมื้อลูกกบเข้าแล้วจะออกไม่ได้ เมื่อต้องการจะใช้งานนำเครื่องมือนี้็ (อีสานเรียกแงบ)ให้ฝังดินให้พื้นล่างเสมอกับผิวดิน ปิดด้วยหญ้า ราดน้ำพอชุ่ม ด้านหน้าปรับผิวดินให้ลื่น ภายใน เครื่องมือดักใส่อาหารล่อ ลูกกบจะเข้าไปกินอาหารในตอนกลางคืน ตอนเช้าจึงรวบรวมลูกกบที่ได้        

                          1.2 การเลี้ยงลูกกบ ภายหลังจากลูกอ๊อดเจริญกลายเป็นกบแล้ว จะดำเนินการ อนุบาลจนกระทั่งเติบโตได้ขนาดจึงปล่อยลงบ่อเลี้ยง ลูกกบที่ปล่อยลงบ่อเลี้ยงนี้นิยมลูกกบ ที่มีขนาด 3-5 เชนติเมตรขี้นไป หรือถ้ารวบรวมจากธรรมชาติก็ต้องมีขนาดที่ทราบแน่นอนแล้ว ว่าเป็นลูกกบ

2. ลูกกบจากโรงเพาะฟัก
เป็นวิธีการเลี้ยงที่ดีที่สุด เพราะจะได้ผลผลิตมากและแน่นอน นอกจากนี้ต้นทุนยังต่ำ สามารถลดปัญหาการบอบช้ำจากการลำเลียงลูกกบจากธรรมชาติได้อีกด้วย วิธีนี้ลูกกบจะได้มา โดยการนำเอาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดีมาผสมกันในบ่อผสมพันธุ์ แล้วนำไข่ท็่ได้มาฟ้กใน บ่อเพาะฟกเพื่อให์ไดัลูกกบ แล้วจึงนำไปอนุบาลต่อในภายหลัง 
 

การเลี้ยงลูกอ็อดขาย          การเลี้ยงลูกอ็อดขายก็เป็นวิธีการที่เสริมสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง  โดยการอนุบาลจนได้ระยะไกล้ที่จะเป็นตัวลูกกบ  จะมีขาหลังและมีหางสั้นเข้ามานิดหนึ่งก็จะทำการจับขายได้  ระยะที่เลี้ยงประมาณ  20 วันก็ตักขายได้ ราคา กิโลกรัม  120 บาทกลุ่มลูกค้ามีทุกประเภท เพราะนำไปทำเป็นอาหารตกปลาใหญ่ได้ด้วย   

  การคัดเลือกพ่อพันธุ์

พันธุ์กบโดยทั่วไปนั้น ขนาดที่เหมาะสมส่าหรับการผสมพันธุ์คือ มีน้ำหนัก 300-700 กรัม อายุ 12-16 เดือนขึ้นไป โดยมีไข่แก่และน้ำเชื้อดี  พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์กบที่ดีควรมีลักษณะดังนี้คือ 1. มีสภาพสมบูรณ์ในระบบการผสมพันธุ์ 2. มีอัตราการเติบโตปกติสม่ำเสมอ 3. เลี้ยงบำรุงด้วยอาหารอย่างดี 4. ไม่ควรได้รับการกระทบกระเทือนที่รุนแรง 5. ไม่มีบาดแผลตามลำตัว 6. ไม่มีโรคและพยาธิเบียดเบียน 7. มีรูปร่างสมส่วนตามสายพันธุ์ 8. มีอายุถึงขั้นสมบูรณ์เพศ

การแยกเพศกบ1. ขนาดลำตัว กบเพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่ากบเพศเมีย เมื่อเลี้ยงไว้พร้อมกันหรือรุ่นเดียวกันจะสังเกตได้ง่าย

2. กล่องเสียง กบเพศผู้จะมีกล่องเสียงเป็นแผ่นกลม ๆ อยู่ใต้คางทั้งสองข้าง

3. ส่วนท้องกบเพศเมียมีดวามกว้างของลำตัวมากกว่ากบเพศผู้ และเมื่อถึงฤดูกาลผสมพันธุ์ กบเพศเมียจะมีท้องโป่งตลอดเวลา เนื่องมาจากการ เจริญเติบโตของรังไข่

4. สีในฤดูกาลผสมพันธุ์กบเพศผู้จะมีสีเหลืองเข้มหรือเหลือง ประปรายตรงบริเวณริมฝีปากล่างลงมาจนถึงใต้คาง

 5. บริเวณนิ้วโป้งในฤดูผสมพันธุ์บริเวณนิ้วโป้งของกบเพศผู้จะมี ปุ่มหยาบๆเกิดขึ้นอย่างเด่นชัด ชึ่งจะช่วยให้จับเกาะบนผิวตัวเมียได้แน่นและปุ่ม เหล่านี้จะหายไปจนกว่าจะถึงฤดูกาลผสมพันธุ์ใหม่  

การอนุบาลลูกกบจะแบ่งเป็น 2 ระยะคือ

1. การอนุบาลลูกกบระยะแรก (ลูกอ๊อด) ให้ปฎิบัติดังนี้    

                          1.1 หลังจากไข่กบฟักออกมาเป็นตัวแล้วลูกกบจะมีลักษณะเหมือนลูกปลาให้รีบช้อน ลูกกบมาปล่อยลงเลี้ยงในบ่ออนุบาลระยะแรกก่อนที่ถุงไข่แดงที่ติดมากับตัวลูกกบจะยุบหมด ส่าหรับจำนวนลูกกบที่จะปล่อยนั้นประมาณ 2,000 ตัวต่อตารางเมตร 

                         1.2 การให้อาหาร ได้แก่ไรแดงและอาหารปลาอย่างผงหรือไข่ตุ๋น ซึ่งควรเตรียมไว้ ก่อนในบ่อ พอถุงไข่แดงยุบลูกกบก็สามารถกินอาหารได้เลย                                          

                         1.3 การถ่ายเทน้ำ ควรกระทำทุกวัน วันละ 50-70 เปอร์เช็นต์ของจำนวนน้ำในบ่อทั้งหมด    

                         1.4 ควรให้อากาศกับน้ำด้วยเพื่อให้น้ำมีสภาพสะอาดจะทำให้ลูกกบกินอาหารได้มาก และเจริญเติบโตเร็ว    

                         1.5 การเจริญเติบโตของลูกกบ หลังจากฟักออกจากไข่ประมาณ 1-2 อาทิตย์ จะมีขาหลัง 2 ขาโผล่ออกมาจากส่วนท้ายของลำตัวบริเวณโคนขา เมื่อขาหลังเจริญเต็มที่ก็จะมี ขาหน้าโผล่ออกมาอีกทั้ง 2 ข้างของช่องเหงือกทางด้านหน้าของลำตัว หางจะเริ่มหดสั้นลง ปากจะเริ่มสมบูรณ์ขึ้น สามารถขึ้นกินอาหารได้เช่นเดียวกับกบตัวโต ซึ่งระยะเวลาในการเจริญ เติบโตนี้จะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 25-35 วัน จากลูกอ๊อดมาเป็นกบเล็ก

2. การอนุบาลลูกกบระยะพี่สอง (กบเล็ก) หลังจากลูกกบมีขาครบสมบูรณ์ดีแล้ว ให้ย้ายลูกกบไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลระยะที่สอง เพื่อมิให้ลูกกบกัดกินกันเอง มีหลักปฎิบัติดังนี้คือ    

                        2.1 การให้อาหาร ลูกกบที่มีขาสมบูรณ์ จะเริ่มกินอาหารที่เคลื่อนไหวได้ เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา หนอนแมลงขนาดเล็ก แต่ถ้าไม่สามารถหาอาหารดังกล่าวได้ก็ให้อาหารพวกเครื่องในสับ เศษปลาสับหรือให้อาหารผสมด้วยโดยค่อย ๆ หัดให้ลูกกบกินและควรหัดให้ลูกกบกินอาหารที่หา ได้ง่ายและมีปริมาณที่แน่นอนเช่น อาหารเม็ด 

                      2.2 การถ่ายเทน้ำ อาหารที่ให้จะทำให้น้ำเสีย ควรเปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ เพี่อป้องกันน้ำเสีย การรักษาคุณภาพของน้ำให้ดีอยู่เสมอ จะมีส่วนช่วยให้กบมีสุขภาพสมบูรณ์ ลูกกบระยะสองนี้ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน ควรคัดกบที่มีขนาดโตกว่านำไปเลี้ยงในบ่อเลี้ยงได้ เพราะลูกกบมีขนาดต่างกันหรือมีปริมาณหนาแน่นเกินไปก็จะกัดกินกันเอง

การเลี้ยงกบเพื่อส่งตลาด กบที่คัดมาจากบ่ออนุบาลระยะสองนั้น จะนำมาเลี้ยงในบ่อระยะสุดท้ายเพื่อส่งตลาด มีหลักปฎิบัติดังนี้คือ

 1.     ก่อนการปล่อยกบลงสู่บ่อเลี้ยง ให้ทำความสะอาดบ่อเลี้ยงใหเรียบร้อย ใส่น้ำสะอาดลงในบ่อเลี้ยงให้สูง 30 เชนติเมตร

2. การปล่อยกบลงเลี้ยง ควรปล่อยกบที่มีขนาดเท่ากันคือประมาณ 1.5-2.0 นิ้ว เลี้ยงในอัตรา 100 ตัวต่อตารางเมตร ในการปล่อยกบนั้นควรวางภาชนะไว้บนชานบ่อสักพักหนึ่งแล้ว เปิดภาชนะ เอียงให้กบออกจากภาชนะที่ใส่ลงสู่บ่อเลี้ยงเอง

3. การให้อาหาร ควรให้อาหารกบเป็นเวลาคือ เช้าและเย็น อาหารที่ให้เป็นพวกปลาสับ เครื่องในสัตว์หรืออาหารเม็ดของปลาดุกให้ 2 มื้อ คือเช้า เย็น ปริมาณอาหารที่ให้ประมาณ 3 เปอร์เช็นต์ของน้ำหนักตัว

 4. การตรวจขนาด ควรมีการตรวจขนาดกบอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยวัดความยาวของลำตัวและ ชั่งน้ำหนักเพื่อตรวจดูการเจริญเติบโตของกบ และเพื่อปรับปริมาณอาหารที่ให้ หากการเจริญ เติบโตของกบไม่ดีพอ ควรพิจารณาถึงปริมาณและคุณค่าของอาหารที่ให้ว่าเหมาะสมหรือไม่

 5. การตรวจสภาพบ่อ บ่อเลี้ยงกบอาจมีการรั่วซึมหรือมีรอยรั่วควรมีการซ่อมแซมแก้ไข

6. การถ่ายเทน้ำ น้ำที่สะอาดและมีการไหลผ่านตลอดเวลาจะทำให้กบกินอาหารได้ดี เจริญเติบโต ได้รวดเร็วแต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเช่นกัน แต่อย่างน้อยควรมีการถ่ายเปลี่ยนน้ำวันละครั้ง 7. การคัดขนาด คัดเลือกกบที่มีขนาดโตเท่า ๆ กัน เลี้ยงรวมไว้ด้วยกัน จะช่วยให้การเจริญเติบโต ดีขึ้น และการกัดกินกันเองลดลง

การจับและการตลาด

1. การจับ การจับกบทำได้หลายวิธี เช่น    

                          1.1 โดยใช้สวิงคลุมกันกบกระโดดหนี แล้วทยอยจับจนหมด             

                          1.2 โดยใช้ไซ ใช้ไซดักบนลานบ่อ กบจะเข้าไชในเวลากลางคืน ตอนเช้าจึงเลือกกบ ที่ได้ขนาดออกจำหน่าย 

 2. การลำเลียง ก่อนการบรรจุกบเพื่อลำเลียงจำหน่าย ควรให้กบอดอาหารเสียก่อน จะช่วยลด อัตราการตายได้มาก ลำเลียงโดยใช้กล่องกระดาษเจาะรูด้านข้างและด้านบนให้มีขนาดพอที่อากาศ ผ่านได้ ภายในบรรจุกบช้อนกันไม่เกิน 2 ชั้น ปิดฝามัดให้แน่น ในระหว่างการลำเลียงควรรักษา อุณหภูมิ หรือใช้รถปรับอากาศ และควรมีฟองน้ำชุบน้ำพอชื้นใส่ลงรวมกับกบด้วย

3.การจับขายให้กับพ่อค้า  ที่นำไปขายปลีกในหมู่บ้าน  ควรคัดกบที่ไม่แก่  ควรจับกบหนุ่มรุนกระทงเนื้อถึงจะนุ่มถูกใจลูกค้า 

หมายเลขบันทึก: 124714เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 07:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ท่าน สท.เคนฯ มีอาชีพหลายอย่างเป็น สท. เป็นนักศึกษา...เป็นนักข่าว...และยังเลี้ยงกบอีกด้วย...เก่งมาก...

ขยันจังเลยนะคะ  เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ดีมากค่ะ

การเลี้ยงกบ จะจัดให้เป็นวิสาหกิจชุมชนได้ใหมครับ....หรือถ้ารายได้ไม่พอเพียง...พอจะเลี้ยงกบสิวตื่มกันได้มั๊ยท่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท