การจัดกระบวนการ KM ให้กับ "คลื่นลูกใหม่" รุ่น 1/2550


ความรู้มีทุกอย่างให้เรียนรู้ ขึ้นอยู่กับกรอบความคิดของเราเองว่า...จะรับอะไรได้มากน้อยแค่ไหน?

     เมื่อวันที่ 30  สิงหาคม 2550  ดิฉัน  คุณอ้อ (สคส.)  คุณวีระยุทธ์  สมป่าสัก (สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร)  และ คุณจำลอง  พุฒิซ้อน ) สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ได้ไปจัดกระบวนการเพื่อถ่ายทอดความรู้ เรื่อง  การจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตรยุคใหม่ ให้กับข้าราชการ "คลื่นลูกใหม่ ของกรมส่งเสริมการเกษตร รุ่นที่ 1/2550" ณ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี

     การดำเนินงานที่เกิดขึ้นนั้นได้จัดกระบวนการเรียนรู้ คือ                 

       ขั้นที่ 1  ให้ความรู้ เกี่ยวกับ แนวคิดและหลักการ KM” โดยใช้วิธีการบรรยาย                

       ขั้นที่ 2  นำเสนอองค์ความรู้จากประสบการณ์ ตัวอย่างการปฏิบัติงานที่บรรลุผลของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร โดยใช้วิธีการเสวนากลุ่ม                

       ขั้นที่ 3  นำเสนอกรณีตัวอย่าง บทเรียนที่เกิดขึ้นจากการทำงานส่งเสริมการเกษตรกับเกษตรกรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การสรุปองค์ความรู้...จากการทำวิจัยชุมชน โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากการใช้สื่อ ได้แก่  VCD              

       ขั้นที่ 4  แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ การถอดบทเรียน โดยใช้บทเรียนจาก VCD และการทำงานเป็นทีม             

       ขั้นที่ 5  แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ ทักษะการเขียน โดยใช้เนื้อหาสาระจากประสบการณ์และความรู้ของตนเองและเพื่อนมาประมวลและสรุปร่วมกันเป็นทีม             

       ขั้นที่ 6  ประมวล สะท้อนข้อมูล และสรุปบทเรียน การจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตรยุคใหม่ ได้แก่  การประเมินสถานการณ์แล้วนำมากำหนดเป้าหมาย  การกำหนดประเด็นที่จำนำมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร  การรวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น  และการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเผยแพร่องค์ความรู้             

       ขั้นที่ 7  ประเมินผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ 

                ส่วนเนื้อหาสาระที่เกิดขึ้น จากการประมวลแนวคิด ประสบการณ์ และองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่ที่เข้าอบรม จำนวน 58 คน โดยใช้วิธีการรวบรวมเนื้อหาสาระจากการนำเสนอผลงานของการปฏิบัติงานกลุ่มสรุปได้ว่า 

     1.  การใช้สื่อ  ได้แก่  กรณีตัวอย่าง  บุคคล  VCD  และอื่น ๆ  สามารถนำมาใช้

จัดการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่เรียนรู้ถึงเทคนิคและวิธีการทำงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่กับเกษตรกรในองค์ความรู้ที่เป็นทักษะได้

     2. การติดต่อสื่อสาร เป็นสิ่งสำคัญของการทำงานส่งเสริมการเกษตรที่ควรนำเสนอโดยใช้สื่อกลางเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกคนได้เรียนรู้และรับทราบข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ตรงกันได้

     3. การจัดการเรียนรู้ควรสร้างกิจกรรมที่หลากหลาย เข้ามาใช้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ที่สอดคล้องกับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ก็จะได้รับความสนใจและเกิดการเรียนรู้ได้

     การไปทำหน้าที่ในครั้งนี้ ทำให้ดิฉันได้ข้อคิดอะไรหลายอย่าง...ของการกำหนดเป้าหมายการจัดการความรู้ ที่ต้องมองอนาคตของหน่วยงาน "3-5 ปี ข้างหน้า" โดยคนที่เป็นคลื่นลูกใหม่ช่วยกันคิด  และทำให้นึกถึงว่า  เราจะใช้ประโยชน์จากคลื่นลูกใหม่ได้อย่างไร?  และเราจะใช้ได้เมื่อไหร่?.

 

หมายเลขบันทึก: 124710เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • มีภาพบางส่วนในบันทึกนี้ครับ (ลิงค์)
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • ขอบคุณ คุณ ศิริวรรณ หวังดี  ที่บันทึกกระบวนการให้เห็นอย่างละเอียด.... 
  • ยิ่งทำ ยิ่งได้ประสบการณ์จริงๆ นะคะ
  • สวัสดีครับ อ.จือ
  • คลื่น รุ่น 2 รออยู่นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท