ปัญหา_ปัจจัยต่อต้าน_แนวทางแก้ไข***KM


ปัญหามีไว้สำหรับการแก้ไข เมื่อแก้ไขได้ถูกที่ ทำให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงที่ดียิ่งขึ้น

 

ตื่นเช้าของทุกวันดิฉันสนใจและจดจ้องกับโทรทัศน์ในการติดตามข่าวสาร......เพราะทุกวันนี้ข่าวสารถือเป็นสิ่งที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต...ทั้งน้ำมันปรับขึ้นราคา  เครื่องใช้อุปโภคบริโภคก็เตรียมขึ้นราคา  ค่าเดินทางทุกวันนี้ก็แพงขึ้น  และทุกคนคงตั้งคำถามเดียวกับดิฉันว่าทำไมเมื่อค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นแต่รายได้ไม่ได้ปรับตามไปด้วย?

 

เช่นเดียวกับปัญหาของประเทศ  ปัญหาการถ่ายทอดความรู้คือ Knowledge transfer และ Knowledge sharing  ย่อมเกิดขึ้นกับทุกที่ ทุกเวลา  และยิ่งเป็นในองค์กรแห่งการทำงานยิ่งเพิ่มปัญหาสูงขึ้นอย่างเด่นชัด   หลายคนคงเคยคิดว่าทำไมเพื่อนในที่ทำงานร่วมกันเมื่อเราถามอะไรออกไปคำตอบคือ..ไม่รู้เช่นกัน เพราะเขาทำเดา ๆ ไป...ส่งผลต่อการจบประโยคการสนทนาหรือตั้งคำถาม  นี่เป็นตัวอย่างที่ทุกคนคงเคยประสบมา  หากกล่าวไปปัญหาหรือปัจจัยต่อต้าน  คือ

          1.กั๊กความรู้  หรือการเห็นแก่ตัว..คงเป็นคำที่พูดและทุกคนคงเข้าใจได้ง่าย  คือเมื่อบุคลากรในองค์กรคิดว่าตนเองรู้มาก  มีเทคนิคในการทำงานที่รวดเร็ว  ส่งผลต่องานของตนที่ดี  และเจ้านายก็พอใจในงานแล้วทำไมต้องมาเสียเวลาในการ share ความรู้  ซึ่งอาจจะส่งผลให้งานของตนเสร็จล่าช้าหากมานั่ง share & tranfer และมีความกลัวว่าเมื่อเพื่อนร่วมงานรู้แล้วจะทำให้เก่งกว่าตนก็เป็นได้   นี่คือความคิดที่ผิดพลาดมากสำหรับองค์กรที่มีบุคลากรเล็งเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน  ไม่เล็งเห็นถึงประโยชน์ขององค์กรในภาพรวม   

             แนวทางแก้ไข  หากองค์กรเล็งเห็นถึงความสำคัญของ Knowledge transfer และ Knowledge sharing  ควรจะมีการปูพื้นฐานในการทำงานให้กับบุคลากรในองค์กร  อาทิเช่น  การให้จับกลุ่มและทำงานเป็นทีม  โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย Goal สำหรับการทำงานครั้งนั้นไป  นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นในการขยายการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันต่อไปในอนาคตได้  เพราะเมื่อมีการทำงานเป็นทีม  ทุกคนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง sharing & transfer เพื่อความสำเร็จของกลุ่มหรือทีมนั่นเอง   เมื่อบุคลากรในองค์กรเริ่มรู้และเข้าใจต่อไปอาจมีการจัดนิทรรศการในการทำ Knowledge transfer และ Knowledge sharing  เพื่อที่จะเน้นย้ำความสำคัญและให้ทุกคนได้มีโอกาส sharing & transfer ในโอกาสพิเศษนี้ด้วย   ซึ่งเมื่อมีการเน้นย้ำจนสามารถปลูกจิตสำนึกแก่บุคลากรในองค์กรได้แนว  ควรมีการกำหนดเป็นนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ  เพราะบางครั้งหากบุคลากรในระดับล่างยอมรับจะปฏิบัติตาม  แต่ไม่ได้รับการอนุมัติจากหัวหน้าของตนอาจจะทำให้บุคลากรเกิดความเบื่อหน่าย  หากมีการกำหนดเป็นนโยบายจะส่งผลต่อการปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันทั้งองค์กรโดยไม่มีผู้ต่อต้าน..........

          2. ความกลัว  บ่อยครั้งที่  Knowledge transfer และ Knowledge sharing  ไม่ประสบความสำเร็จนักเพราะผู้ถ่ายทอดเกิดความกลัว  ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายมาก  สาเหตุที่เกิดความกลัวขึ้น เช่น

**กลัวว่าตนเองไม่มีความรู้เพียงพอที่จะสามารถถ่ายทอดได้**

**กลัวจะโดนตำหนิเพราะความรู้ที่ถ่ายทอดขัดแย้งกับคนหมู่มากหรือองค์กร**

**กลัวต้องรับผิดชอบในเรื่องที่ทำการถ่ายทอด  ซึ่งถือเป็นการเพิ่มภาระให้กับตนเอง**

**กลัวที่จะพูด เพราะถ่ายทอดหรือพูดไม่เก่ง**

**กลัวว่าพูดไปจะเสียหน้าเพราะรู้ไม่จริง**

สาเหตุข้างต้นเป็นเพียงบางตัวอย่างจากความกลัว  ส่งผลให้ Knowledge ไม่ได้รับการ sharing & transfer  ปัจจุบันหลายองค์กรคงประสบปัญหาเช่นกัน  จากองค์กรที่ดิฉันเคยทำงานมา  การ sharing ไม่ประสบความสำเร็จเพราะต่างคนต่างบอกว่าตนไม่รู้ ไม่เก่ง  ไม่สามารถบอกความรุ้ของตนกับคนอื่นได้  ทั้งนี้เพราะหากเขาตอบว่าทำได้ทำให้งานเพิ่มสูงขึ้นและถูกเพื่อน ๆ ตำหนิภายหลังว่าไม่เก่งจริง!!!!แล้วยังอาสามาถ่ายทอดอีก  ส่งผลให้ภายหลังไม่มีใครอาสาและเห็นความสำคัญ

          แนวทางแก้ไข  สิ่งที่ดิฉันต้องการเสนอคือ การเปิดใจ  เปิดโอกาส  และยอมรับความคิดเห็น  เป็นคำที่ง่ายแต่ทำได้ยากที่เดียว  ซึ่งก่อนที่จะทำให้บุคลากรเล็งเห็นความสำคัญ  ก็ควรเริ่มที่ผุ้บริหารเป็นผู้เริ่มทำก่อน โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรแสดงความคิดเห็น  ซึ่งระยะแรกอาจจะเป็นการเขียนเป็นกล่องข้อความ  แล้วนำแนวคิดหรือข้อเสนอที่ดีมาปฏิบัติหรือปรับปรุง  ซึ่งเป็นการทำให้เห็นว่าองค์กรเปิดโอกาสจริง  .....   นอกจากนี้อาจจะทำวิธีเดียวกับข้อ 1 คือการให้ทำงานเป็นทีม  ก็สามารถแก้ปัญหาได้เช่นกัน

          3.  การถูกจำกัดKnowledge  ข้อนี้สำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่ได้เข้าเรียน  แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากองค์กรของเพื่อน ๆ หลายคนในห้องที่องค์กรเปิดโอกาส  Knowledge transfer และ Knowledge sharing แต่ความล้มเหลวเกิดจากการที่ผู้บริหารจำกัดKnowledge  โดยนำแนวคิดของตนมาใช้มากกว่า  หากมองในแง่ลบแสดงว่าผู้บริหารไม่ดี  เพราะไม่ยอมรับการถ่ายทอดส่งผลให้ความพยายามของบุคลากรเกิดความล้มเหลว  ซึ่งทำให้ต่อไปไม่มีผู้ใดอยากจะเสนอความรู้อีก    แต่หากมองในแง่บวก  ทุกคนคงคิดว่ามีแง่บวกอีกหรือในเมื่อKnowledge ถูกปฏิเสธแล้วแต่บางครั้งการที่ผู้บริหารไม่ปฏิบัติตามเพราะเงื่อนไขของธุรกิจที่บุคลากรอาจจะไม่เข้าใจถึงข้อกำจัดในแต่ละจุด  หากผู้บริหารทำเช่นนั้นไปอาจจะส่งผลกระทบต่อองค์กรได้ 

          แนวทางแก้ไข  ผู้บริหารควรจะกล่าวถึง Knowledge นั้นว่าทำไมถึงไม่ปฏิบัติตามโดยอาจจะนำหัวข้อนั้นไปเพิ่มเติมหรือต่อยอดความรู้เพื่อสร้างกำลังใจแก่บุคลากร      หรือ  การเก็บรวบรวม Knowledge ทั้งหมดแล้วนำมาทำฉันทามติ ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีเช่นกัน   (สำหรับแนวคิดนี้มีบริษัทของเพื่อนร่วมห้องได้นำไปปฏิบัติแล้วเกิดผลดี)

 

ปัญหาไม่ใช่มีเพียงแค่ด้านไม่ดี แต่ยังมีด้านดี เพราะหากสามารถนำปัญหามาแก้ไข จนประสบความสำเร็จ และสามารถนำมาปรับใช้กับองค์กร  ผลที่ได้คือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ขององค์กรนั้น ๆ ดังนั้นหากเกิดปัญหาขอให้ทุกคนอย่ากลัว  จงหาแนวทางแก้ไข  แล้วคุณก็คือผู้ชนะ!!!!!
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1246เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2005 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท