เรียนรู้ STIS ในอุษาคเนย์


          STIS ย่อมาจาก Science, Technology and Innovation System      ผมจะไปประชุม ลปรร. เรื่องนี้ที่สิงคโปร์ วันที่ 10 – 11 ก.ย. 50 นี้     โดย IDRC เชิญ     เรื่องนี้มีเล่าโดย http://gotoknow.org/blog/play/95324 ไว้ครั้งหนึ่งแล้ว      และบันทึกนั้นก็สะท้อน

         ความคิดของผมส่วนหนึ่ง    ในการประชุมนี้จะมีคนได้รับเชิญไปร่วมประชุม 50 – 60 คน     จากประเทศไทยได้แก่ ดร. ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ อดีต ผอ. IDRC Southeast Asia Regional Office,   ศ. ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ รอง ผอ. สวทช.,    และผม

         Dr. Randy Spence อดีต ผอ. IDRC Southeast Asia Regional Office คนถัดจาก ดร. ชิงชัย (ผมเคยบันทึกถึง Randy ไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/thaikm/96729 )    ได้ทำวิจัยสถานภาพของ STIS ในประเทศ อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  เวียดนาม  ไทย มาเลเซีย  และสิงคโปร์     และสรุปว่า
1. ระดับความก้าวหน้าของ STIS ใน 6 ประเทศนี้ เรียงตามลำดับ ตั้งแต่เข้มแข็งน้อยไปสู่มาก ตามลำดับข้างบน     ส่วนในลาวและเขมร ยังแทบไม่มีระบบนี้เลย
2. ระบบ STIS ใน 6 ประเทศนี้  กำลังเปลี่ยนจาก S&T-Driven ไปสู่ Innovation-Driven  
3. จุดอ่อนที่มีในทุกประเทศ มากน้อยต่างกัน คือขาด coordination ระหว่างหน่วยงาน หรือภาคส่วนต่างๆ ในระบบ STIS     และขาด coordination ระหว่างระบบ STIS กับการบริหารประเทศในภาพรวม   
4. เป้าหมายของ STIS มี 2 ขั้ว     คือขั้วเพื่อความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ     กับขั้วแก้ปัญหาความยากจน – เศรษฐกิจพอเพียง     หรือขั้ว “ยอดปิรามิด” กับขั้ว “ฐานปิรามิด”

         ผมสรุปกับตัวเองว่า ประเทศไทยเรามีความรู้ และองค์กร ที่ทำงานด้าน STIS ค่อนข้างดี     แต่ขาด 2 อย่าง
1. ขาดการจัดการระบบ     พูดง่ายๆ คือเราต่างหน่วยงานต่างทำ (fragmentation)     ขาด coordination    หรือที่แรงยิ่งกว่า แย่งงานกันทำ  แก่งแย่งกัน (rivalry)
2. ขาดความเชื่อมโยงระหว่าง STIS กับการพัฒนาประเทศในภาพรวม     คือเป็น STIS ที่ค่อนข้างแยกตัว  


         ผมมองว่า เราน่าจะหาทางเรียนรู้วิธีจัดการระบบ STIS     ที่ทำให้เกิดการ coordinate ภายในระบบ และระหว่างระบบ STIS กับระบบอื่นๆ ในสังคม      Dr. Randy Spence บอกว่า เรามี “ชิ้นส่วน” ของระบบครบถ้วน   แต่จัดการ “ชิ้นส่วน” เหล่านี้ไม่เป็น      หากแก้จุดอ่อนนี้ได้    ประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากระบบความรู้ STIS นี้ จนสร้างการก้าวกระโดด ในการพัฒนาประเทศได้   

         ผมมองว่าเราต้องระมัดระวังในการทำความเข้าใจรายงานของ Randy Spence     เพราะเขาเขียนเพื่อการทำงานของ IDRC     ถ้าเราไปหลงตามเขาทั้งหมด เราก็จะเหมือนกับเต้นรำในจังหวะของคนอื่น     ไม่เป็นตัวของตัวเอง      ไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย  เพราะไม่ได้ใช้บริบท (context) ไทยในการสังเคราะห์เพื่อดำเนินการ     แต่ก็เชื่อว่าเขาวิเคราะห์โรคถูก (โรคขาด coordination)   และเชื่อว่าเราต้องเป็นผู้รักษาโรคของระบบ STIS ของเราเอง      โดยความร่วมมือกับ IDRC และมิตรประเทศอื่นๆ   

         แต่เขาไม่สนใจโรคขาดการจัดการ Innovation เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ      ขาดวิธีคิดว่าชาวบ้านมี innovation เล็กๆ อยู่แล้ว      แต่ถูกละเลย ไม่มีระบบสร้าง synergy และหมุนเกลียวความรู้จาก innovation ของชาวบ้าน     วิธีคิดแบบนี้ฝรั่งจะไม่เข้าใจ     หรือแม้เข้าใจเขาก็ไม่สนใจ      เราต้องคิดเอง ทำเอง แต่ก็สามารถใช้ความร่วมมือกับเขาให้เป็นประโยชน์ได้    

         ผมใฝ่ฝันว่า การจัดการ Innovation เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ  ต้องทำโดย “Reversed Research” คือไปเริ่มที่ innovation เล็กๆ ของชาวบ้าน     นักวิทยาศาสตร์เข้าไปพัฒนา Science จาก innovation เหล่านั้น     เน้นเอา science เข้าไปอธิบาย innovation ของชาวบ้าน    

         ผมมองว่าเรากำลังมอง STIS ในบริบท globalization     เราจึงต้องใช้ globalization นั่นเอง เป็นเครื่องมือรักษาโรคนี้     โดยเราคิดวิธีการของเราเอง  ลงมือเอง  แต่ใช้ความร่วมมือนานาชาติ

วิจารณ์ พานิช
31 ส.ค. 50 

คำสำคัญ (Tags): #innovation#stis#idrc#randy spence
หมายเลขบันทึก: 124537เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"...ขาดการจัดการระบบ     พูดง่ายๆ คือเราต่างหน่วยงานต่างทำ (fragmentation)     ขาด coordination    หรือที่แรงยิ่งกว่า แย่งงานกันทำ  แก่งแย่งกัน (rivalry)"

เหตุผลคือนโยบายแหล่งทุนใหญ่กำหนดไว้แนวนั้น คนอยากรับทุน เขาก็ต้องเดินแนวนั้น

ทุนวิจัยใหญ่ ส่งเสริมให้เกิดการแย่งกัน ทั้งที่มีศักยภาพไปส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกัน

ไม่อยากโทษหน่วยงานครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท