ธรรมะรับอรุณ : หลักในการปฏิบัติธรรม


แท้จริงแล้ว ธรรมเป็นเรื่องใกล้ตัว

ใกล้จนถึงขนาดที่เรียกว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเราเอง
และขอบเขตของธรรมะก็มีเพียงนิดเดียว

คือทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดความทุกข์

ถ้าจะศึกษาธรรมะ ก็ศึกษาลงไปเลยว่า

"ความทุกข์อยู่ที่ไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร และดับไปได้อย่างไร"

และความสำเร็จของการศึกษาธรรมะ

อยู่ที่ปฏิบัติจนเข้าถึงความพ้นทุกข์

ไม่ใช่เพื่อความรอบรู้รกสมอง

หรือเพื่อความสามารถในการอธิบายแจกแจงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร


พระปราโมทย์  ปาโมชฺโช

หมายเลขบันทึก: 124522เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ มารับธรรมด้วยคนค่ะ แน่นอนค่ะปฏิบัติธรรมเพื่อให้เห็นว่าอะไร เป็นอะไร ทุกข์น่ะอย่างไร อะไรทำให้เกิดทุกข์ในชีวิต แล้วจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร

เมื่อก่อนไม่เข้าใจเลย กว่าจะมองเห็นว่าทางสายธรรมจะนำไปสู่การค้นพบทางพ้นทุกข์ ก็แทบน่วมเลยค่ะ

เพื่อนอีกมากบอกว่าไม่สนใจการปฏิบัติธรรม กลัวว่าหมดกิเลส แล้วชีวิตจะไม่มัน ก็ต้องปล่อยเขาไปนะคะ

  • ยังไม่พ้นทุกข์คะ...
  • บางทีผัสสะที่มากระทบก็ทำให้เราเป็นทุกข์คะ
  • ความทุกข์พื้นฐานทางร่างกาย...เช่น..ร้อนหนาว
  • แต่ที่กระทบมากที่สุดน่าจะเป็นสิ่งที่กระทบใจ
  • พยายามคาดหวังน้อยลงแล้วคะ
  • เริ่มที่รักษาใจแล้วคะ...หันมามองสิ่งรอบตัวแล้วเริ่มที่ความสุขเล็กๆก่อนคะ
  • บญรักษานะคะคุณ

สวัสดีค่ะ

ตัวเองเน้นที่การปฎิบัติค่ะ

ในขณะเดียวกันก็ศึกษาธรรมะภาคปริยัติไปด้วยบ้าง   แต่ไม่ให้ไปกระตุ้นข้อสงสัยอะไรมากมาย จนมาปิดกั้น ทำให้ใจไม่สงบ เพราะเต็มไปด้วยคำถาม

เป็นจริงค่ะ พอปฎิบัติธรรม ถึงระดับหนึ่งแล้ว ใจใส ใจนิ่ง ใจสว่าง ปัญญาจะเกิดขึ้นเองได้ และถึงตอนนี้ ไปกราบถามปัญหาธรรมะกับครูบาอาจารย์ ท่านจะอธิบายให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีกได้ค่ะ เพราะเหมือนเรา พอมีพื้นฐานอยู่บ้างแล้วค่ะ

P

สวัสดีครับคุณนายดอกเตอร์

  • อยากใส่คำว่า "พี่" ไว้ข้างหน้านามของพี่ครับ แต่เดี๋ยวชื่อจะยาวเกินไป  ขออนุญาตเรียกคุณนายดอกเตอร์เฉยๆ ตามชาวบ้านเขาละกันครับ
  • เมื่อก่อนผมก็เคยคิดเหมือนเพื่อนของพี่แหละครับ  หมดกิเลสแล้วมันสนุกได้ยังไง  ดูหนังแบบไม่มีกิเลสมันจะสนุกได้ยังไง อะไรประมาณนี้ครับ
  • แต่ผมก็ยังไม่มีประสบการณ์เหมือนคุณพี่หรอกครับ  ว่างๆ ช่วยมาเสนอแนะหน่อยนะครับ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
  • จริงๆ หลักของพระพุทธศาสนาเรามีไม่มากนะครับ  คือทำอย่างไรให้พ้นทุกข์เท่านั้น
  • แต่ปัจจุบันคงห่างจากพุทธกาลเกินไปกระมังครับ อะไรต่อมิอะไรมันต่อยอดของมันเองมากมาย  มากจนเฝือไปหมด  เหมือนเราปิดทององค์พระ  ปิดมากๆ จนมองไม่เห็นองค์พระ  เห็นแต่ทอง  เลยเข้าใจว่าทองคือพระ
  • เหมือนคนใกล้ตัวผม  บอกอย่างไรๆ เขาก็ได้แต่พยักหน้าหงึกๆ สุดท้ายก็ไม่ทำ  เพราะเขายังไม่เห็นความจำเป็น  แต่เรากลับเห็นว่ามันขาดไม่ได้เลย
  • ทุกอย่างก็แล้วแต่เหตุปัจจัยแหละครับ  เมื่อมันถึงพร้อม  ไม่อยากให้เป็นมันก็ต้องเป็น
  • ขอบคุณที่มาเยี่ยมกันครับ

ธรรมะสวัสดีครับ

P

สวัสดีครับคุณ naree

  • ผมก็ยังไม่พ้นครับ  ยังเวียนว่ายอยู่เป็นเพื่อนคุณครับ
  • ธรรมดาผัสสะเฉยๆ ยังไม่น่ากลัวครับ
  • พอเกิดผัสสะมันก็ทำให้เกิดเวทนา
  • พอเกิดเวทนาแล้วมันทำให้เกิดตัณหา
  • ถ้าพ้นจากตัณหานี้ไปแล้วก็ทำให้เกิดภพเกิดชาติครับ
  • ในการปฏิบัติธรรมท่านเลยให้รู้ที่ ผัสสะ และเวทนา นี้แหละครับ ควบคุมเพื่อใม่ให้เกิดตัณหา
  • เพราะเมื่อเกิดตัณหาแล้วเราไม่รู้เท่าทันก็ต้องเวียนว่ายกันต่อไปครับ
  • ทุกอย่างอยู่ที่ใจครับ อย่างที่คุณ naree ว่าไว้
  • เมื่อใจปลอดโรค ร่างกายจะเป็นเช่นไร ก็ไม่เป็นทุกข์อีกแล้ว
  • และก็ไม่ต้องเปลืองแรงเวียนว่ายกันต่อไปครับ

ธรรมะคุ้มครองครับ

P

สวัสดีครับคุณพี่ศศินันท์

ผมเห็นด้วยกับคุณพี่ครับ  ว่าเราต้องเน้นการปฏิบัติก่อน  แต่ก็ต้องยึดปริยัติเพื่อเป็นไกด์นำทาง

การปฏิบัติโดยไม่มีอาจารย์หรือไม่มีเข็มทิศนำทาง  มันก็ต้องหลงแน่นอนครับ  เพราะธรรมะที่พระพุทธองค์แสดงไว้นั้นปัญญาอย่างเราๆ มิอาจรู้เองได้

การศึกษาปริยัติมากเกินไปก็ควรระวัง  เพราะทำให้เกิดการสงสัยมาก  มันก็ต้องสงสัยอยู่แล้วเพราะว่าเราจินตนาการเอาเองไม่ได้  เมื่อจินตนาการเองไม่ได้อาจทำให้เกิดมิจฉาทิฎฐิขึ้นได้  ก็อาจหลงไปอีก

เพียรทำเพียร  เช็คเข็มทิศ เพียรปรึกษาครูบาอาจารย์  ผมว่าปลอดภัยที่สุดครับ

ธรรมะสวัสดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท