BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

สืบ นาคะเสถียร กับการกระทำเหนือหน้าที่ ๕


สืบ นาคะเสถียร กับการกระทำเหนือหน้าที่ ๕

จาก ( สืบ...หน้าที่ ๔ ) ผู้เขียนได้ค้างไว้ว่า จะมองการกระทำของสืบ นาคะเสถียร ว่าเป็นการกระทำเหนือหน้าที่หรือไม่ และจะประเมินค่าการกระทำของสืบอย่างไร ? โดยผ่านทางทฤษฎีจริยศาสตร์...

เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมที่พอยอมรับเป็นสากลได้ ปัจจุบันมี ๓ กลุ่มคือ ประโยชน์นิยม ลัทธิคานต์ และทฤษฎีคุณธรรม... โดยประโยชน์นิยมกับลัทธิคานต์จัดอยู่ใน ฝ่ายคัดค้านการกระทำเหนือหน้าที่ี่ (antisupererogationist) ... ส่วนทฤษฎีคุณธรรมจัดอยู่ใน ฝ่ายยอมรับการกระทำเหนือหน้าที่ (supererogationist)... ประเด็นเหล่านี้เคยยกมาอ้างหลายครั้งแล้ว ผู้สนใจลองตรวจดูจากบันทึกเก่าๆ ในบล็อก การกระทำเหนือหน้าที่ ได้...

ผู้เขียนจะเริ่มต้นด้วยแนวคิดประโยชน์นิยม ซึ่งยึดถือผลลัพธ์ของการกระทำเป็นเกณฑ์ ดังหลักการที่มักกล่าวอ้างกันว่า

  • การกระทำที่่ถูกต้อง คือ การกระทำที่มีประโยชน์สูงสุดต่อคนจำนวนมากที่สุด
  • การกระทำนี้เป็นสิ่งที่ดี เพราะยังไม่มีการกระทำอื่นที่มีประโยชน์มากกว่านี้
  • การกระทำตามหน้าที่ คือ  การกระทำที่มีผลลัพธ์สูงสุดต่อสมาชิกจำนวนมากที่สุด 

เมื่อพิจารณาการยอมปลิดชีพตัวเองของสืบในการเรียกร้องให้มาดูแลหรืออนุรักษ์ป่า อาจมีประโยชน์สูงสุด เพราะการจากไปของเขาทำให้บ้านเมืองและสังคมให้ความสำคัญในประเด็นนี้มากยิ่งขึ้น (อย่างน้อยก็ในช่วงที่เกิดเหตุใหม่ๆ... หรือเมื่อมีปัญหาก็อาจนำกรณีของเขามาเป็นข้ออ้าง)... เมื่ออธิบายทำนองนี้ ก็อาจเห็นได้ว่าน่าจะมีคุณค่าสูงและเป็นการกระทำที่ถูกต้อง.... ประมาณนี้

......

แต่ ถ้ามีผู้ตั้งคำถามว่า ในสังคมซึ่งมีปัญหามากมาย เช่น ตำรวจจราจรซึ่งต้องใช้ความลำบากตรากตรำเพื่อจัดระบบให้รถแล่นไปได้โดยสะดวก แต่สมาชิกในสังคมก็ให้ความร่วมมือกับจราจรบ้าง ไม่ให้ความร่วมมือบ้าง...

เพื่อเรียกร้องให้ทุกคนมาใส่ใจกฎจราจร และเรียกร้องผู้บริหารประเทศหรือผู้บังคับบัญชาระดับสูงมาใส่ใจข้อเรียกร้องจากตำรวจจราจรมากยิ่งขึ้น... ตำรวจนายหนึ่งจึงใช้วิธีการแบบสืบ นาคะเสถียร โดยการปลิดชีพตัวเองที่กลางสี่แยกในเวลาเช้าซึ่งเป็นชั่วโมงเร่งด่วนของวันทำการ....

การกระทำของตำรวจนายนี้ ท่านเห็นด้วยหรือไม ?่ เพราะเขาใช้วิธีการและแนวทางเดียวกับสืบ...

............

จากกรณีของสืบและเรื่องสมมุติของตำรวจจราจร ที่ผู้เขียนยกมา จะำนำไปสู่คำถามว่า คนๆ เดียว ควรจะตายเพื่อส่วนรวมหรือไม่ ? 

นี้คือ ความชั่วร้ายของประโยชน์นิยม ... กรณีนี้อาจไม่ชัดเจนนัก ดังนั้นผู้เขียนจะยกตัวอย่างที่ชัดเจนกว่านี้...

สมมุติว่า มีย่าทวดของเราอายุเกือบร้อยปี นอนเป็นอัมพาตอยู่บนเตียงเกือบตลอดเวลา... ลูกหลานต้องผลัดเปลี่ยนกันไปเยี่ยม หรือบางครั้งก็ต้องจ้างคนดูแลหรือพยาบาลเป็นกรณีพิเศษ... ถ้าพวกเราวางยาพิษให้คุณย่าทวดคนนี้ตายไป พวกเราก็ไม่ต้องลำบากลำบนกับภาระหน้าที่นี้... มิหนำซ้ำมรดกของย่าทวดที่เหลือหลังจากการจัดงานศพ พวกเราจะนำมาแบ่งกันตามสมควร...

ถ้าเราใช้วิธีการนี้ อาจถูกต้องตามหลักประโยชน์นิยม เพราะเป็นการกระทำที่มีประโยชน์สูงสุด ต่อคนจำนวนมากที่สุด 

แต่ คนๆ คนเดียว ควรจะตายเพื่อส่วนรวมหรือไม่ ?

.............

หลักการของประโยชน์นิยมที่ผู้เขียนเล่ามานี้ เป็นประโยชน์นิยมเดิมๆ เรียกว่า ประโยชน์นิยมเชิงกรรม... เพราะความชั่วร้ายทำนองนี้ ต่อมาจึงมีการปรับปรุงแยกออกไปเป็น ประโยชน์นิยมเชิงกฎ ... ประเด็นเหล่านี้เคยเล่าไว้บ้างแล้วที่ ประโยชน์นิยมกับการกระทำเหนือหน้าที่ ๑. เป็นต้น ซึ่งผู้สนใจอาจไปดูได้...

อนึ่ง เมื่อพิจารณาการกระทำของสืบ นาคะเสถียร ผ่านประโยชน์นิยมตามที่เล่ามา ไม่สามารถเป็นการกระทำเหนือหน้าที่ได้ เพราะประโยชน์นิยมไม่ยอมรับ การกระทำเหนือหน้าที่ ดังนั้นจึงเป็นเพียง หน้าที่ เท่านั้น... อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเพียงหน้าที่ แต่ก็มีความชั่วร้ายแอบแฝงอยู่ ซึ่งผู้เขียนเล่ามาพอเป็นข้อคิดเท่านั้น.....

จะว่าด้วยลัทธิคานต์ในตอนต่อไป.... 

หมายเลขบันทึก: 124461เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2007 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท