จะทำองค์กรแห่งการเรียนรู้


การเป็น “องค์กรแห่งการเรียนรู้” (Learning Organization) ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย และแต่ละฝ่ายจะต้องรู้บทบาทและหน้าที่ของตนเองเพื่อผลักดันให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปได้โดยไม่สะดุด
จะทำ องค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ                         การเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย และแต่ละฝ่ายจะต้องรู้บทบาทและหน้าที่ของตนเองเพื่อผลักดันให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปได้โดยไม่สะดุด Key factors ที่จะเป็นกำลังสำคัญและ  ผลักดันให้โครงการประสบความสำเร็จมีดังนี้  1.  ผู้เรียน (Learner) 1.1)   ผู้เรียนมีใจที่อยากจะเรียนรู้และเต็มใจที่จะมาเรียน1.2)   ผู้เรียนเป็นผู้เลือก Project ที่ตนเองสนใจมาเรียนรู้   ไม่ใช่ครูหรือองค์กรเป็น ผู้กำหนด1.3)   ผู้เรียนเป็นผู้ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อในการเรียน  การสอนและจากประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา1.4)   ผู้เรียนต้องรู้จักตนเอง  ต้องมีสติ   และต้องลดอัตตาให้ต่ำลง  2.  ผู้ชี้แนะ (Facilitator)2.1)   สอนให้น้อยที่สุด  แต่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เองจากการทำ Project ให้มากที่สุด2.2)   เป็นผู้คอยให้คำแนะนำให้ลองวิธีการต่าง ๆโดยไม่ให้คำตอบ  แต่จะเป็นผู้แนะ  ให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง  บางครั้งต้องใช้วิธีลองผิดลองถูก2.3)   ต้องรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้อย่างดีจากประสบการณ์จริง  ไม่ใช่อ่านจากตำรา    และพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมไปกับผู้เรียน2.4)   ต้อง Evaluate ผลงานของผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ (Reflection) 3.  องค์กร (Organization)3.1)   ต้องให้โอกาสคนที่ต้องการจะเรียนรู้3.2)   ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้มากกว่าผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงิน3.3)   ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องให้การสนับสนุน   และถ้าต้องการขยายผลเร็วก็ ต้องลงมาเรียนรู้ด้วยกันทั้งหมด3.4)   องค์กรต้องให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ทั้งทางด้าน Moral  / การเงิน  /  และสถานที่ที่สามารถสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับการเรียนรู้            3.5)  ต้องสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข3.6)  เมื่อผู้เรียนกลับเข้าไปทำงาน  ต้องส่งเสริมให้มีโอกาสนำความรู้ไปขยายผล3.7)  องค์กรต้องมีกำลังพลเกินไว้ส่วนหนึ่งเพื่อสามารถจัดให้พนักงานไปเรียนรู้ 3.8)  ต้องยอมรับว่าการพัฒนาคนต้องใช้เวลาและความต่อเนื่อง       4.  ระบบ (System)4.1)   วิธีการต้องจัดให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมของแต่ละองค์กร  ซึ่งแตกต่างกัน4.2)         การเรียนรู้ที่ดีต้องมีการทำ Reflection  คือ  นำเรื่องที่ได้เรียนรู้มาเล่าสู่กันฟังอย่าง  เปิดใจ (Show & Share)  ไม่อายกัน  ทั้งการลองผิดลองถูก  ตลอดจนปัญหาและ  อุปสรรคต่าง ๆ      ยิ่งทำบ่อยยิ่งดี4.3)         กระบวนการเรียนรู้เป็น continuous process  ต้องใช้เวลา   รีบร้อนไม่ได้เพราะต้องสั่งสมประสบการณ์แบบค่อยเป็นค่อยไป     Speed ใช้ไม่ได้กับเรื่องนี้ในระยะเริ่มแรก4.4)   การวัดผลสำเร็จจะมี Degree ต่างกัน ขึ้นอยู่กับ Project ที่ทำ  และควรวัด        ความสามารถในการเรียนรู้มากกว่าเรื่องอื่น4.5)   ทำ Project ให้มาก  สอนแต่น้อย    เอาเท่าที่จำเป็น    สอนเท่าที่ผู้เรียนต้องการจะรู้  ไม่ใช่สอนในเรื่องที่อาจารย์อยากสอน4.6)   ต้องพยายามชี้ชวนให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นเข้าใจ และมาร่วมในขบวนการ    เรียนรู้กับผู้อยู่ในบังคับบัญชา  ....................................................      รวบรวมโดยนายสุรพันธ์  ปุสสเด็จ                  Edit  โดยนายพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา8  ตุลาคม  2545
คำสำคัญ (Tags): #constructionism#co-facilitator#learning
หมายเลขบันทึก: 124448เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2007 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท