บันทึกความคิดตกยอดจากหลายๆ งาน-จับฉ่าย


ความรู้-ความรู้สึก-ความรู้สึกตัว

 ก่อนอ่านต้องทำใจก่อนนะครับว่า นี่เป็นบันทึกแบบอัดรวดเดียวจบ ผมนึกอะไรได้ก็ใส่ หากอ่านแล้วรู้สึกแปลกก็อย่าแปลกใจครับ (เริ่มแหลกแล้วใช่มะครับ หึๆ)

เหตุผลทีี่มาเขียนบล็อกอีกครั้ง

  1. นอนไม่หลับ (ถ้าหลับแล้วคงเขียนได้นิ)
  2. มาช่วยทดสอบระบบครับ g2kchallenge1
  3. อ่าน+คิดมานานแล้วความคิดค่อยๆ ตกผลึกแล้วเลยเขียนกันลืม แต่ไม่มีโอกาสมาเขียนสักที
  • ความรู้
  • ความรู้สึก
  • ความรู้สึกตัว

สามคำนี้ผมได้จากงาน KM เบาหวานที่ผ่านมาไม่นานนี้ เป็นคำที่ผมยิ่งคิดยิ่งรู้สึกลึกซึ้งมาก เพราะมันสะท้อนให้เห็นสภาวะคนป่วยและไม่ป่วยได้ดีมาก

 ความรู้ มันก็เป็นเพียงความรู้หากคนไม่สนใจรับรู้รับฟัง
สิ่งที่ทำให้เขารับฟัง คือ เราต้องมีความรู้สึกไปกับเขาด้วย ยอมรับตัวตนของเขาที่เป็นเช่นนั้น ยอมรับข้อเสียของเขา ไม่มีใครที่สมบูรณ์ การที่คนไข้ไม่ฟังหมอเพราะอะไร คำตอบจากในงานนี้ทำให้ผมหูชาด้านไปชั่วขณะ

"หมอไม่เข้าใจผม (พ่อไม่เข้าใจตุ้ม)"

"หมอไม่เคยเป็นเบาหวานแบบผม (พ่อไม่เคยเป็น....แบบตุ้ม)"

ข้างหลังวงเล็บผมใส่เองครับเพราะได้อารมณ์ดีี งานนี้นอกจาได้ประเด็นนี้แล้วผมยังได้เห็นพัฒนาการของคนไข้ เอ่อ จะว่าไปเรียกว่าประชาชนทั่วไปก็ได้ครับที่สนใจสุขภาพมากขึ้น ซึ่งผมรู้สึกดีใจมากๆ ครับเพราะงบประมาณของประเทศเราไปจมอยู่กับค่ารักษามากโขทีเดียว ยิ่งโครงการ 30 บาทหรือที่ตอนนี้เป็นสุขภาพถ้วนหน้าแล้วก็ตามแต่ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง คือ เงินที่จะมาถมตรงนี้มันไม่มีทางพอหรอกครับ ถ้าคนในประเทศเรายังขยันป่วยอยู่ ซึ่งมันไม่ใช่ความผิดของรัฐหรือของรพ.หรอกที่ไม่สามารถรักษาคนไข้ได้ทั้งประเทศ ลองคิดเล่นๆ ก็ได้ครับ ว่าถ้าคนเราป่วยสักเดือนละครั้ง ปีนึงก็ 10 หน ผมปัดลงให้ครับ รัฐจ่ายให้ค่าหัวผมปัดขึ้นเป็น 2000 บาทต่อปีเลยแสดงว่าค่ารักษาต่อครั้งตกราว 200 บาท ค่ายาก็กินเกือบหมดแล้วครับค่าแรงเจ้าหน้าที่ไม่ต้องเอา ค่าห้องก็ไม่ต้องจ่าย ค่าพยาบาลไม่ต้องคิด แล้วรพ.อยู่รอดได้นี่ก็ปาฏิหารย์ครับ

แต่ถ้าคนในประเทศเราหมั่นดูแลสุขภาพ ปีหนึ่งจะป่วยสักครั้ง งบต่อการรักษาจะเป็น 2000 บาทต่อครั้ง ถามว่าการรักษาดีขึ้นไหม ตอบได้อย่างแน่ใจว่าใช่ครับ ผมไม่ใช่คนหน้าเงินนักแต่ลองเทียบดูนะครับ ถ้าคนในประเทศขยันป่วย เจ้าหน้าที่ต้องทำงานหนักขึ้น ในขณะที่ไม่มีเงินทุนมาให้ ทำผิดพลาด(หัวหมุนจากคนไข้เยอะ)ก็โดนฟ้อง โดนเรียกค่าเสียหายชดใช้ สรุปคือ เจ้าหน้าที่หมดกำลังใจทำงานครับ

พยาบาลถ้าต้องดูแลคนไข้ 10 คนกับ 1 คน ถามว่าจะดูแลได้เท่ากันไหม ถ้าไม่ตอบแบบเข้าข้างตัวเองก็ตอบว่าไม่เท่าหรอกครับ

ผมเองเป้นเภสัชกรจ่ายยา ถามว่าถ้ามีคนไข้เยอะ เราต้องถูกบีบให้จ่ายยาให้ทัน ซึ่งตอนนี้ในชั่วโมงเร่งด่วยจะต้องจ่ายให้เวลาเฉลี่ย 1 นาทีต่อคน เกินกว่านี้คนไข้คนอื่นด่าครับว่า ทำไมจ่ายชักช้า อู้งานหรือไง....สิ่งที่พวกเขา (คนไข้และญาติ) ต้องการในตอนนั้น คือ อยากหนีจากรพ.เต็มแก่ครับ ถ้าคนไข้ลดลงผมมีเวลา 10 นาทีบริการคนไข้แต่ละคนถามว่าบริการจะดีขึ้นไหม ผมแน่ใจว่าดีขึ้นครับ ผมสามารถคุยกับผู้ป่วยได้มากขึ้นได้รับรู้ความรู้สึกของคนไข้มากขึ้นเพราะ 1 นาทีนี่...ผมถามอะไรไม่ได้มากนอกจาก

  • ชื่อ-นามสกุลนี้ถูกนะครับ (10 วินาที)
  • เคยแพ้ยาไหมครับ (5 วิ)
  • เคยได้รับยาเหล่านี้มาก่อนไหมครับ (5 วิ)
  • อธิบายวิธีใช้ยาและอาการข้างเคียง (30 วิ)
  • สงสัยอะไรไม๊ครับ (5วิ)
  • สวัสดีครับ (3 วิ)

ผมไม่แน่ใจหรอกครับว่าคนไข้จะรับรู้ได้มากแค่ไหน เพราะสถานการณ์มันไม่อำนวยกับการรับรู้อะไรมากนัก แถมผมต้องก้มหน้าดูใบยาเกือบตลอด ไม่ค่อยสบตามองหน้ากับคนไข้มากเพราะเดี๋ยวจ่ายยาพลาดจะเป็นเรื่อง สิ่งที่ผมสท้อนใจและเป็นแรงบันดาลใจให้ผมหันสนใจสุขภาพมากขึ้นก็คือ เหล่าลูกค้าที่มาใช้บริการกับรพ. นี่ละครับ ผมเห็นคนไข้กินยาหนักขึ้นๆ เรื่อยๆ (กินจริงหรือเปล่านี่อีกเรื่อง) จากยาถุงเล็กๆ พัฒนามาเป็นถุงใหญ่จนล้นตะกร้า ผมจ่ายยาไปก็ปลงไป เกิดคำถามตั้งแต่ผมทำงานแรกๆ ว่า

ทำไมชีวิตคนไข้จึงต้องใช้ยามากมายขนาดนี้ ผมก็ค่อยๆ ได้คำตอบมาว่า ที่เขาต้องใช้ยามากขนาดนี้เพราะไม่ได้ปรับเปลี่ยนชีวิตก่อนที่จะมาถึงขั้นนี้ (อาการหนักแล้ว) พูดให้ง่ายคือ ตอนเป็นน้อยไม่ได้ทำให้มันหายแต่ทิ้งไว้อย่างนั้นจนมันเป็นหนักแล้วมารักษา

ทำไมพวกเขาถึงทำเป็นแบบนี้ละ
ผมได้คำตอบไม่นานมานี้เองว่า เพราะพวกเขาไม่รู้หรือรู้ไม่หมด พวกเขาเชื่อในสิ่งที่พวกเขารู้สึกมากกว่าสิ่งที่หมอบอก กล่าวคือ ขาด ความรู้สึกตัว แต่ต่อให้เขาเห็นหรือรู้แล้วพวกเขาก็ยังไม่ทำเพราะสิ่งที่รู้เห็นมันไม่แรงพอที่จะทำให้พวกเขาได้คิด ประหลาดดีใช่ไหมครับ ตอนแรกผมก็แปลกใจไม่น้อยเหมือนกันแต่ขึ้นว่าเป็นคนแล้ว อย่าเอาอะไรที่เป็นเหตุผลมากนัก สิ่งที่คนทำนั้นมักทำไปตามความรู้สึกมากกว่าเหตุผล ซึ่งความรู้สึกนั้นไม่ใช่ไม่ไดีนะครับ ที่ทุกวันนี้เรามีความสุขก็เพราะความรู้สึกนี่แหละครับ แต่หากเราปล่อยให้ความรู้สึกเป็นเจ้านายเรา มันอยากได้อะไรเราก็คอยป้อนมันก็ไม่พ้นที่จะโดนทำลายทั้งกายและจิตใจ

ในทางกลับกันหากเราทำอะไรมีเหตุผลเป็นวิชาการมากไป ชีวิตก็คงกลายเป็นหุ่นยนต์ ขาดสีสัน ขาดความสุข (ไม่รู้ว่ามีชีวิีตไปทำไม) 

 ดังนั้นเราจึงต้องใช้ชีวิตให้สมดุลกันทั้งเหตุผลและความรู้สึก อย่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาเป็นเจ้านายเราไป (ข้อคิดได้จากเรื่องปัญญาญาณ ของท่านOsho ท่านกล่าวในแง่การใช้สมองทั้งสองซีกซ้ายขวา ซึ่งผมไม่อยากลงรายละเอียดมากเดี๋ยวจะพิมพ์ไม่ไหว หึๆ)

ดังนั้นผมก็ตกผลึกมาว่า การให้ความรู้กับคนไข้ต้องใส่ความรู้สึกไปด้วย จึงจะบาลานซ์กัน ตรรกะง่ายมากๆ ครับเพราะ ถ้าเราทำอะไรที่ดีกับตัวเราแต่ไม่มีความสุขเราจะทำไม๊ครับ ตอบได้ชัดเลยว่าไม่(อยาก)ทำ

เช่น การออกกำลังกาย เรารู้อยู่แล้วครับว่าออกกำลังกายมันดีแต่คนหลายคนไม่ออกทำไมหรือครับ ข้ออ้างมีเป็นร้อยพันอย่างแต่ที่สำคัญ คือ พวกเขา่คิดหรือทำแล้วไม่มีความสุขนั่นเอง แต่พวกเขารู้ครับว่ามันมีประโยชน์แต่ทำได้ไม่ถึเป้า ถ้าเปรียบกับยาคือ กินยาไม่ถึงขนาดที่รักษา โรคก็ไม่หายก็มานั่งเศร้าเสียใจทีหลัง แต่ทำไมหลายคนถึงออกกำลังกายได้เป็นประจำ เพราะเขาทำแล้วมีความสุขไงครับ การออกกำลังกายไม่ใช่ว่าทุกคนทำแล้วจะได้ผลเหมือนกันนะครับ ต้องหาสิ่งที่เหมาะกับตัวเองและทำได้ พอทำสำเร็จนั่นจะเป็นก้าวแรกของความสุขครับ สุขที่ได้ทำสิ่งทีดีกับตัวเราและสุขทางความรู้สึกที่ว่าเราทำได้

ผมเองก็เปลี่ยนผลัดการออกกำลังมาเยอะเหมือนกันจึงรู้ว่า กว่าจะหาการออกกำลังที่เราทำแล้วสนุกเพลินกับมันนั้นหายากไม่ใช่น้อย กว่าจะมาลงที่ยกน้ำหนักได้นี่ ผมก็เปลี่ยนและลองมาเยอะเหมือนกันครับ

 อืม...ผมพิมพ์มายาวแล้วนะเนี่ย ก่อนที่จะเลยเถิดไปไกล ขอวกกลับไปงาน KM เบาหวานอีกทีครับ
สิ่งที่ผมเห็น คือ ความกระตือรือล้นที่พวกเขา(คนไข้เบาหวาน)ได้กระตือรือล้นทำสิ่งที่ช่วยให้เขามีสุขภาพดีขึ้น พวกเขาจับกลุ่มกัน ช่วยเหลือกันโดยไม่ต้องรอใครมาสั่งหรือบอกเขาว่าต้องทำ แต่ทุกอย่างที่เขาทำไปเพราะเขาทำแล้วมีความรู้สึกหรือความสุขนั่นเอง นั่นทำให้ผลการดูแลตัวเองออกมาดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะเขาทำ เรียนรู้ จนเป็นความรู้ที่ได้จากการปฎิบัติ

จากงานครั้งนั้นทำให้ผมคิดว่า คนในประเทศเราเหมือนจะรู้แต่ไม่รู้ว่า การใช้ชีวิตที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร คนจำนวนไม่น้อยคิดว่าตัวเองใช้ชีวิตถูกต้องแล้ว จนกระทั่งโรคภัยถามหาก็เริ่มรู้สึกแต่ยังไม่อยากเปลี่ยนชีวิตเดิม ไม่ว่าจะเพราะติดใจในการใช้ชีวิตแบบเดิมๆหรือไม่อยากปรับเปลี่ยนหวาดกลัวกับการต้องใช้ชีวิตแบบใหม่ก็ตามทำให้สถานการณ์มันค่อยๆ ย่ำแย่ไปเรื่อยๆ 

 การใช้ยาแสดงว่าร่างกายเราเริ่มไม่ไหวแล้ว ถ้าเปรียบกับการเดินของคน ขาสองข้างคือ การกินอาหาร,การออกกำลัง ส่วนยานั้นจะเป็นไม้เท้าคอยพยุงเวลาที่ขาข้างใดบาดเจ็บหรือใช้การไม่ได้ชั่วขณะ
หากเจ็บหนักหรือถึงขั้นขาหักต้องใช้ไม้พยุงทั้งสองข้าง เพิ่มยาเป็นสองเท่า แต่ยังมีโอกาสหายได้อยู่แม้จะนานก็ตาม
ถ้าหักทั้งสองข้างต้องนั่งรถเข็นแล้วครับ รถเข็นนี่คือต้องเข้ารักษาในรพ.แล้วครับกล่าวคือไม่สามารถใช้ชีวิตที่ขาดยาได้

 ขอให้ทุกท่านอ่านอย่างมีความสุขนะขอรับ ข้าน้อยจะพยายามเขียนให้มีความสุขไปด้วย
อย่าซีเรียสมากเพราะเดี๋ยวจะ จน เครียดแล้วกินเหล้า แป๋ว

บันทึกเสร็จด้วยเวลา 1 ชั่วโมงเศษ เวลาผ่านไปเร็วจริงๆ ขอรับ

วันเวลากับความรู้สึก อย่าคิดลึก อย่าสงสัย
ปลูกความรัก ความเข้าใจ ก่อนอะไรๆ จะล้นตัว
กลอนมั่วซั่ว คิดก่อนนอน 

 จันทร์เมามายผู้ประพันธ์และงงงงวยกับกลอนบทนี้

หมายเลขบันทึก: 124169เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2007 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 11:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เขียนดี๊ดี ถูกใจค่ะ แต่เหมือนจะเขียนยังไม่จบหรือเปล่าคะ คุณจันทร์เมามายมาเขียนต่อพรุ่งนี้อีกนะคะ จะขอให้นอนไม่หลับอีกก็เกรงใจ เอาเป็นว่าขอให้มาg2kchallenge1 อีกก็แล้วกันนะคะ

 
--------------------------------------------------------------------- 
P
โอ๋-อโณ
เมื่อ อา. 02 ก.ย. 2550 @ 01:07 [368950] [ลบ]

เขียนดี๊ดี ถูกใจค่ะ แต่เหมือนจะเขียนยังไม่จบหรือเปล่าคะ คุณจันทร์เมามายมาเขียนต่อพรุ่งนี้อีกนะคะ จะขอให้นอนไม่หลับอีกก็เกรงใจ เอาเป็นว่าขอให้มาg2kchallenge1 อีกก็แล้วกันนะคะ

--------------------------------------------------------------------- 

เขียนต่อแล้วขอรับ พอดีคนไข้มาเลยรีบกดบันทึกก่อนที่มันจะค้างหายไปขอรับ หุๆ นอนดึกจังนะขอรับ นอนเช้าๆ จะได้มีแรงสดชื่นนะขอรับ

เขียนยาวจริงๆด้วยครับ จันทร์เมามาย

    แต่อ่านสนุกนะครับ ได้เห็นภาพและนึกถึง เหตุ และผล ไปพร้อมๆกัน(ว่าไปนั่น.....)

สงสัยเพราะเป็นเภสัชกรเหมือนกัน เลยคิดเหมือนๆกัน  ผมว่าจริงทุกเรื่องเลยครับทั้งที่เป็นเรื่อง"บ่น" และเรื่องของ "เหตุและผล"

ขอบคุณครับ

P

3. Anek Thanonghan

ดีใจที่หาคนคิดเหมือนกันได้ขอรับ
คำ "เหตุและผล"  ของท่าน ทำให้ข้าน้อยนึกถึงความพอเพียง
คือ เมื่ออาทิตยืที่ผ่านมาข้าน้อยเจอพี่การเงินถามเรื่อง "น้ำตาล" ว่ามันน่ากลัวจริงตามที่พี่เขาอ่านในหนังสือหรือเปล่า (เขาว่าน้ำตาลเป็นตัวต้นเหตุของโรคเรื่อรังต่างๆ มากมาย) ผมเลยตอบกลางๆ ไปว่า ที่เขาว่ามันก็จริงครับถ้าเรากินแบบเกินเลยไป ไม่อยากให้พี่เขาถึงขั้นงดของหวานเลย

ผมพยายามตอบคำถามที่ตัวเองผุดคิดขึ้นตอนนั้นมาว่า

  • คนเรารู้ว่าเรากินอะไร ไปทำไมหรือไม่
  • อายุแค่ไหนถึงได้คิด (เด็กคิดตรงนี้เป็นไหมสักกี่ขวบถึงรู้ รร.สอนป่าว ถ้าสอนแล้วรู้ขนาดนำมาทำจริงได้ไหม)
  • ถ้าได้คิดแล้ว ทำได้หรือเปล่า
  • ทำแล้วมีความสุขไหมหรือเครียด

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท