การเกษตรส่วนใหญ่มีแต่กำไรเป็นร้อยเท่า ทำไมเกษตรกรจึงยากจน (๒)


บางคนมองว่าผมคิดต้นทุนไม่ครบ ..........เรื่องนี้ ผมไม่ลืมแน่นอน
 

เมื่อวานนี้ (๓๑ สค ๕๐) พอผมเปิดประเด็นในเรื่องกำไรของกิจกรรมการเกษตรที่เกิดขึ้นเป็นร้อยเป็นพัน หรือหมื่นเท่าของทุนที่ลงไปที่พบว่าสามารถเกิดได้ต่อเนื่องอย่างน้อย ๕๐ ปีว่า อย่างที่เรียกว่าน่าจะยั่งยืนได้จริงๆ

ก็มีเสียงตอบรับจากพันธมิตรอย่างล้นหลาม ที่สนใจเข้ามาแลกเปลี่ยน ประเด็นสำคัญของชาติประเด็นนี้

  แต่ บางคนมองว่าผมคิดต้นทุนไม่ครบ 

 

 ก็มีส่วนถูกครับ ที่

 

·        ผมไม่ได้คิดต้นทุนทางธรรมชาติ ที่ผมก็ไม่เคยเห็นใครคิดกัน

  

เช่นการปลูกข้าวโพดหนึ่งไร่ ได้มีการทำลายป่า ดิน น้ำ ต้นน้ำ เป็นมูลค่าเท่าไหร่

  

ถ้ามีคนคิดอย่างนี้ ต้นทุนการผลิตข้าวโพดอาจจะกิโลกรัมละ ๑๐๐ บาทก็ได้ครับ

  

หรือ ต้นทุนของการเจริญเติบโตของปลาในทะเล ไม่รวมค่าไปจับมาอาจจะกิโลกรัมละ ๓๐๐ บาท เมื่อไปจับก็ต้องรวมต้นทุนค่าจับอีก บวกเข้าไป

  

แต่เราก็ไม่คิดกัน ผมก็เลยทำเป็นลืมชั่วคราว เพราะ ใครๆเขาก็ลืมกันจริงๆ ไม่ใช่หรือครับ

  

ทีนี้เรื่องแรงงาน บางท่านบอกว่าผมไม่คิดให้ ก็เลยดูเหมือนมีกำไรมาก

  

เรื่องนี้ ผมไม่ลืมแน่นอน

  

ค่าแรงงานวันละเท่าไหร่ ตั้งไว้เลย ทำจริงกี่นาที คิดออกมาเลย มาหักออก ผมว่ายังเหลือกำไรมากมาย

  

เช่นที่ผมยกกรณีครูบาสุทธินันท์ ปลูกป่ายูคามาอย่างน้อย ๒๕ ปี

ผมว่าครูบาใช้แรงงานรวมตลอดทั้งหมด ๑๓ ปี สำหรับต้นที่ตัดมาให้ผมทำคอกวัว

คิดแบบละเอียดยิบเป็นวินาทีเลยครับ ทั้งทำด้วยมือ และชำเลืองมอง 

รวมแล้วไม่น่าจะเกิน ๖ ชั่วโมง (หนึ่งวันทำงาน) ต่อต้น

ถ้าเกินนี้ครูบาจะไม่มีเวลาทำอะไรเลยตลอดชีวิตท่าน เพราะต้นไม้ที่ท่านปลูก เป็นหลายแสนต้นครับ

(ตอนนี้ครูบาเพิ่งเกิดมาในโลกได้ไม่ถึง สองหมื่นวันเลยครับ)

( ยังหนุ่มเอาะๆ อยู่เลย จริงไหมครับครูบา)

  

ผมคิดให้เลยครับ แรงงานครูบา ว่ามาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กๆ ประมาณ ปี ๒๕๐๐ ที่ทองคำราคาบาทละ ๔๐๐ บาท ไล่เรียงรวมมาจนถึงปัจจุบัน แพงมาก ๕๐๐ บาทต่อวัน  ก็หักออกไปซิครับ

  

และยังเหลือกำไรอีกไม่ต่ำกว่า ๑๓,๐๐๐ บาท ต่อต้น ในระยะเวลา ๑๓ ปี

  

นี่ยังไม่รวมขายกิ่งก้านอีก ไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ บาท ที่ครูบาบอกว่า ให้คนงานไปขายเอาเองเป็นค่าตัด

  เห็นไหมครับ ผมคิดแล้วแต่เห็นว่าเล็กน้อยเกินไป เลยไม่อยากนำเสนอ   

 

ทีนี้ มีคนบอกว่า ผมไม่คิดค่าเช่าที่ดิน

  เอาอีกแล้วครับ ผมไม่เคยเห็นเกษตรกรคนไหนคิดค่าเช่าที่ดินของตนเอง   

 

ผมก็เลยเว้นไว้ก่อน เท่านั้นแหละครับ

  

แม้จะคิด ก็ไม่น่าจะแพงมาก ตารางเมตร หรือตารางวา ละเท่าไหร่ต่อปีก็คิดไปเลยครับ เอาราคามาตรฐานนะครับ

  ผมว่ายังไงก็ไม่มากจนขาดทุนเพราะผลตอบแทนเป็นร้อยเท่า พันเท่าอยู่แล้ว คิดสัก ๑๐๐% ของต้นทุนที่ลงก็ยังไม่ขาดทุน  

 

อ้าวแล้วทำไมเกษตรกรจึงยังยากจนครับ  

 

ประเด็นนี้หลายท่านสับสนครับว่าผมกำลังพูดถึงอะไร

ที่จริงผมจงใจเว้นช่องว่างให้ท่านช่วยกันคิด ว่า

เมื่อระบบการเกษตรไม่ขาดทุน แล้วทำไมเกษตรกรจึงขาดทุน

 นี่เป็นคนละเรื่องกันเลยนะครับ  แต่มีความเกี่ยวเนื่องกันบ้าง 

ลองช่วยกันคิดหน่อยนะครับ ผมจะได้นำไปสรุปให้นักศึกษาให้เห็นพลัง Gotoknow ของเรา 

 และขอให้ท่านคิดอยู่ในประเด็นของกำไร  (หรือขาดทุนทางการทำการเกษตร)

และค่อยๆโยงไปหาความยากจนของเกษตรกร ที่ยังมีเรื่องราวคั่นอยู่หลายเรื่องครับ 

 

เรื่องที่เป็นปัญหา และอุปสรรค คั่นและบดบังอยู่

จนทำให้เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ยากจนนั้น น่าจะเป็นอะไรบ้างครับ

และแต่ละเรื่องจะมีทางออกอย่างไรบ้างครับ

ช่วยคิดด้วยนะครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ 

หมายเลขบันทึก: 124124เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2007 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 04:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
นั่นสิคะ อยากฟังข้อสรุปเหมือนกัน แล้วอยากให้ผู้รู้มาช่วยวิเคราะห์ด้วยว่าทำไมเกษตรกรบางประเทศจึงร่ำรวย เอาใกล้ๆบ้านเราไม่ต้องถึงอเมริกา ดูญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างก็พอระบบความคิด ระบบการทำงาน ความเอาใจใส่ทุกขั้นตอนของงาน วินัยในการดำรงชีพ การศึกษา พวกนี้มีส่วนหรือเปล่า ต้องมาติดตามบันทึกนี้เรื่อยๆ อยากรู้ค่ะ 
ขอบคุณตรับที่เข้ามาแบบรวดเร็ว ผมคิดว่าท่านผู้รู้มีมากมาย เดี๋ยวคงได้คำตอบครับ

สวัสดีครับอาจารย์

     อาจารย์ตั้งคำถามว่า ทำไมเกษตรกรถึงยากจน

     ผมคิดว่า คนจะรวยหรือจน อยู่ที่รู้จักใช้หรือเปล่า หากรู้จักใช้ ผมว่าไม่จน แต่ที่จนๆ กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ผมว่าไม่รู้จักใช้ครับ

     ไม่รู้จักใช้ ก็เริ่มมาจาก ความไม่รู้(ความจริง)ครับ

     ไอ้ที่รู้ๆ หรือถูกบังคับให้รู้ ทั้งทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ นโยบายการเมือง ฯลฯ ความรู้พวกนี้ เป็นตัวดูด รายได้จากเกษตรกรครับ

     เอากันง่ายๆว่า รายได้ที่ได้มาควรแบ่งเป็นสี่ส่วน นั้น ตอนนี้เกษตรกร(และคนทั่วๆไป) คงลืมไปหมดแล้ว

     นอกจากความไม่รู้แล้ว ยังไม่รู้ว่าตนไม่รู้อีกครับ

P
เฒ่าหน้าเหมน
เมื่อ ส. 01 ก.ย. 2550 @ 21:15
ผมสนใจคำที่ว่า "บังคับให้รู้ "แปลว่า อะไรครับ
และความคิดว่าความไม่รู้น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งครับ
แต่ก็มาติดอีกว่า "ไม่รู้อะไร" และอะไรที่ต้องรู้
และใครจะทำให้เขารู้ พอจะออกจากความยากจนได้ครับ
เรื่องนี้เป็นปัญหาระดับประเทศเลยครับ

เรียน อาจารย์แสวง

ขอร่วมแลกเปลี่ยนนะคะ

ประการแรก   ผลตอบแทนทางการเกษตร กับความยากจน เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกัน แต่ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน   เกษตรกรยังมีรายจ่ายนอกภาคเกษตร   เคยเอาตัวเลขมาดู  บางปีที่ รายได้สุทธิจากภาคเกษตรเป็นบวก (รายรับสูงกว่าต้นทุนการเกษตร)  แต่รายได้สุทธิจากภาคเกษตรหักกลบลบหนี้แล้ว  ยังไม่พอสำหรับรายจ่ายในครัวเรือน ที่รวมหลายๆเรื่อง เช่น ค่าการศึกษาของลูก

ประการที่สอง  ผลตอบแทนทางการเกษตรที่เราพูดถึงนั้น  อาจเป็นสุทธิปลายปี  แต่จริงๆ  เกษตรกรต้องลงทุนก่อน จึงจะได้ผลผลิตเป็นรายได้    ช่วงที่ต้องลงทุนก่อน จะเอาเงินมาจากที่ไหน  ชักเงินตัวเอง หรือไม่ก็ยืมเขามา   ตรงนี้มีค่าดอกเบี้ย ที่เราอาจยังไม่ได้คิด

ประการที่สาม  ปีปกติ อาจทำเกษตรพอมีเงินเหลือ  แต่ปีต่อไปเกิดภัยพิบัติ ขาดทุน  (เท่าที่ดูข้อมูล)  ความเสี่ยงเกิดขึ้นถี่ขึ้นเรื่อยๆ  จากทุก 5 ปี เป็นทุก 3 ปี    2 ปี...   และที่เสี่ยงทุกปีคือเรื่องราคา    เกษตรกรขาดทุนปีเดียว  ต้องกู้หนี้ยืมสิน  ปีต่อไปก็ลำบากมากขึ้นแล้วค่ะ  

ประการที่สี่   พวกเราไม่คิดต้นทุนสิ่งแวดล้อมจริงๆ   ตลาดมันทำงานล้มเหลวตรงนี้ค่ะ   ตัวดิฉันเองคิดเสมอว่า  เรายิ่งส่งออกสินค้าเกษตรมาก ประเทศยิ่งขาดทุน  เพราะเราส่งออกธรรมชาติให้ต่างชาติกินฟรีๆ ถูกๆ    แล้วธรรมชาติเราก็แย่ลง  เกษตรกรเราก็แย่ลง   แต่ถ้าจะลดการผลิตสินค้าเกษตรให้แค่พอมีพอกินอยู่ในประเทศ  ก็จะเป็นปัญหาเรื่องการปรับโครงสร้าง  การปรับตัวของเกษตรกรอีกค่ะ  ต้องคิดกันเป็นเรื่องใหญ่

 

 

 

ขอแลกเปลี่ยนกับคุณ little jazz ผ่านบล็อกอาจารย์แสวงนะคะ

ที่ญี่ปุ่น  เกษตรกรอยู่ได้ด้วย "เงินอุดหนุน" จากรัฐล้วนๆค่ะ  อเมริกา  ยุโรป ก็เหมือนกัน

บ้านเรา  นอกจากรัฐจะไม่อุดหนุนแล้ว  (หรืออุดหนุนแบบตัวเองกินไอติมไปก่อน เหลือแค่ไม้ไอติมส่งให้เกษตรกร)  การแทรกแซงของนักการเมืองระดับชาติระดับท้องถิ่นยังทำให้ระบบปั่นป่วนด้วย

ยิ่งพัฒนาภาคเกษตรจะยิ่งเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อยๆ  (เป็นจริงสำหรับทุกประเทศ เว้นแต่รัฐเข้ามาอุดหนุน)  เหตุผลง่ายๆ  คือ   เวลาคนเรามีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 100 บาท เป็น 200  บาท  เราไม่ได้กินอาหารเพิ่มขึ้นจาก  3 จานต่อวัน เป็น 6 จานต่อวัน  เงินเหลือมากขึ้นก็ไปซื้อสินค้านอกภาคเกษตร   ภาคอุตสาหกรรมจึงโตไปเรื่อยๆ  ภาคเกษตรโตช้ากว่า ช่องว่างทางรายได้มากขึ้น  

กติกาการค้าโลกก็พยายามปิดทางไม่ให้รัฐอุดหนุนแต่รัฐที่ฉลาดก็จะเอาเรื่องการปกป้องพื้นที่สีเขียว  ปกป้องวิถีชีวิตที่เป็นวัฒนธรรมเข้ามาเป็นเหตุผลเพื่ออุดหนุนเกษตรกรของเขาค่ะ

ขอบคุณมากครับP
ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ
เมื่อ อา. 02 ก.ย. 2550 @ 10:20
ประเด็นที่นำมาแลกเปลี่ยนเป็นจริงครับ และทำให้เกษตรกรไปไม่รอด รายได้ไม่พอ ต้องพึ่งพารายได้นอกภาคการเกษตรเป็นส่วนใหญ่
ตรงนี้ นักวิชาการและภาครัฐชอบทำเป็นลืม
แต่มันก็มีอะไรลึกๆกว่านั้น ก่อนที่คุณจะกล่าว
ตั้งแต่
  • ระดับแปลง
  • ระดับครอบครัว
  • ระดับชุมชน

ผมจะลองสรุปขึ้นทุกวันจนกว่าจะชัดครับ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ความรู้ การใช้แรงงาน และการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ ที่ไม่เคยทำร้ายใคร

แต่พอพึ่งพาภายนอกเจ็บตัวทุกทีครับ

ลองช่วยดูด้วยนะครับว่าการสรุปของผมหลงทางหรืเปล่า

วันนี้ผมขี้นบทเรียนจากภาคธุรกิจ ช่วยตามไปให้ความเห็นด้วยนะครับ 

สวัสดีครับ อาจารย์

     สิ่งที่ ถูกบังคับให้รู้ ตามความหมายของผมก็คือ สิ่งที่กรอกหูเกษตรกรอยู่ทุกๆวันครับ ซึ่งมาทั้งทางหนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งจานดาวเทียม ครับ

     ส่วนเรื่องความไม่รู้ หรือ ไม่รู้ว่าอะไรต้องรู้ และใครจะต้องเป็นผู้ที่ทำให้เกษตรกร หลุดออกมาจากความยากจนได้นั้น คงเป็นหน้าที่ของรัฐ ที่จะต้องทำให้คนของตนฉลาดขึ้น ไม่ตกเป็นเหยื่อของอะไรง่ายๆ

     หน้าที่นี้คงต้องมอบให้ท่านอาจารย์ แล้วแหละครับ

P
เฒ่าหน้าเหมน
เมื่อ อา. 02 ก.ย. 2550 @ 20:39
ผมหนักใจก็ประเด็นสุดท้ายนี่แหละครับ
ความรู้ทางวิชาการที่ไม่ค่อยสอดคล้องกับการปฏิบัติ
และมักสวนทางกัน
การศึกษาของเรายังขาดทิศทางที่จะสนับสนุนการทำการเกษตรของชาวบ้าน
อันนี้พูดยากมาก เก่งๆทั้งนั้นครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท