บอกต่อเรื่องที่สอง: บทบาท และความสำคัญของ Actuary


หลายคนไม่รู้จัก Actuary แต่เชื่อหรือไม่ว่า Actuary กลับเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างคาดไม่ถึง

       จากเรื่องเล่าในบันทึกเรื่องที่หนึ่ง ได้บอกกล่าวถึงอาชีพยอดนิยมแล้วไปแล้วนั้น ปรากฎว่ามีคำถาม และความคิดเห็นมาจากกลุ่มเพื่อนๆ ผู้อ่านว่า ถ้ามีการจัดอันดับอาชีพยอดนิยมกันจริงๆ เป็นเรื่องเป็นราว อาชีพที่ดูน่าจะติดอันดับต้นๆ อยู่ด้วย คงจะหนีไม่พ้นนักการเมือง ผู้เขียนเลยเสนอความเห็นว่า หากคำนึงถึง 5 ข้อ ก็คงจะใช่ แต่ถ้ารวมข้อที่ 6 คือ หลักประกันความมั่นคงไปด้วย อันนี้เลยชักไม่แน่ใจแล้วล่ะว่าอาชีพ นักการเมือง จะยังอยู่ในอันดับต้นๆ อยู่รึป่าว???         

       หลายคนที่ตั้งใจเข้ามาอ่าน หรือบังเอิญแวะเข้ามา (ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ) คงสงสัยว่า “Actuary” คืออะไร อย่างที่ได้ทราบกันบ้างแล้ว อาชีพนี้รู้จักกันในวงการประกันภัย หรือการเงินการธนาคาร ว่า นักคณิตศาสตร์ประกันภัย

       จากการทำงานของผู้เขียนในฐานะ Actuarial Analyst นั้น มีข้อแนะนำเพิ่มเติมว่า        นอกจากความรู้ ความสามารถที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และการประกันภัยแล้ว ความรู้อีกอย่างหนึ่งที่ Actuary จำเป็นต้องมีไว้คือ การจัดการกับข้อมูล เพราะการทำงานของ Actuary จะต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูล และการวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะเป็นการวิเคราะห์บนข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาล ทักษะในการจัดการฐานข้อมูล (Database Management) คลังข้อมูล (Data Warehouse) และการใช้คอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและช่วยให้ Actuary สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 ความต้องการของตลาด กับอาชีพ Actuary

       จากคุณสมบัติที่กล่าวไว้นั้น ปัจจุบันบริษัทประกันภัยจำนวนมาก หน่วยงานของรัฐ หรือกระทั่งสถาบันการศึกษา ประสบภาวะขาดแคลนบุคลากรทางด้านนี้เป็นอย่างมาก บางองค์กรกำหนดคุณสมบัติของตำแหน่งงาน Actuary โดยต้องจบการศึกษาทางด้านการคำนวณ แต่ในที่สุด ก็จะประสบปัญหาการขาดทักษะ ความรู้ทางด้านธุรกิจ โดยเฉพาะในผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาไม่น้อยในการสร้างมุมมองในเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะทางด้านประกันภัย         

       ในทางกลับกัน เมื่อมีการคัดเลือกจากบุคคลที่ศึกษามาทางด้านการจัดการ การบริหารธุรกิจ บุคลากรส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ก็มักจะขาดทักษะทางด้านการคำนวณ การวิเคราะห์ที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นทักษะที่พัฒนาได้ไม่ง่ายนัก          

       จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนทำงานด้วยกันทั้งในระดับพนักงาน ผู้บริหาร และสายงานวิชาการตามสถาบันการศึกษาต่างๆ พบว่า ปัจจุบันบริษัทประกันภัยไม่น้อย มีการรับ Actuary ที่จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรม วิทยาการคอมพิวเตอร์ และสถิติ เข้ามาทำงานจำนวนมาก แต่ก็บุคลากรทางสายอาชีพนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดอยู่ดี ทั้งนี้ เนื่องจากมีช่องว่างอยู่ไม่น้อยระหว่างคุณสมบัติของ Actuary ที่องค์กรต้องการ และพื้นฐานการศึกษาของผู้ที่ต้องการทำงานในสายอาชีพนี้              

       แต่ถึงแม้จะมีช่องว่างมากแค่ไหนก็ตาม หากคนไม่เลือกงานแล้ว ก็จะสามารถพัฒนาทักษะทุกๆ ด้านให้เพิ่มขึ้นได้ไม่ยาก ขอเพียงไม่เลือกงาน เพราะหากเรียนจบมาแล้ว มัวแต่เลือกงาน ก็คงได้เลือกไปตลอดชีวิต แต่การหยิบหย่ง ไม่ถือเป็นประสบการณ์ชีวิตจริงๆ

แนะนำกิจกรรมที่น่าสนใจ

       เนื่องจากในวันที่ 6-8 กันยายนนี้ มีการสัมมนาในหัวข้อ “Building Up the Actuarial Profession in Asia” ขึ้น ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนทัล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสัมมนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ให้ผู้บริหารระดับสูง ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักคณิตศาสตร์ประกันภัยอาชีพ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ได้มีโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

       รายละเอียดคร่าวๆ ของการสัมมนาในครั้งนี้ สำหรับวันที่ 6-7 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนฯ มีค่าใช้จ่ายคนละประมาณ 2000 บาท  

       สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้ปกครอง หรือท่านใดที่สนใจสาขาวิชาชีพนี้ แนะนำให้เข้าร่วมการสัมมนาในวันเสาร์ ที่ 8 กันยายน นี้ เวลา 8.45 – 12.00 น. ซึ่งจัดโดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย ณ ห้อง 202 ชั้น 2 ตึกมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์อาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และเพื่อชี้แนะแนวทางการศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษาที่สนใจทางด้านสายงานนี้ด้วย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น                    

ในส่วนของรายละเอียด หรือกำหนดการ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ

http://www.thaiactuary.org/news_view.php?nid=290 

หากท่านใดสนใจ หรือลงทะเบียนไว้แล้ว พบกับเจ้าของบันทึกนี้ได้ในวันที่ 6-7 ที่โรงแรมอินเตอร์คอนฯ และวันที่ 8 ที่จุฬาฯ นะคะ

ขอขอบคุณ

อาจารย์ชญณา พูลทรัพย์

สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย แห่งประเทศไทย และ

ข้อคิดดีๆ จากคุณวินทร์ เลียววาริณ

หมายเลขบันทึก: 124101เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2007 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 02:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

จากที่เคยถามพี่อ่าครับ

ก็ถ้าเรียนที่จุฬาแล้วดูเหมือนว่า จะได้ทักษะทางด้านการบริหารจัดการมากกว่า

แต่ถ้าเรียนที่มหิดลก็จะได้ทักษะทางคณิตศาสตร์มากกว่า

งั้นพี่เรย์ช่วยแนะนำหน่อยได้ไหมอ่าครับว่าควรเลือกทางไหนดีกว่ากันอ่า

สวัสดีค่ะน้อง Job

  • สาขาที่เทียบเคียงได้กับสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยของมหาวิทยาลัยมหิดลและอีกหลายๆ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะสังกัดอยู่ในภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ โดยนักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาเกี่ยวกับการประกันภัยได้โดยการเลือกเรียนเป็นวิชาโทค่ะ แต่หลักสูตรปัจจุบันได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือไม่นั้นพี่เรย์ก็ไม่แน่ใจนะคะ
  • สำหรับที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจะสังกัดกับภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าจะเน้นการเรียนในรายวิชาหลักๆ ตามชื่อของภาควิชาและชื่อคณะ ซึ่งได้แก่ ทฤษฎีสถิติ สถิติประยุกต์ ไปจนถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านธุรกิจเช่น หลักการบัญชี การตลาด ไปจนถึงเศรษฐศาสตร์และรายวิชาเฉพาะที่เกี่ยวกับการประกันภัยเช่น หลักการประกันภัยเบื้องต้น ตารางมรณะ คณิตศาสตร์ประกันชีวิต ฯลฯ หรือกระทั่งหลักกฎหมายเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยค่ะ

ถ้าจะให้พี่แนะนำพี่คิดว่าน้องน่าจะพิจารณาจากหลายๆ อย่างประกอบด้วย เช่น สังคม สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อาจไปจนถึงโอกาสในการเรียนต่อในสาขาเดียวกันนั้น เพราะทักษะทางด้านบริหารจัดการและทักษะด้านคณิตศาสตร์ที่น้องพูดถึงนั้นเป็นสิ่งที่นักศึกษาและคนทำงานทุกคนจำเป็นต้องมีควบคู่กันถึงจะสามารถทำงานได้ดีในสายอาชีพนี้และอีกหลายๆ อาชีพ ดังนั้นทุกหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีทั้งข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันไปค่ะ ดังนั้นสิ่งที่น้องได้รับการสอนและเน้นย้ำจากมหาวิทยาลัยทั้งสองที่ก็จะช่วยให้น้องมีจุดแข็งของทักษะที่แตกต่างกันไปค่ะ

ไม่ว่าจะตั้งใจไว้ว่าจะเลือกเรียนที่ไหน ขอให้น้องสมหวังดังตั้งใจนะคะ พี่เรย์จะเอาใจช่วย ^_^

พี่เรย์

ขอบคุณพี่เรย์มากนะครับ

พี่เรย์ช่วยได้มากเลย

ตอนแรกผมก็ไม่รู้จักอาชีพนักคณิตศาสตร์มาก่อน รู้จากตอนไปแข่งกฏหมายประกัยภัยเห็นกรรมการเขาพูดก็เลยลองมาอ่านบทความดู ถ้าตอนนี้อยู่มัธยม ถ้าจะต่อมหาลัยควรเลือกต่ออย่างไร เพื่อประกอบอาชีพนี้

สวัสดีค่ะคุณ Ble

 

ถ้ากำลังเรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและสนใจในสาขาอาชีพคณิตศาสตร์ประกันภัย การเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยตอนนี้มีให้เลือกอยู่หลายสถาบันค่ะ ทั้งที่เปิดสอนสาขาประกันภัยโดยตรงและมีให้เลือกในรูปแบบของวิชาเลือกค่ะ โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยในระดับปริญญาตรีตอนนี้ เช่น

 

โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการสอบคัดเลือกไว้แตกต่างกัน เช่น บางสถาบันกำหนดสายการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายว่าต้องเป็นสายวิทย์-คณิตเท่านั้น ส่วนรายละเอียดของหลักสูตรและหลักเกณฑ์ต่างๆ ของแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยลองศึกษาจากลิงค์ที่ให้ไว้ดูนะคะ

 

Raynu.

เพิ่งเปิดอ่านดูหนะน่าจะได้อะไรเยอะดีนะ แล้วเรย์ได้ไปด้วยใช้ป่าวเป็นไงบ้างเล่าให้ฟังบ้างสิ ขอถ่ายเอกสารบรรยายด้วยนะ

สนใจที่จะเรียนด้านนี้ค่ะ แต่่ว่าหนูอยู่สายศิลป์คำนวณไม่ทราบว่าจะเรียนได้หรือเปล่าคะ? แต่ก็มีความสามารถทางคณิตศาสตร์พอสมควรค่ะ

ที่พี่เอามาบอกต่างๆนี้มีประโยชน์มากเลยค่ะหนูมีความคิดและลู่ทางมากขั้นและขอบคุณสำหรับข่าวสารของวันที่ 8 กันยายนค่ะ หนูจะไปดูไปฟัง

ขอบคุณมากค่ะ

พี่ค่ะหนูเข้าไปดูหลักสูตรที่จุฬาลงกรณ์ คณะพาณิชเราต้องเลือกเรียน

สาขาสถิติ หรือ สาขาประกันภัยค่ะ

"สนใจที่จะเรียนด้านนี้ค่ะ แต่่ว่าหนูอยู่สายศิลป์คำนวณไม่ทราบว่าจะเรียนได้หรือเปล่าคะ? แต่ก็มีความสามารถทางคณิตศาสตร์พอสมควรค่ะ"

คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มีข้อมูลแค่ที่เดียวนะครับเพราะว่าเรียนอยู่ที่นี้นี่เอง)

รับผู้จบจากทุกสายครับ ไม่ว่าจะสายสามัญหรือสายวิชาชีพ ในส่วนสายสามัญก็รับทั้งสายวิทย์และสายภาษาครับ

สำหรับด้านหลักสูตรนะครับ http://www.sci.kmutnb.ac.th/scibase/index.php/en/bachelor.html

ยังไงแล้วก็สามาถเข้าไปดูข้อมูลหลักสูตรเพิ่มเติมได้นะครับ

คือตอนนี้หนูจะเข้า มหิดล คณะคณิตศาสตร์ประกันภัยน่ะค่ะ

ไม่ทราบว่ารู้จักรุ่นพี่ ที่เรียนอยู่คณะนี้หรือเปล่าค่ะ?

อยากทราบบรรศกาศและการเรียนการสอนของคณะนี้ค่ะ

อยากให้พี่ช่วยแนะนำหน่อยค่ะว่า การเรียนโท เพื่อเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ควรเรียนที่ไหนดีกว่ากัน? (ดูภาพรวมทั้งหมดนะคะ) ระหว่าง เรียนที่คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬา กับ เรียนที่คณะสถิติประยุกต์ นิด้า?

เหมือนกระทู้ 12 ครับ ผมจบปริญญาตรี ด้านบัญชี และสนใจอยากจะเรียน ปริญญาโท ด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยครับ แต่กำลังดูอยู่ 2 ที่คือ ที่คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬา กับ เรียนที่คณะสถิติประยุกต์ นิด้า รบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ ว่าแต่ละที่มีข้อดีและข้อเสียต่างกันอย่างไร

ถ้าได้ข้อมูลเร็วจะดีมากครับ ผมต้องเรียนภาคพิเศษ เพราะต้องทำงานด้วย ทราบมาว่าของนิด้า จะเปิดรับสมัคร ช่วงเดือน ก.ค. นี้แล้ว ส่วนของจุฬาคงต้องรอเดือน ก.พ. ปีหน้า

ผมขอสอบถามข้อมูลหน่อยสิคับว่า ที่ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถ้าจะเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยต้องเรียนวิชาเอกเป็นคณิตเพียว หรือ สถิติ คับ แล้วโอกาสที่จะเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้นยากไหมคับ ถ้ามันยากจนเราไม่สามารถมีโอกาสที่จะได้เป็น พอจะมีงานอะไรบ้างคับที่สามารถรองรับในวิชาเอกที่จะต้องลงเพื่อเรียนนักคณิตศาสตรืประกันภัยข้างต้น

ok... i have some questions.Now im an exchange student(in grade 10) and im deciding about what grade im gonna be when i back thailand.I interest in this job so, anybody know i should back thailand and study grade 10 again or pass to grade 11 ! ps.i want to get in มหิดล

ps2. my school in thailand is Suankularb wittayarai in sci-math.

thank you for suggestion

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท