การเรียนการสอนภาษาไทย


การเขียนเชิงสร้างสรรค์

การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์

เมื่อครูให้นักเรียนเขียนเรียงความจะพบสภาพปัญหาดังนี้

1.       การเขียนคำนำไม่ถูกต้อง  สิ่งที่เขียนมาไม่ใช่คำนำ  แนวการเขียนคำนำมีวิธีเดียวคือเขียนขยายความหมายของชื่อเรื่อง  หรือคัดลอกคำนำจากที่อื่นมา

2.       การเขียนเนื้อเรื่อง  เรียบเรียงประโยคไม่ถูกต้อง  เขียนวกวน   โครงเรื่องไม่สอดคล้องกับชื่อเรื่อง  เขียนขยายความไม่เป็น  เขียนนอกเรื่อง  ไม่มีสาระสำคัญของเรื่องที่เขียน เขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง ไม่มีการใช้ย่อหน้า  ขาดความคิดสร้างสรรค์  เขียนสื่อความไม่ตรงประเด็น  เขียนเรียงเหมือนเขียนย่อความ  คือเขียนสั้นประมาณ 4 5 ประโยค

3.       การเขียนสรุป  ขาดประเด็นสำคัญของเรื่อง   เขียนสรุปความไม่เป็น  ขาดความชัดเจน  ใช้การเขียนขยายความในบทสรุปซึ่งไม่ถูกต้อง

วิธีการแก้ปัญหาการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์

                สร้างแบบฝึกการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ให้นักเรียนฝึกตามลำดับขั้นตอนดังนี้

1.       ฝึกการเขียนคำนำ  โดยสร้างความเข้าใจว่าคำนำคืออะไร ศึกษาตัวอย่างการเขียน คำนำ 10วิธี  แบ่งกลุ่มเขียนคำนำทั้ง 10 วิธี  ตามหัวเรื่องการเขียนเรียงความที่กำหนดให้ 

2.       ฝึกเขียนเนื้อเรื่องเริ่มจากการวางโครงเรื่องต้องมีความสมบูรณ์คืออย่าทิ้งสาระสำคัญ  อย่านำสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือเกินเข้ามา  อย่านอกเรื่อง  เนื้อเรื่องต้องมีความแจ่มแจ้ง คือนักเรียนต้องทำโครงเรื่อง  มีการเขียนต้องใช้ย่อหน้า ใช้การอธิบาย  ใช้อุทาหรณ์และหลักฐานข้อเท็จจริง  ใช้ประโยคหลักและเขียนขยายความเลือกสรรใช้คำให้ถูกต้อง สร้างสรรค์ และเนื้อเรื่องต้องมีความถูกต้อง  วิธีการฝึกขึ้นตอนนี้จะใช้วิธีการฝึกต่อเนื่องจากการเขียนคำนำใช้กลุ่มเดิมและเขียนเรื่องต่อเนื่องจากการฝึกการเขียนคำนำไว้

3.       ฝึกการเขียนสรุปเรื่อง   ขั้นนี้ครูให้ความรู้เรื่องหลักการเขียนคำลงท้ายซึ่งแบ่งเป็น 9 วิธี  แต่มีหลักสำคัญคือไม่ควรมีตัวอย่างเข้ามาสอดแทรกหรือสรุปกล่าวเหมือนกับจะเขียนเรื่องใหม่อีกครั้ง  คำลงท้ายต้องกระชับ  เขียนให้ผู้อ่านรู้สึกว่า ไม่เสียเวลาที่อ่าน ใช้วิธีการฝึกเช่นเดียวกับการเขียนคำนำและเนื้อเรื่อง

4.       การแก้ปัญหาการเขียนสะกดคำผิด  ให้นักเรียนฝึกการเขียนสะกดคำตามคำบอก วันละ 5 คำ  โดยให้นักเรียนเตรียมคำมาและเป็นคนบอกให้เพื่อนเขียน (เรียงตามเลขที่) และระหว่างเขียนเรียงความ  ถ้าคำที่นักเรียนไม่มั่นใจให้เปิดพจนานุกรม ฝึกจนเป็นนิสัย

ผลหลังการฝึก

1.       การเขียนคำนำมีความหลากหลาย  และเขียนคำนำได้น่าอ่าน  ชวนติดตามอ่านเนื้อเรื่องต่อไป

2.       การเขียนเนื้อเรื่อง มีการวางโครงเรื่อง และใช้ย่อหน้า มีการใช้ความรู้มาอ้างอิงการเขียนเรียงความให้สมบูรณ์น่าเชื่อถือ  มีพัฒนาด้านการใช้ภาษาและการเขียนสะกดค

3.       การเขียนสรุป  มีความชัดเจน  มีพัฒนาการเขียนดีขึ้น

http://www.noknoi.com/magazine/article.php?t=1242

หมายเลขบันทึก: 124018เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2007 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

น่าจะมีตัวอย่างอะ

คุณครูมีชุดฝึกใหมครับ ผม สนใน  ช่วยอนุเคราะห์ทางเมล์ให้ด้วยครับ

น่าจะมีตัวอย่างที่ชัดเจนกว่านี้เพราะคนดุไม่รู้ว่ามันคืออะไร

อยากเห็นตัวอย่างจัง กำลังทำโครงงานพอดีเลย

น่าจะมีตัวอย่างนะคะ

รบกวนขอตัวอย่างได้ไหมคะ ลูกชายต้องแต่งส่งคุณครูคะ ขอบคุณค่า

ขอความอนุเคราะห์แบบฝึกด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง

งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง

งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง

งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง

บ้า

บ้า

บ้า

บ้า

บ้า

บ้า

บ้า

บ้า

บ้า

บ้า

บ้า

บ้า

บ้า

บ้า

บ้า

น่าจะมีตัวอย่างนะคะ

อยากได้ตัวอย่างคะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท