มาเร็ว ! มาดูกัน


สาระน่าอ่าน
นมผึ้งหรือรอยัลเยลลี่ (Royal Jelly) คืออาหารที่ผึ้งงานวัยอ่อน (อายุระหว่าง 5-15 วัน) ผลิตขึ้นจากขบวน การผลิตภายในตัวผึ้งงานจากต่อม Hypopharyngeal ภายในส่วนหัวของผึ้งงาน เพื่อเป็นอาหารสำหรับป้อนผึ้งนางพญา รอยัลเยลลี่ มีลักษณะเป็นของเหลวข้น สีขาวครีม ส่วนประกอบของรอยัลเยลลี่ ในรอยัลเยลลี่ จะมีสารอาหารต่าง ๆ สมบูรณ์มากคือ มีคาร์โบไฮเดรท 10-20% โปรตีนประมาณ 14-15% ไขมันประมาณ 3-5% เถ้าประมาณ 1-2% น้ำประมาณ 67-70% และอุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิด คุณสมบัติของรอยัลเยลลี่ ที่มีคุณค่าแก่มนุษย์ จากการรายงานต่าง ๆ ของประเทศที่เจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ และนิยมบริโภคเป็นประจำสามารถพิสูจน์ได้ว่ารอยัลเยลลี่เป็นอาหารธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการทางแพทย์สูงมาก สามารถบริโภคได้เป็นจำนวนมากและตลอดไป โดยไม่มีปฏิกริยาแทรกซ้อนหรือทำให้ร่างกายผิดปกติแต่อย่างใด ตรงกันข้ามถ้าได้บริโภคเป็นประจำ โดยเฉพาะการบริโภคนานกว่าครึ่งปีขึ้นไปแล้ว จะได้ผลดีมากเป็นพิเศษ ทำให้การเจริญเติบโตเป็นไปด้วยดี ร่างกายมีพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ การบริโภคเป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานานเป็นวิธีการที่ถูกต้อง และให้ผลสมบูรณ์ที่สุดพิษผึ้ง (Bee Venom) คือสารประกอบโปรตีนที่ผึ้งปล่อยออกมาจากต่อมสร้างพิษ ผ่านออก ทางเหล็กไนของผึ้งงาน ผึ้งงานเมื่อเกิดขึ้นมาในระยะแรกนั้นยังสร้างพิษไม่ได้ แต่หลังจากอายุในช่วง 10-14 วัน ปริมาณพิษผึ้งมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะทำหน้าที่ในการป้องกันรังจากศัตรู องค์ประกอบทางเคมีของพิษผึ้งที่คุณค่าทางการแพทย์ เช่น ฮีสตามิ (Histamine) เชอโรโตนิน (Serotonin) โดพามิน (Dopamine) ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโน และเอ็นไซม์ เป็นองค์ประกอบเล็กน้อย

 

ไขผึ้ง (Bee Wax) เป็นไขบริสุทธิ์ผลิตโดยต่อมไขผึ้ง 4 คู่ ซึ่งอยู่ที่ส่วนท้องของลำ ตัวผึ้งงานที่มีอายุ 2 สัปดาห์ โดยผึ้งสังเคราะห์จากน้ำตาลที่มีโมเลกุลเชิงเดี่ยวภายในระบบย่อยอาหาร ไขผึ้งโดยปกติจะมีสีขาวบริสุทธิ์ แต่เมื่อทำการหลอมไขผึ้งซึ่งนำมาจากรังผึ้ง อาจจะมีสีน้ำผึ้ง เกสร ปะปนอยู่ในไขผึ้ง จึงทำให้ไขผึ้งเปลี่ยนสีไปตามสภาพที่มีสิ่งนั้น ๆ มาเจือปนบางครั้งจึงต้องมีการฟอกไขผึ้งให้มีสภาพกลับไขเป็นสีขาวบริสุทธิ์ตามเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด ไขผึ้งส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้ง โดยใช้ในการผลิตแผ่นรังเทียมของผึ้ง อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ในสูตรผสมของครีมต่าง ๆ โลชั่น น้ำมันแต่งผม ลิปสติกและรูธ อุตสาหกรรมเทียนไข โดยเฉพาะทางศาสนา นอกจากนี้ยังใช้ไขผึ้งในงานเภสัชกรรม งานทันตแพทย์ งานหล่อแบบต่าง ๆ ซึ่งใช้ไขผึ้งในกระบวนการผลิตการใช้เป็นส่วนประกอบของวัสดุในน้ำ ยาขัดมันพื้น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องหนัง และเลนส์กล้องส่องทางไกล เป็นต้น
 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12392เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2006 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท