“หัว (ไม่เคย) สวมหมวกนิรภัย หัวใจ (ไม่เคย) สวมกฎจราจร”


ทำไมนิสิตจึงไม่ใคร่ที่จะดูแลตนเองกันบ้างเลย

ช่วงนี้ผมกำลังเผชิญหน้ากับการงานอันหนักหน่วงหลายประการ  จะทั้งด้วยเหตุผลของห้วงปลายปีงบประมาณ  หรือแม้แต่พันธกิจที่ตนเองเฝ้าฝันที่จะขับเคลื่อนทั้งภายในและภายนอกองค์กร

งานวินัยจราจรเป็นงาน ด่วน  ที่วิ่งตามผมมาอีกรอบหลังจากที่พักมือไปยาวนานร่วม ๓  ปี   ซึ่งครั้งนี้ผู้บริหารมอบหมายให้คิดโปรโจค  หรือกระบวนการที่จะกระตุ้นเตือนให้นิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับเรื่อง วินัยและกฎหมายจราจร  ในมหาวิทยาลัย  

  

สิ่งที่ผมค่อนข้างมั่นใจมากประการหนึ่งก็คือ  มหาวิทยาลัยมหาสารคามน่าจะเป็นสถาบันที่มีนิสิตใช้รถจักรยานยนต์มากเป็นอันดับต้น ๆ ของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย

ในห้วงหนึ่งที่ผมเคยดูแล,  ผมและทีมงานเพียงไม่กี่คน  ประสานสิบทิศเพื่อให้มีทั้งการป้องกันและบังคับใช้มาตรการ  ไม่ว่าจะเป็น  จัดสอบใบอนุญาตขับขี่ให้นิสิตปีละไม่ต่ำกว่า    รอบ,  การบริการตรวจเช็คสภาพรถและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องฟรี,  การจำหน่ายหมวกกันน็อคในราคาต้นทุน,  การให้บริการต่อทะเบียนรถจักรยานยนต์,  บริการจำหน่าย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย ,  ...    

 

นั่นยังไม่รวมถึงกิจกรรมรณรงค์ทั่วไปที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการตั้งหน่วยสวัสดิภาพ  ๒๔  ชั่วโมงในรูปแบบของการแพทย์ฉุกเฉิน (E.M.S)  ประกาศโซนนิ่งถนนสีขาวในมหาวิทยาลัย   ตลอดจนการรณรงค์อย่างจริงจังในเทศกาลต่าง ๆ  จนได้รับเชิญไปออกรายการโทรทัศน์สด ๆ มาแล้วเช่นกัน !  

 

ช่วงนั้นผมพยายามลุยงานด้านนี้อย่างเต็มพิกัด  เปิดเวทีกิจกรรมร่วมกับองค์กรภายนอกอย่างสม่ำเสมอ  และสร้างแกนนำเครือข่ายออกมาลุยด้วยกันอย่างสนุก  กระทั่งทุกอย่างเริ่มไปดีในระดับหนึ่ง  กลับพลิกชะตากรรมอย่างเงียบงันเมื่อผมจำต้องพลัดหลงไปสู่การบริหารงานในแผนกอื่น  ซึ่งชะตากรรมนั้นก็ประหนึ่งจะถีบกิจกรรมเหล่านี้ถอยกลับลงสู่  หลุมดำ  อีกครั้ง (อย่างเงียบ ๆ )

  

จะว่าไปแล้วเรื่องวินัยจราจรเป็นเรื่องสวัสดิการพื้นฐานของทุกคนที่ต้อง ดูแลตนเอง  เป็น วินัย  และ วัฒนธรรม อันดีของการรักตนเองและรักสังคมที่พึงยึดปฏิบัติอย่างเป็นกิจวัตร   เพราะการดูแลตนเองในเรื่องวินัยจราจรก็เป็นเสมือนการดูแลสังคมด้วยเหมือนกัน  

  

และจากปรากฏการณ์จริง,  เรื่องวินัยจราจรก็เป็นปัจจัยอันสำคัญที่นำพาไปสู่การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล  ทั้งประสบด้วยตนเอง หรือแม้แต่เป็น ต้นเหตุ  ให้คนอื่นได้ประสบชะตากรรม ...    

ผมเคยปวารณาตน ๒๔  ชั่วโมงในการช่วยเหลือนิสิตผู้ประสบอุบัติเหตุ  ทันทีที่หน่วยสวัสดิภาพแจ้งเหตุมายังผม   ค่ำคืนดึกดื่นเงียบสงัดสักแค่ไหนก็ต้องทะยานออกจากห้องไปดูด้วยตนเอง 

   

 

เคยแม้กระทั่งเข้าไปในแผนกฉุกเฉินเพื่อดูคุณหมอปั๊มหัวใจของนิสิต ... เคยให้ไหล่ของตนเองอิงซบหัวใจของนิสิต หรือแม้แต่ผู้ปกครองที่เกิดจากการสูญเสีย คนของความรัก..  ของตนเอง

   

 

ทุกวันนี้,  มหาวิทยาลัยยังไม่มีหน่วยงานด้าน งานจราจร  โดยตรง  งานรักษาความปลอดภัยขึ้นตรงกับกองอาคารและสถานที่   รปภ. ที่รับผิดชอบด้านจราจรก็มีจำนวนอันน้อยนิด  ซึ่งทั้งหลายนั้นก็รับผิดชอบในด้านการอำนวยความสะดวกเรื่องเส้นทางจราจรในภาคเช้า..และภาคเย็น เป็นที่ตั้ง 

   

งานด้านการจราจรในมหาวิทยาลัยจึงยังคงไม่ถูก หยิบยก หรือ สถาปนา  ขึ้นมาขับเคลื่อนและขับส่งกันอย่างจริงจัง    กองกิจการนิสิต,  จึงพลอยพลัดหลงไปสู่กระบวนการทำงานอย่างจิปาถะในเรื่องพรรค์นี้  นับตั้งแต่การให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม (Education)  การแพทย์ฉุกเฉิน (E.M.S)  การบังคับใช้กฎหมาย  (Law  Enforcement)  รวมถึงการจับมือนิสิตและชุนชนสำรวจพื้นที่ความเสี่ยงเพื่อนำไปสู่การปรับแก้ในเรื่องวิศวกรรม  (Engineering)

    

ครั้งนี้, ...

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมพยายามที่จะสร้างค่านิยมอันดีงามในเรื่องเหล่านี้อีกครั้ง  โดยเริ่มจากการกำหนดให้ วินัยจราจร  เป็นหนึ่งใน วัฒนธรรมมหาวิทยาลัย  ที่นิสิตจะต้องยึดปฏิบัติ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">งานวินัยจราจรไม่ได้เคลื่อนตามผมมาทุกอย่าง  หลายอย่างยังอยู่อีกฟากหนึ่งของสายงาน   ผมมาสู่กระบวนการของการ บังคับใช้  มาตรการในทางวินัยนิสิต   แต่เบื้องต้นก็ใช้วิธีโหมโรงใหญ่ ๆ ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อและกิจกรรมต่าง ๆ  ทั้งขบวนรณรงค์,  ป้ายประชาสัมพันธ์, แผ่นปลิว,  คอนเสิร์ต, บรรยายตามห้องเรียน,  สปอร์ตวิทยุ, แซววาที ..</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และที่เตรียมที่จะประกวดสื่อรณรงค์ในด้านต่าง ๆ  อาทิ หนังสั้น, ละครทีวีของมหาวิทยาลัย </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>แต่ขณะนี้, ผมกำลังเดินทางมาถึงขั้นตอนของการบังคับใช้กฎหมาย  (Law  Enforcement)  ซึ่งหมายถึงการบังคับใช้ด้านการตัดคะแนนความประพฤติ ..    </p><p></p><p>เป็นงานที่เหนื่อย … และเหนื่อยมาก    </p><p> </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หากแต่ทุกครั้งที่ติดตามไปให้กำลังใจทีมงาน  หรือแม้แต่การลงไปร่วมปฏิบัติงานกวดขันอยู่ตามท้องถนนของมหาวิทยาลัย   การได้พานพบรอยยิ้มเสียงหัวเราะ หรือแม้แต่เสียงบ่นอย่างน่าชังของนิสิตก็ช่วยให้การทำงานอยู่รื่นรมย์อย่างไม่น่าเชื่อ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p></p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ที่ตั้งขามเรียง)   เป็นพื้นที่ที่ถูกรายรอบด้วยชุนชนหลายหมู่บ้าน  , กอปรกับจำนวนนิสิตอย่างมหาศาล  ยังผลให้ท้องถนนเต็มไปด้วยการจราจรที่คับคั่ง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมไม่รู้หรอกว่าสิ่งที่ขับเคลื่อนผ่านมาและที่กำลังขับเคลื่อนอยู่นี้จะประสบความสำเร็จแค่ไหน …  แต่ก็ยังยืนยันว่าจะทำต่อไป</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กระนั้นก็อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า ทำไมนิสิตจึงไม่ใคร่ที่จะดูแลตนเองกันบ้างเลย ?” </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>หัว (ไม่เคย) สวมหมวกนิรภัย  หัวใจ (ไม่เคย) สวมกฎจราจร  </p><p></p><p>  </p>

หมายเลขบันทึก: 123855เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2007 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

โรค ยามาฮ่า ฮอนดา โรคซูซูกิ

แก้ได้บ้างไม่ได้บ้าง

หมวกกันน็อคเอาไม่อยู่  ต้องใช้หมวกกันตายไม่ฟื้น

หาอาสาสมัครยืนเป็นหุ่นยมฑูตยืนตาม4แยก

เอ๊ะหรือจะเปลี่ยนชุดจราจรเป็นยมฑูตดี

ต้องใช้กฏของมหาวิทยาลัยเข้ามาบังคับค่ะ ขนาดตำรวจเขามีกฏหมายมีใบสั่งยังไม่กลัวกันเลย เรื่องแบบนี้รณรงค์ยากค่ะ เสนอว่าน่าจะมีใบสั่งเหมือนตำรวจ โดนครั้งแรกตักเตือน โดนครั้งที่สองออกเอกสารติดบอร์ดประจาน โดนครั้งที่สามห้ามนำมอเตอร์ไซต์ทะเบียนที่โดนเข้ามหาวิทยาลัย 1 เดือน ถ้าฝ่าฝืนแอบนำเข้ามาแล้วจับได้ ก็ห้ามนำเข้ามหาวิทยาลัยอีกตลอดเทอม แบนทะเบียนนี้ไปเลย เล่นไม่ยาก ดูซิว่านักศึกษาจะมีปัญญาเปลี่ยนรถใหม่ได้กี่คัน ที่ต้องโหดก็เพราะเพื่อความปลอดภัยของเขาเองค่ะ ที่แนะนำแบบนี้เพราะว่าเคยเป็นเด็กซ่ามาก่อน รับรองได้ว่าเขาไม่สนหรอกค่ะการรณรงค์แบบนี้ แต่ถ้าจะทำตามนี้ได้ต้องจ้างรปภ.เพิ่มแน่นอน

ไม่มีใครจะเป็นได้อย่างที่เราคิดจะให้เป็น

ด้วยวิสัยของการมองแตกต่างกัน

จำต้องเน้นให้รู้จักความสำคัญ

อีกทั้งมีกฏไว้เป็นหลักป้องกัน

ถึงอย่างนั้น ก็อาจจะช่วยได้ระดับหนึ่ง

เท่านี้ดีแล้ว

อย่าหวังสิ่งใดให้มากเกินไป

รักษาสุขภาพด้วย

สุข สงบ เย็น

กำลังเฝ้ามองดูอาจารย์ด้วยหัวใจที่จดจ่อ

ยากครับ ยากมากๆ

ตราบใดที่กระทั่งพ่อแม่เขาก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องนี้

เจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็ไม่ให้ความสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ผมเชื่อว่าตราบชั่วอายุผม ก็อาจจะยังไม่มีโอกาสได้เห็น "หัวใจสวมกฏจราจร" ของคนไทยครับ

สวัสดีครับ พ่อ ฯ

P

ขอบพระคุณพ่อฯ มากที่ช่วยกรุณาแนะนำให้ให้ช่องทางและรูปแบบที่หลากหลายขึ้น  โดยเฉพาะประเด็นนี้น่าสนใจ

หาอาสาสมัครยืนเป็นหุ่นยมฑูตยืนตาม4แยก

เอ๊ะหรือจะเปลี่ยนชุดจราจรเป็นยมฑูตดี

....

ขอบพระคุณครับ

สวัสดีครับ  น้องซูซาน

P

ที่ มมส.  ตำรวจไม่ได้เข้ามาตรวจจับภายในมหาวิทยาลัย  ทั้งที่เราเองก้ไม่ติดขัด  แต่คงเป็นเพราะการให้เกียรติสถาบันกระมังคับ ..

ในอดีตเมื่อ 2 ปีที่แล้ว  พี่ใช้วิธีไม่มีหมวกห้ามเข้า ... แต่เสียดายไม่มีใครเคลื่อนเรื่องนี้ให้ 

คนไทยเราก็แปลกชอบการบังคับใช้ "มาตรการ"  ในทุก ๆ เรื่อง  แทนที่จะดูแลตนเอง เคารพวินัยโดยไม่ต้องมีใครมาเคี่ยวเข็ญ ..

ที่มหาวิทยาลัยยังอ่อนพลังในเรื่อง รปภ.  ผมเห็นที่อื่นเข้มแข็งมาก   ไม่มีการปราณีปราศรัยว่ากันตามกฎอย่างเคร่งครัด  ซึ่งแตกต่างลิบลับจากที่นี่ 

ขอบใจมากนะสำหรับไอเดียเจ๋ง ๆ ที่คิดว่า "กำราบ" วัยรุ่นได้ชะงักนัก ...

แล้วจะนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

...

 

สวัสดีค่ะ

ในอดีตเมื่อ 2 ปีที่แล้ว  พี่ใช้วิธีไม่มีหมวกห้ามเข้า ... แต่เสียดายไม่มีใครเคลื่อนเรื่องนี้ให้ 

เรื่องนี้ลำบากค่ะ ถ้าไปเข้มงวดมาก นักศึกษาไม่ชอบ ย้ายออก มหาวิทยาลัยคงไม่happy หรอกค่ะ

ต้องอบรมให้เห็คุณโทษกันค่ะ ทุกเดือนค่ะ จนกว่าจะดีขึ้น

แวะมาให้กำลังใจครับ

สวัสดีครับ 

P

อันที่จริงผมก็มองในกรอบเดียวกันว่า  เรื่องเหล่านี้ต้องดำเนินการใน 2  ลักษณะควบคู่กันไป  คือ  การรณรงค์ด้วยกระบวนการต่าง ๆ อย่างหลากหลายและต่อเนื่องเพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญของการเรื่องวินัยจราจร

เช่นเดียวกับอีกอย่างก็คือ  การนำมาตรการมาบังคับใช้   เพราะเราค้องไม่ลืมว่า  คนเรามักไม่มีค่านิยมที่ดีในทางวินัย   และดูเหมือนชอบให้บังคับใช้กฎกติกาเสมอ

ขอบพระคุณในข้อเสนอแนะอันมีประโยชน์นะครับ

จำต้องเน้นให้รู้จักความสำคัญ

อีกทั้งมีกฏไว้เป็นหลักป้องกัน

แต่ทุกอย่างก็ยังเชื่อว่าจะได้ผลดีในระดับหนึ่งเท่านั้น,  กระนั้น  ผมก็ยังต้องขับเคลื่อนให้เกิดกระแสจิตสำนึกในเรื่องนี้อย่างสุดความสามารถ

 

สวัสดีครับ

P

ผมรู้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องยากมาก  แต่ก็ยังต้องพยายามอย่างเต็มที่  เพื่อเป็นเสมือนการช่วยลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน

ข้อสังเกตของอาจารย์ฯ น่าสนใจมากครับ  โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง "ครอบครัว"

เด็กนักเรียนจำนวนมากที่ขับรถจักรยานยนต์มาโรงเรียน  แต่ไม่ยอมสวมหมวกนิรภัย  ผมไม่เข้าใจว่า  ผู้ปกครองได้ใส่ใจเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน  รวมทั้งรถที่ใช้ก็ดัดแต่งไปตามรสนิยมของวัยรุ่น 

เรื่องเหล่านี้สะท้อนถึงความใส่ใจของผู้ปกครองที่มีต่อลูกหลานของตนเองได้อย่างชัดเจนไม่น้อยเลยทีเดียว

ครั้นผู้ปกครองละเลยในเรื่องพรรค์นี้,  ปัญหานั้นก็มาสุมทับอยู่กับสถานศึกษาและเจ้าหน้าที่ตำรวจ  ซึ่งต้องกำกับดูแลและกวดขันกันอย่างเข้มแข็ง

แต่ทำไมนะ... พวกเขาจึงไม่รู้สึกที่จะ "ดูแลตนเอง"  เสียบ้าง...

สวัสดีครับ พี่ศศินันท์

P

อันที่จริงผมเองก็ให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างความรู้ความเข้าใจเป็นอันดับแรกเลยนะครับ  เพียงแต่เสียดายว่างานนี้ไม่ได้เบ็ดเสร็จอยู่ที่ผม  ...

แต่ตอนนี้ผมก็สร้างทีมงานขึ้นมาทำเรื่องเหล่านี้อีกครั้ง  ขณะที่การบังคับใช้มาตรการก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน

ขอบพระคุณแนวคิดดี ๆ ที่นำมาฝากผมอยู่ตลอดเวลานะครับ

สวัสดีครับ

P

ขอบคุณมากครับ...

และเช่นกันก็ขอให้มีพลังชีวิตในการทำงานและก่อร่างสร้างฝันในทุกกระบวนการของชีวิตนะครับ

....

ขอบคุณครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท