Global Trend in University Governance : ๑๑. ความรับผิดชอบของกรรมการสภาฯ


กรรมการสภามหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะมาจากคนนอก จากวงการธุรกิจ จากหน่วยราชการ จากคณาจารย์ ฯลฯ เมื่อมาเป็นกรรมการสภาฯ แล้ว ต้องไม่ทำตัวเป็นปากเสียงรักษาผลประโยชน์ของพวกตน นี่คือหลักการความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของ fiduciary responsibility ต้องทำตัวเป็นปากเสียงรักษาผลประโยชน์ในภาพรวมของสถาบัน

 

          หัวใจของการทำหน้าที่ บอร์ด คือ การทำเพื่อผลประโยชน์ขององค์กร     ถือผลประโยชน์ขององค์กรเหนือสิ่งอื่นใด     และทำหน้าที่เป็นองค์คณะ ไม่ใช่แบบศิลปินเดี่ยว      เป็นหน้าที่ที่เรียกในภาษาการจัดการว่า fiduciary   responsibility 

          ผมเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยมากว่า ๑๐   ปี      เพิ่งมาเข้าใจหลักการนี้     ซึ่งหมายความว่ากรรมการบอร์ดทำหน้าที่กำกับดูแลแทนผู้ถือหุ้น     ให้ฝ่ายบริหารดำเนินการองค์กรตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้     และเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น

          ต่อมา พบว่าแรงขับเคลื่อนที่เน้นผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นมันอาจนำไปในทางเสื่อม     จึงเกิดหลักการ CSR เข้ามาเสริม        ภายใต้หลักการนี้ บอร์ดต้องดูแลให้องค์กรดำเนินการ โดยมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย     ไม่ใช่แค่รับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นเท่านั้น

          ภายใต้หลัก CSR องค์กรต้องรับผิดชอบต่อสังคมภาพรวม  สังคมโดยรอบที่ตั้งองค์กร  ผู้ถือหุ้น  เจ้าหน้าที่ขององค์กร  และต่อ “สุขภาพ” ในระยะยาว หรือที่เรียกว่า ความยั่งยืนขององค์กรด้วย     และไม่ใช่แค่รับผิดชอบในมุมของผลประกอบการ    แต่ต้องรับผิดชอบในมุมของคุณธรรม จริยธรรม ด้วย

          คำว่า “ผู้ถือหุ้น” มันเป็นภาษาทางธุรกิจ     เวลาเราอ่านโดยใส่หมวกกรรมการสภามหาวิทยาลัยของรัฐ เราต้องตีความเอาเอง ว่าหมายถึงใคร     ผมตีความว่าหมายถึงคนไทยทั้งประเทศ    เพราะเงินที่เอามาอุดหนุนมหาวิทยาลัย มาจากภาษีของประชาชน     ไม่ใช่หมายถึงคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย  

          กรรมการสภามหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะมาจากคนนอก  จากวงการธุรกิจ  จากหน่วยราชการ  จากคณาจารย์ ฯลฯ      เมื่อมาเป็นกรรมการสภาฯ แล้ว      ต้องไม่ทำตัวเป็นปากเสียงรักษาผลประโยชน์ของพวกตน     นี่คือหลักการความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของ fiduciary   responsibility     ต้องทำตัวเป็นปากเสียงรักษาผลประโยชน์ในภาพรวมของสถาบัน     

วิจารณ์ พานิช
๑  ส.ค. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 123828เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2007 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท