ภูมิปัญญากับการดำเนินชีวิตตอนที่ 8


คนสมัยก่อน มักนิยมเก็บเหล้าสาโทพื้นเมือง...............

วันนี้เข้ามาเช้าหน่อยเพราะว่าว่างจากการทำงาน  ก็เลยหาโอกาสเข้ามาเพิ่มเติมเสียเลย  เห็นเพื่อนๆนักศึกษากลุ่มต่างๆเข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำสาโทแล้ว  คิดว่าคงจะนำไปเองได้  ก็เลยกะว่าอาทิตย์นี้ก็คงทำให้เสร็จ  แต่ถ้าไม่เสร็จก็คงจะต่ออีกช่วงหนึ่ง  55555 อย่าว่ากันนะ มาลองนึกดูว่าภูมิปัญญาของพวกเราชาวเหนือนี้ก็น่าทึ่งนะ โยเฉพาะคนรุ่นก่อนๆ ท่านคิดค้นออกแบบได้อย่างน่าทึ่งมากๆๆ เราคนปัจจุบันยังนึกไม่ถึงเลย  แสดงว่าคนสมัยก่อนท่านมีความรู้ที่เรียนสืบต่อๆๆกันมา แล้วรู้จักถ่ายทอดและคิดค้นในสิ่งที่ตัวเองยังไม่ชำนาญ หรือชำนาญแล้วก็คิดค้นขึ้นใหม่ๆๆ ยอมรับจริงๆครับ ถ้ามาคิดถึงคนสมัยนี้ก็จะทำให้รู้เลยว่า คนเราสมัยนี้มองข้ามภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ไปมากๆ บางทีก็มองว่า ความคิดของท่านทั้งหลายเหล่านั้นหล้าหลังบ้าง ไม่ทันเกมบ้าง  คิดแล้วมันน่านะ  เฮ้อ......แบบนี้เราจะยืนอยู่บนทางเดินที่เรียกว่า "พอเพียง" ได้อย่างไรนะ อะ.....พูดไปก็เท่านั้นเรามาเรียนรู้กันต่อเลยนะครับเกี่ยวกับการทำสาโทพื้นบ้านครับ........

ขั้นตอนในการทำสุรากลั่น 

1. ถังน้ำประมาณ 200  ลิตร  จำนวน    1  ลูก

2. กระทะ  1   ใบ

3. อุปกรณ์เสริม

4. ใช้เวลาใน  1 วัน ต่อการกลั่นสาโทประมาณ   1  โอ่ง

5. เมื่อต้องการดื่มประมาณน้อยควรใช้หลอดก้านมะละกอใช้ในการดูด เพื่อเป็นการไม่ให้เสียรสชาติ เพราะก้านมะละกอมียางที่ไม่ทำให้เหล่าเสียเร็วและยังเป็นตัวยาช่วยให้ไม่เกิดอาการร้อนในด้วยหลังจาการดื่มมาก

6. เมื่อต้องการดื่มให้มีรสชาติและการตักให้ได้มากก็ต้องใช้กระบวยตัก จะทำให้สาโทหรือเหล้าขาวกลั่นไม่เสียรสชาติ

การทำสาโทให้เป็นสุรากลั่น

     คนสมัยก่อน มักนิยมเก็บเหล้าสาโทพื้นเมืองหรือสาโทพื้นบ้านเอาไว้กินนานๆไม่ได้ เพราะไม่มีสารกันบูดและอาจทำให้รสชาติเปลี่ยนไป ต่อมาได้มีการคิดค้นวิธีการเก็บรักษาเหล้าไว้ให้นาน โดยได้มีการคิดหลายรูปแบบ บางครั้งก็เอามาต้มทั้งข้าว ทั้งน้ำแต่ก็ไม่เป็นที่นิยมกัน เพราะทำให้รสชาติเหมือนกับดื่มน้ำธรรมดา ไม่มีรสชาติเลย ประมาณ 50- 60ปี ที่ผ่านมาซึ่งตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านได้มีการหาวิธีการมาตลอด จนถึงปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการนำวิธีการต่างเข้ามาใช้ซึ่งนำเอาสิ่งเหล่านี้ไปทำเป็นไวท์ประเภทต่างๆ ตลอดจนจำนวนเหล้าหรือเครื่องดื่มจำนวนมากที่นำไปจดเป็นลิขสิทธิ์ในการจำหน่ายจนถึงทุกวันนี้

วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ  เพราะว่ามันยาวนะครับ  แต่รับรองว่า อาทิตย์หน้าจบแน่นอนครับ  ฝากขอคิดอีกอย่างนะครับ  " เราคนไทยถ้าไม่รักกันแล้ว แล้วใครจะมารักพวกเราละครับ" ปล. อยากให้คนไทยรู้รักสามัคคีกันไว้นะครับ

คำสำคัญ (Tags): #รัก#สามัคคี
หมายเลขบันทึก: 123667เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2007 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เมื่อครั้งได้รับการสนับสนุนให้รวมกลุ่มกันจดทะเบียนกิจการ เป็น OTOP เป็นภูมิปัญญา เห็นมีกันมากมายหลายโรงกลั่น ปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่โรง
  • โรงกลั่นที่มีเป้าหมาย "เพิ่มรายได้" คือ ทำเพื่อขาย ล้มไปหมดแล้ว สาเหตุหลักคือ ขาดการเรียนรู้รากเหง้าของตนเอง
  • โรงกลั่นที่มีเป้าหมาย "ลดรายจ่าย" คือ รวมกลุ่มกันทำเพื่อให้ภูมิปัญญานี้ถูกกฎหมาย(ตำรวจไม่จับ-ไม่ต้องเสียค่าปรับ) และใช้ในการดื่มในงานสำคัญและการใช้ประกอบพิธีที่จำเป็นเช่น เลี้ยงผีของชนเผาปวากาญอ เป็นต้น ซึ่งเขาจำเป็นต้องมีเหล้า แต่หากซื้อจากร้านค้าแล้วราคาแพงมาก (ปัจจุบันเหล้าขาวขวดละ 90 บาท) โรงกลั่นเหล่านี้อยู่รอด และมีอยู่ในปัจจุบัน แถมยังปลอดจากการรบกวนจากตำรวจซ๊ะด้วย
  • รอดหรือไม่รอดอยู่ที่เป้าหมายครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท