เราจะแก้ปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างไร


Earth Protector

จากบันทึก Thai Temple In The Sea และ
ชีพจรโลก
รวมถึงบันทึกที่น่าสนใจของคุณ
เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ซึ่งเป็นปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นตลอดแนวชายฝั่งทะเลของไทยและชายฝั่งทะเลอีกหลายมุมโลก เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจนทำให้มีการกัดเซาะที่รุนแรง

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีความยาวค่อนข้างมาก กล่าวคือ ฝั่งอ่าวไทย มีความยาวชายฝั่งตลอดแนว 1,878 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลอันดามัน 937 กิโลเมตร (จากข้อมูลกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) ตลอดทั้งสองแนวชายฝั่งมีทรัพยากรทางทะเลหลากหลายชนิดทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ มากมาย อาทิ การท่องเที่ยว การทำประมง ชายฝั่ง การคมนาคมทางน้ำ หากเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มขึ้นก็อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจตามมา

จากการประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับธนาคารโลก พบว่าการกัดเซาะชายฝั่งถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ โดยมีพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งขั้นวิกฤติมี 30 แห่ง โดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยตอนบน ตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกงจนถึงปากแม่น้ำกลองครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กทม. สมุทรสาครและสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่อ่อนไหวและพบปัญหารุนแรงที่สุดในประเทศ โดยแนวชายฝั่งของไทยหลายพื้นที่กำลังเผชิญกับ การกัดเซาะในอัตรามากกว่า 1-5 เมตรต่อปี หากคิดอัตราสูญเสียพื้นดินโดยรวมแล้วจะอยู่ที่ 2 ตารางกิโลเมตรต่อปี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 6,000 ล้านบาท

การแก้ปัญหาในปัจุบัน จะใช้สิ่งก่อสร้างทางวิศวกรรมชายฝั่งทะเล เช่นการสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่เพื่อป้องกันคลื่นหรือสร้างรอยดักตะกอนร่องน้ำ ซึ่งต้องใช้งบประมาณการก่อสร้างจำนวนหลายร้อยล้านบาท แต่ก็ยังหาข้อสรุปรูปแบบวิศวกรรม ชายฝั่งทะเลที่จะใช้ในการแก้ปัญหาไม่ได้ เพราะพบว่า โครงสร้างป้องกันเหล่านี้กลับเป็นสาเหตุหลักในการไหลเวียนของกระแสน้ำยิ่งสร้างปัญหาทำให้เกิดการกัดเซาะไปสู่บริเวณใกล้เคียงมากขึ้น

ปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่งนี้มิได้เกิดขึ้นแต่บริเวณชายฝั่งทะเลเท่านั้น ปัญหานี้ได้เกิดในแม่น้ำสายสำคัญๆ เช่นลำน้ำโขงมีความยาวถึง 330กม.ของเราด้วย (จากข้อมูลพบว่าการสร้างเขื่อนหรือแนวเขื่อนกันที่มีระยะทางเพียง 40กม. รัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณสูงถึง 2พันล้านบาท)

ปัญหานี้จึงมีความสำคัญและสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อผืนแผ่นดินของเรา เป็นผลกรรมจากการกระทำโดยน้ำมือมนุษย์ทุกคนทั่วโลกและเราต้องเผชิญหน้ากับมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้......

ต้นมะพร้าว......

เขื่อนคอนกรีต ทีถูกกัดเซาะ

ถนน -

การแก้ปัญหาเชิงป้องกันแบบบูรณาการ

หลังจากพยายามคิดวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว ปราชญ์ชาวบ้านผู้หนึ่งก็ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่งด้วยยางนอกของรถยนต์  โดยนำยางนอกของรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ที่หมดสภาพการใช้งานแล้ว มาพลิกกลับด้านแล้วนำมาเรียงต่อกันด้วยสกรูปลอดสนิมในลักษณะรังผึ้ง สร้างเป็นแนวป้องกันคลื่นบริเวณตลิ่ง โดยนำหิน มาใส่ในยางรถยนต์ จากนั้นก็นำต้นไม้มาปลูกในยางรถยนต์ จึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาแบบบูรณาการ ดังภาพ

   

                                         การสร้างแนวป้องกันบริเวณแม่น้ำลำคลอง

                                   การสร้างแนวป้องกันบริเวณชายฝั่ง

                            ภาพเปรียบเทียบขนาดของยางรถยนต์ที่กลับด้านแล้ว

                         ความจุที่เพิ่มขึ้นสามารถทำเป็นกระถางปลูกต้นไม้ได้สบายๆ

                                                 ^<br />

                            ทดสอบปลูกมะนาวเพื่อบังคับให้ออกนอกฤดูกาล

หากท่านใดมีปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่ง สามารถรวบรวมยางนอกรถยนต์มาสร้างเป็นแนวป้องกันได้เลยครับ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ติดต่อเจ้าของภูมิปัญญา

คุณนุ้ย  Mobile 08-1956-3651

 

หมายเลขบันทึก: 123423เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2007 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หมู่บ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่วิกฤติ

ที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง ตลอดระยะเวลา 28 ปีที่ผ่านมา

โรงเรียนที่ทำการของส่วนราชการ รวมถึงประชาชนต้องอพยพ ถอยร่นเข้าไป

ในแผ่นดินครั้งแล้วครั้งเล่า ในช่วงเวลากว่า 2 ทศวรรษครึ่งที่ผ่านมา

โรงเรียนของชุมชนต้องย้ายสถานที่ตั้งมาแล้วถึง 4 ครั้ง ส่วนผู้ใหญ่บ้านเองก็

ย้ายบ้านมาแล้วถึง 4 ครั้งเช่นกัน

การเพิ่มขึ้นของการกัดเซาะที่เกิดขึ้นในบ้านขุนสมุทรจีนนี้ เป็นผลจากการสูญ

เสียพื้นที่ป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่ตลอดแนวชายฝั่ง เมื่อปราศจากระบบรากของ

ป่าชายเลนที่จะคอยช่วยรักษาเสถียรภาพของแนวชายฝั่งและช่วยเพิ่มตะกอน

แล้ว แนวชายฝั่งก็ไม่อาจต้านทานต่อกระแสลมแรง คลื่นและกระแสน้ำ

ที่ถาโถมเข้าใส่อยู่เนืองนิจได้อีกต่อไป ทุกวันนี้ชาวบ้านต่างร่วมแรงร่วมใจกัน

รักษาวัดขุนสมุทราวาสซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของหมู่บ้านเอาไว้ ทั้งที่ในอดีตวัด

นี้เคยตั้งอยู่ไกลจากแนวชายฝั่งมาก แต่ปัจจุบันพื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งของวัดจมอยู่

ใต้น้ำทะเล แม้ว่าชาวบ้านได้ร่วมกันสละทรัพย์สินส่วนตัวเพื่อรักษาวัดไว้

แต่พวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไขต้นตอที่ทำให้เกิดการกัดเซาะได้

หากปราศจากการดำเนินงานและความช่วยเหลืออย่างจริงจังจากหน่วยงานภา

ครัฐบ้านขุนสมุทรจีน รวมถึง หมู่บ้านอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาในลักษณะเดียว

กัน ก็จะต้องอพยพย้ายไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่มีแผ่นดิน...และเมื่อนั้นก็จะไม่มี

หมู่บ้านเหลืออยู่อีกต่อไป

ผู้ใหญ่บ้านสมร เข่งสมุทร: "ฉันจะยืนหยัดต่อสู้ เพื่อแผ่นดินเกิด ไม่มีท้อ ไม่มีถอย"

สามารถช่วยเหลือหรือติดต่อกับผู้ใหญ่บ้านได้ที่ ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน

67 หมู่ที่ 9 ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290

โทร. 0-2819-5296, 08-6567-5296

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท