ครูก้อย
นางสาว ขวัญจิตต์ ศรีจันทนากุล

เก็บมาฝาก:วิธีอยู่กับคนที่เราไม่ชอบ


วิธีอยู่กับคนที่เราไม่ชอบ

คัดลอกมาจากบทความของ ท่านว.วชิรเมธี

รู้ไหมว่า เรามีเวลาอยู่ในโลกนี้คนละกี่ปี

ชีวิตนั้นสั้นยิ่งกว่าหยดน้ำค้างเสียอีก จะตายวันตายพรุ่งก็ไม่มีใครรู้ล่วงหน้า
ถ้าเราใช้เวลาอันแสนสั้นนี้ไปมัวหลับๆตื่นๆอยู่ในความรัก โลภ โกรธ หลง
หมั่นไส้คนนั้น ปลาบปลื้มคนนี้  ริษยาเจ้านาย ใส่ไคล้ลูกน้อง
ปกป้องภาพลักษณ์ (อัตตา) กด (หัว)

คนรุ่นใหม่หลงใหลเปลือกของชีวิต โดยลืมไปเลยว่า
อะไรคือสิ่งที่ตนควรทำอย่างแท้จริง
คิดดูเถิดว่า เราจะขาดทุนขนาดไหน

ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ เขียนบทกวีไว้ว่า

''น้ำไหลอายุขัยก็ไหลล่วง ใบไม้ร่วงชีพก็ร้างอย่างความฝัน
ฆ่าชีวาคือพร่าค่าคืนวัน จะกำนัลโลกนี้มีงานใด''

คนเราไม่ควรพร่าเวลาอันสูงค่าด้วยการปล่อยตัวปล่อยใจ
ให้ตกเป็นทาสของความชอบ ความชัง มากนัก
เพราะถ้าเราวิ่งตามกิเลส กิเลสก็จะพาเราวิ่งทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ต่อไปไม่รู้จบ
กิเลสไม่เคยเหนื่อย แต่ใจคนเราสิจะเหนื่อยหนักหนาสาหัสไม่รู้กี่เท่า

ควรคิดเสียใหม่ว่า เราไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะชอบ หรือไม่ชอบใคร
หรือเพื่อที่จะให้ใครมาชอบ หรือมาชัง แต่เราเกิดมาสู่โลกนี้เพื่อทำในสิ่ง
ที่ดีที่สุดที่มนุษย์คนหนึ่งควรจะทำ
เอาเวลาที่รู้สึกแย่ๆ กับคนอื่นนั้น หันกลับมามองตัวเองดีกว่า
ชีวิตนี้เรามีอะไรบ้างที่เป็นแก่นสาร มีงานอะไรบ้างที่เราควรทำ
นอกจากนั้นก็ควรมองกว้างออกไปอีกว่า
เราได้ทำอะไรไว้ให้แก่โลกบ้างแล้วหรือยัง

คนทุกคนนั้นต่างก็มีดีมีเสียอยู่ในตัวเอง
ถ้าเราเลือกมองแต่ด้านเสียของเขา
จิตใจของเราก็เร่าร้อน หม่นไหม้

เวลาที่เสียไปเพราะมัวแต่สนใจด้านไม่ดีของคนอื่นก็เป็นเวลาที่ถูกใช้ไปอย่างไร้ค่า
บางที่ คนที่เราลอบมอง ลอบรู้สึกไม่ดีกับเขานั้น
เขาไม่เคยรู้สึกอะไรไปด้วยกันกับเราเลย
เราเผาตัวเราเองอยู่ฝ่ายเดียวด้วยความหงุดหงิด ขัดเคืองและอารมณ์เสีย
วันแล้ววันเล่า สภาพจิตใจแบบนี้ไม่เคยทำให้ใครมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นมาได้เลย

ลองเปลี่ยนวิธีคิด วิธีมองโลกเสียใหม่ดีกว่า

คิดเสียว่าคนเราไม่มีใครดีพร้อมหรือ เลวไม่มีที่ติไปเสียทั้งหมดหรอก
เราอยู่ในโลกกันคนละไม่กี่ปี ประเดี๋ยวเดียวก็จะล้มหายตายจากกันไปหมดแล้ว
มาเสียเวลากับเรื่องไร้สาระทำไม

อะไรที่ควรทำก็รีบทำเถิดปล่อยวางเสียบ้าง
ความโกรธ ความเกลียดนั้น 
 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 123374เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2007 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ท่านจะปลงอนิจจังแล้วหรือครับ

เป็นข้อความที่ดีมากเลยครับ ถ้าคนอ่านสามารถอ่านและทำความเข้าใจ นำไปใช้กับตัวเองได้ คนคนนั้นก็จะรู้สึกว่าตัวเองมีความสุขขึ้นมากจริงๆตามบทความด้านบนแน่นอนครับ

สวัสดีครับ คุณครูครับ

บันทึกแรกๆน่าสนใจมาก

ยินดีต้อนรับสู่โลกแห่งการเรียนรู้ และมิตรภาพครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

มือใหม่หัดขับ เอ๊ย หัดเขียนค่ะ

หากไม่รบกวนโปรดชี้แนะด้วย

  ปรัชญาชีวิตที่น่าฟังและตรึกตรอง ชีวิตคนเราก็คงไม่ต่างอะไรกับลูกแมวตาดำๆ
  • เข้ามาเยี่ยม
  • และนำคติสอนใจกลับไปใช้ดำเนินชีวิต
  • ขอบคุณนะครับ
  • จะเข้ามาเยี่ยมบ่อยๆ.....นกจะบินไกล...เมื่อบินกันไปทั้งฝูง

การอบรมถึงรุ่น 6 แล้วครับ ใกล้จะเสร็จสิ้น...............

แจ้งให้ทราบถึงแพลนเน็ตรวมรุ่นที่ 1 - 6 ครับ  เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้เลยนะครับ  http://gotoknow.org/planet/rattaketict16 

สวัสดีครับ

       วันที่ 8 กันยายน วันการศึกษานอกโรงเรียน ทดลองการใช้ ยินดีที่ได้รู้จัก ครับ

เป็นบทความที่ให้คติธรรมที่ดีมาก

อยากจะบอกว่า เคยเป็นคนที่ถ้าเสียความรู้สึกกับใครก้อจะรู้สึกไม่อยากมองหน้า ไม่อยากคุยด้วย แต่พอได้มีโอกาส สนทนากับผู้บังคับบัญชา (ครูก้อย) ที่มักพร่ำบอกลูกน้อง(ที่บอกเสมอว่าเป็นน้อง)เสมอว่าชีวิตคนเรามันสั้น เดี๋ยวก้อตายจากกัน จะโกรธกันทำไม ก้อฟัง พร้อมเก็มมาคิด( ได้บ้าง  ไม่ได้บ้าง) จึงได้พบว่าเป็นจริง ตอนนี้เลยพยายามปลงและคิดว่าคนเราไม่ได้ดีพร้อม ก้อเลยรู้สึกดีขึ้นและคิดได้ว่ามนุษย์เราสีที่เหมาะที่สุดคือสีเทาจึงจะอยู่ได้อย่างมาความสุข ตอนนี้ก้อเลยพร้อมแล้วค่ะ สำหรับการอยู่กับคนที่เราไม่ชอบ อย่างมีความสุข  (ขอบคุณสำหรับคำชี้นำในสิ่งที่ดีค่ะ) อยากบอกว่าปลงได้เยอะเลยค่ะ

 

เป็นปลื้มค่ะ ที่ได้รู้ว่ามีคนรับรู้ถึงสิ่งที่ได้บอกมา๒ปีกว่า การที่พยายามบอกว่าเราเป็นพี่-น้อง

สีเทาเป็นสัญลักษณ์เป็นสีที่บอกถึงความเป็นกลางเป็นการผสมผสาน(ถ้าเป็นนักวิชาการเขาคงจะบอกว่าบูรณาการ อิอิอิ) บ่งบอกถึงความกลมกลืน ดีใจกับการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้น

แต่...ว่า อย่าใช้สีเทากับการตัดสินความถูก ผิดนะคะ ในเรื่องนี้ถูกต้องถูก ผิดต้องผิดนะ เพราะว่าตรงนี้ต้องเป็น ขาว-ดำเท่านั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท