BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

การจัดประเภทการกระทำทางศีลธรรมกับการกระทำเหนือหน้าที่ ๔


การจัดประเภทการกระทำทางศีลธรรมกับการกระทำเหนือหน้าที่ ๔

จาก ( การจัดฯ... ๓) ผู้เขียนได้ค้างไว้ว่า เมื่อจำแนกการกระทำออกเป็น ๙ ประการแล้ว... ชิสโฮลม์ก็ได้จัดลำดับใหม่ โดยเรียงลำดับตั้งแต่การกระทำที่จะดำเนินการหรือไม่ดำเนินการก็เลวหรือผิด  ไปจนถึงการกระทำที่จะดำเนินการหรือไม่ดำเนินการก็ดีหรือถูก ดังต่อไปนี้

  1.  ข้อขัดเคืองแบบเบ็ดเสร็จ การดำเนินการหรือไม่ดำเนินการก็เป็นสิ่งที่เลว
  2. ข้อขัดเคืองเชิงสั่งการ การดำเนินการเป็นสิ่งเลว ส่วนการไม่ดำเนินการเป็นกลาง
  3. ข้อห้าม การดำเนินการเป็นสิ่งเลว ส่วนการไม่ดำเนินการเป็นสิ่งดี
  4. ข้อขัดเคืองเชิงระงับ การดำเนินการเป็นกลาง ส่วนการไม่ดำเนินเป็นสิ่งเลว
  5. ข้อไม่แตกต่างกันแบบเบ็ดเสร็จ การดำเนินการหรือไม่ดำเนินการเป็นกลาง คือไม่ดีไม่เลว
  6. การกระทำเหนือหน้าที่เชิงระงับ การดำเนินการเป็นกลาง ส่วนการไม่ดำเนินการเป็นสิ่งดี
  7. ข้อผูกพัน การดำเนินการเป็นสิ่งดี ส่วนการไม่ดำเนินการเป็นสิ่งเลว
  8. การกระทำเหนือหน้าที่เชิงสั่งการ การดำเนินการเป็นสิ่งดี ส่วนการไม่ดำเนินการเป็นกลาง
  9. การกระทำเหนือหน้าที่แบบเบ็ดเสร็จ การดำเนินการหรือไม่ดำเนินการเป็นสิ่งดี

ชิสโฮลม์ให้ความเห็นว่า ระบบศีลธรรมที่มีความหลากหลายที่สุดอาจมีความเป็นไปได้ทุกกรณี... แต่ระบบศีลธรรมที่่จำกัดที่สุดอาจเป็นไปได้เพียงกรณีเดียว....

เขาได้ยกตัวอย่างว่า กลุ่มที่ยึดถือว่าสิ่งต่างๆ ล้วนมีสาเหตุแน่นอนตายตัว หลักศีลธรรมเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ ก็อาจยอมรับเฉพาะข้อ 5.... นั่นคือ ไม่ว่าการกระทำแบบไหนทำนองใดก็ตาม ล้วนแต่ไม่มีความแตกต่างกันในแง่ศีลธรรม เพราะศีลธรรมเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ (nihilistic moralities)

ลัทธิคานต์อาจยอมรับเฉพาะข้อ 3. (ข้อห้าม) และ และข้อ 7. (ข้อผูกพัน)... กล่าวคือ ยอมรับว่าการกระทำใดๆ ก็ตาม ถ้าไม่เป็นข้อห้ามซึ่งเป็นสิ่งเลวหรือผิดแล้ว ก็จะต้องเป็นข้อผูกพันซึ่งเป็นสิ่งดีหรือถูกต้องเท่านั้น....

ผู้ที่มีน้ำใจกว้างขวางก็อาจใช้แต่เพียง ๓ ข้อเท่านั้น กล่าวคือ การกระทำเหนือหน้าที่ ซึ่งเป็นสิ่งดีในการดำเนินการ แม้ไม่ดำเนินการก็ไม่ใช่สิ่งเลว... ข้อขัดเืคือง ซึ่งเป็นสิ่งเลวที่ให้อภัยได้... และข้อไม่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นกลางๆ ไม่ดีไม่เลว... ประมาณนี้

..............

หลังจากแจกแจงรายละเอียดพร้อมตัวอย่างบางประเด็นของการจัดประเภทการกระทำทางศีลธรรมแล้ว ชิสโฮลม์ให้ความเห็นว่า การกระทำทางทั้งหมดอาจสรุปเหลือเพียงคำเดียวว่า ควร (ought to) นั่นคือ เราจะตัดสินใจว่า ควรจะกระทำ หรือ ไม่ควรจะกระทำ ในแต่ละกรณี... หรือในการดำเนินชีวิตทั่วไป เราก็อาจตัดสินใจว่า ควรจะเป็นอย่างไร ... ประมาณนี้

ประเด็นในคำว่า ควร นี้จัดเป็นคำที่มีนัยสำคัญตามหลักศีลธรรมเสมอ ดังนั้น ฟิสคินจึงใช้คำนี้มาจัดประเภทการกระทำทางศีลธรรมอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป....   

 

หมายเลขบันทึก: 123345เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2007 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท