เมื่อเราจะทำแผน KM ของชาวกรมอนามัย


กรมอนามัย

 

ของฝาก จาก "นพ.สมศักดิ์" ประธาน KM กรมอนามัย

วิธีเขียนแผน KM กรม อ (อันเนื่องมาจาก แบบประเมินตนเองที่ออกมาล่าสุด)

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
15 มค.49

เราประชุมหน่วยงานต้นแบบ KM กรม อ เมื่อวันศุกร์ที่ 13 มกรา 49 (แต่ไม่มีนาย เจสัน หน้ากากเหล็กเข้าร่วมด้วย) เพื่อชวนกันมาปรับแผน KM หลังจากที่เราส่งแบบประเมินตัวเอง เกี่ยวกับงาน KM ออกไปให้แต่ละหน่วยลองประเมินตัวเองดู

คุณมนทกานต์ มหาวงค์ เลขาฯ คุณหมอนันทาเหตุผลสำคัญที่ต้องมีการปรับแผนก็คือ เราอยากแผน KM ของแต่ละหน่วยงาน สามารถตอบสนองต่อ เป้าหมายงานในทั้ง 7 องค์ประกอบที่นำมาใช้ประเมินตนเองให้ได้ แต่แผนที่เขียนกันมาแต่เดิม นั้นเขียนก่อนมีองค์ประกอบทั้ง 7

หลังจากประชุมกันอย่างเคร่งเครียด สลับฉากด้วยหนมจีนน้ำเงี้ยวแสนอร่อยฝีมือ คุณมน เลขาพี่หมอนันทา เราได้ข้อสรุปที่อยากแลกเปลี่ยน แจ้งข่าว สำหรับหน่วยงานอื่นที่อาจจะกำลังงง ว่าจะเอาไงดีกับผลการประเมินตัวเองที่ทางส่วนกลางได้ส่งมาให้แล้ว แต่ไม่มีโอกาสมาประชุมด้วย เพราะไม่ได้สมัครเป็นหน่วยงานต้นแบบ (ตอนนี้ยังไม่มีใครกล้าสรุปว่า หน่วยงานที่สมัครกับที่ไม่ได้สมัคร ใครคิดผิด คิดถูกกันแน่)

ต่อไปนี้คือข้อแนะนำ เผื่อท่านจะเอาไปใช้ปรับแผน KM ที่ท่านได้ทำแล้ว

  1. เขียนแผน ตามที่อยากทำก่อน (ซึ่งในที่นี้ หมายถึง แผนที่เคยเขียนไว้ ตั้งแต่ก่อนการประเมินตนเอง ซึ่งเราเข้าใจว่า เป็นแผนที่ท่านคิดจะทำ เพราะมีความสำคัญต่อองค์กร (คนที่ทำเพราะรู้สึกว่าต้องทำตามคำสั่ง อาจจะเถียงอยู่ในใจ)
  2. เขียนแผนเสร็จแล้ว ให้เอามาดู เพื่อมาถามว่า จะบรรลุเป้าหมายตามองค์ประกอบทั้ง 7 ที่กำหนดไว้ในแบบประเมินตนเองหรือเปล่า และจะทำให้งานอะไรที่เป็นภาระกิจของหน่วยงานดีขึ้น (โดยเฉพาะ งานสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ที่เป็นจุดเน้นของ กรม อ ในปี 49 เพราะอยู่ใน blue print for change ของกรม และทางเราตกลงระบุไว้ในองค์ประกอบที่ 5 ของแบบประเมินตนเอง)
     
    ถ้าคิดว่ายังมีอะไร ที่ต้อง ทำ/เขียน เพิ่ม ในแผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายบางเรื่อง ที่ยังไม่มีให้ชัดขึ้น ก็ให้เขียนเพิ่มไป หรือถ้าพบว่าแผนที่เขียนไว้ บอกแต่ว่าจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แค่นี้ แค่นั้นครั้ง หรือ มี CoP เท่านี้ เท่านั้นกลุ่ม ก็ช่วยระบุชื่อเรื่อง หรือชื่อกลุ่มมาให้ชัดเจน (จะได้ไว้ประกอบการประเมินองค์ประกอบที่สาม ที่ว่าด้วยการสะสมความรู้ได้ชัดเจนขึ้น)
  3. มีข้อแนะนำอีกข้อที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการประเมินตนเอง แต่เกี่ยวกับการทำให้การทำงาน KM เป็นไปตามแนวคิด KM ไม่ใช่แค่การทำกิจกรรมกลุ่มแบบที่เคยทำกันมาแต่เดิม เราถือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นั้นเป็นกิจกรรม แกนหลักของแผน เพราะจะส่งผลต่อการพัฒนาวิธีการทำงาน และการเรียนรู้ของบุคลากร รวมทั้งการสะสม ไหลเวียนความรู้ขององค์กร ในส่วนนี้อยากแนะนำให้คิด หัวข้อเรื่อง หรือกลุ่ม ให้ชัด และคิดกิจกรรม ที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร) ให้ชัดว่าจะทำให้เกิด ลปรร เรื่องอะไร เพื่อบรรลุเป้าหมายงาน หรือภาระกิจอะไรของหน่วยงาน แล้วค่อยมาวางแผนต่อว่าจะจัดกิจกรรม(ทำงาน)อื่นๆอะไรบ้างที่เสริม หรือเชื่อมเข้าสู่ กิจกรรม ลปรร แกนกลางที่กำหนดไว้ (เช่น การสร้าง fa/note taker, การ ลปรร กับหน่วยงานอื่น)

ขอให้มีความสุขกับการปรับแผน เพื่อเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ในการทำงาน KM ในหน่วยงานของท่านนะครับ

ท่านที่ไม่ประสงค์จะปรับแผนก็ไม่ต้องบังคับตัวเองนะครับ เพราะเราไม่ถือว่านี่เป็นเรื่องบังคับตายตัว แต่ต้องบอกได้ว่าเมื่อทำ KM แล้วตกลงการทำงานอะไร (ในความรับผิดชอบขององค์กร) ดีขึ้นบ้าง และมาจากการทำ KM ยังไง

โปรดจำคาถาไว้ให้ดี

“การทำงานจริงมักทำมากกว่าแผน แต่แผนที่ดีจะช่วยให้การทำงานสมบูรณ์ขึ้น”
“การเรียนรู้ของท่าน สำคัญสำหรับการเรียนรู้ของเรา และของกรมอนามัยครับ”

 

นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, KM Team และหน่วยงานต้นแบบ KM กรมอนามัย


 

หมายเลขบันทึก: 12316เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2006 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ถ้าเขียนในระดับคุณภาพขนาดนี้    เขียนทุกสัปดาห์    รางวัลสุดคะนึงก็อยู่แค่เอื้อม

วิจารณ์

เข้ามาชื่นชมและเป็นกำลังใจคะ

สกัดจากเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แผนKM หน่วยงานต้นแบบ (วันที่13 ม.ค.49) อาจารย์หมอสมศักดิ์ พูดถึงการทำแผนKM ได้อย่างน่าฟังว่า สิ่งสำคัญในการทำKM ไม่ใช่แผน เพราะเราต้องทำกิจกรรมการจัดการความรู้อย่างมากมาย ซึ่งอาจเขียนแผนไม่ได้ เช่นในองค์ประกอบที่2 ว่าด้วย การสนับสนุนจากผู้บริหาร  แต่สิ่งสำคัญ การจัดการความรู้ เพื่อให้คนพร้อมเรียนรู้ เกิดความสามารถ...ผ่านกิจกรรมการจัดการความรู้ และอย่างน้อยสิ่งที่อยากเห็นคือ CKO ควรมีการประสานหัวหน้าทุกระดับ อาจต้องใช้ความพยายามในการพูดเรื่องKM บ่อยๆ เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง เพื่อให้เกิดการสนับสนุน และทำKM เพื่อให้คนมีความสามารถในการ conduct รวมถึงมีความสามารถในการจับประเด็น   อีกตอนหนึ่งของการให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาจารย์ฝากให้เราลองทบทวนดูว่าหากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่เราคิดว่าต้องหาเวลาเพิ่มในการทำแล้วนั้น ลองพิจารณาทบทวนดูเพื่อเปลี่ยนวิธีทำงานเดิมเช่นการประชุม รายงานผลงานเป็นวิธีลปรร.และการลปรร.ควรเป็นไปตามภารกิจหน่วยงาน และคิดให้เห็นเป้าหมายสุดท้าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท