งานประดิษฐ์สู่การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย


นวัตกรรม

                 ความเป็นนวัตกรรม          การจัดทำนวัตกรรมได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันในเรี่องที่นักเรียนไม่สนใจเกี่ยวกับงานบ้านในชีวิตประจำวันสนใจแต่การเล่นเกมทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และหลงลืมศิลปวัฒนธรรมที่อยู่รอบๆตัวเราซึ่งเป็นวิถีการดำรงชีวิตแบบไทยให้ความสนใจวัฒนธรรมต่างชาติมากเกินไป ถ้าเยาวชนไทยยังไม่ใส่ใจและไม่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทำให้ของดีที่เรามีก็จะถูกกลืนหายไปกับวัฒนธรรมต่างชาติ ดังนั้นโรงเรียนจึงเห็นควรมีวิธีการ   
                กระบวนการ ซึ่งใช้เป็นนวัตกรรมในการกระตุ้นให้นักเรียนหันมาสนใจโดยการนำสิ่งเด่นๆของโรงเรียนมาปรับปรุงพัฒนาใช้ ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนเขียนอยู่ในรูปของแผนการสอนในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทั้งงานประดิษฐ์ตุ๊กตาไทย  การร้อยมาลัย  และการทำขนมไทยโดยในแต่ละเรื่องจะใช้เวลาเรียน 20 สัปดาห์ ( 1 คาบต่อสัปดาห์ )ซึ่งนักเรียนทั้งช่วงชั้นที่3-4 สามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ เมื่อนักเรียนเรียนครบตามที่กำหนด นักเรียนมีรายได้ สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ และทำงานอย่างมีคุณภาพทางโรงเรียนจึงเลือกประดิษฐ์ตุ๊กตาไทย การร้อยมาลัย และการทำขนมไทย
                 

                     การประดิษฐ์ตุ๊กตาไทยในท้องตลาดจะมีการผลิตตุ๊กตาหลายรูปแบบซึ่งทางโรงเรียนได้นำมาพัฒนาให้นักเรียนทำตามใบความรู้ โดยนำเศษวัสดุที่เหลือใช้มาประกอบเป็นตุ๊กตานักเรียนต้องลองผิดลองถูกในการเย็บตุ๊กตา เพื่อเป็นการสร้างความชำนาญให้กับตนเองซึ่งในปัจจุบันไม่ได้ทำบ่อยๆ และมักจะเลือนหายไป      

          ขั้นที่ 1 เตรียนมวัสดุอุปกรณ์  
       ขั้นที่ 2 ขั้นตอนการปฏิบัติ
                     
 2.1 สร้างแบบและตัดภาพตามแบบ        
                     2.2 เย็บตามรอยประ              
                 2.3 กลับหัว แขน ขาและยัดใยโพลีเอสเตอร์         
                 2.4 นำแขนขามาต่อเป็นตัว            
                 2.5 นำเสื้อมาใส่กับตัว            
                
2.6 นำผ้านุ่งมาเย็บติดกับตัว       
    
                2.7 นำเชือกทองมาคาดที่เอว ติดเลื่อมเป็นหัวเข็มขัด     
     
               2.8 นำตุ๊กตามาตกแต่งเป็นการละเล่นแบบต่างๆ ของเด็กไทย           

การร้อยมาลัย                -นักเรียนต้องฝึกการรัอยมาลัยพร้อมทั้งศึกษาความเป็นมาของมาลัย จากมาลัยที่ขายในท้องตลาด  นักเรียนสามารถศึกษาเรียนรู้วิธีการทำและประยุกต์ขึ้นมาหลายแบบ เช่นการเรียนเรื่องมาลัยสองชายจากใบความรู้                -นักเรียนต้องเตรียมอุปกรณ์ในการทำให้พร้อม    อุปกรณ์ในการทำมาลัยสองชาย1.       ภาชนะสำหรับใส่ดอกไม้2.       กรรไกร3.       เข็มร้อยมาลัย4.       เข็มมือ5.       กระบอกฉีดน้ำ6.       คีมรูดมาลัย    วัสดุ1.       กุหลาบมอญ2.       ดอกรัก3.       ดอกพุด4.       แป้นใบตอง5.       ด้ายรูดมาลัย6.       ด้ายหลอดสีแดง7.       วาสลีน8.       กลีบเลี้ยงชบาหนู9.       ริบบิ้นมาลัย10.   ดอกหญ้าหรือดอกเบญจมาศน้ำ- นักเรียนลงมือปฎิบัติการรัอยมาลัย  ซึ่งนักเรียนต้องฝึกการร้อยมาลัยให้มีความชำนาญ การทำขนมไทย (ขนมฝอยทอง)จากท้องตลาดมีขนมไทยขายกันมาก  บางครั้งนักเรียนก็เห็นมีสีสันสวยงามน่ารับประทานและนักเรียนต้องการทำขนมไทยชนิดนี้เป็น ครูผู้สอนได้เชิญวิทยากรท้องถิ่นมาให้ความรู้บรรยาย และสาธิตการทำขนมไทย ณ โรงฝึกคหกรรมโรงเรียนสามโคก
วิทยากรท้องถิ่นคือ คุณถวิล  แรงกล้า
                                                                -นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ประกอบด้วย1. กะละมัง2. กระทะ3. ไม้ปลายแหลม4. ช้อน5. ผ้าขาวบาง6. ถาดวัสดุ1.       ไข่เป็ด20 ฟอง2.       น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม3.       น้ำสะอาด ขั้นตอนการปฏิบัติ

1. แยกไข่ขาว  ไข่แดง 

2. เก็บน้ำต้อย (น้ำกันเปลือกใสๆ ไว้ต่างหาก) 

3. ใส่น้ำต้อยในไข่แดงแล้วกรองด้วยผ้าขาว                                     4. ทำกรวยใบตองไว้ใส่ไข่ 5. เคี่ยวน้ำตาลกับน้ำพอได้ที่ หลังจากนั้นโรยไข่ลงไปพอเดือดใช้ไม้แหลมพานฝอยทองเป็นแผ่นกะดูพอสวยงามจัดวางลงในถาด 

                6. ใช้ไม้แหลมพานเส้นฝอยทองขึ้นมา 

7. นักเรียนร่วมมือกันทำขนมอย่างตั้งใจ    

8. ขนมฝอยทองเมื่อทำเสร็จแล้วหน้าตาน่ารับประทาน 

 

หมายเลขบันทึก: 123012เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2007 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท