คืนสู่สามัญ (back to the basic) ..หลักธรรมประจำใจ


มีหลักธรรม...นำชีวิตไม่เลื่อนลอย

หลักการทำงานใด ๆ ก็ตามย่อมต้องมีหลักคิด วิธีคิด แนวคิด แนวปฏิบัติ การให้ความหมาย  การให้คุณค่า (แนววัฒนธรรมชุมชน) เหล่านี้เป็นเรื่องกว้าง ๆ ของชีวิต จะกินอย่างไร?  จะใช้ทรัพยากรอย่างไร? เป็นหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ..........

แต่เมื่อลดระดับการดำเนินกิจกรรมลงมาที่เรื่องเงิน และทุน เรื่องอาชีพและรายจ่าย เรื่องปัจจัย 4 (บ้าน,อาหาร,เสื้อผ้า,ยารักษาโรค) ...

หลักคิดตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ เราต้องไม่ฟุ่มเฟือย, ใช้หลักพอประมาณ เรื่องโภชเนมัชตัญญุตา (ประมาณในการกิน,ไม่ทิ้งขว้าง,ไม่กินใหญ่กินโต,ไม่กินสวยกินงาม,ไม่กินอย่างยาเสพติด เป็นต้น) เรื่องเสื้อผ้า ก็ไม่บ้ายอยี่ห้อติด  ไม่ติดยึดราคาน่าหมั่นไส้ ไม่บ้าเห่อปริมาณบานตะไท ไม่คลั่งไคล้เหมือนสาวก  พกแต่แบรนด์ดังดัง.....เป็นต้น

การคืนสู่สามัญ (Back to the basic) หรือความเรียบง่าย ในปัจจัย 4 และสิ่งฟุ่มเฟือย ให้คำนึงถึงเรื่อง  ความจำเป็น กับ กำลังของเราทางด้านเศรษฐกิจ(กำลังซื้อนั่นเอง)  จะต้องสมดุล กัน ...........

ปัจจุบันเราได้นำเอา ระบบการใช้เงินที่ไม่ถูกวิธีมาใช้กันเป็นจำนวนมาก เช่น การนำเอาเงินในอนาคตมาใช้ (ระบบเงินผ่อน)มี 2 ประเภท คือ เงินในอนาคตแบบมั่นคง (มักจะเป็นราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ) กับเงินในอนาคตแบบเสี่ยง (นักธุรกิจไปจนถึงบุคคลทั่วไป) เมื่อระบบเงินในตลาดมีความต้องการสูงขึ้น ผู้แข่งขันสูงขึ้น การดึงเงินจากกระเป๋าของผู้บฺริโภค จึงต้องคิดถึงเรื่องของการเงินในอนาคต เพื่อนำมาทำกำไรในยุคปัจจุบัน.... สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความไม่มั่นคงในอนาคตของคน ๆ นั่น (จะกลายเป็นยุคที่เรียกว่า กลียุค หรือยุคข้าวยากหมากแพง)  

 ทำไม่เรา? ไม่กลับไปสู่สามัญ (ความเรียบง่าย) .........   มีเงินก็ใช้  ไม่มีเงินก็ไม่ใช้.....มีน้อยใช้น้อย.....ค่อยประหยัด แต่ไม่ถึงตระหนี่ถี่เหนียว...เพราะขี้เหนียวก็ผิดหลักธรรม เป็นมัจฉริยะ พึ่งผ่อนคลายด้วยการบริจาค หรือจาคะ.....เหล่านี้เป็นต้น หรือมีมากแต่ใช้น้อยก็ไม่ผิด (ไม่ต้องใช้มาก เพราะวันใดหมดขึ้นมา ก็ไม่มีใครเหลียวแลได้)

แต่สากลประเทศ เช่นเยอรมัน ญี่ปุ่น เขาคืนสู่สามัญ โดยใช้หลักการออม และสหกรณ์ภายในประเทศ  ไม่เน้นการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย ไม่เน้นการใช้สารเคมีอย่างไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม  ........ การกลับสู่สามัญจึงมีค่า มีความหมายอย่างยิ่ง ในโลกที่มีความเจริญถึงขีดสุดแล้ว

 

หมายเลขบันทึก: 122912เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2007 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาเยี่ยม...

อ่านแล้วได้มุมคิดว่า...

การเริ่มต้นไปไกลเท่าใดท้ายสุดก็ต้องหวนกลับมาสู่จุดเริ่มต้นของตัวมันเอง...

เช่นเราเริ่มต้นขึ้นรถไฟที่ใด...เราก็จะกลับมาลงตรงจุดเริ่มต้นอีก...ฮา ๆ เอิก ๆ

สวัสดีครับ.....อาจารย์ยูมิ ครับ  ขอบคุณที่แวะมาอ่านครับ  ผมช่วงนี้ไม่มีเวลาดูบล๊อกอื่นครับ เพราะระบบG2K ด้วย  ผมก็ยุ่ง ๆ ครับ  ช่วงนี้กำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ครับ......กำลังออกมาเป็นแนวทางการปฏิบัติที่เป็นจริงขึ้นครับ.........

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท