ธรรมชาติของการจัดการความรู้


ในการจัดการความรู้มีเป้าหมาย เป้าหมายใคร เป้าหมายคนนั้น

ผมอ่านบันทึกของอ.ประพนธ์ ผาสุขยืด การเป็นวิทยากร กพร.

http://gotoknow.org/planet/kmnakhon?page=2

มีความเห็นจากประสบการณ์ดังนี้

hardware ซึ่งหน่วยจัดการอยู่ที่ส่วนกลาง
ทั้งดำเนินการเอง เสริมสมรรถนะ และติดตามประเมินผล
ล้าสมัยเกินไป
ผมทำงานกับจังหวัดซึ่งเป็นแขนขาของหน่วยจัดการส่วนกลางพบกับปัญหาเดียวกันมาครั้งแล้วครั้งเล่า
อ.สมชัย ฤชุพันธ์ ฟันธงมานานแล้วว่าระบบรวมอำนาจส่วนกลางที่ใช้ได้ผลมานานนั้น
ใช้การไม่ได้แล้ว
หน่วยจัดการที่น่าสนใจคือ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคมและชุมชน

นครศรีธรรมราชกำลังอดทนกับการเปลี่ยนผ่านของราชการส่วนกลางและภูมิภาค
สู่ ท้องถิ่นและชุมชน 

แต่ก็มีความยากของมันที่ต้องฟันฝ่า

โรงเรียนคุณอำนวยเมืองนคร
(ก)ถูกกำหนดให้มีองค์ประกอบ
1)แกมบังคับจากส่วนราชการภูมิภาคหลักๆ
2)แกมบังคับจากราชการส่วนท้องถิ่น
3)อาสาสมัครจากภาคประชาสังคมและชุมชน

แกมบังคับคงเพิ่มประวัติศาสตร์ซ้ำรอยใหม่
อาสาสมัครก็ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ
(ข)ระบบงบประมาณประจำปีเอื้อต่อการทำงานรูทีน   
แต่ไม่สอดคล้องกับงานนวัตกรรม 
เป็นความยากที่เราฝ่าข้ามได้บ้างตอนทำนำร่อง3ตำบล แต่คราวนี้ทำเชิงปริมาณ จะได้ถึง1ใน4หรือ?
การ
ทำงานนำร่องกับพื้นที่/หน่วยจัดการที่เข้มแข็ง/พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง ด้วยระบบงบประมาณราชการที่มิใช่รายปีทั่วไ ป        ย่อมง่ายกว่ามาก
การทำงานนำร่องกับพื้นที่/หน่วยจัดการที่เข้มแข็ง/พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง ด้วยระบบงบประมาณราชการที่ไม่ใช่รายปีทั่วไป ย่อมง่ายกว่ามากถ้าจัดการความรู้ ก็ต้องเลือกทำอย่างนั้นส่วนที่ยากๆให้คนไม่เข้าใจการจัดการความรู้ไปทำ ดีกว่าเป็นธรรมชาติของการจัดการความรู้ ในส่วนของ
ความรู้วิชาการ/ของคนที่ชอบการเปลี่ยนแปลงและเป็นธรรมชาติของการจัดการความรู้ ในส่วนของ
ความรู้ในการดำรงอยู่ของคนราชการที่เข้าใจระบบราชการ

hardwareนี้ อีกนาน.....

หมายเลขบันทึก: 122907เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2007 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ.ภีม ครับ

  • คิดถึงอาจารย์มากครับ
  • อ่านที่อาจารย์เขียนแล้วโดนใจดีจังเลยครับ
  • สำหรับ ร.ร.คุณอำนวยเมืองคอน เวอร์ชั่นที่ไม่เป็นการควบคุมสั่งการตามโครงสร้างอำนาจหน้าที่(พบกันที่หลังโรงพยาบาลมหาราชนครศรีฯ)มันก็เวิร์คดีหวังผลร้อยเปอร์เซ็นต์ได้เลยนะตามความเห็นผม แต่ในแบบวิถีของราชการการที่จะขยายผลทั้งจังหวัดในโครงการพัฒนาสรรถนะคุณอำนวยตำบลด้วยงบประมาณอยู่ดีมีสุข 50/2นี่ละซิที่ว่าจะเวิร์คไม่ เวิร์ค ผมก็หวั่นๆอยู่เหมือนกัน
  • ไม่กล้าจะฟันธงลงไปว่าหังผลได้ 1/4 แต่อยากจะบอกว่ามันท้าทายดีจัง...โจทย์ใหญ่จริงๆ

       ผมเป็นคนหนึ่งในคณะติดตามงานยุทธสาสตร์อยู่ดีมีสุข  ส่วนใหญ่ผมจะคุยกับผู้นำชุมชน และบอกท่านว่าผมมาเยี่ยมและมาคุยกัน ไม่ได้ติดตามอะไรมากมาย ตามชื่อของภารกิจที่มาทำ  

        พี่ ๆ น้า ๆ จะคุยอะไรให้ผมฟังบ้าง   ผมไม่สัมภาษณ์  ผมฟังเรื่องเล่าและจับประเด็น  ผมพบว่าสังคมชนบทต้องการคุณอำนวยปริมาณที่สูง(เขาไม่ได้บอกผมแต่ผมสังเกตจากสถานการณ์ที่เป็นจริง)

ขอบคุณครูนงและพี่ชาญวิทย์ที่เข้ามาแจม

ที่จริงเรามีทรัพยากรบุคคลและงบประมาณค่อนข้างเหลือเฟือ (ถ้านับรวมกัน) แต่ทำอะไรได้ค่อนข้างน้อย

ผมเห็นว่า ถ้าหน่วยจัดการอยู่ที่จังหวัด ตำบลและเทศบาลก็จะช่วยให้อะไรดีขึ้นกว่านี้มาก แต่ยังมีข้อติดขัดไม่ลงตัวของราชการส่วนภูมิภาคซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกับส่วนท้องถิ่นซึ่งมีนายกอบจ.

กรณีนครศรีธรรมราชถือเป็นกรณีศึกษาที่ดีที่สุดที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของระบบ เพราะไม่ใช่ตัวบุคคลแน่นอน

ขนาดท่านผู้ว่าวิชมมีความเข้าใจและเอาจริงเอาจังอย่างหาที่อื่นมาเปรียบได้ยาก ก็ทำอะไรได้ค่อนข้างน้อย สาเหตุหลักคือ หน่วยจัดการยังอยู่ที่กรม และระบบงบประมาณที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท