โครงการพัฒนาเชิงระบบเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้และคุณภาพโรงเรียน


ToPSTAR สู่การปฏิบัติ ที่จ่านกร้อง

โรงเรียนจ่านกร้อง ดำเนินการโครงการพัฒนาเชิงระบบฯ ในปีการศึกษา 2548 ก่อนที่จะนำ กิจกรรม KM มาจัดในโรงเรียน 1 ปีการศึกษา ทำให้ป้านางเอง มีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์กัน ระหว่าง 10 ระบบ กับ KM พอสมควร (จะบอกว่ามากก็เกรงว่าจะไม่มากจริง)

การนำ 10 ระบบเข้ามาในโรงเรียนจ่านกร้องค่อนข้างต้องใช้เวลาทำความเข้าใจกับครูในโรงเรียนมาก แม้ในปัจจุบันก็ยังบอกไม่ได้ว่า 100 % เพราะครูทั้งหมด 165 คน จะมีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งมองระบบได้ตลอดแนวไม่ทุกคน  แต่จะบอกปริมาณเป็นตัวเลขก็ค่อนข้างยากเพราะป้านางสำรวจความคิดเห็นแล้ว ส่วนใหญ่จะมีความคิดเห็นระดับปานกลาง ซึ่งบอกให้รู้ว่า ต้องทำความเข้าใจกับครูเพิ่มขึ้น ป้านางใช้หลายวิธี ทั้งประชุมกลุ่มใหญ่ครูทุกคน ประชุมกลุ่มย่อยหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ประชุมกลุ่มย่อยทีมงานพัฒนาคุณภาพ ก็ยังเหมือนว่าหลาย ๆ ระบบจะห่างไกลกับตัวครู และพบปัญหาว่า "ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมจากคู่มือระบบ" นั้น ส่วนใหญ่แล้วครูไม่ได้อ่านคู่มือระบบกันอีกเลย เหมือนกับทำแล้วก็จบงาน พอนัดประชุมอีก ขอให้นำคู่มือระบบเข้าประชุมด้วย ปรากฏว่าหาคู่มือไม่เจอ ต้องถ่ายเอกสารให้ใหม่อีก และเป็นเช่นนี้บ่อยครั้ง  ทำให้ต้องหาวิธีการที่จะให้ครูเข้าใจ 10 ระบบ และนำไปสู่การปฏิบัติจริง และครูทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบทั้ง 10 ไม่ใช่เฉพาะระบบหลัก 3 ระบบเท่านั้น เพราะครูส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า ตนเองเกี่ยวข้องกับ 3 ระบบ คือระบบการเรียนรู้ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและระบบกิจกรรมนักเรียน เท่านั้น ระบบอื่น ๆ เป็นเรื่องของผู้บริหาร ดังนั้นป้านางจึงขออนุญาติผู้อำนวยการ  ดำเนินการ 10 ระบบ สู่การปฏิบัติของครูทุกคน โดยมีกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นฐาน โดยเริ่มดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป

วันต่อไปป้านางจะเล่าถึง การนำ 10 ระบบสู่การปฏิบัติของครูทุกคน โดยมีกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นฐาน นั้นทำอย่างไร 

คำสำคัญ (Tags): #topstar
หมายเลขบันทึก: 122788เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2007 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท