การปรับประยุกต์ใช้จากการบรรยาย HR Trend and Innovation


HR Trend and Innovation

บทวิเคราะห์และการปรับประยุกต์

1.          การจัดลำดับของสาระที่บรรยายยังขาดเอกภาพ           

ในการบรรยายพิเศษครั้งนี้ วิทยากรยังไม่ได้เรียงลำดับเรื่องให้ตรงกับหัวข้อที่ตั้งเป้าหมายว่าจะบรรยายนัก สาระยังมีการกระจายไม่ Focus และไม่ได้ให้น้ำหนักไปที่ HR Trend and Innovation เท่าที่ควร             

2.          องค์การวิชาชีพประเทศไทยถึงเวลาต้องพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง           

การบรรยายนี้วิทยากรได้รวบรวมค้นคว้า และประมวลองค์ความรู้ที่ทันสถานการณ์ ในบางเรื่องเป็นการนำมาบูรณาการเป็นของตนเอง และนำเสนออย่างน่าสนใจ เช่น เรื่องของบทบาท HR ที่ยังประสมประสานบทบาทดั้งเดิมกับบทบาทใหม่ นอกจากนั้นยังได้นำเสนอผลการวิจัยที่ทำโดยสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทสไทย (PMAT) เอง ถึงความท้าทายและแนวโน้มการบริหารทรัพยากรบุคคลจากทัศนะของนักบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรสมาชิก PMAT ทำให้เห็นภาพของแนวโน้ม HR ประเทศไทยมากขึ้น            อย่างไรก็ตาม การที่ PMAT เป็นองค์กรวิชาชีพด้าน HR ที่ก่อตั้งมาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี บทบาทที่สำคัญ คือ การยกระดับและส่งเสริมความเป็นมืออาชีพด้าน HR นอกจากการวิจัยเชิงสำรวจให้เห็นปรากฏการณ์บางส่วนดังกล่าวแล้ว PMAT ควรสะสมองค์ความรู้ที่เป็นของตนเอง กล่าวคือ มีทฤษฎีและกรอบความคิดที่อธิบายการบริหารทรัพยากรในบริบทของประเทศไทยมาประสมประสานด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงการรวบรวมและนำเสนอในนามส่วนบุคคล หรือเป็นการประมวลแนวความคิด และทฤษฎีจากเอกสาร ตำราวิชาการ เป็นหลัก

3. ศาสตร์ทางการบริหาร สามารถแบ่งด้วยเวลา หรือควรแบ่งด้วยสำนึกทางความคิด ?

วิทยากรได้นำเสนอพัฒนาการของเครื่องมือในการบริหารที่ได้รับความนิยมในช่วงกว่า 50 ปีที่ผ่านมา โดยแบ่งช่วงเวลา ช่วงละ 10 ปี รวมเป็น 6 ช่วงเวลา ผู้เสนอรายงานเห็นว่านี้เป็นการนำเสนอเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ว่าช่วงเวลาไหนสังคมยอมรับอะไร กล่าวถึง และนิยมใช้เครื่องมือทางการบริหารเรื่องใดบ้าง แต่การใช้ช่วงเวลาเข้ามาแบ่งอาจไม่สามารถอธิบายพัฒนาการของเครื่องมือแต่ละเรื่องได้ดีนัก ทั้งนี้เพราะศาสตร์ในยุคหลัง ๆ คือ การต่อยอดจากศาสตร์เดิม ดังนั้น ชื่อที่ปรากฏในการใช้งานในช่วงปีหลัง ๆ ก็อาจคงวางฐานจากพัฒนาการของศาสตร์ในสาขา หรือสำนึกคิดเดิม การแบ่งพัฒนาการของศาสตร์ทางการบริหารน่าจะแบ่งโดย การจำแนกสำนึกทางความคิดมากกว่าแบ่งด้วยช่วงของเวลาเพื่อให้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจนขึ้น จะขอยกตัวอย่างตามภาพที่ 3. ซึ่งนำมาจากเอกสารประกอบการบรรยาย นำเสนอว่าแนวความคิดว่าด้วย Management Science ปรากฏชัดเจนและได้รับการยอมรับในปี 1950 ในความเป็นจริง Management Science เป็นพื้นฐานของ Statistical Process Control ในปี 1970 เป็นพื้นฐานของ Continuous Improvement ในปี 1980 และเป็นพื้นฐานของ TQM ในปี 1990 ด้วย เป็นต้นการที่พัฒนาการของความรู้ไม่ตัดขาดด้วยช่วงของเวลา ดังนั้น การอธิบายด้วยกระแส หรือสายของพัฒนาการขององค์การความรู้นั้น ๆ ย่อมใกล้เคียงความเป็นจริง และง่ายต่อการศึกษาไปถึงพื้นฐานได้ดีกว่า


บรรณานุกรม 

Chatphong Wongsuk.HR Treads & Innovation.เอกสารประกอบการบรรยาย. 22 July 2007

Losey.M, Meisinger.S, and Ulrich.D (Edited) (2005). Future of Human Resources  Management.New Jersey: John Wiley&Sons.

Swanson R. and HoltonIII.E. (2001). Foundations of Human Resources Development. San Francisco: BK.

หมายเลขบันทึก: 122762เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2007 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท