จับภาพเครือข่ายมดแดง พื้นที่ จ.นนทบุรีต่อ (2)


เครือข่ายมดแดงมีพื้นที่ทำงานอยู่ที่ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ภาคกลางอยู่ที่ จ.นนทบุรี ภาคใต้อยู่ที่ จ.นครศรีธรรมราช และภูเก็ต ทีมจับภาพเลือกที่จะไปพื้นที่ใกล้เคียงก่อนนั่นคือ พื้นที่จ.นนทบุรี

                เครือข่ายมดแดงเลือกเอาประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดการด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และ สิ่งแวดล้อม ของชุมชนดังกล่าวมาศึกษา โดยทีมงานภาคสนามจะเป็นผู้เก็บข้อมูลทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันและย้อนไปในอดีตเท่าที่คนในชุมชนยังหลงเหลือความทรงจำอยู่ได้

เป้าหมายเพื่อสร้างเสริมการตัดสินใจอันชาญฉลาดของชุมชนเพื่อวางรากฐานที่แข็งแกร่งในการู้จักและทำความเข้าใจกับตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถมองเห็นเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรกระทั่งส่งผลให้เกิดการตัดสินใจที่มีความเป็นไปได้

โครงการฯ จะนำเอามุมมองด้านการพัฒนามาใช้พัฒนากลไกการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของคนในท้องถิ่น โดยการใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมทดลองและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทั้งในพื้นที่และระหว่างพื้นที่สานต่อเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ และส่งเสริมให้เกิดกลไกการพัฒนาชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมของคนในท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาล

โครงสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของโครงการฯ แบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 3 กลุ่ม

-กลุ่มตัวแทนที่เกิดจากกระบวนการทดลองเชิงสังคม ได้แก่ประชากรที่อยู่ในพื้นที่นำร่องของโครงการในจังหวัด ทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในชุมชน

-กลุ่มPeer Network        ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างพื้นที่ บุคคล ชุมชน หรือองค์กรที่มีความรคล้ายคลึงกัน โดยการร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันจากการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกชุมชน

- กลุ่มเครือข่ายที่ปรึกษาในระดับประเทศรวมทั้งบุคคลที่อยู่ในรัศมีที่มีอิทธิพบต่อการตัดสินใจของชุมชน ผู้ชึ่วชารญเหล่านี้มีประสบการณ์ ทฤษฎี แต่ไม่คุ้นเคยกับชาวบ้าน โครงการจะเป็นผู้เชื่อมโยงให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการปรับทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ในการวิเคราะห์ระดับท้องถิ่น ระดับภาค หรือระดับประเทศ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ สามารถมองภาพรวมได้ชัดเจนกว่าคนในท้องถิ่น

ทั้งนี้โครงการมีบทบาทเป็นผู้ให้ความสะดวกในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในกลุ่ม ที่ 1-3 โดยสร้างพื้นที่ จัดเวที กิจกรรม และงานต่างๆ ที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ส่วนการเรีนยรู้กับกลุ่มที่ 2 จะเกิดขึ้นโดยการมีส่วนร่วมกับโครงการอื่นๆ เป็นครั้งคราวไป ซึ่งอาจจะเกิดจากการดำเนินงานของโครงการ หรือจากสมาชิกที่เข้าร่วมเครือข่ายนี้

กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

                กระบวนการสำคัญที่มดแดงจะใช้คือการเรียนรุ้ร่วมกันโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจาการทบทวนและสะท้อนความเข้าใจเดิม การวางแผนจากความเข้าใจใหม่ และการสังเกตผลของการปฎิบัติการนั้น ตลอดจนการนำผลที่ได้มาทบทวนและสะท้อนใหม่ เพื่อวางแผนในการปฏิบัติใหม่อย่างไม่สิ้นสุด

จากการรายงานถึงกระบวนการและวิธีการดำเนินงานในชุมชนของโครงการเครือข่ายมดแดงแบบนี้เอง ทำให้ทีมจับภาพเห็นว่า กระบวนการดังกล่าว คล้ายคลึงกับ การจัดการความรู้ อีกทั้งสิ่งสำคัญก็คือพื้นที่การดำเนินงานใน จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นเขตเมือง ติดกับกรุงเทพฯมากนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่งต่อผู้ดำเนินโครงการฯ ทีมจับภาพจึงสนใจพื้นที่ จ.นนทบุรีเป็นพิเศษ

                จากการลงพื้นที่ พร้อมกับทีมประเมินของสสส.ผู้ให้ทุนกับโครงการดังกล่าว 2 พื้นที่ และเป็น 2 กลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือ กลุ่มตัวแทนที่เกิดจากกระบวนการทดลองเชิงสังคมก็คือ กลุ่มผู้สูงอายุ มูลนิธิวัดยางศรีเมือง หมู่ 1 ต.บางศรีเมือง อ.บางศรีเมือง จ.นนทบุรี , อีกพื้นที่หนึ่งคือ โรงเรียนวัดสมรโกศ ในซอยเรวดี อ.เมือง จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นกลุ่ม Peer Networt

                จากการพูดคุยกับกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งโครงการได้ร่วมกิจกรรมาระยะเวลา 1 ปี โดยเริ่มแรก คุณปูหนึ่งใน 3 ทีมงานพื้นที่ จ.นนทบุรีได้พบคุณป้า พวงเพ็ญ เทียนจ่าง ประธานอพม. ,อสม.โดยความบังเอิญขณะเดินสำรวจและเก็บข้อมูลในพื้นที่ และเนื่องจากป้าพวงเพ็ญซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับคนในชุมชนและราชการส่วนจังหวัดทำให้ป้าพวงเพ็ญ เป็นผู้เชื่อมประสานคนในชุมชนกับมดแดงได้ในเบื้องต้น

                จากนั้นโครงการฯ ได้จัดกิจกรรม ย้อนอดีตเพื่อทำแผนที่เดินดิน โดยจะเริ่มจากการแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ จากนั้นก็กระตุ้นความคิดโดยใช้วิธีให้หลับตา พูดถึงเรื่องราวในวัยเด็ก อย่างช้าๆ 5 นาที จากนั้นก็จะให้วาดภาพจากจินตนาการลงบนกระดาษ พร้อมทั้งวาดเส้นจากทางบ้านมาโรงเรียน วัด สถานีอนามัย หรือบริเวณที่คิดว่าสำคัญในชุมชน จากนั้นก็ให้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในวัยเด็ก (ตรงนี้อาจจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ก็จริง แต่ประสบการณ์เหล่านั้น ไม่ได้ถูกนำมาปรับใช้ในชีวิตปัจจุบันได้ เนื่องจาก สภาพพื้นที่และการประกอบอาชีพได้เปลี่ยนจากไร่ นา เป็นการประกอบอาชีพธุรกิจหรือราชการ ความรู้เดิมเรื่องการทำนา นอกจากไม่ได้ถูกเน้นในวงแลกเปลี่ยนแล้ว หากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไป ก็ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของชุมชนในปัจจุบันได้)

                เมื่อได้แผนที่แล้วจะเรียกว่าเป็นแผนที่ทางประวัติศาสตร์ เอาภาพของแต่ละคนมาต่อกันเป็นแผนที่ใหญ่ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ แผนที่หลัก แผนที่ทรัพยากร แผนที่ความรู้สึก

            หลังจากทำแผนที่แล้วก็จะให้สมาชิกพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด แล้วก็นำเสนอ ,แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมในครั้งนี้ (คล้ายAARแต่ไม่ได้ถามว่ากลับไปจะไปทำอะไรต่อ)

                จุดนี้เอง เครือข่ายมดแดงพยายามจะมองให้เห็นความต้องการของชุมชน เสนอตัวว่าต้องการความรู้อะไรหรือไม่ในการพัฒนาชุมชน โดยเครือข่ายมดแดงจะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานนำผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้ามาให้ความรู้

                แต่จากการพูดคุยกับชุมชนแล้วพบว่า ชุมชนกำลังมีปัญหากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือเทศบาลต.บางศรีเมืองที่มองว่ากลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มนี้ (จริงๆ มีหลายกลุ่มรวมถึงกลุ่มของเทศบาลเอง) ทำงานแข่งกับเทศบาล เนื่องจากมีสมาชิกมากกว่า เพราะกลุ่มนี้ไม่มีความขัดแย้ง ไม่แย่งสมาชิก เน้นการดูแลจิตใจมากกว่าสวัสดิการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ดูแลสวัสดิการสมาชิกไม่ดี อีกทั้งกลุ่มนี้มีการพบปะพูดคุย นำผู้รู้ในหลายๆ เรื่องมาให้ความารู้กับสมาชิก เช่นเรื่องการเขียนโครงการฯ กฎหมาย การทำอาหาร เป็นต้น) ทำให้เมื่อกลุ่มนี้เขียนโครงการเข้าไปยังเทศบาลเพื่อของบสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่ม ไม่ได้รับการเอาใจใส่ มีการเลือกปฏิบัติ และไม่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงแล้วกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง จนบางครั้งดูเหนือนไม่สนใจ (ง้อ) เทศบาลจึงถูกลงโทษทางการเมือง

                อย่างไรก็ตามเครือข่ายมดแดงพยายามสอบถามถึงความต้องการของชุมชนว่าจะให้มดแดงช่วยอย่างไร ต้องการความรู้เรื่องการเขียนโครงการ หรือต้องการู้เชี่ยวชาญมาช่วยเรื่องใดบ้างไหม ซึ่งเครือข่ายมดแดงเองน่าจะเป็นผู้เชื่อมประสานความเข้าใจระหว่างเทศบาลและกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มนี้มากกว่าการมองหาความรู้ภายนอกมาแก้ปัญหา ซึ่งขณะนี้เครือข่ายมดแดงยังไม่สามารถเข้าถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ อีกทั้งถูกปิดกั้นไม่ได้รับความร่วมมือในการให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับโครงการฯ และงบประมาณของเทศบาล

            นอกจากนี้ทีมประเมิน และทีมจับภาพพยายามถามชุมชนว่าจากกิจกรรมที่มดแดงทำกระทั่งเห็นความสำคัญกับสิ่งที่สูญเสียไปในอดีตนั้น ชุมชนคิดจะทำอะไรต่อไหม หรือกลับไปคิดอะไรต่อหรือไม่ หรือเกิดแนวความคิดที่อยากจะทำอะไรหรือไม่ แต่กลับไม่ได้คำตอบออกมา (อาจเป็นเพราะจำนวนคนที่ร่วมให้ความเห็นแก่ทีมเรายังมีน้อยก็เป็นได้)
คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 12262เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2006 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท