จะกอดและแกะความรู้ออกมาได้อย่างไรหนอ


ตลอดระยะเวลา30ปี ที่ผมง่วนอยู่กับยกเหล็กชะแลงไปงัดหาความรู้ โดยเฉพาะความรู้ในตัวคน รู้ทั้งรู้ว่าในตัวผู้รู้มีความรู้ที่เราต้องการมากมาย แต่ก็ติดขัดด้วยระบบและวิธีที่จะต่อท่อความรู้มาใช้ ปัญหาอยู่ที่ส่วนต่างของความรู้ ศักยภาพของการรับรู้ฯลฯ ซึ่งจะต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้ง2ฝ่าย ความพร้อมนี้ยังทำไม่ได้จึงเป็นปัญหาเรื่อยมา ความรู้จึงขยักขย่อน ทำให้การรับความรู้เป็นไปด้วยความยากลำบาก 

ในช่วงที่ ศ.เสน่ห์ จามริก ลงพื้นที่บุรีรัมย์เมื่อ10ปีที่แล้ว ท่านพยายามนำนักวิชาการชั้นหัวกะทิของประเทศ ในหลายสาขาลงมาหลายครั้งหลายครา ได้จัดบรรยากาศพูดคุยกันทั้งที่เป็นแบบห้องประชุมและกลางท้องทุ่ง เพื่อให้เห็นมุมมองขอบข่ายความรู้ของแต่ละฝ่าย ยกตัวอย่างเช่น ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่ของชาวบ้าน กับความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่ของนักวิชาการอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ลองมาคุยกันดูสิว่าจะจูนกันได้ไหม ถ้าชาวบ้านเห็นภาพความรู้ทั้ง2ส่วนนี้จะไปก่อให้เกิดอะไรบ้าง จะกระตุ้นให้ความสนใจใคร่เรียนรู้กลับคืนมาได้หรือไม่ 

ในระยะต่อมาสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม โดยศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้จัดในลักษณะคล้ายกัน พยายามชักชวนอาจารย์นักวิชาการในมหาวิทยาลัยลงพื้นที่ เพื่อให้ไปเห็นสภาพจริงว่าเพื่อนร่วมแผ่นดินมีความเป็นอยู่อย่างไร เมื่อเห็นแล้วในฐานะนักวิชาการนักวิจัย คิดโจทย์อะไรที่จะไปตั้งฐานการค้นคว้าของตนเองได้บ้าง  

แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยได้น้ำได้เนื้ออะไรนัก เพราะมาเห็นแล้วก็เอาตัวเองเป็นตัวตั้ง ยกเรื่องเวลา หน้าที่การงาน ความกระหายใคร่ทำ ไม่มีพลังใจพอที่จะเดินหน้าได้ สิ่งที่ท่านอาวุโสต้องการให้เห็นให้เกิดจึงยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งๆที่อาจารย์ที่ลงมาต่างก็มีใจที่จะคิดจะทำ แต่มันมีเยื้อใยอะไรบางอย่างรัดรุมเอาไว้ ทำให้กระบวนการเชื่อมโยงวิชาการลงสู่ภาคชุมชนยังไม่เกิดขึ้น  

สุดท้ายก็ไปหมกมุ่นอยู่กับการศึกษาค้นคว้าในแบบเดิม ซึ่งสะดวกกว่า เหมาะกว่า ถนัดและเคยชินกว่า สร้างโลกวิชาการเฉพาะส่วนของตนเอง สังคมแห่งการเรียนรู้ที่ใครๆพูดถึง จึงมีสภาพสมัยพ่อขุนรามคำแหง ใครใคร่วิจัย ก็ทำวิจัย แต่ไม่ได้เชื่อมโยงกับใคร ต่างคนต่างเรียน พลังความรู้ที่จะนำมากู้ชาติมันจึงไม่เกิดขึ้น ต่างคนต่างห่างเหินกันออกไปเรื่อยๆ นักวิชาการไปทาง ชาวบ้านไปทาง ถ้าถูกบีบบังคับ ก็ทำไปแบบแกนๆ จนกระทั้งอาจารย์ประพนธ์ ผาสุกยืด ตบะแตก ประกาศกลางวงในการอบรมโครงการ กพร.ครั้งที่ 3 

ถามว่าแล้วจะทำดีละ

คนที่ตอบปัญหานี้ มี 2 ท่าน

คืออาจารย์ กฤษณา สำเร็จ กับ อาจารย์ประพนธ์ ผาสุกยืด 

อาจารย์ติ๋ว ได้ชี้ทางสว่างไสวให้ผมมั่นใจยิ่งขึ้นด้วยคำว่า.. 

นาง กฤษณา สำเร็จ 
 โอ...แม่เจ้า

  • เดือนพฤศจิกายนมีแผนเยอะมากๆเลยค่ะ...หากมางานนี้สงสัยสามีบีบคอตายแน่ๆ...ทำไงจะได้มาน้อ....คิดก่อน...คิดๆๆๆๆๆๆ

นึกภาพออกเลยใช่ไหมครับ ว่าเรื่องที่ตั้งใจจะไปจะทำมันอภิปัญหาแค่ไหนสำหรับเธอ แต่ก็ยังไม่ถอดใจ ยังคิดๆๆจนวินาทีสุดท้าย

อีกท่านหนึ่ง ขออนุญาตเอามาขยายความ ท่านเป็นนักวิชาการที่จุดยืน จุดนั่ง จุดนอน ของตนเอง ไม่ยอมลอยไปตามกระแสน้ำเน่า ท่านเล่าไว้ได้ดีเหลือเกิน ดังนี้ครับ..

เวทีในวันนี้ถึงหลายคนจะบอกว่าดี แต่จากคำถามที่ได้รับจากผู้เข้าร่วม ผมมองว่าค่อนข้างจะออกมาในแนวการสอบถามข้อมูลข่าวสาร (Information) มากกว่าที่จะเป็นการจัดการความรู้ นอกจากนั้นก็ยังมีการบ่นบ้าง แชร์ความอึดอัดบ้างกันตามธรรมเนียม ฟังไปๆ ผมเองก็อดถามตัวเองไม่ได้ว่า “. . .แล้วมันเป็นการจัดการความรู้ตรงไหนกันเนี้ย?”        

ตอนก่อนจบผมเลยตัดสินใจประกาศไปกลางเวทีว่าผมคงจะทำหน้าที่ดำเนินรายการครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย เพราะผมไม่เชื่อในวิธีการเชิญผู้เข้าร่วมอย่างสามครั้งที่ผ่านมา ตลอดจนเห็นว่าสิ่งที่ สคส. เสนอแนะไป เช่น ให้ผู้ที่เข้าร่วมเขียนตอบแบบสอบถามระบุสิ่งที่หน่วยงานของเขาทำได้ดีมาก่อน เพื่อที่ทางเราจะได้รู้ว่า  ทุนเดิม ของแต่ละที่นั้นอยู่ตรงไหน จะได้ดึงให้เข้ามามีส่วนร่วมได้ดียิ่งขึ้น แต่ข้อแนะนำเหล่านี้ก็ไม่มีการตอบรับแต่ประการใด ก็เลยต้องถอดใจ say บ๊ายบาย แค่ครั้งที่ 3 นี้นะครับ

จุดประกายตรงนี้ละครับ ที่เป็นจุดคลื๊กให้เห็นว่าจะเดินหน้าในการเอาตัวตนคนที่เป็นนักวิชาการทำงานกันอย่างจริงจังอย่างไร ซึ่งก็คงไม่ใช่จะทำแบบทื่อๆตรงๆได้เลย คงจะไม่หนีการทำแบบอิงระบบที่ชาวBloggerกำลังทำกันอยู่ กลุ่มอื่นถ้าจะพัฒนาเรื่องนี้คงจะต้องร่วมกันคิดร่วมกันทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติและเปี่ยมสุข ทั้งคนให้และคนรับ ลองดูนะครับ

ท่านละครับมีความคิดเห็นเช่นไร ช่วยแย้มบอกสักหน่อยได้ไหมคนดี    

หมายเลขบันทึก: 122584เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2007 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 10:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)

สวัสดีค่ะ....พ่อครูขา...

มีทางเดียวค่ะ... "ให้นักวิชาการเลิกคิดว่าตนเองเป็นนักวิชาการ"... เท่านี่เองค่ะ...แลวความรู้ที่ฝังลึกอยู่จะตื้นขึ้นมาและนำออกมาใช้ได้มากๆ...เลยค่ะ

(^_____^)

ขอตอบแบบกำปั้นทุบดิน...เพื่อให้ดินนี้นุ่มขึ้นและอ่อนลงค่ะ...

กะปุ๋มค่ะ

ทุบดิน ได้ดิน ทุบอะไรได้อันนั้น

ขอบคุณที่ช่วยให้ความเห็น

แต่จะให้นักวิชาการเลิกคิดว่าตนเองป็นนักวิชการนี่เขาจะยอมรึครับ

ขออีก ขอความเห็นอีก อิอิ ชอบจังเลย

  • คุณพ่อขา.....ขอกอดทีนึงก่อนจะตอบ
  • เริ่มต้นด้วยให้นักวิชาการถอดหัวโขนของตัวเองก่อน....
  • ทำตัวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
  • สร้างสายสัมพันธ์แบบซึมลึก  แล้วจะเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ
  • แต่ทั้งหมดนี้ ใจต้องมาก่อนค่ะคุณพ่อ...
  • ถ้าใจนักวิชาการเขาไม่ได้สัมผัสชาวบ้านด้วยหัวใจแล้ว   สุดท้าย...ทุกอย่างก็เหมือนเดิม...
  • .
  • หว้าก็มองแบบเด็กที่ยังขาดประสบการณ์นะคะ  แต่จากการลงพื้นที่ก็จะเห็นภาพที่นักวิชาการกับชาวบ้านยังถูกแบ่งชนชั้นกัน
  • เขาไม่รู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน....นักวิชาการก็ยังไม่ได้ใจชาวบ้าน...
  • ดูแลสุขภาพนะคะคุณพ่อ   พักผ่อนให้มากๆนะคะ

 

P

  • หว้าลูกพ่อ ถอดรหัสได้ดี 
  • แต่ต้องมาแปลงรหัสให้เป็นกระบวนการปฏิบัติ : หลายฝ่ายจะต้องร่วมมือ
  • มีนโยบายรองรับอย่างจริงจัง
  • แต่ถ้าทำในระบบก็คงจะยากอยู่ดี
  • ณ เวลานี้ ทำแบบกลุ่มBlogger นั่นแหละใช่เลย
  •  เพียงแต่มันเป้นจุดเริ่มต้นเท่านั้น 
  • ต่อๆไปกระบวนการเหล่านี้ก็จะฉายให้เห็นวิธีการที่คมชัดขึ้นเรื่อยๆ
  • เพราะเป็นการทำงานของคนที่มีความจริงอยู่ในหัวใจ
  • อย่างที่เชียงใหม่ทุกคนไม่รีรออะไร กระโจนใส่งานกันอย่างสนุก ไม่มีหัวโขนนักวิชาการ แต่ก็ทำชาการให้มีชีวิตได้อย่างดีเยี่ยม

นั่นสิคะ...พ่อครูขา...

แค่ให้เลิกคิดว่า "เราเป็นเรา" นั้นยากหยั่งแท้...

แต่เร้า...ก็ชอบนักชอบหนา...ชอบแบกความเป็นเราเอาไว้...ท้ายสุดจะทำอะไรสักอย่าง...จึงต้องแบกความเป็นเราไปด้วย...

....

(^______^)

กะปุ๋ม

  • ผมมองว่าถ้านักวิชาการใช้ blog เป็นเครื่องมือและลงพื้นที่จริงๆจะเกิดการเรียนรู้ไม่ใช่การผ่านพื้นที่แค่เพียงหนึ่งวัน สั่งให้ทำนั่น ทำนี่ และการเด็ดยอดความรู้จากชุมชนอย่างไม่เคารพความรู้ในชุมชน
  • ผมมองว่านักวิชาการหลายท่านเห็นแก่ตัวมากเกินไป (แรงไปไหมเนี่ย)
  • แต่ยังหวังว่าเรายังมีนักวิชาการดีๆในสังคมอีกมาก ซึ่งสามารถทำอะไรที่อิงระบบได้  แต่ต้องหาคนช่วยกันเชื่อมระหว่างนักวิชาการและชุมชน
  • ขอบคุณครับ ดูแลสุขภาพบ้างนะครับ เป็นห่วงถึงแม้ว่างานจะยุ่งๆๆ
  • นั่นสิคะคุณพ่อ..
  • ขั้นตอนของกระบวนการนี่แหล่ะสำคัญ
  • หนูว่าเรามาถูกทางแล้วค่ะพ่อ..
  • กลุ่ม blogger  เรามีใจมาแล้ว....
  • ต่อไปก็อยู่ที่ผู้ชี้นำที่ถูกทางนั่นแหล่ะ  ต้องคอยกระตุ้นบรรดา blogger  ให้มีความกระหายต่อการเรียนรู้ชุมชนตลอดเวลา....
  • พ่อขา..ต่อมเรียนรู้มันรอการกระตุ้นอยู่ค่ะ  
  • อิอิ...อย่าช้านะคะ
  • วันนี้ฝนตกหนักมากเลย   นั่งอยู่ที่ทำงานกำลังเตรียมทำโครงการสอนสำหรับวิชาใหม่ในเทอมหน้าเกี่ยวกับเศรษฐกิจชุมชนพอดีค่ะ
  • คุยกะพ่อแล้ว  สงสัยต้องเขียนบันทึกสักหนึ่งบันทึกแล้วค่ะ

ท่านท่านพี่สุทธินันท์

  •  เสนอให้เปลี่ยนเป็นนักวิชา เกิน
  • พร้อมจะ เรียน/Learn
  • เพลินสร้างสรรค์ ครับ
  • พ่อขา...
  • หว้าไม่ได้ลอกการบ้านคนนี้นะคะ P
  • หนูเขียนก่อนอ่ะ แต่ post ช้าไปนิ๊ด

ข้อสรุป ครึ่งแรก

  1. เวลาเราพูดถึงคนอื่น (นักวิชาการ นักพัฒนา ฯลฯ) เรามักจะว่าเขาต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งๆที่เขาไม่รับรู้ด้วย ถึงรู้ก็ไม่แน่ว่าเขาจะทำ
  2. เราพูดลักษณะนี้มานานมากแล้ว แต่ไม่เกิดผลในทางเปลี่ยนแปลง
  3. ผมเห็นแต่อนุภาพของBloggers นี่แหละที่เริ่มที่ตัวเรา คิดแล้วทำ เหมือนอะไรรู้ไหม
  4. เหมือนพระพุทธเจ้าไงละ พระองค์ท่านไม่รอใคร ทดลองเอง ทำเอง สำเร็จจึงไปบอกคนอื่น ไม่ทราบว่าคิดนี้จะผิดหรือถูกนะ
  5. อยากให้ความเห็นเพิ่มเติมมากๆ
  6. จะวานให้ดร.กะปุ๋ม สรุปทิศทางพวกเราในข้อสรุปช่วงท้าย อีกทีหนึ่ง ว่าBlogger เป็นทางที่เหมาะสำหรับพวกเราในขณะนี้รึเปล่า ที่จะคิดและทำอะไรอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในสไตล์ของเรา ฮาแต่ได้ประโยชน์ มีความสุข

กราบสวัสดีครับท่านครูและญาติมิตรทุกท่านครับ

  • ความรู้อยู่ในธรรมชาติ ทำลายธรรมชาติจึ่งขาดความรู้ อยู่คู่ธรรมชาติใครจะขาดความรู้
  • อยู่กับธรรมชาติเพื่ออยู่ร่วม ที่ไม่ใช่เพื่อเอาชนะ เอาใจธรรมชาติมาใส่ใจเรา จะทำให้เราใจกว้างขึ้น เพราะธรรมชาตินั้นใหญ่ กว้างขวางและรอบทิศทาง
  • กอดธรรมชาติก็น่าจะได้ความรู้ แกะเข้าไปทีละชั้นก็น่าจะได้ความรู้แบบฝังลึกยิ่งขึ้น เมื่อเข้าใจครบวงจรการอยู่ร่วมแบบครบวงจรก็สมบูรณ์ ธรรมชาติก็จะสมบูรณ์ขึ้น คำตอบก็จะครบถ้วนขึ้นเอง
  • เข้ามาทักทายสั้นๆครับ เผ่นต่อก่อนนะครับผม
  • กราบขอบพระคุณมากๆ ครับ ที่ช่วยกระตุกเอ็นใยสมองผมให้ตื่นบ้างนะครับ และที่ยังหลับๆ อยู่ก็ยังมีอยู่อีกเยอะครับ 

พ่อครูขา...กะปุ๋มมาขานรับค่ะ

ณ ตอนนี้...คงต้องเร่ง...ต่อจิ๊กซอร์...ให้เร็วขึ้น

ตอนนี้พอมองเห็นภาพรางๆ...ของบางสิ่งบางอย่าง...

อยากให้พ่อรักษาสุขภาพ...เพื่อ...เป้าหมาย...บางสิ่งบางอย่างอันก่อคุณประโยชน์ต่อ "โลกมนุษย์เรา" นะคะ...

(^____^)

ด้วยความนับถือค่ะ

กะปุ๋ม

 

 

กราบพ่อครูบาฯ.....ด้วยความเคารพรักยิ่งค่ะ

  • หนูกราบขอบพระคุณพ่อครูฯที่กล่าวถึงหนู...
  • คำพูดของหนูอาจจะทำให้พ่อครูทุกข์ใจหรือเปล่าน้อ...(อย่าคิดมากนะคะ...สามีหนูไม่ใจร้ายถึงกับจะบีบคอหนูตายหรอกค่ะ..)...หากเป็นเช่นนั้นต้องกราบขอประทานโทษมากๆเลยค่ะ....
  • ช่วงนี้หนูอยู่กรุงเทพฯ...อาจขาดการติดต่อกับเพื่อนๆบ้างเพราะไม่สะดวกเรื่องinternet....แต่วันนี้เลิกงานแล้วให้เพื่อนๆกลับก่อน..ยอมนั่งใต้ถุนตึกเพื่อแวะมาดูและเยี่ยมเยียนเพื่อนๆ...และก็ได้เจอพ่อครูฯ
  • คนที่ทำงานอยู่ในระบบ..ถูกบังคับด้วยภาระหน้าที่ประจำ  และโดยส่วนตัวของวิชาชีพหนูหนู...ด้วยความบังเอิญที่เดือน พฤศจิกายนนั้นมีการจัดประชุมระดับชาติของวิสัญญี...เป็นเอเชี่ยนคองเกรซ....และแถมปลายเดือนมี KM แห่งชาติที่อาจจะต้องได้มา...ด้วยภาระงานขององค์กรและวิชาชีพ  (..แถมด้วยภาระทางครอบครัวที่มีลูกสามและงานบริการที่ต้องลงปฏิบัติกรณีฉุกเฉิน...)....อาจจะไม่สามารถช่วยลดภารกิจในคราวนี้ของพ่อครูฯได้เพราะกระชั้นชิดมาก....แต่ก็พยายามหาทางออก...คือ...คิดๆๆๆ....
  • จากการอ่านบันทึกของพ่อครูฯ...หนูมีความคิดเห็นเรื่อง"ทางออก"ค่ะ....
  • .....มีช่องว่างอยู่ระหว่างนักวิชาการและชาวบ้าน....พ่อครูต้องหากาวมาอุด...ซึ่งหนูเชื่อว่ากาวที่ใช้ให้เป็นกาวช้างควรเป็นคนในชุมชน   ที่ดูหน่วยก้านว่าสามารถเป็นผู้ประสานทั้งสองฝ่ายให้ไปในทางเดียวกัน   กระตุ้นกลุ่มชุมชน...อาจจะต้องใช้ตัวกลางหลายระดับ  และพ่อครูต้องหาตัวช่วยในหมู่บ้าน..ที่พอจะเป็นมือขวาไว้สัก 2-3 คน...เอามาฝึกว่า...ทำอย่างไรจะสามารถเชื่อมทั้งสองฝ่ายไว้ให้อยู่คู่กันได้ไปเรื่อยๆๆ...  อย่างมีเป้าหมายเดียวกัน....ถ้าได้...มันคือความยั่งยืนของชุมชนค่ะ
  • เขาจะได้เป็นตัวช่วยที่ยั่งยืน...รู้และเข้าใจคนในพื้นที่ด้วยกัน   อาจจะต้องใช้เวลานานในการฝึก...หาโค๊ชดีๆ..เก่งๆ...ดูคนที่มีพรสวรรค์หน่อยค่ะไม่น่าจะหายาก...แต่น่าจะลองทำนะคะ...พ่อครูฯจะได้ไม่เหนื่อย(คนเดียว)ด้วยค่ะ
  • หนูเชื่อว่าพ่อครูทำได้แน่ๆค่ะ...(อย่าให้ความคิดของหนู...คนเดียว....ทำให้พ่อครูเหนื่อยหรือท้อแท้นะคะ.)..พ่อครูฯยังมีลูกๆอีกมากมายที่ยินดีมากๆที่ยินดีจะมาช่วยค่ะ....
  • หากโอกาสนี้ไม่อำนวย  หนูยังมีอีกหลายโอกาสที่จะได้ช่วยพ่อครูฯค่ะ
  • ทำใจให้สบาย...ดูแลสุขภาพและนอนหลับฝันดีนะคะ

(ไม่ทราบว่าความคิดเห็นของหนูจะช่วยพ่อครูได้บ้างไหม๊ค่ะ)

     ......ด้วยความเคารพรักยิ่งอย่างจริงใจค่ะ.....ลูกติ๋ว.

P

ไม่ได้ทุกข์อะไรหรอก เข้ใจดีว่าอาจารย์ติ๋วเขียนแบบมีลูกเล่นแบบช็อกฮาไง ชอบมาก จึงขออนญาตเอามาเอยถึงด้วยความปลื้ม ที่ทีมเราฝีมือร้ายมากในการหักมุมเสนอ นึกภาพออกเลยว่าไม่ฮาไม่ได้แล้ว

ความเห็นที่ให้มาน่าสนใจมาก รับพิจาณาป็นพิเศษ มีอะไรเพิ่เติมก็ส่มอีกนะครับ อ่านยังไม่อิ่ม เป็นโรคหิวความคิดความรู้อย่างแรง

ขออีก  ขออีก มากรุงเทพเที่ยวนี้มีอะไรไปฝากหวานใจบ้างละ อิอิ

 

..เอาค่ะ..เอา...พ่อครูอยากได้...จัดห้ายค่ะ....

  • พ่อครูวางแผนพัฒนาตัวช่วยในชุมชนเลยค่ะ...เอาเขามาช่วยวางแผน...ช่วยกันคิด(ทั้งๆที่เรามีแผนอยู่ในใจแล้ว)..แล้วค่อยๆให้เขารู้สึกว่า..."งานนี้ก็ของเขาด้วย...เขามีส่วนร่วม"....แล้วเดี๋ยวเขาก็คงไปหาตัวช่วยต่อๆไปค่ะ  แต่เขาน่าจะมีวิชาการบ้างสักหน่อยจะได้คุยกับนักวิชาการรู้เรื่อง(บางทีเราก็ต้องแอบถอดความรู้นักวิชาการออกมาบ้างเหมือนกันนะคะ...อิ...อิ...ต้องใช้ฝีมือหน่อย)
  • ตายละ....เจอพ่อครูฯเลยลืมหวานใจ(นี่ไงล่ะคะ)....แล้วพ่อครูฯจะไม่ให้เค้าบีบคอหนูได้ไงคะ..อิ..อิ...
  • เอ...เอาอะไรไปฝากหวานใจดีน้า...คิดซี่คิด..คิดๆๆๆๆๆๆ.....
  • เรียนพ่อครูครับ ผมเป็นนิสิตนะ ความคิดความอ่านอาจยังสู้ ครูบาอาจารย์ผู้ทรงประสบการณ์มากมายไม่ได้ แต่ยังอยากจะเสนอบ้าง
  • ต้องสร้างความรู้สึกให้นักวิชาการมีส่วนร่วมกับชุมชน รู้สึกมีส่วนร่วมถึงผลกระทบทั้งในส่วนของปัญหาที่จะเกิดขึ้น และรู้สึกยินดีกับผลสำเร็จที่จะตามมา
  • นักวิชาการส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ที่สอนอยู่ในสถานศึกษามีลูกศิษย์ ผมอยากเสนอให้นำลูกศิษย์เหล่านั้นลงมามองพื้นดินที่ชุมชนบ้าง ว่าแตกระแหงหรือชุมชื่นขนาดไหน สร้างจิตสำนึกสาธารณะให้กับนักเรียนนักศึกษา ชี้ให้เห็นปัญษ ชี้ให้เห็นทางมองหาปัญญา ชี้ให้เห็นทางแก้ ชี้ให้คิดทางแก้เป็น โดยอาจเกี่ยวเนื่องกับวิชาชีพที่เรียนก็ดี หรือ เป็นในรูปกิจกรรมนิสิตเสริมหลักสูตรก็ดี
  • เพื่ออะไรครับ เพื่อที่ว่าในยุคข้างหน้าเราจะได้ไม่ต้องมาถามอีกว่า ทำอย่างไรนักวิชาการจึงจะไม่ทิ้งชุมชน ... จึงอยากเสนอให้สร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิด ความเป็นชาติ ความภูมิใจในท้องถิ่น และอยากเห็นท้องถิ่นเจริญโดยความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา มากกว่าอยากไปเป็นหนุ่มสาวออฟฟิส
  • อิอิ (ตอบตรงประเด็นรึเปล่าไม่ทราบ) จำได้ว่าไม้แก่ดัดยาก ดัดไม้อ่อนจะง่ายกว่า หลวงพ่อแถววัดที่บ้านผมสอนผมตอนที่ผมไปปฏิบัติธรรมที่วัด ท่านกล่าวว่า "เด็กวัดที่ดีเห็นขี้หมาต้องเก็บ" แสดงว่าการเก็บขี้หมานี่เป็นดัชนีชี้วัดความดีของเด็กวัด น่าจะสร้างอีกตัวนะครับ "ปัญญาชนที่ดีต้องรักชุมชน" สร้างได้ครับไม้อ่อนดัดง่าย
  • อิอิ ผมตอบอย่างคนไม่ค่อยมีประสบการณ์การทำงานนะครับ เรียนก็ยังไม่จบ ผิดพลาดประการณ์ใดขออภัยด้วยนะครับ ขอบคุรมากครับ อิอิ

P

มาแล้วครับ นิสิตหนุ่มไฟแรง มาเติมความหลากหลายของอายุความคิดได้อย่างน่ารับฟัง

ทำยังไงหนา อาจารย์จะได้ยินเสียงสะท้อนของลูกศิษย์คนนี้บ้าง 

รักษาเนื้อรักษาตัวให้ดีนะบีเวอร์ เธอเป็นอนาคตของแผ่นดินนี้

คนดอย มาขอแจมด้วยคน จ้า!! 

การตั้งเรื่องนี้ของพ่อ งานนี้ต้องคอยติดตามตอนต่อไป หากเราคอยคลิกความคิดไปเรื่อยๆ อาจจะได้ทางออกที่หลากหลาย เหมาะสมกับคนที่หลากหลายเช่นกัน

ผมอยากชวนมองในเรื่องการมุ่งพัฒนาเป็นหลัก

สำหรับส่วนตัวคิดอยู่เสมอว่า ความเข้าใจธรรมชาติ รู้จักธรรมชาติ เป็นพื้นฐานที่สำคัญ แต่ความลึกของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ซึ่งก็ต้องเข้าใจธรรมชาติซึ่งกันและกันเช่นกัน 

  • นิทานเรื่องนี้สอนตัวเองสำหรับการสร้างโจทย์ให้กับการพัฒนาพนักงานได้ว่า จงอย่ายัดเยียดในสิ่งที่เราอยากให้ เขาพร้อมที่จะรับหรือเปล่า คิดอยู่เสมอว่าเราชั่งโชคดี มีบุญวาสนา ที่ได้มาอยู่ตรงนี้
  • การพัฒนา ต้องใช้เวลาและทักษะ เอาเราเป็นที่ตั้งไม่ได้ ผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • ต้องสร้างเวที ที่เขาพร้อมและเปิดใจ ค่อยเป็นค่อยไป ผสมโหด มันส์ ฮา ตามสถานการณ์

อีกเรื่องคือการเคารพการเป็นมนุษย์ มนุษย์คือสิ่งที่มีชีวิต อยู่กับธรรมชาติ การอยู่กับวัตถุจนมากเกินไป สัญชาติญานมันจะค่อยๆเหือดหายไป บอกว่ามีเหตุผล แต่มองไม่เห็นความเร่งรีบ อยู่กับบริโภคนิยม

  • นิทานเรื่องนี้ก็กลับมาสอนตัวเองเช่นกันว่า การกลับมาอยู่ในบรรยากาศชิวๆ แบบเฮฮาศาสตร์ เน้นบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สมองเปิดรับอย่างเต็มที่ ชื่นชมกับความรู้ที่ออกมาจากความเป็นธรรมชาติ เก็บเกี่ยว สร้างสรร ต่อยอด นั้นสำคัญนัก

ทั้งหมดทั้งหลาย การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผมคิดว่า เครื่องมือ มุข เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคิดสร้าง แต่หากอยู่ในกรอบเดิมๆ ไม่ลองหาเวที สนามซ้อม แบบเฮฮาศาสตร์บ้าง ก็คงไม่เจอละครับ

 Imaging_r

ทั้งหมดนี้สิ่งที่เป็นแก่นสำคัญ เราต้องหลุดจากกรอบความคิดเดิมๆ สร้างพลังศรัทธาของตนเองให้จงได้ แกะความเป็นตัวตน มีจุดยืน ในเป้าหมายของการดำรงชีวิต  สังเคราะห์ตนเองได้อย่างถ่องแท้ และคิดอย่างเชื่อมโยง

ดูเป็นหลักการไปไหมเนี่ย แต่เห็นเป็นเรื่องซีเรียส ก็อาจจะซีเครียดไปหน่อยนะครับ

P

ลูกหว้าลองเขียน่าออกมาเหมือนอาจารย์ติ๋วน่าจะดี ในมุมที่จะทำใภควิชา หรือกลุ่มอาจารย์ ว่าจะขยับไปหาชุมชนอย่างไร (ออกแบบ ได้หลายๆบบ)

P

สมาชิกปูนฯคงไปถึงค่ำๆ

ที่จริงงานพันาบุคคลปูนนำร่องอยู่แล้ว แต่ระบบราชการอุ้ยอ้าย ยังทำแบบไปเชิญคนไม่รู้ มาพูดให้คนไม่รู้ฟัง มันก็เลยไม่รู้ ว่าไม่รู้เพราะอะไร แต่ก็ยังทำแบบไม่ได้หวังความรู้จริงๆ เหมือนลิงหลอกเจ้า นั่นแหละ 

เวทีสร้างบทเรียน ด้วยกระบวนการลงมือทำจริง ได้ประจักษ์ชัดเจน มีเสน่ห์มากจริงๆครับ เพียงแต่ต้องล่อด้วยความเนียน ทำเป็นสนามซ้อม แต่ขอให้เป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ต้องหาทางเอาตัวรอด  แต่พอยั่วให้ลงทำได้ และคอยถอดสิ่งที่เรียนรู้กัน ต่อยอด และเกิดการพัฒนาซ้ำแล้วซ้ำอีกให้เป็นทักษะ และยั่งยืนที่สุดครับ  ซึ่งเป็นที่มาขอโครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ นี่เอง!!!

ทั้งหมดนี้ผมว่าที่สวนป่า สร้างให้ประจักษ์ชัดกระบวนการนี้จริงๆครับ

  • ชอบโครงการ Project besed learning ของพี่ทวีสินที่สมุทรสงครามครับพ่อ
  • ถ้ามีการมาปรับใช้ในวงการศึกษาจะประสบผลสำเร็จดีมาก
  • ขอบคุณครับ
  • จะถอดจะแกะความรู้เอาออกมาได้อย่างไรจากนักวิชาการ อื่อ น่าคิด
  • ผมเห็นว่า มีหลายวิธีมาก  แต่วิธีที่ดีที่สุดที่ผมอยากเห็นก็คือ นักวิชาการ จะต้องลงมือทำ หรือปฏิบัติกับของจริง นักการศึกษาก็ลงมือสอน คนให้เป็นคนจริงๆ ไม่ใช่พูดสวยๆอยู่บนเวทียกระดับที่มีดอกไม้สวยๆวางตรงหน้า ลงมาเลยลงมาทำจริงๆ
  • เมื่อเผชิญกับของจริงก็จะพบว่ามันมีปัญหา อุปสรรคมากมาย ที่การพูดนั้นไม่ได้กล่าวถึง เมื่อพบปัญหา นั่นแหละครับ ความรู้ทั้งหลายที่เรียนมา ที่อ่านมา ที่ศึกษามา ไม่ว่า ตรี โท เอก หรือไม่มีทั้งตรี โท เอก ก็ต้องหาทางแก้ไข นั่นแหละครับความรู้จะออกมา จะพิสูจน์ว่า ที่พูดกันปาวๆน่ะ เอามาทำในสังคมไทย บริบทแบบไทยๆแล้วเป็นอย่างไร
  • ต้องทำจริงๆครับ แล้วความรู้มากมายจะแตกออก จะมีการระดมองค์ความรู้มากมายมาใช้ มาผสมผสาน มาบูรณาการ  แล้วก็จะเห็นตัวตนด้วยว่า อีตาหมอนี่ เป็นนักทำ หรือว่านักพูด
  • เอาแต่สั้นนี้ก่อนครับท่านครูบาครับ แหย่หนวดเสือดูก่อน เสือจะตื่นหรือหลับต่อ หรือฝันต่อ อิ อิ

P

โครงการทัวร์เฮฮา3 ของท่าน กำลังสร้างความปั่นป่วนทั่วราชอาณาจักร

มะปรางเปี้ยว ก็อยากมา

ซูซาน ก็งานทับโผล่มาให้เห็นเฉพาะ2ลูกกะตา

 อาจารย์ติ๋วก็แบกโลกไว้เต็มบ่า

เป็นไปได้ไหมครับถ้าเราจะเลื่อนวันออกไป ส่วนจะเป็นวันไหนนั้น ลองซาวเสียงสมาชิกดู เรียนมาเพื่อหารือนะครับ อยากให้ครบฮาเหมือนที่เชียงใหม่น่ะครับ

ผมเขียน บันทึก http://gotoknow.org/blog/ariyachon/122897  นี้  โดย ยังไม่ได้ อ่าน  ของ ท่าน ดร ประพนธ์  ที่ ประกาศไม่ไปสอน   และ  ก็ไม่ได้อ่าน บันทึกนี้ ของ พ่อ ฯ  เลย

ไม่รู้ว่า  เรื่องมัน จะเอ๋  กันได้อย่างไง

ลองอ่าน บันทึก http://gotoknow.org/blog/ariyachon/122897  นี้   ดู  อาจจะช่วยพวกเราได้บ้าง

ลอง ถอดระหัส    สิ่งที่ หน่วยงานต่างๆ  ชุมชนต่างๆ  เขาทำ    อย่าไป ดูแค่  "ผล" ที่เขาทำ   ดู "กระบวนการคิด  แนวคิด  จิตวิทยาที่ใช้   การฝ่าอุปสรรคต่างๆ เขาทำอย่างไร"  

ผมเป็นคนหนึ่ง ที่ ไม่ชอบ ถอดระหัสแค่ Success stories  ผมชอบ Failure stories ด้วย    (อ่าน Dave Snowden จะพบว่า  ที่ล้มเหลวนั้น มีสำเร็จ เป็นบทเรียนมากมาย  คนล้มเหลวได้พูด เท่ากับสร้างขวัญกำลังใจให้ด้วย ....  )

ลองไป ดู VCD แพรกหนามแดง  ให้ซึ้งๆ  ทำ workshop แกะ ถอดระหัส  หรือ  ไปเอา ตัวจริง พี่ๆ ทั้งหลาย  ที่นั้นมาถาม ก็ได้

ผมมองว่า ทุกคน หวังดี จริงใจ   แต่ .....

ขาดมุข  ลูกเล่น    อุปมาไปจีบสาว แล้ว บอกสาวตรงๆว่า "เป็นเมียพี่เถอะนะ"    สาวๆ (ข้าราชการ)  ก็ ช็อค   ทั้งเกลียด ทั้งกลัว  ..... การสร้างบรรยากาศ   การ build อารมณ์สำคัญมากๆ

ลองอ่าน Action learning  อ่าน Constructionism learning  อ่าน Team academy  

ลองอ่าน Leading with Questions ของ Michael Marquardt 

หลายคนไม่เปลี่ยนแปลง  เพราะ

อยู่ในโหมดที่ไม่ปลอดภัย   กลัวนาย  กลัวพลาด  ฯลฯ  เขาไม่เคย ได้อยู่ใน "เวที" ที่เอื้อต่อการพูด ที่ปลอดภัย

อยากให้อ่าน สุนทรียสนทนา  ของท่านอาจารย์วิศิษย์  วังวิญญู    ....  เว็ป วงน้ำชา.com   wongnumcha.com   จะช่วยได้มาก

นักวิชาการ   มีจุดด้อย คือ อัตตา  หลงตนเอง  รู้ศาสตร์เดียวของตน    ขาดจิตวิทยา  ขาดความเข้าใจในคนอื่น  ฯลฯ   แต่เราก็ แก้ได้   ด้วย Strawberry   หรือ TL  ย่อมาจาก  Total Listening  เช่น การใช้ ปิยวาจา    อย่างที่ ครูบาฯ ใช้บ่อยๆ

คนที่มีอาชีพ ตรวจประเมิน  จะโดนธาตุไฟ อัตตาแทรกได้ง่ายๆ   เราก็ต้องเข้าใจ    เขาโดย พลังด้านมืด  ครอบงำ  .....  ผมเอง ก็เคยโดน    เดี๋ยวนี้ ไม่เอาแล้ว  อาชีพประเมิน

ตั้งใจมาก กฏเกณฑ์มาก  คาดหวังมาก ฯลฯ  ผล ก็คือ จิตเกิดอาการ   เป็นอกุศลจิต

ตราบใด ที่พวกเรายังแยก จิต สติ ความคิดไม่ได้    ทำอะไร ก็ออกมา แบบเนี้ยๆๆ  อิ อิ

...... รายงานสดตรง จาก  ป่าช้า  วัดป่า ฯ  ขอนแก่น

คืนนี้2000 น  ทีวี KTV จะมาถ่ายทำ   การสอนของผมในป่าช้า     ให้พวกปูนฯ แก่งคอย   

อยากให้ พวกเรา  ได้มากันทุกคนเลย   ... จะเตรียมหลุมเด็ดๆไว้ให้ แบบ one on one เลย

 

 

 ขอบคุณพระอาจารย์ ที่ช่วยลงปฏักที่จริงเรื่องนี้ยาว และเห็นใจอาจารย์ประพนธ์ในระดับหนึ่ง มีเบื้องหลังพอสมควร ถ้าเปรียบการรักษาโรค ก็คงขึ้นกับอาการ ยาหม่อง ยาดม กิน ฉีด บางโรคต้องผ่าตัด ขึ้นกับอาการคนไข้  ประเทศนี้เสียเงินกับการอบรมทิ้งอบรมข้วางกันมาก ผมคิดควรรับผิดชอบร่วมกัน ระหว่างหน่วยงาน ทั้งคนจัด และคนสนับสนุน คนเป็นวิทยากร มันควรจะมีระบบเอาจริงเอาจังกว่านี้  เอาไว้ผมเจออาจารย์ค่อยคุยกันอีกรอบนะครับ 
คนไร้กรอบ ก็คือ เปียกๆ

ขอบคุณ ครูบา ฯ ครับ

คนที่อยู่ในโหมดเอาตัวรอด (Survival mode)  ก็ต้องใช้ ศรีธนชัยศาสตร์    มันเป็นเรื่องปกติ  ..... 

ฝากข้อคิด เล่นๆ  

  • เวียดนาม แซงเราแล้ว
  • มาเลเซีย  ก็ทิ้งเราแล้ว
  • ลาวมีความสุขกว่าไทยเยอะ .....  Doctor เมืองไทยมากมาย แต่ ทำไมป่าไม้หมดเร็วจัง  .... คำนี้   เจ็บกันบ้างไหมหนอ  ....  จัดว่า จำนวนป่าไม้ เป็น KPI วัด ขีดความสามารถในการบริหารการศึกษาก็ได้นะเนี่ย  
  • เรา กำลัง เดินตามก้น ฟิลิปปินส์  ....  แย่ลงทุกวัน

ตอนนี้  คงไม่ต้องคิดจะมาแก้ไขเรื่องนี้แล้ว   อีกไม่นาน GLobal warming ก็ทำ น้ำท่วมตายกันเป็นเบือ   เป็นวาระวิกฤตแห่งชาติอันดับหนึ่งแล้ว

 

 

l-สบายๆ ยังไงก็ได้ คือ ไทยแท้ๆ

  1. ไม่ว่าจะอยู่ในกฎระเบียบอะไร
  2. หน้าที่การงานใด

พี่ไทยทำเล่นได้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะการเล่นการเมือง ผลของการเล่นมายาวนานได้ล้วงล้ำไปยังกระบวนการต่างๆของระบบราชการ

  • ออกกระเบียบมายุบยับ แต่ทำไม่ได้ในทางปฏิบัต้
  • แล้วก็มาเสียเวลากฎหมายมากมาย แก้ไขกฎหมาย
  • ทำอยู่แค่นี้ ออกกฎหมายที่ไม่เข้าท่า แล้วก็แก้กฏหมายที่ไม่เป็นท่านั้น
  • จะไปทำอะไรกิน จะไปแข้งกับใคร ในเมื่อระบบพี่ไทยเป็นงูกินหางตัวเอง
  • ผมมองว่าสิ่งที่ อ.ประพนธ์ทำ เป็นความกล้าหาญที่ไม่ควรจะยอมเป็นเครื่องมือของระบบน้ำเน่า
  • คุณภาพ ประสิทธิภาพ มาตรฐาน การประเมิน ทำ ครับ เหมือนกับประเทศอื่นเขานั้นแหละ แต่ก็ทำตามแบบฉบับพี่ไทย สไตล์ไทย หลายแห่งหลายเรื่องเล่นตลก แบบลิงหลอกเจ้าจนชาชิน
  • คนดีๆอึดอัด บางกลุ่มมูมมามอย่างมีความสุข
  • เรื่องนี้ระบาดไปทุกวงการ แม้แต่การอบรม
  • เราตั้งใจพยายามจัดให้ดีที่สุด บางคณะด่าเราในใจ "อยากจะมาอบรมเล่นๆ มาเที่ยว มาสนุก ไอ้บ้านี่พูดอะไรก็ไม่รู้ เอาจริงเอาจังทำไมก็ไม่รู้ คราวหลังอย่ามานะ ไปหาไอ้ที่มันอบรมเล่นๆ"
  • เจอแบบนี้บ่อยๆก็ตะบะแตกเหมือนกัน เรายังไม่หลุดพ้น ใจเย็นพอ
  • เดินตามรอยอาจารย์ที่เคยเล่า..ที่ไหนจำไม่ได้แล้ว ที่เขาเชิญอาจารย์วรภัทร์ไปเป็นวิทยากร แล้วมีคนลุกมาคัดค้านแสดงอาการอะไรสักอย่าง แล้วอาจารย์ก้มกราบแล้วเดินออกจากห้องประชุม สารภาพบาปว่า ผมผิดไปแล้ว ผมไม่ดีเอง
  • พวกเรายังใจไม่นิ่งพอเท่าอาจารย์ การหลุดอะไรออกไป แน่นอนมันไม่ด้ แต่ผมก็เห็นมุมดีอยู่เหมือนกัน  อย่างน้อยก็เป็นการบอกกันตรงๆว่า กูไม่เล่นกับมึงแล้วโว้ย
  • คงต้องกลับมาตั้งสติเหมือนอาจารย์ว่า แต่ก็มีเรื่องคิดและทำต่อ ว่าถ้าเจอกระบวนการอบรมแบบกะล่อนศาสตร์นี่จะทำอย่างไร ถอยออกมาเอาเวลาไปทำอย่างอื่นจะดีกว่า ไหม มีเรื่องดีๆให้น่าทำเยอะแยะ
  • ผมมีตัวอย่างของจริงเล่าให้อาจารย์ฟังเยอะ ประเภทนึกไม่ถึงเลยเชียวละ แต่มันก็เสียเวลาฟัง และเสียเวลาที่มีประโยชน์ของอาจารย์
  • เคยถามท่านอาวุโส ท่านบอกว่า" อย่าเอาเท้าไปเตะขี้"
  • พระพทุธเจ้ายังยกธงขาสมาแล้ว พระองค์จัดลำดับในการโปรดสัตว์ ดอกบัวที่1-2-3-4-ดอกท้ายๆนี่ยังปล่อยให้เป็นอาหารปูปลาและเต่า ก็แสดงว่าอย่างน้อยก็เป็นประโยชน์อยู่บ้าง
  • พระท่านว่า ต้นไม้ถ้ามีแก่นอย่างเดียวก็อยู่ไม่ได้ ต้องมีกระพี้ด้วย

เกิดสงครามโลกทีหนึ่ง  ก็ชำระปฏิฏูลทางสังคมไปทีหนึ่ง กิเลศมันก็ยุบไป

ผมยังสัยสัยว่า ร่องรอยของปิรามิด มันหายศาสตร์ไปเฉยๆ อาจจะเกิดขึ้นเพราะมีน้ำท่วมโลกหรือเปล่า สาเหตุมันคงไม่เหมือนเรื่องโลกร้อน อาจจะเป็นเพราะอะไรนึกไม่ออก กึ๋นจำกัด วานพระอาจารย์ชี้แนะ

เกิดเพราะอุกาบาตชนโลก

เกิดเพราะโรค

เกิดเพราะแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดอย่างรุนแรง

เกิดน้ำท่วมอย่างที่อาจารย์บอกว่ามันจะมาอีกแล้ว

เราปลูกไผ่เยอะๆดีไหมอาจารย์ พอน้ำท่วมโลกเราก็ตัดไผ่มาทำแพ พวกฝรั่งอาจจะทำแพพาลสติก พวกเราใช้แพไม้

ผมจะทำแพใหญ่ๆ ชวนพวกเรามาอยู่อาศัย นั่งคุยกัน ทำใจ ก่อนตายนัดกันหัวเราะ แบบเฮฮาศาสตร์ ยังไงละครับ

อารยธรรม แบบ โลกๆ เต็มไปด้วยกิเลส  พังมาตลอดยุค ตลอดสมัยครับ พ่อครู ฯ

กรีก โรมัน  ที่รุ่งเรือง  ล่มสลาย  ก็เพราะ นักปราชญ์วิชาการ   นี่แหละ

โรมแตก เพราะ คนเถื่อน .....  แต่ จริงๆไม่เถื่อ่นเลย  พวกเขา   ไม่แตกคอกันเหมือนนักวิชาการชาวโรม

ในสามก๊ก   อ้วนเสี้ยว มีที่ปรึกษา นักวิชาการ  ๓๐ คน  แต่ ก็แพ้ โจโฉ ที่มีที่ปรึกษาคือ กุยแก   ..... พอโจโฉ ชนะอ้วนเสี้ยว   นักวิชาการที่หลาย  ก็ขอมาทำงานกับโจโฉ    แต่โจโฉ ก็ประหาร นักวิชาการทั้ง ๓๐ คนนี้ทิ้ง เพราะ  มัวแต่ ทฤษฎี   พูดมาก  ฯลฯ  เป็นตัวการทำให้นายแพ้  ยังหน้าด้านมาหานายใหม่อีกหรือ !

อิยิปต์   สมัยก่อน  ผมไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร   แต่  ก็คงหนีไม่พ้น   ความไม่สามัคคีนี่เอง     กิเลสมาที่ใดมาก   ทีนั่นก็ล้มสลายเร็ว    เจอ โรคระบาด น้ำท่วมโลก ข้าศึก  ฯลฯ

น้ำจะท่วม กรุงเทพ  ในอีกไม่กี่ปี    ยัง "ไม่ขยับ" จะทำอะไรกันเลย

พม่าสะอีก  ย้ายเมืองหลวงขึ้นเหนือไปแล้ว

ผมคงต้อง ปลูกไผ่  อย่าง พ่อ ฯ ว่านั้นแหละ 

 

  • ออกกระเบียบมายุบยับ แต่ทำไม่ได้ในทางปฏิบัต
  • แล้วก็มาเสียเวลากฎหมายมากมาย แก้ไขกฎหมาย
  • ทำอยู่แค่นี้ ออกกฎหมายที่ไม่เข้าท่า แล้วก็แก้กฏหมายที่ไม่เป็นท่านั้น
  • ที่ พ่อ  ฯ ว่า มาด้านบน    มัน ตรงกันข้ามกับ แนวคิดใน หนังสือ Good to great เลยครับ  ( เป็นหนังสือ ที่ ทำวิจัยให้เห็นว่า องค์กรใด จะ ยืนยาว  มั่นคง  ต้องมี พฤติกรรมในองค์กร  สันดานผู้บริหารอย่างไรบ้าง)

    ที่ว่าตรวกันข้ามคือ เรา ชอบ One size fit all    ทำแบบเหมาโหล  เหมารวม    เราไม่เข้าใจ "ความแตกต่าง"   เราไม่เข้าใจ Complexity ของ real world เลย

    ในสวิส  ใน USA    เขาออกกฏหมายได้เร็ว  เพราะ หลายๆองค์ประกอบ เช่น  ใครก็ได้ อยากเปลี่ยน กฏหมายอะไร   ยื่นคำร้องได้เลย  

    มีการทดลองกฏหมาย   เช่น  ใน 50 รัฐ     บางรัฐ อาจจะ OK  บางรัฐ ไม่ OK  ก็  ถือว่า ลองทำ ลองดูผลที่ออกมา   เช่น  Boston ยอมให้ ชายแต่งงานกับชายได้   แต่ รัฐอืนๆไม่ยอม    และ แต่ละรัฐ ก็คอยดูว่า  ที่ Boston จะวุ่นวาย หรือ ไม่วุ่นวาย

    ของไทยเรา   คิดกฏหมายทีไร  ก็ต้อง ครอบจักรวาล  ทั้งๆที่ประเทศเล็กนิดเดียว

    คำตอบ ของประเทศ ผมเชื่อในหลวงฯ  ครับ  คือ  ฝ่ายตุลาการ และ นิติบัญญัติ   ต้องเข้มแข็งกว่า ฝ่ายบริหาร .....  ประชาชนได้เลือก คนดีจริงๆ มานั่ง  สองฝ่ายนี้ ....  ทำไม่ดี ก็กล้าลาออก  ทำผิดศีลธรรมก็กล้าลาออก   

    สรุปแล้ว  ถ้าเอา วงจร โนนากะ มาใช้   จะพบว่า นักวิชาการ อาจารย์ นักกฏหมาย (ไม่ทุกคน)   เป็นแค่ มุมบนขวา  (นักคิด นักใช้มทฤษฎี นีกปริยัติ)   ยังไม่วนลงมา สร้างทฤษฎีเอง  ยังไม่ ลองทำ ทะยอยทำ  ผิดบ่อยๆเพื่อเรียนรู้  และ ที่น่าเกลียดที่สุด คือ ไม่คุยกันดีๆ  ไม่คุยกับประชาชนให้มากๆ 

     

      

     

    ครูบาครับ

    สองแบบที่เราคิดไวคือแบบต้นไม้หลายต้นเกิดเป็นป่า

    และเซลล์รวมกันจนเป็นร่างกาย

    นี่จาก KM ธรรมชาติล้วนๆครับ

    รายละเอียดจะขยายในโอกาสต่อไปครับ

    ขอบคุณทุกความเห็นครับ

    ข้อเสนอแนะของท่านจอมยุทธ เริ่มจะเข้าเค้าไปสู่ความเป็นตัวตนของคนไทย ว่าทำไมมันถึงพัฒนาไม่ทันเขาสักที หรือดีแต่อวดโอ้อวดเก่งลมๆแล้งๆ

    พอมาดูผลลัพธ์แล้วมันโหล่ยโท้ย ก็ยังว่าบอกว่าตัวเองถูกตัวเองดี ต้องจับไปแข่งกับประเทศอื่นอย่างท่านไร้กรอบว่า  ถึงจะเห็นชัดว่าวิธีคิดและทำแบบThailand มันแฝงเรื่องตลกร้ายไว้เยอะ

    ถ้ายังอี๋อ๋อกันอยู่อย่างนี้ ไม่รู้ว่าจะเสียหายด้วยตัวเอง หรือจมหายไปกับน้ำท่วมอย่างท่านไร้กรอบว่า

    วานท่านเล่าฮูขยายความที

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท