จิตตปัญญาเวชศึกษา 19: Genogram ภาพชีวิต มีชีวา


Genogram ภาพชีวิต มีชีวา

ตอนช่วงบ่ายของการสัมมนา เป็นการนำเสนอกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งระดับ under-graduate (นักศึกษาปริญญาตรี) และ post-graduate (นักศึกษาสูงกว่าชั้น ป.ตรี) ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวจากสองสถาบัน คือ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี และ ของสงขลานครินทร์ อ.สายพิณ หัตถีรัตน์เป็นคนนำเสนอของรามา ส่วนของ ม.อ.ก็เป็น อ.กฤษณะ หนุ่มใต้ไฟแรง

สาเหตุที่เราวางให้ family medicine นำเสนอ ก็เพราะว่าในหลักสูตรต่างประเทศนั้น palliative care เป็นหนึ่งใน core contents ของ family medicine และมีการเรียนการสอน รงมทั้งการ service เรื่องนี้ลงไปในชุมชนมานานนับสิบปีแล้ว การที่เราจะขอลอกล้อเลียนแบบ้างก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งน่าอับอายแต่อย่างใด ตรงกันข้าม อาจจะช่วยวางปั้นแต่งตุ๊กตาฉบับไทยๆได้เร็วขึ้นเสียด้วยซ้ำไป

รามามีหน่วยเยี่ยมบ้านมาประมาณ 30 ปีได้แล้ว ตอนนี้พี่หยก (พี่อุมาภรณ์) พยาบาลที่ทำหน้าที่เยี่ยมครอบครัวตามบ้าน และมีประสบการณ์ palliative care มากว่า 30 ปีก็ยังทำงานขยับขันแข็ง เดินตัวปลิวไปปลิวมาอยู่ (แฮ่ะๆ ล้อเล่นจ้ะ พี่หยกจ๋า) ตอนนี้ได้อาจารย์สายพิณ บูรณาการองค์ความรู้สากลเข้าไปด้วย หน่วย family medicine ของรามาจึงเข้มแข็งทีเดียวเจียว ดูจากจำนวนก็เห็นได้ว่า อ.มี staff ถึง 23 ท่าน เกือบจะเท่าภาควิชาหลักๆของมหาวิทยาลัยแพทย์ต่างจังหวัดเลย

ระบบ family medicine กับการเยี่ยมบ้านเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก เพราะครอบครัว ก็ต้องอาศัยอยู่ที่บ้าน และดูคนไข้ ดูครอบครัว ก็ต้องดูบ้านไปด้วย หน่วยนี้ยังรับปรึกษา ไปดูคนไข้ของ ward ต่างๆ (ที่เขาปรึกษา เชื้อเชิญมา) ครั้งหนึ่งมีอาจารย์ศัลยแพทย์ท่านนึงติดใจ เชื้อเชิญไปทำกิจกรรมวิชาการจนแพทย์ประจำบ้านรุ่นนั้นมีบุคลิกที่พิเศษพิศดาร นุ่มนวลกว่าหมอศัลย์ธรรมดาๆ น่าเสียดายที่ตอนนี้อาจารย์ท่านนั้นไปศึกษาต่อเสียแล้ว

ของ ม.อ. นั้น เรามี palliative care ฝังอยู่ใน family medicine และ community medicine (สองอันนี้ยังไม่ได้แยกเด็ดขาด เพราะม.อ. คนกระจิดริด) ทั้ง post-graduate และ undergraduate เลย อาศัยมีหน่วยชีวันตาภิบาล (Palliative care unit ของ รพ.สงขลานครินทร์ ผมเป็นประธานหน่วยนี้เอง) รับผิดชอบช่วยราวน์ และช่วยสอนนักศึกษาด้วย

กิจกรรมของทั้งสองสถาบันคล้ายกัน และที่น่าสนใจคือ การ approach ผู้ป่วยด้วย family tree หรือผมเรียกว่า genogram เป็นแผนผัง family  tree ที่มีกิ่งก้านสาขาแสดงญาติ พี่น้อง และมีวงล้อมแสดงความใกล้ชิดสนิทสนมทางกายภาพ ได้แก่ การอยู่บ้านเดียวกับใครบ้าง ใครเป็น primary caregiver ที่บ้าน ใครเป็นมีบทบาทสำคัญๆที่เกี่ยวกับตัวผู้ป่วย

ปรากฏว่า family medicine และ community medicine สอนนักศึกษาในเขียน genogram มาแต่ไหนแต่ไร เด้กเขียนเป็น (ซึ่งก้ไมได้ยากอะไร) แต่ทำไมหนอ เวลาเขียนรายงาน ตอนที่นักศึกษาไปปฏิบัติงานที่ ward อื่นๆ เช่น สูติ ศัลย์ อายุรกรรม เด็ก จีงไม่ได้เขียน genogram นี้ลงไปในรายงานล่ะ? เคยถามไป ปรากฏว่าคำตอบเล่นเอาสะอึกไม่ออก น้อง นศพ. บอกว่า "เขียนไปแล้วครับ อาจารย์ที่ตรวจรายงาน ด่ามาว่าเขียนลงไปทำไม เสียเวลาอ่าน ทีหลังไม่ต้องเขียนลงมา"

อย่างที่เรียนให้ทราบมานานแล้ว อุปสรรคในการทำหลักสูตรนั้น มีมากกว่าที่เราดูเผินๆเยอะ และแก้ไม่ใช่ง่ายๆซะด้วย

การเขียน genogram ทำให้เรามองปราดเดียว เราสามารถประเมิน supporting system ของผู้ป่วยรายนี้ (หรือมองเห็นปัญหามิติอื่นๆก็เป็นได้) ในเวลาอันสั้น

บาง genegram เห็นแล้ว แทบจะพยากรณ์ได้เลยว่าคนไข้คนนี้น่าจะตายดี หรือบางคนเห็นปุ๊บก็เริ่มหนักใจ และเตรียมตัวหาอาสาสมัครมช่วยเหลือได้ เพราะ supporting system ทำท่าจะโหว่

นอกจากนั้น การที่เรารู้จักคนไข้ลงไปถึงเรื่องแบบนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ลึกซึ้งมากขึ้น มีมิติด้านลึกที่ทำให้หัวข้อสนทนาหลากหลาย และน่าสนใจมากขึ้น ดีกว่าคุยแต่เรื่องก้อน เรื่องเจ็บ เรื่องยาเท่านั้น เปลี่ยนไปคุยเรื่องลูก เรื่องหลาน เรื่องอนาคตของคนเกี่ยวข้อง เกิดความ appreciate มากขึ้นว่าเรากำลังรักษาคนที่มีครอบครัว มีคนรัก มีคนที่เขารัก และคอยเป็นห่วงใยอยู่ ไม่ใช่ case ที่มีแต่ก้อนอวัยวะที่เป็นโรคเท่านั้น

 

หมายเลขบันทึก: 122534เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2007 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

       ตามมาอ่านค่ะ

        จะว่าไปกลับไปอยู่กันเต็มบ้าน น่าจะอบอุ่นกว่านะคะ คนแก่ช่วยดูแลเด็ก เด็กโตขึ้นมาก็ช่วยดูแลคนแก่ต่อไป

         แฮะๆ อาจารย์คะ  ย่อหน้าที่4 จากเยี่ยมเป็นปัสสาวะไปค่ะ ดีที่ฉี่เฉียงๆนะคะ

ผมเห็นเช่นเดียวกับอาจารย์ครับ มีหลายอย่างในชีวิตคนที่น่าสนใจและอีกนัยหนึ่งกลับสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกับการหาโรคในตัวคน

ผมมองถึงการเรียนการสอนใน รร.แพทย์มีความสำคัญต่อลักษณะแพทย์ที่จบไปอย่างยิ่ง การสอนที่มากไปด้วย technique แต่ขาดมิติทางจิตใจทำให้เด็กยึดติดกับวิธีการมากกว่าการใช้ใจของตัวเองไปเข้าใจคนอื่น

การสอนเด็กให้มององค์รวมที่เกิดจากองค์ร่วมของกาย-จิต-สังคม-จิตวิญญาณ ที่มีปฏิสัมพันธ์กันและมีบริบทเป็นตัวแปรที่ทำให้วิถีการคิดแตกต่างกัน

โรงเรียนแพทย์ส่วนใหญ่ยังขาดการมองเชื่อมโยง+สอนการแยกส่วน+สอนอัตตา(doctor-centered)

ผมดีใจที่มีการสัมนาครั้งนี้เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของวงการแพทย์ไทย ถึงจะไม่ได้เปลี่ยนทันที แต่ก็มีหนทาง

genogram เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ดีมากสำหรับการทำให้เห็นภาพรวมของชีวิตและครอบครัวผู้ป่วย ผมขออนุญาติ link ไปในบทความผมนะครับ

ขอบคุณครับคุณอนิศรา ได้แก้ไขเพื่อยุติการทำบ้านเหม็นไป ณ บัดนี้พลัน

เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่คนไข้อาจจะไม่กลับบ้าน หรือญาติเองไม่อยากจะพากลับ ก็คือคนไข้ที่อาการทางระบบทางเดินหายใจ on respirator หรือพวกที่มีแผลใหญ่ ซับซ้อน ต้องดูแลทุกวัน ซึ่งก็น่าเห็นใจครับ

รวมทั้งอาจจะมีสาเหตุอื่นๆที่เป็นไปได้อีกมากมาย

โรจน์ครับ

 บางครั้งคนในระบบก็พัวพันตนเองเข้ากับระบบจนไม่เป็นตัวของตัวเอง จนกว่าจะตระหนักว่า แท้ที่จริงแล้ว เราเองนั้นแหละคือระบบ

ที่จริงจะทำ หรือไม่ทำ genogram ก็ได้ ขอเพียงสนใจอยากรู้จักคนไข้ของเราจริงๆจังๆ เราก็จะทราบประวัติเหล่านี้เองโดยธรรมชาติ การทำ genogram จึงอาจจะนับเป็น "อุบาย" ที่ทำให้เด็กหัดทำสม่ำเสมอได้มิตินี้ไป

แต่ก็จะได้เฉพาะคนที่นำไปบูรณาการข้อมูลที่ได้เข้ากับแผนการรักษา เข้ากับเจนตคติของมุมมองตนเองได้ มิฉะนั้นก็จะเป็นเพียงการทำให้ครบ (ซึ่งกลัวจริงๆ พอเข้าที่ประชุม ก็จะมีมติประเภท อ๋อ การทำ humanized health care ก็ให้ นศพ. ทำ genogram เสียสิ....จบ!!!!!)

สำหรับคนที่ทำ palliative care ขอบอกว่ามีประโยชน์จริงๆครับ การทำ genogram เพราะมันออกมาเป็นรูปภาพ ที่สมองเรามีเนื้อที่มากกว่าพื้นที่รับส่วนที่เป็นตัวอักขระ ตัวหนังสือ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท