บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

ระบำช้อนขวัญ


เชื่อว่าแต่ละคนเกิดมาจะต้องมีขวัญประจำตัว เมื่อขวัญพลัดพรากจากตัวไป คือมีผู้พบเห็นเราในสถานที่หนึ่ง แต่ความเป็นจริงแล้วตัวเราอยู่อีกที่หนึ่ง เรียกว่าขวัญออกจากล่าง ซึ่งภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ขวัญดิบ”

ระบำช้อนขวัญ

             ระบำช้อนขวัญ  เป็นนาฏยประดิษฐ์ที่นำเอาแบบแผนพิธีกรรมของการช้อนขวัญ  นำมาประยุกต์ให้เข้ากับบทร้อง  และดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้น  พิธีกรรมการช้อนขวัญเป็นผลจากความเชื่อของชาวบ้าน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ โดย เชื่อว่าแต่ละคนเกิดมาจะต้องมีขวัญประจำตัว  เมื่อขวัญพลัดพรากจากตัวไป คือมีผู้พบเห็นเราในสถานที่หนึ่ง  แต่ความเป็นจริงแล้วตัวเราอยู่อีกที่หนึ่ง  เรียกว่าขวัญออกจากล่าง  ซึ่งภาษาชาวบ้านเรียกว่า ขวัญดิบ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ก็จะมีการประกอบพิธีช้อนขวัญขึ้น  เพื่อให้ขวัญนั้นกลับคืนเข้าสู่ร่างกาย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="216" align="center" style="width: 216px; height: 58px; background-color: #ff0000; border-width: 6px; border-color: #ffcc00"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">       ภาควิชานาฏศิลป์  วิทยาลัยครูเพชรบูรณ์ โดยการนำของนายชลอ  นุเทศ  นางปิลันธนา   สงวนบุญยพงษ์ พร้อมด้วยนักศึกษาวิชาเอกนาฏศิลป์ รุ่นที่ ๑ คือ นางสาวศิริพร  อนันตวงศ์ และนางสาวอรัญญา  นนงาม ได้ประดิษฐ์ การแสดงชุดระบำช้อนขวัญ โดยได้แนวความคิดว่าจากขั้นตอนของการประกอบพิธีกรรมช้อนขวัญเข้าสู่ร่างกาย  เริ่มต้นด้วยการทำบายศรีสู่ขวัญบูชาพระแม่ธรณี และการช้อนผ้าหาขวัญ  เมื่อได้ขวัญแล้วก็นำไปสู่ขวัญ โดยการผูกข้อมือด้วยด้ายสายสิญจน์  จากนั้นเป็นการแสดงความยินดีของผุ้เข้าร่วมพิธีกรรม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="416" align="center" style="width: 416px; height: 349px; background-color: #9933ff; border-width: 6px; border-color: #ffcc00"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            การแสดงชุดนี้มีความงดงามแบบพื้นเมืองทางภาคเหนือ ที่มีสำเนียงความรู้สึกผสมผสานด้วยภาคอีสานตามแบบฉบับ ของชาวอำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์  ประดิษฐ์ทำนองเพลง โดย นายช่วงวิทย์  เทียนศรี อาจารย์ภาควิชาดนตรี วิทยาลัยครูเพชรบูรณ์ ขับร้อง โดย นายกมล  บุญเขต อาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์ โดยมีเนื้อร้องดังนี้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="178" align="center" style="width: 178px; height: 58px; background-color: #ff6600; border-width: 6px; border-color: #ffcc00"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table></p><p>                                  ขวัญเอยขวัญ ขวัญมาหาข้านี้                   </p><p>                      กราบพระนางธรณีที่สูงส่ง                        </p><p>                   ท่านพระพรหมประโลมขวัญมั้นดำรง  </p><p>                    เอื้อนเอยองค์ ขวัญเจ้ารีบเข้ามา   </p><p>                   มากอดคอสุมาอย่าเมินเหมือน</p><p>                   มาอยู่เฮือนกับแมวเฒ่าเฝ้าห่วงหา   </p><p>                   พ่อแม่มีมากมายทั้งยายตา                        </p><p>                   ปรารถนาจะสวมกอดพรอดพร่ำวอน  </p><p>                   อันขวัญหลวงขวัญนอกบอกขวัญ    </p><p>                    ขวัญในอกตกใจอย่าไปก่อน                        </p><p>                    สามสิบสองขวัญมาข้าขอวอน             </p><p>                      เก้าสิบสองขวัญอ่อนจรมาเอย…             </p><p>  <table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="154" align="center" style="width: 154px; height: 58px; background-color: #663399; border-width: 6px; border-color: #ffcc00"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table></p><p></p><table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="162" align="center" style="width: 162px; height: 58px; background-color: #cc0000; border-width: 6px; border-color: #ffcc00"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table><p></p><table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="146" align="center" style="width: 146px; height: 58px; background-color: #ff6600; border-width: 6px; border-color: #ffcc00"><tbody><tr><td>  </td></tr></tbody></table><p></p><table border="6" cellspacing="6" cellpadding="10" width="500" align="center" style="background-color: #cc0000; border-width: 6px; border-color: #ffcc00"><tbody><tr>

   

</tr></tbody></table><p align="center">ภาพการแต่งกายการแสดงทางภาคเหนือครับ</p>

หมายเลขบันทึก: 122523เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2007 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ได้ความรู้ดีมากคะ..แม้ตัวเองจะรำไม่ค่อยเป็น...

  • ตอนเรียนมัธยม โดนครูจับไปรำเป็น...เพื่อน...แพง...(เพราะหน้าตาดี...อิอิไม่ใช่คะเพราะเขาคัดผู้หญิงทั้งห้องคะ)ในเรื่องลิลิตพระลอนะคะ...ไม่ทราบว่าชื่อเพลงอะไร..คุณครูช่วยเตือนความจำหน่อยนะคะ
  • สวัสดีครับคุณnaree
  • ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ
  • แค่รู้สึกดีก็เป็นที่น่าชื่นชมแล้วครับ
  • ผมเชื่อว่าเด็กๆทุกคนจะเก็บความประทับใจในการแสดงเมื่อครั้นยังเป็นนักเรียนได้ดีครับ
  • ในละครเรื่องลิลิตพระลอ แสดงเป็นพระเพื่อน-พระแพง ก็น่าจะเป็น รำลาวเจริญศรีครับ

ขอบคุณคะอาจารย์...ใช่แล้วคะ...นึกออกแล้ว...(ก็แหมมันนานมาก...แต่ไม่บอกว่านานเท่าไหร่)

  • ต้องรีบกลับไปดูรูป...จำได้ว่านุ่งซิ่นยาวๆ..มีเสื้อบางๆ..เกล้าผมแบบสาวล้านนาด้วยคะ...สวยไม่เบา...(ชมตัวเองนะคะ...เป็นพวกคิดบวกเข้าข้างตัวเองคะ)...แล้วจะแวะมาเยี่ยมใหม่นะคะ
  • สวัสดีครับคุณnaree
  • แค่เป็นคนคิดบวกชีวิตนี้ก็มีแต่สิงดีๆครับ
  • มีภาพมาฝากครับ เพิ่มภาพ2ภาพครับ
  • 2 สาวฝาแฝดเป็นลูกศิษย์ครับ
  • ส่วนสาวกางร่มน้องสาวผมครับ

~** คุณน้องบัวชูฝัก **~ หากมีโอกาส อย่าลืมจัดเวทีให้ เหล่าสตรีผู้แข็งแกร่ง แสดงบ้างน่ะค่ะ....~~ ตอนเด็กๆก็คิดว่าตัวสวยแล้วนา...แต่ทำไมไม่ถูกเลือกไปแสดงซักกะที...~~สงกะสัยครูเขาไม่ชอบวาดคิ้วให้เด็ก..เลยเลี่ยงเรา อิอิ...
  • สวัสดีครับ ครูหญ้าบัว
  • หากโอกาสเอื้อ ก็จะจัดแน่นอน
  • ครูหญ้าบัวอยากจะรำคู่กับใครครับ
  • ครูกัลยาณีย์  ครูนันทนกา ครูพวงเพชรหรือจะคู่กับครูเพชรรัตน์ครับ เออลืมครูกัลยาได้อย่างไร รำสวยไม่แพ้ใครเหมือนกัน

ขอบคุณน๊ะค๊ะ ที่นำข้อมูลดีๆมา

หนูทำรายงายส่งครู ครูชมว่า หามาได้ดีทีเดียว

ขอบคุณนะค๊ะ ขอไห้คุณครู อายุยืนๆ น๊ะค๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท