ค่ายเรียนรู้ สู้ภัยเบาหวาน ที่โคราช


ทีมพี่เลี้ยงแม้จะรู้สึกเหน็ดเหนื่อยในการจัดค่ายเบาหวานครั้งแรก แต่ความเหน็ดเหนื่อยก็หายเป็นปลิดทิ้งเมื่อเราได้เห็นผู้ป่วยเบาหวานและญาติที่เข้าค่ายมีความสุข สนุกสนาน พูดคุยยิ้มแย้ม

 คุณสุพจน์ เตชาเจริญศรี นักวิชาการสาธารณสุข ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา บอกดิฉันไว้ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๘ ว่าจะส่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับค่ายเบาหวานผู้ใหญ่ของโรงพยาบาลมาลงใน Blog <p>คุณสุพจน์ทำตามที่บอกค่ะ ส่ง e-mail มาให้ทีมงานตั้งแต่เมื่อวาน </p><p>เรื่องค่ายเบาหวาน คุยกับใครก็บอกว่าสนใจทั้งนั้น ดิฉันมองว่าการจัดค่ายคือการจัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ ผ่านหลายช่องทาง ตั้งแต่การทดลอง/ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เห็นตัวอย่างของจริง  เห็นการปฏิบัติของผู้ป่วยอื่น ได้ฟังคำบอกเล่าของผู้รู้ทางวิชาการ  และอาจจะยังมีช่องทางอื่นๆ ลองค้นหากันดูนะคะ</p><p>วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๘   </p><p>ค่าย "เรียนรู้ สู้ภัยเบาหวาน" ที่โคราช</p><p>จากประสบการณ์ในการดูแลและประสานผู้ป่วยเบาหวานชมรมเบาหวานโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา แม้จะควบคุมระดับน้ำตาลได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ผู้ป่วยก็มีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคเบาหวาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุเฉลี่ยเข้าสู่วัย ๖๐-๖๕ ปี เป็นเบาหวานนานกว่า ๑๐ ปี  มีชมรมเบาหวานเป็นศูนย์กลางให้ผู้ป่วยได้มาพบปะพูดคุยกับเพื่อนที่เป็นเบาหวานด้วยกัน ทางทีมสุขภาพของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาก็สนับสนุนกิจกรรมและให้ความรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพตนเอง มีการประชุมทุกศุกร์ที่ ๑ ของทุกเดือน จนชมรมเบาหวานที่ได้ตั้งมาจนถึงปัจจุบันมีอายุครบ ๑๐ ปี  </p><p>คุณหมอธัญญา  เชฏฐากุล มีความตั้งใจอยากจะให้ทีมสุขภาพของเราจัดค่ายเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีทักษะในการฝึกปฏิบัติเลือกบริโภคอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง  ตลอดจนตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดค่ายเบาหวาน “เรียนรู้ สู้ภัยเบาหวาน” โรงพยาบาลมหาราช-นครราชสีมา ครั้งที่ 1 ขึ้นระหว่างวันที่ ๓๑ มีนาคม ถึง ๑ เมษายน ๒๕๔๗  ณ  ภูพิมานรีสอร์ท อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา </p><p>เมื่อได้ประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ป่วยที่เป็นสมาชิกชมรมเบาหวานถึงการจัดค่ายนอกสถานที่ พบว่ามีผู้ป่วยมาสมัครเข้าค่ายเบาหวานเกินความคาดหมาย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของเราในการจัดครั้งแรก  ๖๐  คน  และมีญาติขอติดตามด้วย  ๔  คน  จึงรวมเป็น  ๖๔  คน  และยังมีผู้ป่วยเบาหวานบางส่วนที่มาขอสมัครเข้าค่าย  แต่พลาดโอกาสเนื่องจากมาสมัครช้า ที่จำกัดจำนวนเพราะทีมพี่เลี้ยงเรามีเพียง ๒๐ คน  เกรงจะให้การดูแลผู้ที่เข้าค่ายไม่ทั่วถึง</p><p>การจัดค่ายเบาหวานครั้งแรกของเรา จัดเพียง ๒ วัน เนื่องจากงบประมาณ  ซึ่งเราเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ป่วยเพียงท่านละ ๖๐๐ บาท  และคุณหมอธัญญาก็หาเงินสนับสนุนจากองค์กรเอกชน  คุณหมอธัญญาคิดว่าอยากให้ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยได้มีโอกาสเข้าค่ายเบาหวานในครั้งนี้ ก่อนเดินทางเข้าค่ายเบาหวานเราได้นัดผู้ป่วยมาประชุมเพื่อเตรียมตัวเดินทางในวันที่  ๓๐  มีนาคม ๒๕๔๗ ที่โรงพยาบาล  ในเรื่องการนัดหมาย  การเตรียมข้าวของเครื่องใช้และที่ลืมไม้ได้คือยา และชุดออกกำลังกาย แบ่งกลุ่มทำความรู้จักเพื่อนและพี่เลี้ยง สอนฝึกการตรวจเลือดจากปลายนิ้ว การบันทึกผลเลือดและอาหารที่จะรับประทานในแต่ละมื้อ  </p><p>รุ่งเช้าวันที่  ๓๑  มีนาคม  ๒๕๔๗  สมาชิกชาวค่ายทุกคนมาพร้อมเพรียงกันตามเวลาที่นัดคือ ๖-๗  โมงเช้า เราได้ทำพิธีเปิดค่ายเบาหวานครั้งแรกโดยท่านผู้อำนวยการเป็นประธานก่อนขึ้นรถ  สิ่งที่ประทับใจเรื่องแรกคือ ผู้ป่วยเข้าค่าย ๔-๕ ท่าน บ้านอยู่ต่างอำเภอ เดินทางออกจากบ้านแต่เช้าตรู่มาถึงตามเวลานัดหมาย  และมีผู้ป่วยที่เข้าค่ายอายุมากที่สุด  ๘๒  ปี  ท่านเป็นมารดาของคุณหมอเพ็ญพรรณ  เป็นหมอ  หู  คอ  จมูก  ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา  ซึ่งมีความเป็นห่วงวิตกกังวลเป็นอย่างมากในการเดินทางเข้าค่าย  แต่คุณยายมีความตั้งใจอยากจะเข้าค่ายกับเพื่อน ๆ  คุณยายได้เล่าประสบการณ์ให้ฟังว่าเป็นเบาหวานมากว่า ๒๐ ปี  แต่เป็นคนชอบเที่ยวสนุกสนาน  แม้จะเป็นเบาหวานก็ไม่ใช่อุปสรรคในการดำรงชีวิต  </p><p>เมื่อคณะชาวค่ายเราเดินทางออกจากโรงพยาบาลมาถึงภูพิมาน รีสอร์ท อำเภอปากช่อง วันแรกเราก็มีกิจกรรมกล่าวต้อนรับ โดยคุณหมอธัญญาและสนทนาพิเศษ  “เพิ่มคุณภาพชีวิตเบาหวาน”  โดยทีมคุณหมอต่อมไร้ท่อของโรงพยาบาลได้แก่  คุณหมอธัญญา  คุณหมอลินจง  คุณหมอฤทธิทา  และก่อนรับประทานอาหารกลางวัน  แบ่งกลุ่มพี่เลี้ยงดูแลและเจาะน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว บันทึกผล เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ ๒ ชั่วโมงก็เจาะดูน้ำตาลอีกครั้งหลังอาหาร  มีการเจาะเลือดก่อนและหลังอาหาร </p><p>ทุกมื้ออาหารที่มาเข้าค่าย ทางทีมโภชนาการของเราก็ทำงานหนักเหมือนกันต้องชั่ง ตวงสัดส่วนของอาหารทุกชนิดที่ผู้ป่วยจะรับประทานอาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ถึงปริมาณอาหารที่จะต้องบริโภค ให้เหมาะสมกับแคลอรี่ของแต่ละคนที่คำนวณให้รับประทานในแต่ละวันแล้วบันทึกผล  ต่อจากนั้นเราก็พาคณะชาวค่ายไปผ่อนคลายโดยไปเที่ยวชมสวนองุ่นที่อยู่ไม่ไกลจากที่พักมากนัก </p><p>เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น  ๑ เมษายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๖.๐๐น. ก็มีกิจกรรมออกกำลังกายยามเช้า โดยแบ่งเป็นการเดิน การเต้นแอโรบิก และบริหารร่างกายโดยนั่งเก้าอี้ ต่อจากนั้นรับประทานอาหารเช้าและออกเดินทางจากภูพิมาน รีสอร์ท ไปทัศนศึกษาที่ฟาร์มโชคชัย อำเภอหมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี  ต่อจากนั้นไปดูโครงการโรงไฟฟ้าระบบส่งกลับลำตะคลอง และไหว้พระหลวงพ่อโต องค์ใหญ่ที่สุดในโลก อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เดินทางกลับโรงพยาบาลตามเวลาที่กำหนดไว้  </p><p>ผลการประเมินผลพบว่าชาวค่ายที่ร่วมโครงการ  ร้อยละ  90  ขอจองล่วงหน้าในการเข้าค่ายครั้งต่อไป ทีมพี่เลี้ยงแม้จะรู้สึกเหน็ดเหนื่อยในการจัดค่ายเบาหวานครั้งแรก  แต่ความเหน็ดเหนื่อยก็หายเป็นปลิดทิ้งเมื่อเราได้เห็นผู้ป่วยเบาหวานและญาติที่เข้าค่ายมีความสุข สนุกสนาน พูดคุยยิ้มแย้ม และขอบคุณทีมพี่เลี้ยงที่ได้จัดให้มีค่ายครั้งนี้  </p><p>คุณหมอธัญญา  ท่านก็ขอขอบคุณโรงพยาบาลเทพธารินทร์ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้คุณหมอและทีมมีกำลังใจในการจัดค่ายเบาหวาน ครั้งที่  ๑  และถ้ามีประสบการณ์ดี ๆ เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานก็จะมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป  </p><p>ผู้เล่าเรื่อง คุณสุพจน์ เตชเจริญ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ๔๙ ถ.ช้างเผือก อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๓๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๔๔๒๕-๔๙๙๐-๘</p><p align="center">    </p>

หมายเลขบันทึก: 1225เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2005 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การตรวจเลือดดูน้ำตาล ก่อนและหลังอาหาร เป็นไอเดียที่น่าสนใจมากคะ ดิฉันจะบอกให้คุณพ่อลองทำดูคะ เผื่อจะได้ทราบว่าน้ำตาลท่านขึ้นมากๆ ช่วงไหน เช้า กลางวัน หรือ เย็น และกินอะไรจะทำให้น้ำตาลขึ้นเยอะ

จะบันทึกผลไว้คะ แล้วจะมาเล่าประสบการณ์ให้ฟังคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท