คณะทำงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพแรงงานต่างด้าว
คณะทำงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพแรงงานต่างด้าว จังหวัดชลบุรี

แคมป์ต่างด้าวน่าอยู่


Best Practices

 ความเป็นมา

ปัจจุบันอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและภาคธุรกิจอยู่ในระดับสูงมากขึ้น ทั้งธุรกิจด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ประมงและธุรกิจก่อสร้าง จึงทำให้มีความต้องการใช้แรงงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในพื้นที่เริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น ประกอบกับความต้องการลดต้นทุนในการผลิต ทำให้เจ้าของสถานประกอบการแสวงหาแรงงานราคาถูกจากกลุ่มแรงงานต่างด้าว ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้มีแรงงานต่างด้าวทั้งชาวกัมพูชา พม่า และลาว หลั่งไหลเข้ามาทำงานในเขตอำเภอศรีราชาเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฎหมายและลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งกลุ่มแรงงานเหล่านี้มักมีโอกาสแพร่กระจายโรคให้กับบุคคลอื่น โดยเฉพาะโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ 5 โรค ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค มาลาเรียและโรคเอดส์ จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ปี 2548 พบว่า หากจำแนกตามเชื้อชาติ ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลและป่วยมากที่สุด ได้แก่ พม่า คิดเป็นร้อยละ 68.40 รองลงมาได้แก่ ลาว และกัมพูชา ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาด้วยโรคสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อุจจาระร่วงเฉียบพลัน ร้อยละ 33.94 มาลาเรีย ร้อยละ 25.35 ไข้ไม่ทราบสาเหตุ ร้อยละ 10.4  ปอดบวม ร้อยละ 6.48และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 3.6 ซึ่งผลการดำเนินงานในจังหวัดชลบุรีก็เช่นเดียวกัน จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในกลุ่มแรงงานต่างด้าวในปีงบประมาณ 2549 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 – เดือนสิงหาคม 2549 พบว่า มีแรงงานต่างด้าวป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40.35 รองลงมา ได้แก่ มาลาเรีย ร้อยละ 21.06 วัณโรคปอดและตาแดง ร้อยละ 7.37 อาหารเป็นพิษ ร้อยละ 6.67 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (ซิฟิลิส) ร้อยละ 5.62 และ ไข้ไม่ทราบสาเหตุ ร้อยละ 4.92 ตามลำดับโรงพยาบาลอ่าวอุดมอำเภอศรีราชา ได้ดำเนินการตรวจสุขภาพก่อนออกใบอนุญาต ปี2549พบว่า มีแรงงานต่างด้าวเข้ารับการตรวจสุขภาพทั้งหมด 4,010 คน เป็นชาย 2,495 คน หญิง 1,515 คน จำแนกตามเชื้อชาติเป็นชาวพม่ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.93 รองลงมาเป็นชาวกัมพูชาและลาว คิดเป็นร้อยละ 36.86และ15.22 ตามลำดับ ซึ่งจากผลการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวพบผู้ป่วยวัณโรค 14 คน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์(ซิฟิลิส) 8 คน ตั้งครรภ์ 54 คน และตรวจพบสารเสพติดแอมเฟตตามีน 1 คน ซึ่งจากประมาณการณ์ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีราชา คาดว่าน่าจะมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาอาศัยอยู่ในอำเภอศรีราชาประมาณ 6,000 – 7,000 คน หากเป็นไปตามการคาดประมาณดังกล่าวจึงเห็นได้ว่า ยังคงมีแรงงานข้ามชาติที่ยังไม่ได้รับการตรวจสุขภาพและขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องแอบแฝงอยู่ในพื้นที่อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มแรงงานเหล่านี้อาจเป็นพาหะแพร่กระจายโรคให้กับบุคคลอื่นได้การจัดบริการสุขภาพสำหรับกลุ่มแรงงานต่างด้าวภายในอำเภอศรีราชาที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่ยังเป็นการตั้งรับภายในสถานบริการเท่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านบุคลากรทางการแพทย์ และการสื่อสาร ประกอบกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติมักย้ายที่อยู่ตามนายจ้างไปเรื่อยๆ หรือทำงานเพื่อประกอบอาชีพไม่เป็นเวลา เช่นกลุ่มลูกเรือประมง กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น จากสภาพปัญหาจากการประกอบอาชีพดังกล่าวทำให้กลุ่มแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ยังเข้าไม่ถึงบริการด้านสุขภาพตามความจำเป็น โดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค จึงมักพบการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในกลุ่มแรงงานต่างด้าวอยู่เสมอ

จากสภาพปัญหาการจัดบริการสุขภาพในกลุ่มแรงงานต่างด้าวดังกล่าว คณะกรรมการสาธารณสุขระดับอำเภอเมืองศรีราชา จึงเห็นว่า ควรปรับเปลี่ยนวิธีการและรูปแบบการให้บริการเสียใหม่ตามความจำเป็นและความเหมาะสมในกลุ่มแรงงานเหล่านี้ โดยเน้นกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่มีที่พักอาศัยรวมกันอยู่เป็นกลุ่มหรือที่เรียกว่า แคมป์ เพื่อให้บริการเชิงรุกถึงที่พักอาศัย เน้นการให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค การจัดการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของแรงงานต่างด้าวและนายจ้างเพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง อันจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคติดต่อในกลุ่มแรงงานต่างด้าวทั้งจากคนไทยและจากแรงงานต่างด้าวสู่คนไทยต่อไป

วัตถุประสงค์ 

1.  เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างเจ้าของสถานประกอบการ แรงงานต่างด้าว/แรงงานไทยและ  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้แคมป์ของตนเป็นแคมป์น่าอยู่2.  เพื่อจัดสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในแคมป์ให้น่าอยู่และถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล

3. เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราการระบาดของโรคติดต่อในกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่พักอาศัยอยู่ ร่วมกันภายในแคมป์

 วิธีดำเนินงาน

ระยะที่ 1 ( เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม 2550 )1.1 เตรียมความพร้อมบุคลากร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดย -  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานแคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ระดับอำเภอซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง-  คณะกรรมการดำเนินงานแคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ระดับอำเภอ จัดทำเกณฑ์การประเมินแคมป์ต่างด้าวน่าอยู่-  แต่งตั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นทีมพี่เลี้ยง ในแต่ละแคมป์ที่เข้าร่วมโครงการ แคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ และชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน1.2 สร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการแก่นายจ้าง/เจ้าของสถานประกอบการ-  จัดประชุมเจ้าของสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวและแรงงานไทย พักอาศัยอยู่มากกว่า 10 คน ขึ้นไป เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานและประโยชน์ของการจัดทำแคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ โดยใช้กลวิธีการสร้างแรงจูงใจและการสร้างพลังอำนาจ (Empowerment)-  รับสมัครและคัดเลือกแคมป์เข้าร่วมโครงการ แคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ ระยะที่ 2 ( เดือนสิงหาคม - เดือนกันยายน 2550)2.1 เตรียมความพร้อมเพื่อการจัดแคมป์  -  ทีมพี่เลี้ยงร่วมสำรวจและประเมินปัญหาแคมป์ที่เข้าร่วมโครงการ-  เจ้าของสถานประกอบการประเมินตนเองตามแบบประเมิน แคมป์ต่างด้าวน่าอยู่      ครั้งที่ 1                       -  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ แนวทางการดำเนินงาน แคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ แก่เจ้าของสถานประกอบการ ตัวแทนแรงงานต่างด้าว/แรงงานไทยและทีมพี่เลี้ยง และระดมสมองเพื่อแก้ไขปัญหาตามบริบทของพื้นที่แต่ละแคมป์2.2 จัดแคมป์เพื่อเตรียมรับการประกวด แคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ -  ทีมพี่เลี้ยงให้ความรู้และสาธิตการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมแก่เจ้าของสถานประกอบการและแรงงานต่างด้าว/แรงงานไทยในแคมป์-  เจ้าของสถานประกอบการและแรงงานต่างด้าว/แรงงานไทย ร่วมกันปรับปรุงแคมป์ให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและตามแบบประเมิน แคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ ตามบริบทของพื้นที่-  เจ้าของสถานประกอบการประเมินตนเองตามแบบประเมิน แคมป์ต่างด้าวน่าอยู่      ครั้งที่ 2ระยะที่ 3  ( เดือนกันยายน 2550 )3.1  ตรวจประเมิน/มอบรางวัล-  คณะกรรมการดำเนินงานแคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ระดับอำเภอ ตรวจประเมินแคมป์ต่างด้าว ตามแบบประเมิน แคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ -  มอบใบรับรองให้แคมป์ต่างด้าวที่ผ่านการประเมิน3.2  เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ แคมป์                - สื่อท้องถิ่น                - แผ่นพับ                 - วารสาร3.3  สรุปและประเมินผลโครงการ-  ประชุมทีมพี่เลี้ยงเพื่อถอดบทเรียนการเรียนรู้จากการดำเนินงาน-  สรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลโครงการ

 ผลการดำเนินงาน

ระยะที่ 1 ( เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม 2550 )1.1 เตรียมความพร้อมบุคลากร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดย -  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานแคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ระดับอำเภอซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน-  คณะกรรมการดำเนินงานแคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ระดับอำเภอ จัดทำเกณฑ์การประเมินแคมป์ต่างด้าวน่าอยู่-  แต่งตั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นทีมพี่เลี้ยง ในแต่ละแคมป์ที่เข้าร่วมโครงการ แคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน จำนวน 13 คน ( PCU ละ 1 คน ) 1.2 สร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการแก่นายจ้าง/เจ้าของสถานประกอบการ-  จัดประชุมเจ้าของสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวและแรงงานไทย พักอาศัยอยู่มากกว่า 10 คน ขึ้นไป เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานและประโยชน์ของการจัดทำแคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ โดยใช้กลวิธีการสร้างแรงจูงใจและการสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 50 คน ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารสิรินธร โรงพยาบาลอ่าวอุดม วันที่ 25 เมษายน 2550 ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและทีมพี่เลี้ยง จำนวน 20 คน เจ้าของสถานประกอบการและนายจ้าง จำนวน 30 คน                         รายละเอียดในการจัดการประชุม-  บรรยายพิเศษเรื่องนโยบายและกฎหมายแรงงานต่างด้าว โดย ปลัดอำเภอศรีราชา และการส่งเสริมสุขภาพ/การควบคุมป้องกันโรคในกลุ่มแรงงานต่างด้าว โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข-  ชี้แจงรายละเอียดของโครงการตามแผนปฏิบัติงาน พร้อมกับรับสมัครแคมป์เเพื่อข้าร่วมโครงการ           แคมป์ต่างด้าวน่าอยู่ มีแคมป์สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 1 แคมป์               การประเมินผลการจัดการประชุม (จากการสังเกต การมีส่วนร่วมจากการถาม-ตอบ)ผู้เข้าประชุมมีความสนใจ สังเกตจากสายตา และการโต้ตอบในประเด็นต่างๆ จากการหารือ และการตอบคำถาม แต่บางรายไม่สามารถตัดสินใจเข้าร่วมโครงการได้เนื่องจากเป็นตัวแทนนายจ้างต้องกลับไปถามนายจ้างก่อนปัญหาอุปสรรค                ผู้เข้าร่วมประชุม และสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการน้อยแนวทางการแก้ไข-  ปรับกลวิธีในการดำเนินงานโดยให้ทีมพี่เลี้ยงเดินสำรวจแคมป์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชน และเชิญชวนให้สมัครใจเข้าร่วมโครงการอย่างน้อยโซนละ 1 แคมป์หมายเหตุ  จากการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำให้มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ เพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 5 แคมป์ ดังนี้ โซน 1 สมัครเข้าร่วมโครงการ 1 แคมป์ โซน 2 สมัครเข้าร่วมโครงการ 2 แคมป์ โซน 3 สมัครเข้าร่วมโครงการ 2 แคมป์

ระยะที่ 2 อยู่ระหว่างดำเนินงาน

 

สิ่งดีๆ ที่เกิดจากการดำเนินงาน1.  เกิดกระบวนการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาจากการทำงานมากขึ้น เช่น ปัญหาผู้เข้าร่วมประชุมมีจำนวนน้อย ซึ่งจากการสอบถามข้อมูลทราบว่ามีปัญหาจากการประสานงาน การแจ้งข้อมูลไม่ถึงนายจ้าง/เจ้าของสถานประกอบการไม่ทราบว่ามีการประชุม จึงนำไปสู่กระบวนการแก้ปัญหา โดยการเชิญชวนเชิงรุก โดยอาศัยทุนทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานในพื้นที่ กับนายจ้างที่มีแรงงงานต่างด้าวอาศัยอยู่2.  เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานในพื้นที่ กับนายจ้างที่มีแรงงงานต่างด้าวอาศัยอยู่ ต่างคนต่างเข้าใจกันและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันเพิ่มมากขึ้นตามบริบทของแต่ละพื้นที่
คำสำคัญ (Tags): #migrant
หมายเลขบันทึก: 122354เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2007 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท