ต่างด้าว คนไทย คนพื้นที่สูง และชนเผ่า


เมื่อได้มาเริ่มทำงานที่จ.แม่ฮ่องสอน

ผมได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ในชีวิตคือ  คนต่างด้าว  หรือต.ด . หรือ...พลัดถิ่น

เมื่อครั้งที่เป็นแพทย์ใหม่ๆ  ผมจะเห็นว่าเขาเหล่านี้จะมารับบริการและต้องจ่ายเอง  หรือไม่ก็ศูนย์อบยพจะเป็นคนรับผิดชอบ

เมื่อย้ายมาอยู่ที่รพ.ชุมชน

สัดส่วนของคนต่างด้าวที่ผมเห็น 

ที่มารับบริการนั้นมีมาก  มากจนรู้สึกได้

แรกเริ่มผมมักคิดว่าทำไมเขาต้องเข้ามาบ้านเราเมืองเรานะ 

บางครั้งคิดไปว่าต้องเป็นภาระกับบ้านเราเมืองเรา โดยเฉพาะงานรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ

ด้วยเวลาที่ผ่านไป  ด้วยมุมมองที่กว้างขึ้น 

ความมีเมตตาจิต   ความเข้าใจต่อผู้คนเหล่านี้  ดูเหมือนจะมากยิ่งๆขึ้น

เป็นความเข้าใจที่ผ่านกระบวนการหลายอย่าง

          ความทุกข์ทางกาย  ความเจ็บป่วย  ที่ผ่านการเยียวยา

          ความทุกข์ทางสังคม         เรื่องราวต่างๆของชีวิต

          เรื่องราวที่ได้ร่วมรับรู้  ร่วมผ่านประสบการณ์นั้นๆ 

          นอกจากความเจ็บป่วยอย่างเดียว

 

จนทุกวันนี้ความรู้สึก  ความเข้าใจต่อคน...เพื่อนมนุษย์ของเรา

 มีมากขึ้น  ดีขึ้น  ไปในทางที่น่าจะถูกต้องยิ่งๆขึ้น

          ...ผมชอบเรียกว่าพี่น้องต่างด้าว...มากกว่า ต.ด. เฉยๆ

          ...ความรู้สึกคือ  เราเป็นคนเหมือนกัน 

           ...มีความเท่าเทียมกัน   ในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

           ...ควรได้รับการดูแล  และปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน

           ....

 

   ปัญหาที่ยังพบอยู่

         - คนบ้านเรามักจะยังมองและรู้สึกว่าเขาคือคนอื่น...

         - อาจจะถูกมองเป็นพลเมืองชั้น2

         - สิทธิการรักษาพยาบาลที่ยังไม่ครบถ้วน  ครอบคลุม

         - การถูกเอารัดเอาเปรียบจากคนพื้นที่   ทั้งชาวบ้านและจนท.บางส่วน(ส่วนน้อย)

         -ปัญหาอื่นๆ...

 

เรื่องที่ผมสัมผัสบ่อยๆมากที่สุดคือ  เรื่องสิทธิการรักษา   ค่ารักษา

ที่รพ.ของเรา    ยอดค้างชำระมีเกือบทุกคนที่ยังไม่มีสิทธิ

        

  เพราะวันนี้ได้เรียนรู้เรื่องสิทธิ์อีก   เป็นคนไข้ที่เข้ามาบ้านเราทีหลัง 

    ไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้  ค่าใช้จ่ายก็มากเหมือนกัน

   สิ่งที่ผมทำได้คือ ค้างชำระไว้ก่อนก็ได้  มีเท่าไหร่ก็ค่อยๆเอามาให้

  ก่อนนี้เคยอน.(อนุเคราะห์)  หรือยกเว้นให้บ่อยๆ  แต่ก็มีการทักท้วงว่าไม่สมควรทำบ่อย 

    เพราะว่า รพ..ของเราก็ติดหนี้และขาดทุนเป็นหลัก6 หลายล้าน....

 

    เรื่องเล่าจากการทำงานครับ

 

หมายเลขบันทึก: 122234เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2007 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • อ่านแล้วชื่นใจแทนคนไข้ค่ะ แต่กับการขาดทุนหรือว่ามีหนี้สินช่างไม่เป็นใจเอาเสียเลยนะคะ
  • ชื่นชมค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณหมอคะ

ดิฉันเพิ่งเจอเรื่องคล้ายๆกันแบบนี้ค่ะ

น้าสาวคนเลี้ยงหลาน เป็นโรคหัวใจ เข้าร.พ.มาหลายหน แต่ไม่มีบัตร เดิมเป็นชาวกรุงเทพแต่ตามสามีไปอยู่อุบล  ดิฉันแนะนำให้เขาไปติดต่อประชาสงเคราะห์ ครั้งแรกเสียค่าใช้จ่าย 4000.00

ครั้งสุดท้าย เข้าICUอีก 10 วัน ร.พบอกค่าใช้จ่ายหลายหมื่น

อยู่อีกไม่กี่วันก็สีย รวมแล้วเป็นแสน

ไปอ้อนวอนประชาสงเคระห์ เลยจ่ายไป 4000.00 อีก

สรุปเขาเป็นคนไม่มีบัตรค่ะ ไม่เคยทำบัตร

ฟังแล้วก็สงสาร แต่เขาก็ไม่เอาใจใส่ไปทำบัตรด้วย เลยเป็นบัตรทองไม่ได้

ในความเห็นคุณหมอว่า แบบนี้ ควรแก้ไขตรงไหนดีคะ

สวัสดีครับพี่
P
     ขอบคุณมากครับ
     คำชม  การเข้ามาเยี่ยมเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกับ
    คนทำงานตัวเล็กหนึ่งคนครับ ^_^
     วันหลังคงต้องปรึกษาเรื่อง HA แล้วละครับ
    เพราะตอนนี้ผมเริ่มเมาๆ  แล้วครับ
     
สวัสดีครับอาจารย์
P
   ขอบคุณมากๆครับที่เข้ามาลปรร
   ต้องขอทบทวนความเข้าใจเรื่องของอาจารย์ก่อนนะครับ
   
   คุณน้าท่านนี้เป็น คนไทยแท้ๆ  + ไม่ได้ขึ้นทะเบียนทำบัตรใช่หรือเปล่าครับ
  
   กรณีแบบนี้พบได้บ่อยๆครับ
      พบในกรณีคนไข้นอก   และคนไข้ใน  หรทอคนไข้ต้องส่งต่อ
     คือเป็นคนไทย   แต่ไม่ได้ทำบัตรทอง คือจะขึ้นสิทธิในระบบ online  ของ สปสช ว่าสิทธิว่าง หรือไม่มีสิทธิ์       แต่มักจะขึ้นที่รพ ว่าชำระเงินเอง
     ที่รพ.เรา    เมื่อคนไข้มาตรวจ  เครื่องคอม  จะขึ้นเเสดงสิทธิทุกๆครั้ง  ทุกๆคนครับ
     ถ้าพบว่าเป็นคนไทยที่  ขึ้นสิทธิว่าชำระเงินเอง
    เจ้าหน้าที่ก็จะส่งไปห้องบริการเพื่อขึ้นทะเบียนทำบัตรทองทันที
   หรือถ้าต้องเข้านอนรักษา  ก็จะมีจนท. มา
บริการทำให้ครับ(หรือให้ญาติไปติดต่อแทน )
   
         ถ้าเป็นที่อื่นมา  แล้วไม่มีบัตรอย่างกรณีนี้ก็พบไม่บ่อยครับ
    
      คิดว่าครั้งแรก  อาจจะจำเป็นต้องชำระเอง  ถ้าไม่สามารถติดต่อประสานงานกับต้นสังกัดที่จะต้องขึ้นทะเบียนบัตรทองได้(กรณีผป. นอก)
     แต่ถ้าต้องนอนรพ.  ผมคิดว่าการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทุกๆฝ่าย   เพื่อขึ้นทะเบียนหรือทำบัตรให้  เพื่อให้ได้รับสิทธิ์  ก็น่าจะเป็นไปได้
    เท่าที่ผมทราบถ้าขึ้นสิทธิ์แล้วก็ใช้สิทธิ์ได้เลยทันที   
    กรณีของอาจารย์  อาจจะเป็นเรื่องของการประสานงาน    เป็นเรื่องของความเข้าใจ   หรือการให้ข้อมูลก็อาจจะเป็นได้ครับ
   ขอบคุณครับ

มาชื่นชมท่านทั้งหลายที่แสนจะมนุษย์นิยม

ขอให้ท่านทั้งหลายเจริญก้าวหน้า มีความสุขในชีวิต

ขอให้จิตใจที่ดีงามที่ท่านมีต่อเพื่อนมนุษย์ที่ไร้รัฐส่งผลให้ท่านได้รับแต่สิ่งที่ดีงามตลอดไป

สวัสดีครับอาจารย์

P
  ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ
  เป็นเกียรติอย่างยิ่งกับผมที่อาจารย์ได้เข้ามาให้พร
  และทิ้งหลักฐานการ ลปรร กับบันทึกน้อยๆนี้ครับ
  ผมเคยอ่านบันทึกอาจารย์เหมือนกันครับ
  มีความรู้ให้ผมได้มาใช้กับชีวิตการทำงานหลายอย่าง
   ขอบคุณครับ  ^_^...
P
สวัสดีค่ะ
   ขอบคุณๆหมอมากที่อธิบาย แต่เขาก็เสียไปแล้วค่ะ
ดิฉันบอกว่า เป็นคนไทยแท้ๆน่าจะทำบัตรได้ หลานเขาบอกว่า ที่ร.พแจ้งว่า ไม่มีทะเบียนบ้าน ไม่มีสิทธิค่ะ
   เป็นความผิดของผู้ตายที่ไม่ไปเอาตัวเองเข้าอยู่ในบ้านของสามี มีเบื้องหลังคือ ไม่อยากให้พ่อแม่รู้น่ะค่ะ
   แต่ก็เสียเงินไป 8000.00ทั้งหมด
   เรื่องนี้ ทางการก็ควรต้องประกาศมากๆหน่อย เพราะชาวบ้านที่ไม่รู้เรื่องก็มีอีกค่ะ

ขอบเขตของความเมตตา กรุณา มันมองไม่เห็น  เพราะมันไม่มี

ช่วยอนุเคราะห์ ไปเลยครับ ถึงโรงพยาบาลเราเป็นหนี้ เดี๊ยวรัฐบาลก็จะต้องหาทางแก้ไขเอง ไม่มีโรงพยาบาลรัฐบาลที่ล้มละลายหรอกครับ  และก็คงไม่เกี่ยวกับคนต่างด้าวด้วย เพราะ แถวบ้านพี่ มีโรงพยาบาลที่เป็นหนี้หลายล้าน ตั้งหลายโรงพยาบาล  เราจะเอาการเก็บเงินจากคนเหล่านี้ไปชดเชยภาระหนี้สิน ก็ดูกระไรอยู่

เชียร์ให้ อนุเคราะห์ต่อไป !

สวัสดีครับพี่หมอจิ้น

 

   ***ไม่เห็นพี่หลายวันเลยครับ 

 

  ***ช่วงนี้งานยุ่งหรือเปล่าครับ

 

  ***  ขอบคุณมากๆครับ   วันหลังจะเขียนเรื่องประสบการณ์สงเคราะห์ในโรงพยาบาลเพ่มเติมครับครับ   จะพยามให้มากๆอย่างที่พี่แนะนำครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท