รายงานการจัดการความรู้ KM เชียงใหม่ (๕/๔) - วิธีการเขียนบันทึก


ส่วนใหญ่แล้วดิฉันจะใช้วิธีโน๊ตประเด็นที่น่าสนใจลงใน word processor ทิ้งเอาไว้ก่อน โดยจะลงวันที่ที่ได้ประเด็นทิ้งไว้ โดยประเด็นที่ได้มา บางทีก็มาจากประสบการณ์ตรงที่ทำงาน เช่น...

สมาชิกแต่ละท่านใน gotoknow คงมีวิธีการส่วนตัวในการเขียนบันทึกของตัวเองนะคะ   บางคนก็ว่าง่ายจัง   บางคนก็บอกว่ากว่าจะได้แต่ละับันทึกนั้นยากจัง   โดยเฉพาะมือใหม่ .... 

 

หลังจากที่ได้เล่าถึงสาเหตุการมาเขียนบันทึกที่ gotoknow รวมถึงสมุดและแพลนเนตที่มีแล้ว วันนี้จะมาเล่าต่อในเรื่องวิธีการเขียนบันทึก    ซึ่งจะเป็นการเล่าจากประสบการณ์ส่วนตัวดังนี้ค่ะ 

 

วิธีการเขียนบันทึก - วิธีการส่วนตัว (^_^)

 
  • Short note ประเด็นเมื่อ ปิ๊ง

    • จากที่ทำงาน

    • จากการเขียน ลป กับสมาชิกอื่นๆ

    • จากการอ่าน

  • เขียนใส่ลงใน MS Word หรือ Word Processor ที่ถนัด

  • เปิดประเด็น เกริ่นนำ ท้าวความ

  •  เนื้อเรื่อง --> climax

  •  ปิด สรุป

    •  คำถาม

    •  ขอความเห็น

 

ส่วนใหญ่แล้วดิฉันจะใช้วิธีโน๊ตประเด็นที่น่าสนใจลงใน word processor ทิ้งเอาไว้ก่อน โดยจะลงวันที่ที่ได้ประเด็นทิ้งไว้  โดยประเด็นที่ได้มา บางทีก็มาจากประสบการณ์ตรงที่ทำงาน เช่น อ้าว...ยังไม่มากันเลย. หรือ ส่งกำลังใจ เด็กไทยไปแข่งหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์โลกความคืบหน้า หรือจากตำแหน่งหน้าที่เช่นการสรรหาอธิการบดี สจพ. ๕๐ เป็นต้น

 

บางทีก็ได้ประเด็นการเขียนบันทึก มาจากการแลกเปลี่ยนกับสมาชิกท่านอื่นๆ เช่นคุณฉัตรชัยถามดิฉันในบันทึกเรื่องการส่งจิตออกนอก ทำให้ดิฉันนำคำถามมาตอบเป็นบันทึกเรื่อง ผู้ดู ผู้เป็น บางครั้งก็ได้แนวความคิด มาจากการฟังเทปธรรมะ เช่น ในเรื่อง จิต..กับแมงมุม     หรือบางทีก็ได้จากการอ่านประเด็นข่าว เช่น เลขาฯกกอ.ยอมรับมหา"ลัยไทยไร้ทิศทาง

 

หรือได้จากการอ่านบันทึกของสมาชิกท่านอื่น  เช่นเมื่อครั้งที่ไปอ่านเรื่อง "กรณีศึกษาเรื่องการแจ้งข่าวมะเร็งให้กับผู้ป่วย" ของคุณหมอมาโนช ซึ่งคุณหมออาจเขียนแลกเปลี่ยนกับคุณหมอหรือผู้สนใจท่านอื่นๆ  แต่ดิฉันกลับได้้ความคิดจนมาเขียนการปรุงแต่งของจิตในบันทึก การสังเกตอารมณ์ - การปรุงแต่งของจิตซึ่งเป็นคนละเรื่องกันเลย ^ ^

 

เวลาดิฉันเขียนบันทึกนั้น มักจะเขียนใน word processor ก่อน แล้วค่อยนำมาลงใน gotoknow เพื่อให้ีมี back up copy ไว้ก่อน ป้องกันกรณี upload บันทึกไม่ขึ้น  เพราะเคยมาแล้วที่บันทึกหายไปทั้งบันทึก ต้องเขียนใหม่หมด T_T

 

แต่ถ้าจะเขียนสดใน gotoknow ก็จะทำการบันทึกโดยการกด CTRL+A เพื่อเลือกทั้งหมด แล้วกด CTRL+C เพื่อสำเนาไปปะ (CTRL+V) ใน word processor เพื่อ back up เพราะบางครั้งการเขียนสดใน gotoknow จะตกแต่ง font และอื่นๆ ได้ดีกว่า แต่ก็ต้องระวังเรื่องบันทึกหายไว้ด้วยค่ะ ^ ^

 

เวลาเขียนเนื้อเรื่องก็จะมีการเกริ่นนำเล็กน้อย เปิดประเด็นในน่าสนใจ เพราะในหน้าแรกหรือหน้าต่างๆ ของ gotoknow จะเห็นข้อความส่วนแรกของบันทึก ซึ่งผู้อ่านสามารถอ่านได้ทันทีโดยไม่ต้องเปิดบันทึกดู เพราะฉะนั้นถ้าเีขียนได้น่าสนใจ ก็อาจจะมีผู้สนใจเปิดเข้ามาอ่านมากขึ้นค่ะ ^ ^

เวลาเขียนก็ควรนึกถึงประเด็นที่ต้องการสื่อดีๆ ด้วยค่ะ การตบแต่งสีสันให้อ่านง่าย การเว้นวรรค ขึ้นย่อหน้าใหม่  การใส่ตาราง ใส่รูป ก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้น่าสนใจ น่าอ่านมากขึ้น แต่ก็ไม่ควรลืมประเด็นที่เราต้องการสื่อนะคะ และเมื่อเขียนปิดบันทึก ก็อาจจะมีการสรุปเป็นประเด็น เป็นข้อคำถาม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้แลกเปลี่ยน ถ้าต้องการค่ะ 

 

บันทึกนี้ก็เริ่มจะยาวมากแล้วค่ะ จะเริ่มไม่น่าอ่านแล้ว ^ ^ เพราะฉะนั้น ก็จะขอปิดจบเนื้อเรื่องลงตรงนี้  ถ้าใครสนใจแลกเปลี่ยน แนะนำ หรือ เสริมประเด็นเกี่ยวกับเทคนิคการเขียนบันทึกใน gotoknow ก็เชิญได้เลยนะคะ ^ ^ 

ถ้าสนใจอ่านบันทึกเก่าในเรื่องเดียวกันที่นำมาจากใน km chiangmai.pps สามารถคลิกลิงค์ต่อไปนี้ได้เลยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 122202เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2007 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขาประจำมาเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วยการรับบล๊อกเข้าแพลนเน็ต หรือแอบอ่าน ส่วนบล๊อกเกอร์ที่ต้องการจะให้บันทึกได้เผยแพร่ในวงกว้าง แลกเปลี่ยนกับขาจรด้วย ขอแลกเปลี่ยนกับ อ.กมลวัลย์ เพิ่มเติมครับว่า

  • ชื่อบันทึกชี้ประเด็น แต่อาจไม่ต้องชี้ climax (เดี๋ยวจืดหมด)
  • ข้อความต้นบันทึก ประมาณ 1-200 ตัวอักษรแรก จะปรากฏขึ้นใน blog index, ในหน้าแรก และใน GotoKnow Monitor ข้อความนี้ จะเป็นตัวกระตุ้นความสนใจได้เป็นอย่างดี
  • การเลือกใช้คำหลัก ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะเผยแพร่บันทึกในวงกว้าง
  • ทั้งตัวบันทึกและคำหลัก จะปรากฏใน search engine ดังนั้นการเลือกใช้คำ จะช่วยให้บันทึกแพร่หลายในวงกว้างได้

สวัสดีครับ อ.กมลวัลย์

ระยะหลังผมไม่ค่อยได้มีเวลาอยู่ในบล็อกนานนัก  ได้แต่เอาบันทึกมาลงไว้  จากนั้นก็สัญจรออกไป   ..เมื่อวานก็ไปราชการ 3 งานตั้งแต่เช้ายัน 5 ทุ่ม ..

...

เมื่อครู่ผมมาแลกเปลี่ยนในบันทึกนี้ยาวมาก ... แต่เจ็บใจนักบันทึกไม่ได้ เลยต้องมานั่งเขียนใหม่ อีกรอบ

ผมได้ความรู้จากบันทึกนี้อย่างเป็น "รูปธรรม"  ชัดเจนทั้งในแง่ของการจัดรูปทรงบันทึก,  การกรองประเด็น รวมถึงการชุประเด็นมาให้ผู้อ่านได้สัมผัสโดยง่ายโดยไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหาอย่างยืดยาว  ซึ่งแตกต่างจากรูปลักษณ์ของบันทึกผมอย่างสิ้นเชิง 

และนี่กระมังครับ  คือ  ความคมชัด ทั้งวิธีคิดและการนำเสนอของความเป็น "ครู"  ....

.....

มักจะเขียนใน word processor ก่อน แล้วค่อยนำมาลงใน gotoknow เพื่อให้ีมี back up copy ไว้ก่อน ป้องกันกรณี upload บันทึกไม่ขึ้น  เพราะเคยมาแล้วที่บันทึกหายไปทั้งบันทึก ต้องเขียนใหม่หมด

....

ประเด็นข้างต้น,  ผมเองก็ยึดปฏิบัติเช่นกัน  เพราะผมเป็นคนที่ใช้เวลากับการเขียนบันทึกแต่ละบันทึกค่อนข้างมาก  ครั้นจะเขียนแบบสด ๆ  ก็ดูจะสุ่มเสี่ยงต่อการบันทึกในระบบไม่ได้

ที่สำคัญเทคนิคเช่นนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับบล็อกเกอร์มือใหม่เป็นที่สุด ...

....

เวลาเขียนก็ควรนึกถึงประเด็นที่ต้องการสื่อดีๆ ด้วยค่ะ การตบแต่งสีสันให้อ่านง่าย การเว้นวรรค ขึ้นย่อหน้าใหม่  การใส่ตาราง ใส่รูป ก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้น่าสนใจ น่าอ่านมากขึ้น แต่ก็ไม่ควรลืมประเด็นที่เราต้องการสื่อนะคะ และเมื่อเขียนปิดบันทึก ก็อาจจะมีการสรุปเป็นประเด็น เป็นข้อคำถาม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้แลกเปลี่ยน

....

ประเด็นนี้ชัดเจนและน่าสนใจมาก  เพราะจะช่วยในการตบแต่งบันทึกของผู้เขียนให้สมบูรณ์และมีเสน่ห์ทั้งในด้านรูปลักษณ์และเนื้อหา 

และสำหรับผมก็กำลังพยายามเรียนรู้และให้ตกผลึกในทางความคิดก่อนนำเสนอ  แต่ก็ยังประสบปัญหาเรื่องนี้ค่อนข้างมาก  เพราะติดสไตล์ไหลเรื่อยจนเกินไป

นั่นคือสิ่งที่ผมกำลังนั่งทบทวนประเด็นของการเขียนอย่างจริงจัง

....

เหนือสิ่งอื่นใด  ขอขอบพระคุณอีกครั้งนะครับที่ช่วยให้ผมแจ่มชัดในด้านเทคนิคการเขียนอย่างเป็น "รูปธรรม" ...

  • พี่ตุ๋ยขา...
  • ขอบพระคุณค่ะสำหรับคำชี้แนะดีๆ
  • หว้าเองก็ยังเขียนบันทึกไม่ค่อยเป็นระบบนัก
  • ส่วนใหญ่นึกอยากเขียน  อยากคิดอะไรก็ทำทันที
  • แต่ก็จะพิมพ์ใน word ไว้ก่อนเหมือนกันค่ะ  เพราะเจอกรณีบันทึกหายหลายครั้ง ให้เจ็บใจ
  • ขอเก็บข้อมูลไปไว้เขียนบันทึกดีๆค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์

คำแนะนำมีประโยชน์ครับ

ประเด็นปัญหามันอยู่ที่เรื่องราวที่จะบันทึกนะครับมันปิ๊งขึ้นมาหลายเรื่องพร้อมกัน จนจับทิศทางตัวตนของคนบันทึกไม่ถูก

อีกประเด็นก็คือความสามารถในการถ่ายทอด

และประเด็นสุดท้ายคือความไม่แน่ใจว่าเรื่องที่จะบันทึกมีผู้อ่านสนหรือได้ประโยชน์หรือไม่ บางที่บันทึกแล้วไม่นำลงเผยแพร่ก็มี

หากสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดนี้ได้ก็จะดีไม่น้อย

ยินดีได้แลกเปลี่ยนครับ

สวัสดีค่ะคุณ P Conductor

ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยเสริมประเด็นดีๆ ค่ะ เพราะตัวเองลืมแนะนำเรื่อง tag คำหลักท้ายบันทึกไปเลยค่ะ  

เท่าที่เห็นบางคนจะเลือกใช้คำหลักยาวมาก และไม่ซ้ำกันเลย ^ ^ ซึ่งตามความเห็นส่วนตัวคิดว่าทำให้จัดหมวดหมู่ และค้นหายากขึ้น  มีโอกาสพิมพ์ผิด และโอกาสค้นหาไม่เจอได้มาก และทำให้เมื่อกดไปที่ รายการคำหลักที่ใช้ ของบันทึกแล้วจะไม่เป็นระบบระเบียบด้วยค่ะ

สมัยก่อน gotoknow จะขึ้นคำหลักที่ใกล้เคียงขณะที่เรากำลังพิมพ์คำหลักทันที แต่ตอนหลังรู้สึกว่าจะหายไป ซึ่งน่าจะเป็นเพราะต้องการลดภาระของ servers ไม่ให้ทำงานหนักจนเกินไป 

ขอบคุณอีกครั้งนะคะีที่เข้ามาลปรร และ ที่เป็นขาประจำและขาจรค่ะ ^ ^

สวัสดีค่ะน้อง P แผ่นดิน

ทำงานหนักมากๆ เลยนะคะ ถ้าให้พี่เลิก ๕ ทุ่มทุกวัน คงไม่มีแรงมาเขียนบันทึกได้เลยล่ะค่ะ ขอชื่นชมในความมานะอุตสาหะในการทำงาน และการเป็นผู้ให้โดยการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพวกเราใน gotoknow นะคะ

ชื่นชมจริงๆ ค่ะ เพราะเห็นเลยว่าน้องใช้เวลากลั่นกรองแต่ละอย่างที่ออกมาจากใจและเห็นตัวตนจากตัวอักษรของน้องชัดเจนมากเลยค่ะ

ที่น้องกำลังบอกว่ากำลังเรียนรู้ให้ตกผลึิกอยู่นั้น พี่เองก็กำลังเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ เช่นเดียวกันค่ะ ^ ^

จริงๆ แล้วในการเขียนบันทึกพี่ว่าแต่ละคนจะมีแนวความคิดอยู่แล้วว่าจะเขียนเรื่องอะไร...ประเด็นอะไร..บางทีพี่ก็ไม่ร่าง ไม่คิดเค้าโครง ปล่อยให้ตัวอักษรไหลอิสระออกจากนิ้ว  (ประมาณว่าบางครั้งก็เป็นศิลปินกะเขาบ้าง ^ ^)  ซึ่งผลที่ได้รับอาจจะเป็นบันทึกที่เป็นอิสระ และตรงประเด็นที่ต้องการสื่อก็ได้..

แต่บางทีก็มีการร่างเค้าโครงไว้ก่อนเหมือนกัน ว่าจะกล่าวถึงอะไรก่อน ยกตัวอย่างอะไร แล้วปิดด้วยอะไร..

สำหรับพี่แล้ว พี่ใช้ทั้งสองแบบนี้... แล้วแต่อารมณ์ แล้วแต่เรื่อง และเวลาที่มีให้ในการเขียนด้วย..หลายองค์ประกอบทีเดียว....

สิ่งที่ดีคือพี่คิดว่าเราจะเขียนแบบใดก็ได้..เพราะพี่เชื่อว่าคนใน gotoknow ที่ติดตามอ่านงานของเราหรือไม่ก็ตาม ไม่ได้คาดหวังให้บันทึกของเราเป็นอะไรที่สมบูรณ์แบบ...เราเพียงแต่มีความสุขที่ได้แลกเปลี่ยน เป็นผู้ให้และเป็นผู้รับไปพร้อมๆ กันเท่านั้นเอง....

ขอบคุณนะคะที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พี่ว่าการที่เราเขียนแลกเปลี่ยนกันอยู่นี้ เราได้เรียนรู้จากกันและกันมากทีเดียวค่ะ  ^ ^  

 

สวัสดีค่ะ P น้อง ลูกหว้า

พี่ว่าเขียนแบบน้องลูกหว้าก็ดีนะคะ มันออกมาจากใจตรงๆ อ่านแล้วได้อารมณ์ดีนะ บันทึกของพี่มันจะแข็งๆ ไม่หวานสวยเหมือนใครบางคน... อิ อิ ^ ^

สวัสดีค่ะคุณ P paleeyon

สำหรับประสบการณ์ในแบบที่คุณ  paleeyon มีนั้น ดิฉันว่าถ้าตัวเองเป็นคุณ paleeyon ก็คงมีปัญหาในการเขียนบันทึกเหมือนกัน คือมีเรื่องและประเด็นที่จะเีขียนได้เยอะมาก เพราะมีประสบการณ์ไม่เหมือนใครเยอะมากๆ เลยค่ะ 

แต่ดิฉันคิดว่าคุณ paleeyon ไม่มีปัญหาเรื่องการถ่ายทอดนะคะ เท่าที่อ่านดูก็ชัดเจนดี สั้นๆ ได้ใจความ อ่านง่ายๆ ดีค่ะ 

แต่เขียนเป็นโน๊ตเล็กๆ ไว้ก่อนก็ได้นะคะ กันลืม แล้วถ้ามีเวลาก็ค่อยๆ ไล่เขียนเป็นเรื่องสั้นๆ ทุกวัน รับรองมีผู้ติดตามอ่านแน่นอน.. เหมือนของพี่บางทรายน่ะค่ะ..

เรื่องที่มาจากประสบการณ์ตรง มีคนสนใจเสมอค่ะ จะมากหรือน้อยก็คงแล้วแต่ค่ะ  บางทีเรื่องน่าสนใจ แต่คนยังไม่รู้จักมากนัก ... บางทีต้องไปทักทายคนอื่นๆ ตามบันทึกที่เราสนใจ หรือเราถูกใจค่ะ พอคุ้นๆ กันก็จะรู้ว่าใครเึขียนแนวไหน.. แล้วก็จะติดตามงานเขียนกันค่ะ..

ขอบคุณที่แวะเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ... 

สวัสดีค่ะอาจารย์

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบค่ะ

พี่เองไม่ค่อยมีเวลาให้นึกอะไรมาก มักเขียนสดๆ และการเขียน ก็เป็นไปตามอารมณ์ และเห็นอะไร น่าจะเป็นประเด็น ไม่มีกฏเกณฑ์ว่าต้องเขียนเท่านั้นเท่านี้ใน 1 เดือน  และถ้าเขียน ก็อยากเขียนเรื่องที่คนอ่าน สามารถได้ประโยชน์บ้างค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ  จะเข้ามาอ่านทุกเรื่องเลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์ P sasinanda

ตัวเองคิดว่าสไตล์ที่คุณพี่เขียนก็มีเสน่ห์อยู่ในตัวค่ะ เป็นรูปแบบเฉพาะเลยค่ะ

จริงๆ แต่ละคนจะมีรูปแบบของตัวเองอยู่ อีกอย่าง การเขียนบันทึกก็ขึ้นกับภาวะแวดล้อมขณะนั้นด้วยว่ากำัลังยุ่งอยู่หรือเปล่า ถ้ายุ่งมากก็อาจจะทำให้รูปแบบบันทึกเปลี่ยนไป หรือไม่ได้เขียนเลยก็เป็นได้ค่ะ...

ขอบคุณคุณพี่มากที่คอยติดตามอ่านและ ลปรร กันเสมอนะคะ ^ ^ 

สวัสดีครับคุณกมลวัลย์

         ผมชอบการเขียนแบบมีลำดับขั้นตอนอย่างนีเหมือนกันครับ แต่บางทีก็เบลอเหมือนกันนะครับ ถ้าเขียนไปนานๆ วิธีที่ผมใช้บ่อยๆ คือพยายามหาช่วงเวลาที่สมองไม่เครียดกับงานใดๆ ( 4-5 ทุ่ม)  ทำใจสบายๆ แล้วก็เขียนประหนึ่งนั่งเล่าให้คนอื่นฟัง ส่วนประเด็นเกิดจากการคิดการคุยกับคนอื่นเหมือนกันครับ ไม่ได้กะเกณฑ์ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ 

     ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอ.กรเพชร

จะบอกว่าตัวเองก็ไม่ได้ทำตามที่แนะนำไว้ทั้งหมดเวลาเขียนบันทึกใหม่หรอกค่ะ แล้วแต่เวลา และเรื่องที่จะเขียนด้วยค่ะ บางครั้งก็กะเกณฑ์ไม่ค่อยได้เหมือนที่อาจารย์บอกค่ะ

สำหรับสไตล์ที่อาจารย์ใช้เล่าเรื่องดิฉันว่าสบายๆ เหมือนฟังอาจารย์เล่าอยู่จริงๆ แหละค่ะ แล้วจะคอยอ่านบันทึกอาจารย์เรื่อยๆนะคะ

ขอบคุณที่แวะมา ลปรร ค่ะ 

สูดยอดเลยงับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท