สรุปการไปสัมมนาและวางแผนงานวิจัยทางการพยาบาล


ของคณะกรรมการพัฒนางานวิจัย งานพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์
วันที่ 23-24 สิงหาคม 2550
คณะกรรมการพัฒนางานวิจัย งานบริการพยาบาล ร่วมกับผู้บริหารและคณะวิทยากร ไปร่วมสรุปแผนงานวิจัยและวางแผนงานในปี พ.ศ.2551 ที่ภูตะวันรีสอร์ท ปากช่อง

 

เราเชิญ  พี่สุพร วงค์ประทุม ไปพูดเรื่อง  ประเด็นและแนวโน้มการทำวิจัยในปัจจุบันและอนาคต

 

ซึ่งพี่สุพร บอกว่า เราควรจะต้องสามารถทำวิจัยให้ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีการนำผลวิจัยไปใช้ เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลให้มากขึ้น และเราควรพัฒนานักวิจัยให้เป็นมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง
จุดแข็งที่เรามี
  • โรงพยาบาลของเราจะพัฒนาเป็น Excellence center ในอนาคต
  • มีหน่วยงานเฉพาะทางมากมาย ทั้ง Trauma center, Cancer center ฯลฯ     
  • หน่วยปลูกถ่ายไต  หน่วยหัวใจ  ฯลฯ
  • มีบุคลากรพยาบาลที่มีความสามารถ จบระดับปริญญาโทมากมาย
  • มีแหล่งทุนสนับสนุน
แต่เราก็มีจุดอ่อนที่ต้องกำจัด
  • ทัศนคติของพยาบาลต่อการทำวิจัย
  • การอ่านผลงานวิจัย
  • การประเมินค่างานวิจัย และการนำผลวิจัยมาใช้
การพัฒนางานวิจัยในปัจจุบันและอนาคต เราควรทำ คือ การจัดการด้านวิจัย
  • กำหนดทิศทาง นโยบายให้ชัดเจน 
  • สร้างระบบฐานข้อมูล
  • กำหนดรูปแบบวิจัยเป็น R2R
  • สร้างนักวิจัยให้เข้มแข็ง
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ ฝ่ายการศึกษาพยาบาล
หลังจากนั้นดิฉัน ก็สรุปผลงานที่ผ่านมา  แล้วประชุมกลุ่มย่อยต่อ

 

 

 

 กลุ่มที่ 1 อยู่ระเบียง ชมบรรยากาศ ของภูตะวัน

 

 กลุ่มที่ 2 อยู่ในห้องประชุม

 

เราช่วยกันหาปัญหา อุปสรรคในการทำวิจัยของหน่วยงาน
งานทีต้องการให้พัฒนา และวางแผนการดำเนินงานในปี 2551

  

สรุปงานของกลุ่มที่ 1

1. ปัญหา & อุปสรรค

  • ภาระงานมาก : ผู้ป่วยมาก ต้องทำ OT  บริหารเวลา? S P
  • ทัศนคติ : งานวิจัยเป็นเรื่องยาก  P
  • ความรู้ไม่แน่นพอ: ขาดความต่อเนื่องในการทำวิจัย  P
  • ระบบไม่เอื้อ : บทบาท ระบบที่สร้างขึ้นมา คนไม่เข้าใจ บทบาท เช่น บทบาทของ Facilitator   S
  • คิดหัวข้อวิจัยไม่ออก P
  • ไม่ตระหนักในความสำคัญของการทำวิจัย  P
  • สัดส่วนของงานบริการ-วิจัย  S
  • การเริ่มต้นหาปัญหาไม่ได้ ท้อ ไม่อยากทำ (บทที่ 1 ไม่ผ่าน) S P
  • ขาดความรู้ในการบริหารงานวิจัย (ขอทุน ขอจริยธรรม ฯลฯ) P
  • การเข้าถึงที่ปรึกษาน้อย (ไม่มีหัวข้อ หรือปัญหา ไม่คุ้นเคย)

งานที่ต้องพัฒนาระดับบุคคล

  1. Root cause analysis : นำปัญหามาวิเคราะห์ เช่น ทำไมงานวิจัยจึงเป็นเรื่องยาก
  2. สร้างแรงจูงใจทางบวก สร้างกระแสวิจัยเป็นเรื่องง่าย

 

แนวทางแก้ไข

  1. ทำไมงานวิจัยจึงคิดว่ายาก   ปรับกระแสความคิด เช่น คณะกรรมการวิจัย  หัวหน้าจบโท ให้พูดว่าการวิจัยเป็นเรื่องไม่ยาก   เสนอแนะให้อ่านวิจัยแล้วนำเสนอโดยกำหนดเป็นนโยบายทุกหน่วยงาน  พัฒนาสมรรถนะการสืบค้นข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
  2. ทัศนคติ (ยาก  ใช้เวลามาก  ไม่มีพี่เลี้ยง)      เสริมแรงจูงใจให้รางวัลโดยคณะกรรมการวิจัย จัด Mentorship ให้วัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เป็นเชิงบวก

2. งานที่ต้องการให้พัฒนาระดับองค์กร:-

อยากให้คณะกรรมการวิจัยดำเนินการอย่างไร    

1. อบรมกระบวนการวิจัย

2. วิจัย “ประเมินผลลัพธ์โครงการอบรมกระบวนการวิจัย”

3. จัดที่ปรึกษา/ Mentor อย่างเป็นทางการ

4. คัดเลือกหัวข้อวิจัย/ประเด็นปัญหา ส่งไปให้หน่วยงาน

5. กำหนดสมรรถนะพยาบาลแต่ละระดับ รวม HN/ผตก.6. ให้รางวัล: ขั้น โบนัส

7. กำหนดเป็นนโยบาย ใช้กระบวนการการวิจัยพัฒนางาน

8. มี Research clinic จัดเวลาให้ Mentor ที่ปรึกษา ให้ชดเชยหรือทดเวลาให้ รวม 1 วัน ให้ OT 1 วัน

9. จัดอบรมปฏิบัติการการบริหารโครงการ

10. จัด Workshop การบริหารโครงการ

11.  จัดเวทีเสนอผลงานวิจัยภายใน เตรียมให้หน่วยงาน/ ผู้สนใจ

12. จัดทำเครือข่ายแหล่งทุน / นำเสนอ

 

3. วางแผนดำเนินงาน ปี 51

 3.1  ส่งเสริมทัศนคติเชิงบวก สร้างกระแสเชิงบวก

  • ONE WARD ONE RESEARCH
  • นโยบายให้หน่วยงานจัดกิจกรรมวิจัย
  • โครงการพัฒนาสมรรถนะการสืบค้นข้อมูล
  • ส่งเสริมการนำผลงานวิจัยมาใช้: วิจัยวิจารณ์

 

3.2    มีความรู้มีการนำเสนอผลงาน

  • อบรมกระบวนการวิจัย
  • วิจัยประเมินผลลัพธ์ฯ
  • จัดเวลาให้ Mentor
  • การบริหารโครงการวิจัย
  • จัดเสนอผลงานวิจัยภายใน
  • จัดหาเสนอแหล่งทุน/เสนอแหล่งทุน/เสนอผลงานภายนอกหน่วยงาน
  • จัดทำเครือข่าย/ แหล่งทุน/นำเสนอ
  • กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการวิจัย

 

หมายเลขบันทึก: 122188เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2007 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
จะนำแผนการดำเนินการในปี 2551 มาเล่าให้ฟังวันหลังนะคะ

สรุปงานของกลุ่มที่ 1

1. ปัญหา & อุปสรรค

  1. ภาระงานมาก : ผู้ป่วยมาก ต้องทำ OT  บริหารเวลา? S P
  2. ทัศนคติ : งานวิจัยเป็นเรื่องยาก  P
  3. ความรู้ไม่แน่นพอ: ขาดความต่อเนื่องในการทำวิจัย  P
  4. ระบบไม่เอื้อ : บทบาท ระบบที่สร้างขึ้นมา คนไม่เข้าใจ บทบาท เช่น บทบาทของ Facilitator   S
  5. คิดหัวข้อวิจัยไม่ออก P
  6. ไม่ตระหนักในความสำคัญของการทำวิจัย  P
  7. สัดส่วนของงานบริการ-วิจัย  S
  8. การเริ่มต้นหาปัญหาไม่ได้ ท้อ ไม่อยากทำ (บทที่ 1 ไม่ผ่าน) S P
  9.  ขาดความรู้ในการบริหารงานวิจัย (ขอทุน ขอจริยธรรม ฯลฯ) P
  10. การเข้าถึงที่ปรึกษาน้อย (ไม่มีหัวข้อ หรือปัญหา ไม่คุ้นเคย)

งานที่ต้องพัฒนา

Personal:-

  1. Root cause analysis : นำปัญหามาวิเคราะห์ เช่น ทำไมงานวิจัยจึงเป็นเรื่องยาก
  2. สร้างแรงจูงใจทางบวก สร้างกระแสวิจัยเป็นเรื่องง่าย
 

แนวทางแก้ไข

  1. ทำไมงานวิจัยจึงคิดว่ายาก      ปรับกระแสความคิด เช่น คณะกรรมการวิจัย  หัวหน้า จบโท ให้พูดว่าการวิจัยเป็นเรื่องไม่ยาก   เสนอแนะให้อ่านวิจัยแล้วนำเสนอโดยกำหนดเป็นนโยบายทุกหน่วยงาน  พัฒนาสมรรถนะการสืบค้นข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
  2. ทัศนคติ (ยาก  ใช้เวลามาก  ไม่มีพี่เลี้ยง)      เสริมแรงจูงใจให้รางวัลโดยคณะกรรมการวิจัย จัด Mentorship ให้วัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เป็นเชิงบวก

2. งานที่ต้องการให้พัฒนา:-

อยากให้คณะกรรมการวิจัยดำเนินการอย่างไร    

1. อบรมกระบวนการวิจัย

2. วิจัย ประเมินผลลัพธ์โครงการอบรมกระบวนการวิจัย

3. จัดที่ปรึกษา/ Mentor อย่างเป็นทางการ

4. คัดเลือกหัวข้อวิจัย/ประเด็นปัญหา ส่งไปให้หน่วยงาน5. กำหนดสมรรถนะพยาบาลแต่ละระดับ รวม HN/ผตก.6. ให้รางวัล: ขั้น โบนัส7. กำหนดเป็นนโยบาย ใช้กระบวนการการวิจัยพัฒนางาน8. มี Research clinic จัดเวลาให้ Mentor ที่ปรึกษา ให้ชดเชยหรือทดเวลาให้ รวม 1 วัน ให้ OT 1 วัน

9. จัดอบรมปฏิบัติการการบริหารโครงการ

10. จัด Workshop การบริหารโครงการ11.  จัดเวทีเสนอผลงานวิจัยภายใน เตรียมให้หน่วยงาน/ ผู้สนใจ

12. จัดทำเครือข่ายแหล่งทุน / นำเสนอ

 

3. วางแผนดำเนินงาน ปี 51

3.1  ส่งเสริมทัศนคติเชิงบวก สร้างกระแสเชิงบวก
  • ONE WARD ONE RESEARCH
  • นโยบายให้หน่วยงานจัดกิจกรรมวิจัย
  • โครงการพัฒนาสมรรถนะการสืบค้นข้อมูล
  • ส่งเสริมการนำผลงานวิจัยมาใช้: วิจัยวิจารณ์
 

3.2    มีความรู้มีการนำเสนอผลงาน

  • อบรมกระบวนการวิจัย
  • วิจัยประเมินผลลัพธ์ฯ
  • จัดเวลาให้ Mentor
  • การบริหารโครงการวิจัย
  • จัดเสนอผลงานวิจัยภายใน
  • จัดหาเสนอแหล่งทุน/เสนอแหล่งทุน/เสนอผลงานภายนอกหน่วยงาน
  • จัดทำเครือข่าย/ แหล่งทุน/นำเสนอ
  • กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการวิจัย

 

 

กลุ่มที่ 2ปัญหา อุปสรรคในการทำวิจัยของหน่วยงาน&งานที่ต้องการให้พัฒนา

บุคคล

  • ขาดแรงจูงใจในการทำวิจัย
  • ขาดความมุ่งมั่น
  • มีทัศนคติไม่ดีในการทำวิจัย
  • ไม่แม่น ไม่เข้าใจในระเบียบวิธีวิจัย
  • เวลามีปัญหาไม่ทราบว่าจะปรึกษาใคร
  • ไม่รู้ว่าจะทำเรื่องอะไร
แนวทางแก้ไข
  • จัดที่ปรึกษาให้ตรงตามความสนใจของพยาบาลวิจัยใหม่เพื่อให้ใกล้ชิด มีความรู้ในหัวข้อที่ทำวิจัย ติดตามงานได้
  •  ที่ปรึกษาเสียเวลา แต่ไม่ได้ผลตอบแทน น่าจะเป็นผู้ร่วมวิจัยได้
  • จัดให้ได้มีคลินิกให้คำปรึกษาสำหรับพยาบาล
  • จัดอบรมวิธีการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ มีประสิทธิภาพ
 

ระบบการทำงาน

  • มีภาระงานประจำมีมาก
  • อัตรากำลังขาด
  • ขึ้นเวรติดต่อกัน
  • ไม่มีระบบฐานข้อมูลการวิจัยที่ดี ถูกต้อง
แนวทางแก้ไข
  • จัดระบบงานเอื้อเวลาในการทำงานให้ชัดเจน เช่น จัดเวลาให้เข้าร่วมการนำเสนอผลการดำเนินงานเก็บข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงาน เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  • พัฒนาระบบฐานข้อมูลการวิจัยของพยาบาล
 การสนับสนุน
  • ขาดแหล่งทุนสนับสนุน
        จัดอบรมระเบียบวิธีวิจัย        ทุนสนับสนุนการทำวิจัย
  • ที่ปรึกษากับผู้วิจัยว่างไม่ตรงกัน
แนวทางแก้ไข
  • ประชาสัมพันธ์แหล่งทุนสนับสนุน ทาง website งานบริการพยาบาล

         จัดอบรมการเขียนขอทุน R2R

 

วันที่ 4 ตุลาคม 2550

ขอเชิญคณะกรรมการพัฒนางานวิจัย

เข้าประชุม เพื่อฟังนโยบายจากท่านหัวหน้าพยาบาล

และปรับแผนงานวิจัยให้เหมาะสมและจะได้ดำเนินงานต่อไป ในปี พ.ศ. 2551 ค่ะ

ในวันนี้จะมีน้องมานำเสนอ Evidenced base practice 1 เรื่องและResearch Club 1 เรื่องค่ะ

ขอนัดใหม่เป็นวันที่ 5 ตุลาคม 2550

มีการนำเสนอโครงการ EBP และมี Research club ด้วย

กำหนดการเสนอผลงานการนำผลการวิจัยมาใช้ วันที่  5  ตุลาคม  2550 
  • เวลา  13.30-14.20  .       นำเสนอผลงานEBP   โดย  นายธงนำ  เต็มเปี่ยมเจนสุข  พยาบาล ระดับ 6  แผนกการพยาบาลจักษุ โสตฯ
  • เวลา  14.20-14.50  .       นำเสนอผลงาน  ในหัวข้อเรื่อง  Journal  club  unplanned  extubation โดย  นางสาวจิราพร  พรหมพิทักษ์กุล  พยาบาลชำนาญการ 8  หัวหน้าหอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 1 
  • เวลา  14.50-15.10  .       สรุปผลโครงการสรุปและสัมมนาแผนงานปี  2551  วันที่  23-24  สิงหาคม  2550ณ ภูตะวันรีสอร์ท  .ปากช่อง  .นครราชสีมา โดย  นางอุบล  จ๋วงพานิช  ประธานคณะกรรมการพัฒนางานวิจัย  งานบริการพยาบาล
  • เวลา  15.10-15.30  .       นโยบายและมาตรการด้านการวิจัยทางการพยาบาล ของงานบริการพยาบาล โดย  นางสาวชูศรี  คูชัยสิทธิ์  หัวหน้างานบริการพยาบาล
  • เวลา  15.30-16.00  .  ประชุมคณะกรรมการพัฒนางานวิจัย

ผมขออนุญาตบ่นให้ฟังนะครับ....

  • ถ้าถามว่าอะไรเป็นสาเหตุที่คนเราไม่อยากทำวิจัย ผมคิดว่ากลุ่มแรกสรุปไว้ได้ดีแล้วครับ แต่ถ้าเข้าประเด็นหลักๆล่ะก็ ผมมองว่า เหลืออยู่สักข้อสองข้อครับ....
  • ข้อแรก ภาระงานมาก ไม่มีเวลาทำ แค่งานประจำก็หมดเวลาไปแล้ว.....อันนี้เป็นข้ออ้างเบื้องต้น ที่ใครๆก็ใช้ ดูเหมือนจะใช้บ่อยมากเสียด้วย ที่ไหนๆ ก็ใช้กันอย่างนี้แหละ แล้วถ้าถามต่อไปอีกว่า งั้นก็ลดเวลาทำงานให้น้อยลง เอาเวลาส่วนหนึ่งไปทำวิจัย เอามั้ย....คำตอบคือ....ไม่เอา....ขอลดแต่เวลาทำงานลง แต่ขอไม่ทำวิจัยได้ไหม......
  • ข้อ สอง.....คือทัศนคติต่อการทำงานวิจัย.... คือรู้จักว่าอย่างไหนเรียกว่างานวิจัย แต่ให้ทำน่ะ ทำไม่เป็น ไม่รู้จะทำเรื่องอะไร ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ขาดความรู้ ความเข้าใจไปหมด จนหลายครั้งผมเองก็อดสงสัยไม่ได้เหมือนกันว่า ไอ้ที่บอกว่ารู้จักว่างานวิจัยเป็นอย่างไร นี่ รู้ตรงไหนบ้าง เพราะถัดจากคำว่ารู้แล้ว....ก็เห็นแต่ไม่รู้สักอย่าง.....เอาล่ะ ถ้าบอกว่าไม่รู้ งั้นก็จะสอนให้รู้ ....ก็จัดอบรมเรื่องระเบียบวิธีวิจัยไปเลย เอาล่ะทีนี้เราจะสอนการทำวิจัย ตั้งแต่เริ่มต้นเลย ว่าทำอะไรกันอย่างไร .....สอนไปเถอะ สอนไป แล้วก็จะรู้ว่า ได้แต่สอนครับ....เพราะถึงเวลาจริงๆ งานวิจัยสักเรื่องที่เกิดจากการสอนให้รู้ว่าวิจัยเป็นอย่างไรนี่ ....เกิดยากครับ.....
  • ส่วนที่บอกว่า ไม่มีใครให้ปรึกษา ไม่รู้ว่าจะขอทุนกันที่ไหน อย่างไร......นี่ก็เป็นอีกข้ออ้างครับ แม้ว่าจะจัดทีมงานสนับสนุนการทำวิจัยหรือทีมช่วยวิเคราะห์ทางสถิติ หรือจะรวมทีมช่วยเหลือด้านการออกแบบวิจัยขึ้นมาช่วยเหลือ ใครไม่รู้อะไรให้มาปรึกษา.....วิธีนี้ก็ไม่ work อีกเหมือนกัน เพราะสิ่งที่ได้ คือ คนที่มาปรึกษาคือคนที่ทำวิจัยอยู่แล้ว....มาขอความกระจ่างเพิ่มขึ้น เพื่อให้งานวิจัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนคนที่ไม่ทำวิจัย .....แม่คุณเอ้ย....ยังไงก็ไม่มา
  • เอ ....ถ้างั้นเอาไงดีครับ  ลดงานลงก็แล้ว.... สอนให้รู้จักวิธีการทำวิจัยก็แล้ว....ตั้งทีมขึ้นมาช่วยก็แล้ว.....ยังไม่ได้ผลเหรอ ....งั้นทำไงดีเหรอ......
  • ในความเห็นส่วนตัวครับ....ขอย้ำ....เพราะไม่มีแหล่งอ้างอิง ผมเห็นว่า.....การมุ่งให้คนทำงานหันมาทำงานวิจัยเพิ่มขึ้น ต้องเริ่มจาก การมี commitment ร่วมกันครับ ว่าจะทำ....อย่างโครงการ หนึ่งวอร์ดหนึ่งโครงการวิจัย นี่แหละดีแล้วครับ แต่ละวอร์ด ส่งตัวแทนมา จะกี่คนก็ตาม ไม่ต้องมีเรืองอยู่ในหัวก็ได้ ขอให้ส่งตัวแทนมาก็พอ สัก 3-5 คน มาประชุมพร้อมกัน.....แล้วทีนี้ ก็ให้เวลาสัก 2 ชั่วโมง นั่งคุยกันในกลุ่มว่า แต่ละกลุ่มสนใจจะทำวิจัยเรื่องอะไร ......เอาเฉพาะหัวข้อเรื่อง พร้อมทั้งหาเหตุผลสนับสนุนว่าสนใจทำเรื่องนี้ เพราะอะไร ไม่ต้องสนใจวิธีการทำ การออกแบบวิจัย....เป็นเรื่องทีหลังครับ เอาหัวข้อก่อน ....เรื่องนี้พยาบาลจะเก่ง ในการวิเคราะห์ root analysis หาต้นตอของปัญหา....ไม่ยากครับ ระดับพยาบาลแล้ว ทางโปร่งโล่งสบายครับ แล้วทีนี้ก็ให้แต่ละทีม นำเสนอว่าวอร์ดของตัวเองจะทำเรื่องอะไร.....นั่นเป็น commitment เบื้องต้นครับ.....แล้วทีนี้ก็ให้เวลาแต่ละวอร์ด ไปหาข้อมูล เขียนเป็นร่างโครงการวิจัย ที่จะทำแบบสมบูรณ์ โดยให้เขาเลือกที่ปรึกษา หรือใครก็ตามที่เขาปรึกษาได้ในทุกเรื่อง มาช่วยในการออกแบบงานวิจัย....แล้วนัดกลับมาให้มานำเสนอโครงร่างวิจัยใหม่ครับ จัดเป็นงานการนำเสนอเลยครับ....เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการทำวิจัย สักคนสองคน มาช่วยให้ความเห็นเพิ่มเติม ถัดจากตรงนี้ แต่ละกลุ่มจะเริ่มมองเห็นภาพของกลุ่มตัวเองที่ต้องทำชัดเจนขึ้น แล้วให้เวลาทำครับ จะกี่เดือนก็ว่ากันไป อย่างเช่น 6 เดือน กำลังเหมาะ นัดกลับมานำเสนอผลงานวิจัยที่ทำผ่านไปครับ แล้วประกาศรางวัลผู้สมควรได้รับรางวัล ไว้เป็นแรงจูงใจ   วิธีนี้ผมมองว่า ค่อนข้างได้ผล.....เป็นวิธีการเดียวกับการนำการจัดการความรู้มาใช้ในองค์กร....เริ่มจากไม่ต้องสนใจว่าคุณรู้อะไรเกี่ยวกับการจัดการความรู้บ้าง แต่เริ่มต้นที่ เราจะทำ และทำร่วมกัน......
  • การทำงานวิจัย....ถ้าจะให้รู้ทุกอย่างว่างานวิจัยเป็นอย่างไร ทำอย่างไร....เรียนไปแทบตาย ก็เริ่มต้นทำไม่ได้ครับ.... เอาอย่าง KM นี่แหละ กลับทิศมันซะ ......เริ่มต้นที่ทำก่อน แล้วระหว่างทำ ต้องการอะไรเพิ่ม เรามาหากัน สนับสนุนกัน ช่วยกัน....เมื่อมีเรื่องที่จะทำ มีงานที่ต้องทำ แล้วเริ่มทำ....มันต้องเสร็จสักวันสินะ....ดีกว่าวิธีการเดิมที่เริ่มต้นคิด....ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ...แล้วไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้ทำครับ

สวัสดีค่ะ คุณ P

รู้สึกยินดีมากค่ะที่ได้รับข้อเสนอแนะที่ดีมากค่ะ

การทำวิจัย ทุกคนคิดว่าเป็นเรื่องยาก

ที่คุณไมโต แนะนำเป็นเรื่องจริงเลยค่ะ แต่พวกเราไม่เคยย่อท้อ

แม้แต่การเปิด Blog วิจัย ก็แทบจะไม่มีใครเข้ามาแสดงความคิดเห็น

ในครั้งนี้นับว่าได้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มากๆค่ะ

และเป็นนิมิตรหมายที่ดีของวงการทำวิจัยแน่ๆเลยค่ะ

ทีมงานพวกเรา นำโดยท่านหัวหน้าพยาบาลได้พาพวกเราทำมานาน และจัดอบรมกระบวนการวิจัยให้ทุกปี และมีพี่เลี้ยงคอยดูแลช่วยเหลือ มีแหล่งทุนวิจัยมากมายทั้งในคณะแพทย์และมหาวิทยาลัย มีงบประมาณและทุนสนับสนุนให้ไปนำเสอนผลงานทั้งในและต่างประเทศ

เป็นที่น่ายินดี กลุ่มพยาบาลจะทำวิจัยและได้รับทุนวิจัยทุกปี อย่างน้อยปีละ 5 เรื่อง

มีคนไปนำเสนอผลงานทั้งในและต่างประเทศทุกปีค่ะ

เราหวังว่าการทำวิจัย จะทำให้คนพัฒนาทั้งตนเองและองค์กร เพื่อตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยวิจัยในปัจจุบันค่ะ

 

ขออนุญาตสรุปข้อเสนอแนะของคุณไมโตค่ะ

เพื่อจะได้ไปเสนอให้หัวหน้าและทีมงานของเราในวันที่ 5 ตุลาคม 2550

  • ต้องเริ่มจาก การมี commitment ร่วมกันก่อน ว่าจะทำ....อย่างโครงการ หนึ่งวอร์ดหนึ่งโครงการวิจัย 
  •  ให้แต่ละวอร์ด ส่งตัวแทนมา จะกี่คนก็ตาม ไม่ต้องมีเรืองอยู่ในหัวก็ได้ ขอให้ส่งตัวแทนมาก็พอ สัก 3-5 คน มาประชุมพร้อมกัน.....
  • แล้วทีนี้ ก็ให้เวลาสัก 2 ชั่วโมง นั่งคุยกันในกลุ่มว่า แต่ละกลุ่มสนใจจะทำวิจัยเรื่องอะไร ......
  • เอาเฉพาะหัวข้อเรื่อง พร้อมทั้งหาเหตุผลสนับสนุนว่าสนใจทำเรื่องนี้ เพราะอะไร ไม่ต้องสนใจวิธีการทำ การออกแบบวิจัย....เป็นเรื่องทีหลัง เอาหัวข้อก่อน ....
  • แล้วให้แต่ละทีม นำเสนอว่าวอร์ดของตัวเองจะทำเรื่องอะไร.....นั่นเป็น commitment เบื้องต้น
  • แล้วทีนี้ก็ให้เวลาแต่ละวอร์ด ไปหาข้อมูล เขียนเป็นร่างโครงการวิจัย ที่จะทำแบบสมบูรณ์
  • โดยให้เขาเลือกที่ปรึกษา หรือใครก็ตามที่เขาปรึกษาได้ในทุกเรื่อง มาช่วยในการออกแบบงานวิจัย....
  • แล้วนัดกลับมาให้มานำเสนอโครงร่างวิจัยใหม่  จัดเป็นงานการนำเสนอ
  • เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการทำวิจัยมาให้ข้อเสนอแนะ สักคนสองคน มาช่วยให้ความเห็นเพิ่มเติม ถัดจากตรงนี้ แต่ละกลุ่มจะเริ่มมองเห็นภาพของกลุ่มตัวเองที่ต้องทำชัดเจนขึ้น
  • แล้วให้เวลาทำ จะกี่เดือนก็ว่ากันไป อย่างเช่น 6 เดือน กำลังเหมาะ 
  • นัดกลับมานำเสนอผลงานวิจัยที่ทำผ่านไป
  •  แล้วประกาศให้รางวัลผู้สมควรได้รับรางวัล ไว้เป็นแรงจูงใจ  

วิธีนี้คุณไมโตมองว่า ค่อนข้างได้ผล.....

เป็นวิธีการเดียวกับการนำการจัดการความรู้มาใช้ในองค์กร....

เริ่มจากไม่ต้องสนใจว่าคุณรู้อะไรเกี่ยวกับการจัดการความรู้บ้าง

แต่เริ่มต้นที่ เราจะทำ และทำร่วมกัน......

ผู้ที่มีข้อเสนอแนะดีดี เสนอแนะได้เลยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท