BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

วิภาค (Division)


วิภาค

วิภาค คือ การแบ่ง เป็นประเด็นหนึ่งที่จะต้องศึกษาในวิชาตรรกศาสตร์... อาจกล่าวได้ว่า เมื่อตรรกศาสตร์ว่าด้วยการนิยามความหมายและการใช้เหตุผล... การแบ่งจะช่วยให้การนิยามความหมายรัดกุมยิ่งขึ้น และจะให้การใช้เหตุผลสะดวกยิ่งขึ้น และอาจรวมความได้ว่า การแบ่งจะทำให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น... ประมาณนี้

  • การแบ่งมีกฎเบื้องต้นอยู่ ๔ ประการ กล่าวคือ

๑. สิ่งที่ถูกแบ่งออกไป จะต้องเป็นส่วนย่อย  เช่น เกลือ เป็นสิ่งสากล เมื่อแบ่งเกลือออกเป็น เกลือสมุทร และ เกลือสินเธาว์ แล้ว ...  ทั้งเกลือสมุทรและเกลือสินเธาว์ต่างก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเกลือทั่วไปเท่านั้น

๑. สิ่งที่ถูกแบ่งออกไป จะทำให้สิ่งนั้นลดน้อยลง เช่น เมื่อแบ่งเกลือสินเธาว์ออกมาจากเกลือทั่วไปแล้ว จะทำให้เกลือที่เหลือมิใช่เกลือสินเธาว์ ... ซึ่งตามนัยนี้ อาจกล่าวได้จำแนกได้ว่า เกลือทั่วไป แบ่งออกเป็นเกลือสินเธาว์ และมิใช่เกลือสินเธาว์ .... นั่นคือ ทั้งเกลือสินเธาว์และมิใช่เกลือสินเธาว์ แต่ละชนิดมีจำนวนน้อยกว่าเกลือทั่วไป ....

๓. สิ่งที่ถูกแบ่งออกไป จะต้องคัดค้านกันเอง เช่น เมื่อแบ่งเกลือออกเป็น เกลือเม็ด และ เกลือผง แล้ว... ก็จะคัดค้านกันเองว่า เกลือเม็ดมิใช่เกลือผง หรือเกลือผงมิใช่เกลือเม็ด ...

๔. จะต้องใช้หลักการเดียวกันในการแบ่ง เช่น เมื่อแบ่งเกลือโดยหลักการที่จะได้มาแล้ว ส่วนที่ได้มาจากน้ำทะเลเรียกว่า เกลือสมุทร ส่วนที่ได้มาจากแหล่งธรรมชาติอื่นๆ เรียกว่า เกลือสินเธาว์.... อีกนัยหนึ่ง ถ้าแบ่งเกลือโดยใช้หลักการตามรูปร่างของเกลือก็อาจได้เป็นเกลือเม็ดและเกลือผง... แต่ถ้าแบ่งเกลือออกเป็น เกลือเม็ด เกลือทะเล เกลือป่น เกลืออนามัย ฯลฯ จะเห็นได้ว่าทำให้เข้าใจชนิดของเกลือยากยิ่งขึ้นเพราะไร้หลักการในการแบ่ง...

...................

  • วิภาคชนิดต่างๆ

๑. การแบ่งส่วนย่อยออกเป็นชนิดต่างๆ เช่น มนุษย์ในโลกนี้แบ่งตามสีผิวออกเป็น ผิวดำ ผิวขาว และผิวเหลือง

๒. การแบ่งตามองค์ประกอบ เช่น มนุษย์ประกอบด้วย ร่างกาย และ จิตใจ... ร่างกายประกอบด้วยธาตุพื้นฐานทั้ง ๔ กล่าวคือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ...

....นัยแรก (๑) ทำให้ส่วนย่อยยังเป็นส่วนใหญ่อยู่ กล่าวคือ มนุษย์ผิวดำยังคงเป็นมนุษย์ ... แต่นัยหลัง (๒) ส่วนย่อยไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ แต่เป็นเพียงส่วนประกอบ กล่าวคือ ร่างกายมิใช่มนุษย์ จิตใจก็มิใช่มนุษย์ แต่มนุษย์ต้องประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ...

๓. การแบ่งโดยอาศัย จรสมบัติและสหสมบัติ เช่น มนุษย์แบ่งออกตามทวีปที่อยู่เป็น ชาวเอเชีย ชาวยุโรป ชาวอเมริกา ชาวออสเตเรีย ชาวอัฟริกา ... หรือแบ่งมนุษย์ออกเป็น ผู้รู้หนังสือ ผู้ไม่รู้หนังสือ ... แบ่งมนุษย์ออกเป็น คนโง่ คนปานกลาง คนฉลาด.... แบ่งมนุษย์ออกเป็น ชาวป่า ชาวเมือง ชาวชนบท... แบ่งมนุษย์ออกเป็นกลุ่มพัฒนาแล้ว กลุ่มกำลังพัฒนา กลุ่มด้อยพัฒนา... ฯลฯ

.... นัยนี้ (๓) เป็นนัยสำคัญในการนำไปจัดประเภทสิ่งต่างๆ โดยใช้หลักการเดียวกัน (กฎข้อที่ ๔)

............

บางครั้งการนิยามความหมายและการใช้เหตุผลที่มีข้อบกพร่อง เพราะมีสาเหตุมาจากวิภาคหรือการแบ่งบกพร่องนี้เอง...

อนึ่ง ใกล้เคียงกับการแบ่งก็คือ การจัดประเภท (Classifisation) ซึ่งบางท่านก็ให้ความเห็นว่า การแบ่งก็คือการจัดประเภทไม่แตกต่างกัน แต่บางท่านก็มีความเห็นว่าแตกต่างกัน....

ส่วนผู้เขียนคิดว่าบางครั้งก็เหมือนกัน บางครั้งก็คล้ายคลึงกัน... หรือจะแตกต่างกันหรือไม่ ก็ต้องศึกษาความเห็นนั้นๆ เมื่อนำคำทั้งสองนี้มาใช้....   

หมายเลขบันทึก: 122159เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2007 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
แวะมาเยี่ยมครับ

ไม่มีรูปดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ

เจริญพร 

สิ่งที่ทำให้สะดุดคิดถึงเรื่องนี้อีกครั้งก็คือ "กฏ" การแบ่ง ว่า "ทำไมจึงต้องมีกฏ?"

การแบ่งออกเป็นประเภทๆ มันขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ "เรา"กำหนด  "เรา"จะกำหนด"เท่าไร"ก็ได้  ทำไมต้อง ๔?  เช่น

ถ้าเรารูดใบไม้มากำมือหนึ่ง ได้ไบไม้มามากมาย  ถ้า "เรา"กำหนด"เกณฑ์"ว่า "ใช้สี"เป็นเกณฑ์  ก็จะได้ "ใบเขียว - ใบไม่เขียว"  ถ้าใช้ "ขนาด" เป็นเกณฑ์  ก็จะได้ "ใบใหญ่ - ใบเล็ก" ถ้าใช้ "หยัก"เป็นเกณฑ์ ก็จะได้ "ใบหยัก - ไม่หยัก" ถ้าใช้อายุเป็นเกณฑ์ จะได้ "ใบแก่ - ใบอ่อน"  ถ้าใช้ "ก้านใบ"เป็นเกณฑ์ ก็จะได้ "ใบมีก้าน - ใบไม่มีก้าน" ฯลฯ

คนมีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะได้ประเภทมากมาย เพราะมีเกณฑ์มาก  ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้"คิด"เป็นของตัวเองอีกด้วย  การมีกฏ เป็นการ "ปิดประตู" ความคิด  และ"มุ่ง" ให้ "เป็นผู้ตาม"ผู้ที่กำหนด

นี่คือสิ่งที่ผมว่ามันสะดุดใจให้คิด ครับ

ไม่มีรูป

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

 

ใจตรงกับอาจารย์เลย เมื่อกี้เข้าไปอ่านบันทึกใหม่ๆ ของอาจารย์แล้ว เรื่องการรับรู้ นั่นคือ สิ่งภายนอก กับ สิ่งที่มีอยู่ในใจ (หรือสมอง) เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ?  พุทธปรัชญามหายาน ๒ สำนักเถียงกันเรื่องนี้มาพันกว่าปีแล้ว...

...........

สำหรับประเด็นที่อาจารย์ว่า คงจะเป็นประเด็นย่อยที่ทำให้ตรรกศาสตร์ของอริสโตเติลทำนองนี้ ถูกกล่าวหาว่าเป็น ฮาร์ดลอจิก (ตรรกศาสตร์กระด้าง) ซึ่งมี ซอฟต์ลอจิก
(ตรรกศาสตร์นุ่มนวล) เข้ามาคัดค้าน...

รู้สึกว่า แฟรงค์ บรูโน (ถ้าจำชื่อไม่ผิด) นี้แหละเป็นตัวตั้งตัวตี ที่คัดค้านฮาร์ดลอจิก แต่อาตมาก็ลืมๆ ไปแล้ว เพราะไม่เคยได้อ่านความคิดของเจ้าหมอนี้ เพียงแต่อาจารย์บางท่านเคยโม้ให้ฟังเท่านั้น...

...........

อนึ่ง ตามความเห็นส่วนตัว คงเป็นเพราะมนุษย์มีศักยภาพในการแยกแยะและรวบรวม ซึ่งมีผู้จัดประเภทไว้ในเรื่อง ปทารถะ (Category) ซึ่งก็มีอยู่หลายสำนักเหมือนกัน...

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท