บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

การเล่นแม่นางด้ง


สิ่งที่สำคัญคือสิ่งนั้นเป็นการละเล่นที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย

การเล่นแม่นางด้ง         

                     การเล่นแม่นางด้งนั้น มีมาแต่สมัยโบราณ  คนรุ่นเก่าได้เล่าต่อๆกันว่านิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์   ซึ่งถือกันว่าเป็นวันปีใหม่ของไทย  โดยจะเล่นกันในตอนกลางคืน  ที่วัดหรือที่บ้านก็ได้  การเล่นแม่นางด้งนี้  จะนิยมเล่นกันทั่วไปในจังหวัดเพชรบูรณ์  โดยเฉพาะ อำเภอหล่มเก่า  อำเภอหล่มสัก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ตลอดทั้งอำเภอใกล้เคียง          

 

              ลักษณะเครื่องแต่งกายในการเล่นแม่นางด้ง  ผู้จับกระด้งส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุ จะแต่งกายตามแบบชาวบ้าน  ไม่มีแบบแผนที่แน่นอน บางครั้งก็แต่งกายยุคปัจจุบัน หรือในบางโอกาสจะสวมเสือแขนสามส่วน นุ่งผ้าถุงยาว หรือไม่ก็นุ่งโจงกระเบน           

                วิธีการเล่น  เริ่มทำการแสดง จะมีพิธียกครูเสียก่อน มีผู้จับกระด้ง ๒ คน โดยจับกระด้งคว่ำลง  และจะมีผู้กล่าวนำเชิญแม่นางด้งเข้าสิงสู่กระด้ง  เมื่อเริ่มเข้า กระด้งที่อยู่ในมือของผู้จับกระด้งก็จะสั่นแรงขึ้นเรื่อยๆ  สักครู่เมื่อกระด้งหยุด  ถ้าต้องการถามเรื่องอะไร หรือทำนายทายทักอะไร ก็จะถามแม่นางด้ง เช่น ปีนี้ปลูกข้าวจะได้ผลดีหรือไม่เป็นต้น หรือไม่ชายหนุ่มก็ถามเกี่ยวกับเรื่องของความรัก เช่น เขารักใคร หรือใครแอบชอบเขา กระด้งก็จะสั้นและไปหาผู้หญิงคนนั้น     

 

                   การเล่นแม่นางด้งในปัจจุบันนี้แทบหาดูไม่ได้แล้วครับ เพราะคนรุ่นใหม่ๆคิดว่าเป็นเรื่องงมงายและไร้สาระ สำหรับตัวผมเองถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทยอย่างหนึ่ง  ถึงแม้ว่าในพิธีกรรมการเล่นจะมีวิญญาณจริงหรือไม่ ไม่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญ  สิ่งที่สำคัญคือสิ่งนั้นเป็นการละเล่นที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยครับ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 122072เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2007 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ทำไม เพชรบูรณ์ มีของเล่นเยอะจังค่ะ
  • นางด้ง เหมือน ผีถ้วยแก้วมั้ยคะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีครับป้าแดง
  • ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมอย่างสม่ำเสมอครับ
  • การละเล่นเพชรบูรณ์เยอะอาจเกิดจากจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นที่รวมของคนหลายๆพื้นที่ที่เข้ามาอยู่ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น คนหล่ม มาจากหลวงพระบาง มาจากภาคเหนือบ้าง อีสานบ้าง กลางบ้าง หรืออาจจะเป็นเพราะอยู่ตรงกลางสามภาคครับ
  • การเล่นแม่นางด้ง คล้ายกับการเล่นผีถ้วยแก้วครับ แต่จะสนุกตรงที่กระด้งดิ้นแรงจนผู้จับแทบควบคุมไม่ได้ครับ
  • ขอบคุณค่ะ อาจารย์
  • อีกอย่าง บันทึกอาจารย์ สวยมากค่ะ การจัดวางตัวหนังสือ และภาพ กรอบภาพสวยมากค่ะ
  • อาจารย์ทำอย่างไรคะ
  • ขอบคุณมากครับป้าแดง
  • สำหรับภาพและกรอบได้รับคำแนะนำจากครูหญ้าบัวครับ
  • โดยยึดแบบแผนมาจากอาจารย์beeman ครับ
  • บันทึกของอาจารย์beeman ย้อนกลับไปเปิดดู เขียนไว้ เมื่อ 3 ก.ย.49 เรื่อง เทคนิคการสร้างตารางสีและใส่ภาพในตาราง(๑)(๒)ครับ

  • ขอบคุณค่ะ อาจารย์ จะลองตามไปดูนะคะ

สวัสดีค่ะ

  • ไม่เข้าระบบ--->เน็ตช้ามาก...
  • นางด้ง.....นางเชือก.. .นางกวัก..  เห็นเขาเล่นแถวหมู่บ้านทุกปีในเทศกาล วันสงกรานต์  และต้องเล่นให้ครบ 3 วัน ตั้งแต่จำความได้ ตอนนี้ยังเห็นอยู่....คนแก่บางคนที่พาเล่นตายจากไปมากแล้ว..เหลือแต่รุ่นใหม่.......แต่ไม่ได้แต่งตัวแบบในภาพนี้นะค่ะ....
  • บางปีได้รับการสนับสนุนการละเล่นจาก อบต. บางปีเห็นเงียบๆ   ก็ไม่ทราบนโยบายมีอย่างไร...(เปล่าบ่น..นะจ๊ะ)
  • สงกรานต์ปีหน้า ขอเชิญ น้องบัวชูฝัก ไปชมการละเล่นสด ที่ หมู่ 9 ตำบลน้ำร้อน นะจ๊...ยินดีต้อนรับจ๊ะ
  • ขอบคุณครูหญ้าบัวครับ
  • ดีใจครับที่การละเล่นต่างๆยังมีให้ดูอยู่
  • สงกรานต์ปีหน้าจะต้องไปชมให้ได้ครับ จะได้นำภาพสวยๆมาฝากกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท