amichi
วรรณลิกา ทองแก้วจันทร์

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ


เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 4  เทคโนโลยีสารสนเทศ

      ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ และเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ อันที่จริงแล้วจะเห็นว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่มีผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น 

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์องค์ประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการปฏิบัติการหรือประมวลผลในด้านต่างๆ เช่น ประมวลผลกลาง หน่วยความจำเครื่องพิมพ์ จอภาพ แป้นพิมพ์ เป็นต้น

2. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับตามขั้นตอนของการทำงานชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมและทำขึ้นก่อนแล้วนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง การสั่งการให้คอมพิวเตอร์กระทำตามขั้นตอนและแผนงานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้ดำเนินการหรือจัดเตรียมไว้แล้ว ซอฟต์แวร์จึงเป็นผลที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามกรอบของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น

3.บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมหรือสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่กำหนดไว้

4.ฐานข้อมูล เป็นการจัดการข้อมูลให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันโดยไม่ซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกัน5.เทคโนโลยีสื่อสาร เป็นการใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมในการรับและส่งข้อมูล (Data) หรือสารสนเทศ(Information) จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ เช่น จานแม่เหล็ก แผ่นแม่เหล็ก จอภาพ แป้นพิมพ์ เมาส์ โมเด็ม เครื่องพิมพ์ LAN Card และสายสัญญาณ เป็นต้น             

I. การแบ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ตามสัญญาณทำงานของเครื่อง

1. Analog Computer เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อใช้กับงานเฉพาะด้าน มีการทำงานโดยใช้หลักในการวัด มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นหลักในการคำนวณ และการรับข้อมูลจะรับในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่อง ส่วนการรับข้อมูลสามารถรับข้อมูลได้โดยตรงจากแหล่งเกิดข้อมูล แล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัดและแทนค่าเป็นอุณหภูมิ ความเร็ว หรือความดัน มีความละเอียดและสามารถคำนวณได้น้อยกว่าดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากเหมือนกับดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องที่ใช้วัดปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของกราฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจสภาพอากาศ และที่ใช้ในวงการแพทย์ เช่น เครื่องตรวจวัดสายตา ตรวจวัดคลื่นสมองและการเต้นของหัวใจ เป็นต้น

2. Digital Computer เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักในการคำนวณแบบลูกคิด หรือหลักการนับ และทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะการคำนวณจะแปลงเลขเลขฐานสิบก่อน แล้วจึงประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสอง แล้วให้ผลลัพธ์ออกมาอยู่ในรูปของตัวเลข ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย มีความสามารถในการคำนวณและมีความแม่นยำมากกว่าอนาลอกคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากจึงต้องใช้สื่อในการบันทึกข้อมูล เช่น จานแม่เหล็ก และเทปแม่เหล็ก เป็นต้น เนื่องจากดิจิตอลคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกันและใช้กับงานได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้ดิจิตอลคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาให้สามารถทำงานได้เหมาะสมกับสภาพงานทั่วไป เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานวิจัยเปรียบเทียบค่าทางสถิติ งานบันทึกนัดหมาย งานส่งข้อความในรูปเอกสาร ภาพและเสียง ตลอดจนงานกราฟิกเพื่อนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น           

II. การแบ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ตามลักษณะการนำไปใช้

1. Special-purpose Computer เป็นเครื่องที่ออกแบบเพื่อใช้กับงานที่มีลักษณะเฉพาะโปรแกรมที่สั่งให้ทำงานจะถูกเก็บไว้ในเครื่องอย่างถาวร

2. General-purpose Computer เป็นเครื่องที่สามารถใช้ได้กับหลายๆ งาน ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่อยู่ในเครื่องและถูกเรียกออกมาใช้งานในขณะนั้น        

III.      การแบ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ตามขนาดและความเร็วในการประมวลผล

1. Supercomputer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รุ่นแรก สร้างในปี ค.ศ. 1960 ที่องค์การทหารของสหรัฐอเมริกา สร้างสามารถประมวลผลได้กว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที จึงทำให้ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง มีราคาแพงที่สุด เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องคำนวณตัวเลขจำนวนมหาศาลให้เสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น โดยต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละออง มักใช้กับองค์กรที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น เนื่องจากสามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากพร้อม ๆ กันได้ เรียกว่า มัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) อันเป็นการใช้หน่วยประมวลผลหลายตัว เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อม ๆ กันได้ จึงนิยมใช้กับงานที่การคำนวณที่ซับซ้อน เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอวกาศ การคำนวณทางวิทยาศาสตร์ การบิน อุตสาหกรรมน้ำมัน ตลอดจนการวิจัยในห้องปฏิบัติการ ทั้งของภาครัฐบาลและเอกชน เป็นต้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีในปัจจุบันได้แก่ Cray Supercomputer

2. Mainframe Computer เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีความเร็วในการประมวลผลสูงรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ต้องอยู่ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละออง และได้รับการพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยทำงานพร้อม ๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่มีจำนวนหน่วยประมวลผลที่น้อยกว่า จึงทำให้สามารถประมวลผลคำสั่งได้หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที ระบบคอมพิวเตอร์ของเครื่องเมนเฟรมส่วนมากจะมีระบบคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ประกอบอยู่ด้วย เพื่อช่วยในการทำงานบางประเภทให้กับเครื่องหลัก มีราคาแพงมาก (แต่น้อยกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์) เหมาะกับงานที่มีข้อมูลที่มีปริมาณมากต้องประมวลผลพร้อมกันโดยผู้ใช้นับพันคน (Multi-user) ใช้กับองค์กรใหญ่ ๆ ทั่วไป เช่น งานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ การควบคุมระบบเครือข่าย งานพัฒนาระบบ งานด้านธุรกิจ ธนาคาร งานสำมะโนประชากร งานสายการบิน งานประกันชีวิต และมหาวิทยาลัย เป็นต้น

3. Minicomputer เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าเมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายร้อยคน (Multi-user) ในการทำงานที่แตกต่างกัน (Multi Programming) เช่นเดียวกับเครื่องเมนเฟรม แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ คือ ความเร็วในการทำงาน เนื่องจากมินิคอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมผู้ใช้งานต่าง ๆ ในจำนวนที่น้อยกว่า รวมทั้งสื่อที่เก็บข้อมูลมีความจุน้อยกว่าเมนเฟรม จึงเหมาะกับองค์กรขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องเมนเฟรมมาก ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น ในสถานศึกษาต่าง ๆ และบางหน่วยงานของรัฐนิยมใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้

องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์ระบบคอมพิวเตอร์

1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้โต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่รับข้อมูลแล้วส่งไปหน่วยความจำหลัก ซึ่งอยู่ในหน่วยประมวลผลกลางแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอุปกรณ์โต้ตอบกับผู้ใช้โดยตรงและกลุ่มอุปกรณ์รับข้อมูลจากสื่อบันทึกข้อมูล

2. อุปกรณ์แสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์สามารถอ่านได้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอุปกรณ์แสดงผลแบบชั่วคราวและกลุ่มอุปกรณ์แสดงผลแบบถาวร

3. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit - CPU) เป็นสมองของคอมพิวเตอร์เพราะทำหน้าที่ 2 ประการ คือ

- ควบคุมการประมวลผลข้อมูล ทั้งการคำนวณทางคณิตศาสตร์ หรือการประมวลผลเชิงตรรกะ

-  ควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ส่วนอื่นภายในซีพียูประกอบด้วย
1) หน่วยควบคุม (control unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำกับซีพียู ควบคุมกลไกการทำงานทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดยมีสัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน
2) หน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logic unit) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และการสลับตัวเลข เป็นต้น การคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุมของหน่วยควบคุม                                                                                                                  

      กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น

4. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นส่วนเก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในระหว่างการประมวลผล มีการเก็บข้อมูล 2 ลักษณะคือ

1) หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ เป็นความจำที่เก็บข้อมูลไว้ได้เฉพาะเมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น

2) หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน เป็นความจำที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ แม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง

หน่วยความจำหลักมีหน้าที่ 3 ประการ คือ

1)  เก็บโปรแกรมระบบปฏิบัติการที่ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์

2) เก็บโปรแกรมหรือบางส่วนของโปรแกรมที่จะใช้ทำงาน

3) เก็บข้อมูลที่โปรแกรมกำลังจะใช้และเก็บผลที่ได้จากการประมวลผล

หน่วยความจำหลักแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1) หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม RAM (Random Access Memory)

2) หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว ROM (Read Only Memory)Cache Memory คือ ส่วนความจำความเร็วสูง ซึ่งอยู่ระหว่างหน่วยความจำหลักและCPU มีหน้าที่เก็บโปรแกรมเฉพาะส่วนคำสั่งที่กำลังจะใช้ต่อไป มีความเร็วสูงกว่าหน่วยความจำหลักแต่ช้ากว่า register คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมี แคชเมโมรีทุกเครื่องแต่ถ้ามีก็จะทำให้ทำงานเร็วขึ้น

5. หน่วยความจำสำรอง (Second Memory) เป็นสื่อหรืออุปกรณ์ที่เก็บโปรแกรม/ข้อมูลไว้ภายนอก CPU เพื่อรอเวลาprocess ต่อไป สามารถเก็บได้แม้ไม่มีกระแสไฟฟ้าเลี้ยง(ปิดเครื่อง) (non-volatile) หน่วยความจำสำรองจะอ่านและบันทึกข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำหลัก แต่มีราคาถูกกว่า

การจัดเก็บและอ่านข้อมูลบนหน่วยความจำสำรองแบ่งได้เป็น 2 ระบบคือ

1) แบบเรียงลำดับ เป็นการเขียนและอ่านข้อมูลเรียงลำดับทีละrecord

2) แบบเข้าถึงโดยตรง เป็นการเก็บข้อมูลทีละrecordแต่เวลาอ่านข้อมูลสามารถตรงเข้าไปอ่านข้อมูลrecordที่ต้องการได้โดยไม่ต้องอ่านเรียงไปตามลำดับ

หน่วยความจำสำรองที่นิยมใช้กันมากจะเป็นจานแม่เหล็ก ซึ่งจะมีทั้งแผ่นบันทึกและฮาร์ดดิสก์
1) แผ่นบันทึก เป็นหน่วยความจำสำรองที่มีความจุสูง มีลักษณะคล้ายแผ่นเสียง เคลือบด้วยสารเหล็กออกไซด์ เพื่อให้สามารถเก็บบันทึกสนามแม่เหล็กบนสารที่เคลือบนั้น การเก็บบันทึกของแผ่นบันทึกข้อมูลจะมีหลักการคล้ายกับจานเสียงที่จะบันทึกเสียงเป็นร่องต่อเนื่องเป็นวงแบบก้นหอยเข้าหาศูนย์กลาง แต่การเก็บบันทึกข้อมูลแผ่นบันทึกจะวนรอบบรรจบกันเป็นวงกลมหลาย ๆ วง โดยมีหัวสำหรับอ่านและเขียนข้อมูล เลื่อนเข้าออกจากศูนย์กลางของแผ่นตามแนวเส้นตรง ในขณะที่แผ่นบันทึกจะหมุนรอบแกนด้วยความเร็วสูง ทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง รวดเร็วกว่าแถบบันทึกที่เป็นการเข้าถึงข้อมูลแบบลำดับ

2) ฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์จะเก็บข้อมูลลงแผ่นโลหะอลูมิเนียมที่เคลือบด้วยวัสดุเหล็กออกไซด์ ข้อมูลที่เก็บลงแผ่นฮาร์ดดิสก์จะอ่านหรือบันทึกด้วยหัวอ่านบันทึก ซึ่งมีวิธีการแทนค่าศูนย์หรือหนึ่งด้วยทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสก์ที่มีความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กก็จะมีความจุสูง นอกจากนี้ขนาดของความจุของฮาร์ดดิสก์ก็ยังขึ้นกับกลไกของหัวอ่านบันทึกของหน่วยขับฮาร์ดดิสก์ และสารแม่เหล็กที่เคลือบบนแผ่นจานแม่เหล็ก

3) จานแสง ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ฮาร์ดดิสก์มีบทบาทและความสำคัญต่อการใช้งานสูงมาก ความจุของฮาร์ดดิสก์ได้เพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่มีความจุเพียง 10 เมกะไบต์ ในปัจจุบันมีความจุหลายร้อยเมกะไบต์ ราคาของฮาร์ดดิสก์ก็ลดลงจนทำให้ขนาดความจุต่อราคาถูกลงมาก และมีผลดีกว่าการใช้แผ่นบันทึกข้อมูล ไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์พื้นฐานประกอบอยู่ด้วยเสมอ ถึงแม้ว่าฮาร์ดดิสก์จะได้รับการพัฒนาไปมากแล้วก็ตาม แต่ความต้องการใช้แหล่งเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและพกพาได้สะดวกก็ยังมีอยู่ แม้แผ่นบันทึกข้อมูล 3.5 นิ้วสะดวกในการพกพา แต่ความยังจุไม่ พอกับความต้องการ เพราะโปรแกรมสมัยใหม่จะเป็นโปรแกรมที่ต้องใช้เนื้อที่มาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาแหล่งเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีจานแสง (optical disk)

จุดเด่นที่สำคัญของจานแสง คือ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลที่ไม่ต้องให้หัวอ่านกดลงหรือสัมผัสกับจาน การอ่านจะใช้ลำแสงส่องและสะท้อนกลับ จานก็มีขนาดเล็กกะทัดรัด ไม่อ่อน ไม่ต้องกลับหัวอ่าน และ คงทนมีอายุการใช้งานได้ยาวนาน

ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับตามขั้นตอนของการทำงานชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมและทำขึ้นก่อนแล้วนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง การสั่งการให้คอมพิวเตอร์กระทำตามขั้นตอนและแผนงานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้ดำเนินการหรือจัดเตรียมไว้แล้ว ซอฟต์แวร์จึงเป็นผลที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามกรอบของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น ซอฟต์แวร์จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการทางด้านอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การดูแล การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึง
หมายเลขบันทึก: 121934เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2007 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ใช้สอนนักศึกษา หรือว่าใช้เรียนเองละครับ เก่งจิง จิง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท