สอนโดยไม่สอน วิธีการแบบเต๋า


...อ่านแล้วชวนให้สะท้อนอะไรๆ หลายๆ อย่างที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยและในชีวิตของเรา...

        ช่วงนี้ผมกำลังแปลหนังสือของ osho เรื่องเต๋า จึงเป็นโอกาสที่ได้นำหนังสือเก่าเกี่ยวกับเต๋าที่เคยอ่านมาหลายสิบปีแล้วกลับมาอ่านใหม่ ที่เป็นหนังสือในดวงใจผมก็ได้แก่ (1) วิถีแห่งเต๋า: คัมภีร์เต๋าเต็กเก็งของปราชญ์เหลาจื๊อ ที่แปลโดยพจนา จันทรสันติ (2) “มนุษย์ที่แท้: มรรควีของจางจื๊อ ที่แปลโดยท่านอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และมีบางเล่มที่ไม่เคยอ่านแต่เพิ่งได้รับหยิบยืมมาจากกัลยาณมิตร อาทิเช่น  (3) “คัมภีร์เต๋าของเลี่ยจื่อ และ (4) “วิถีแห่งเต๋าของจวงจื่อ ซึ่งสองเล่มหลังนี้แปลโดยอาจารย์ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์

          เอกลักษณ์ของการสอนแบบเต๋า ก็คือการ สอนโดยไม่สอน เป็นการใช้เรื่องเล่า หรือนิทานคติแทน เพื่อให้ทุกท่านเห็นภาพ ผมจะขอยกเรื่องเล่าเรื่อง นกประหลาด ให้ฟังดังนี้...

        จวงจื่อไปเที่ยวเล่นในสวนผลไม้ที่เตียวหลิง แลเห็นนกประหลาดตัวหนึ่งบินมาแต่ทางใต้ ปีกของนกตัวนี้กว้างถึง 7 ฟุต และมีดวงตาโตเส้นผ่าศูนย์กลางกว่า 1 นิ้ว นกนี้บินเฉียดหน้าผากของจวงจื่อไป แล้วโผไปเกาะอยู่บนต้นสาลี่ จวงจื่อจึงเปรยว่า

       นี่คือนกประหลาดชนิดใดหนอ จึงมีปีกสยายได้กว้างใหญ่ แต่ไม่สามารถบินไปได้ไกล มีดวงตาอันใหญ่โต แต่มิใช้สายตาระวังภัยให้ถ้วนถี่

       ว่าเช่นนั้นแล้ว ก็รวบชายผ้า สาวเท้าเข้าไปใกล้ แล้วหยิบเอาหน้าไม้ออกมาเล็ง แต่ในฉับพลันนั้น ก็มองเห็นจั๊กจั่นตัวหนึ่งซึ่งเมื่อได้ร่มเงาอันงามจากปีกนก ก็ลืมตัว ปรากฏร่างออกมาให้เป็นที่เด่นชัด ตั๊กแตนตัวหนึ่งซึ่งแฝงเงาอยู่ก็ถลาออกมาจับจั๊กจั่นนั้น อารามดีใจที่ได้เหยื่อจึงลืมตนลืมระวังภัย และในตอนนี้เองที่นกประหลาดตัวนั้นได้จังหวะโฉบเอาตั๊กแตนไปได้ด้วยความสำเริงโดยมิรู้ตัวแม้สักนิดว่า ตนเองก็กำลังอยู่ในห้วงอันตรายจากหน้าไม้ที่เล็งตัวอยู่ จวงจื่อได้เห็นเหตุแจ้งสิ้นดังนี้ ให้รู้สึกสะท้อนใจยิ่งนัก รำพึงขึ้นว่า

       อนิจจา ส่ำสัตว์สังคมกระทำกรรมซึ่งกันและกัน ต่างชนิดต่างก็เป็นเหตุของกันเช่นนี้เองแหละหนา

       คิดแล้วก็โยนหน้าไม้ทิ้ง หันหลังเดินจากมาอย่างรวดเร็ว ในยามนั้นคนเฝ้าสวนผลไม้ก็เหลือบเห็นจวงจื่อเข้า จึงวิ่งไล่ตามร้องกล่าวหาว่ามีผู้คิดขโมยผลไม้ในสวน...

        (จากบท แมกไม้บรรพต คัดมาจากหนังสือ วิถีแห่งเต๋าของจวงจื่อ หน้า 7-8 แปลโดยปกรณ์ ลิมปนุสรณ์)

         ...อ่านแล้วชวนให้สะท้อนอะไรๆ หลายๆ อย่างที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยและในชีวิตของเรา...

หมายเลขบันทึก: 121921เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2007 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะท่าน.. beyondKM

  • ครูอ้อยยินดีมากที่ได้เข้ามาอ่าน  เพราะชอบชื่อเรื่องค่ะ   สอดคล้องกับการสอนของครูอ้อยค่ะ...เรียนปนเล่น..นักเรียนชอบมากๆ
  • แต่พออ่านแล้ว  ก็รู้สึกสะท้อนเรื่องราวในชีวิตได้มากมายนะคะ

ขอบคุณค่ะ  ที่นำเรื่องที่ดีมาให้อ่าน..แปลอีกนะคะ

กราบเรียนท่าน อาจารย์ ดร.ประพนธ์

 สาธุ สาธุ สติ สติ ครับ

สวัสดีค่ะ อ.ประพนธ์ beyondKM

เป็นเรื่องที่สามารถเขียนได้โดยไม่มีวันจบจริงๆ นะคะ ทำให้เห็นห่วงโซ่ของเรื่องต่างๆ ที่ดูไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกัน และเห็นวงจรอะไรบางอย่างอยู่

น่าสนใจมาก หากเราแยกเรื่องทีละเรื่องออกมา หรือมองในมุมของจั๊กจั่น หรือตั๊กแตน จะมองไม่เห็นเหตุและผลของสิ่งที่เกิดขึ้นเลย เหมือนกับฟ้าบันดาลให้เป็นไปยังไงยังงั้น อยู่ๆ ก็โดนโฉบไปกิน......

จากความเห็นส่วนตัว..เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น แม้จะดูไร้เหตุผลปานใด ทุกอย่างมีที่มา มีสาเหตุเสมอ...  ^ ^

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับเรื่องดีๆ น่าสนใจแบบนี้

ชอบค่ะ นิทานนี้เตือนสติได้ดีเรื่องความไม่ประมาทด้วยว่าไหมค่ะ

   ดีกว่าสอนชนิดเทียบกันไม่ได้เลยครับ .. แต่มันต้องอาศัยพลัง ตรึกตามแล้วจะเกิดการเรียนรู้แบบ เนียน แนบแน่นกับจิตใจ ชนิด สอนเท่าไร ก็ไม่มีทางได้ผลเท่าครับ

ได้ข้อคิดค่ะ  บางเรื่องต้องถอยหลังออกมาสักก้าวหนึ่ง  จะเห็นอะไรๆ อีกเยอะ  และต้องทันเวลาหรือเวลาเหมาะสมด้วย  ขอบคุณอาจารย์ค่ะ  จะติดตามตลอดค่ะ

เรื่องเล่าธรรมดาคือปรัชญาของนักปราชญ์ ผู้ฉลาดอ่านฉลาดคิดย่อมมีสิทธิพิชิตปัญหา

มณีรัตน์ ถึงรัตน์

เพิ่งมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียนโรงเรียนสัตยาไส ของท่านอาจารย์ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ที่ จ.ลพบุรี ก็มีวิธีการสอนแบบที่อาจารย์ประพนธ์กำลังพูดถึงอยู่พอดีเลยค่ะ  ดีมากเลย และได้ทดลองเลือกนิทานกลับมาเล่าให้นักเรียน ม.6 ฟัง นักเรียนยิ้มและตั้งใจฟังกันใหญ่เลย และก็ได้ข้อคิดกลับไปก่อนไปทานอาหารกลางวันในวันนั้น

สวัสดีค่ะอาจารย์

เรื่องนี้ สอนโดยไม่ต้องสอนดีจริงๆค่ะ

ชอบมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท