ฝึกฝน..สติ


สติ....

เราคงได้ยินได้ฟัง  ได้อ่านคำๆนี้มาตั้งแต่เด็ก

ก่อนนี้เราก็แค่รู้จักแค่คำ  แต่ไม่ได้รู้ความหมาย ที่ยิ่งใหญ่ลึกล้ำของ สติ

แม้ว่าเราจะโตมา  เราก็ได้ยินได้ฟังจากครูบาอาจารย์  ให้เราสนใจ  ตั้งใจฝึกฝนบ่อยๆ

 

ตอนนี้เริ่มจะเพิ่งเรียนรู้และเข้าใจ  เห็นความสำคัญ  เห็นพลังของสติ

ได้อ่านพบว่า   สติ..ยิ่งมีมากยิ่งดี  ไม่มีโทษ****************

 

    ในชีวิตประจำวันของเรา....  มักจะมีเรื่องราวมากมาย  ที่ทำให้เรา

ขาดสติไปได้   ไม่รู้สึกตัว  จิตล่องลอยไปกับสิ่งที่มากระทบ

   ทำให้สติเราขาดๆ  หายๆ  ไม่ต่อเนื่อง   ขึ้นๆลงไปตามอารมณ์

 

    ฝึกสติ  ก็น่าจะรู้และทความเข้าใจกับความหมาย  ของคำๆนี้ให้ดี

   และจากนั้นก็นำมาคิด  ไตร่ตริง  นำมาฝึกและดูที่ใจของเราว่า

   อืม..อันนี้หรือเปล่านะที่เขาเรียกว่าสติ....

   ความรู้สึกตัว........

   เราต้องพยามรู้สึกตัว  รู้ตัว  ตื่นอยู่เสมอ

  

  ประสบการณ์การฝึกสติ...  รู้กาย..การกระทำ    รู้ความคิด   รู้ความรู้สึกขณะนั้นๆ  พยามที่จะรู้    แต่บางครั้งก็เผลอ  หลุดไปในความคิดความรู้สึกนั้นๆเลย

    แม้ตอนที่นั่งสมาธิ.....เราจะเห็นความมีสติหรือขาดสติของเรา

   จิตของเราก็จะวิ่งๆๆๆ  ไปๆๆๆ  ทุกๆเรื่อง  

    แม้กาย  วาจาเราจะสงบ....  แต่ใจของเรากลับวิ่งๆๆ  ไปๆๆมาๆๆ

    ภายใน...จิตของเรา  เราพยามจะดึงมันกลับ

       พยามดึงมันให้อยู่กับคำบริกรรม  กับตัวเลข  กับลมหายใจ

     แต่จิตของเราก็แว็ปๆๆ    บางครั้งออกไปเที่ยวนานจนเราก็ไม่รู้สึกตัว

   

    ก็ได้แต่คาดหวังว่า    การฝึก  ความพยามที่จะฝึกและปฏิบัติ จะนำ

   ผลที่ดีๆขึ้นมาสู่ตัวเรา.....

   หากการเรียนรู้การฝึกสติ    เหมือนการสะสมแต้ม  ถ้าเราสะสมไปเรื่อยๆ  วันหน้าสติของเราก็น่าจะมากขึ้น  

   สติ...ที่ยิ่งมีมากยิ่งดี...ดั่งเช่นที่อาจารย์ว่าไว้.....

คำสำคัญ (Tags): #สติ
หมายเลขบันทึก: 121890เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2007 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

จริงๆครับ

สติ ยิ่งมีมากยิ่งดี

แต่สติเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตเป็นบางขณะ

จึงต้องฝึกให้เกิดขึ้นอยู่เนืองๆ และให้ต่อเนื่องยาวนานที่สุด

เรียกว่ากำลังของสติ ครับ

สติ แปลว่าระลึกรู้

รู้อะไร รู้อารมณ์

ที่เข้ามากระทบเราในแต่ละขณะๆ

ดังนั้น เราจึงต้องเจริญสติอยู่เสมอ เพราะหากขาดตัวระลึกรู้แล้ว จิตของเราจะตามอารมณ์ไป

เกิด รัก ชอบชัง หรือ โลภ โกรธ หลง ได้ง่ายดาย

การเจริญสติ คือการระลึกรู้ว่า ขณะนี้ เรากำลังทำอะไรอยู่

ยืน เดิน นั่ง นอน เกา คู้ เหยียด ทางกาย หรือเสวยเวทนารัก ชอบ ชัง เฉย โกรธ หงุดหงิด ทางใจ

เป็นการเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นทางกายและใจ

อย่างผู้ดู มิใช่ ผู้ทำ

หากดูบ่อยๆ จะเห็นกระบวนการของจิตและอารมณ์

จะเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น

จนรู้เท่าทันในอารมณ์และจิต

สติ จึงเป็นที่ปรารถนาในที่ทุกสถานและในกาลทุกเมื่อ ครับ

ดังนั้น การเจริญสติ จึงเป็นต้นกุศล ที่จะก่อให้เกิดกุศลอีกหลากชนิดตามติดมา

ขออนุญาต แลกเปลี่ยนเท่านี้ก่อนครับ

สวัสดีครับอาจารย์

    ขอบพระคุณครับ  

  ได้เรียนรูความหมายที่ถูกต้องและลึกซึ้ง +ตัวอย่าง

   จะนำมาปฏบัติต่อไปครับ

   รู้ตัวว่ากำลังดีใจมากครับที่ได้อ่านความเห็นของอาจารย์ครับ

  ตอนนี้มาดูคนไข้ถูกฟันหลายที่ครับ 

  คืนนี้ไม่ค่อได้หลับเลยครับ

  มีตามทุก 30 นาที     กำลังดูเวทนาทางกายครับ

 

สวัสดีค่ะน้องหมอP kmsabai

ตอนที่พี่นั่งสมาธิ ก็จะมีประสบการณ์คล้ายๆ กันค่ะ คือไม่นิ่ง ตอนหลังอ.ศิริศักดิ์ก็เลยสอนว่าให้นั่งดูจิตที่วิ่งไปวิ่งมานั่นแหละ

ตอนหลังพี่ก็เลยใช้วิธีดูอย่างที่ว่าจริงๆ เหมือนดูหนังวีดีโอน่ะ ตามดูไปเรื่อยๆ ก็ได้ความนิ่งเหมือนกัน แล้วก็ได้คิดวิเคราะห์ตามเรื่องที่เห็นด้วย

นั่งไปนั่งมาพอถึงจุดหนึ่งความรู้สึกก็จะเริ่มเปลี่ยน อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน มันสงบดี แต่ก็ยังรู้ตัวอยู่นะ แต่บางทีก็มีดิ่งๆ หรือรู้สึกกายหายไปบ้างก็มี..  ก็ดูตามอย่างเดียวน่ะ

เรื่องฝึกสตินี้ พี่ขอสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง พี่ก็ยังฝึกสติอยู่ทุกวัน ส่วนนั่งสมาธินั้นไม่ค่อยได้ทำเท่าไหร่ ^ ^

ขอบคุณที่เขียนบันทึกดีๆ มาให้แลกเปลี่ยนกันค่ะ ^ ^ 

สวัสดีอีกครั้งครับ คุณหมอและหนูตุ๋ย

อาศัยที่ ณ ตรงนี้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันครับ :)

เรื่องของสติ เป็นสภาพกุศลแรกที่ผู้ฝึกการเจริญสติในการเดินทางสู่มรรคผล ต้องเรียนรู้

ดังคาถาที่พุทธองค์ทรงตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า...เอกายะโน ภิกขะเว มัคโค..

ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย ทางสายนี้(การเจริญสติปัฏฐาน) คือทางสายเอก...แล้วตรัสอานิสงส์ว่าเจริญสติได้อะไร เช่น

ได้ความบริสุทธิหมดจดของกายและจิต ...

ได้ระงับความเศร้าโศกพิไรรำพัน ...

ได้ระงับทุกข์ทางกายและทางใจที่จะเกิดขึ้นภายหน้า 

ได้บรรลุอริยมรรค

ได้พระนิพพาน จบสิ้นทุกข์

แล้วทรงตรัสรับรองว่า นี่คือ การเจริญสติปัฏฐานสี่

ทางสายเดียวที่นำไปสู่นิพพาน

(เอาเท่าที่จำได้นะครับ โดยไม่ต้องอ้างอิงที่มา )

ในเนื้อหา ก็คือทรงเกริ่นถึงอานิสงส์และที่มาของการเจริญสติปัฏฐานสี่ และทรงอธิบายต่อไปในรายละเอียดถึงหลักการเจริญสติในแต่ละฐาน

ซึ่งต้องเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติครับ จึงเข้าใจ :)

ดังนั้น หลักการคือการเจริญสติให้ต่อเนื่อง เฝ้าดูพฤติกรรมทางกายและใจอยู่ตลอดเวลา เท่าที่ทำได้หรือเท่าที่ระลึกรู้ได้

เพราะคนเรามักเผลอสติและหลงลืมอยู่เสมอๆ

เมื่อเจริญสติไปได้ระยะหนึ่ง จะเกิดความเข้าใจในกระบวนการของการทำงานที่สัมพันธ์กันทั้งกายและใจ(รู้ขันธ์ห้า) สามารถแยกออกได้ว่า อะไรเกิดขึ้นทางทวารใด

และมีอาการอย่างไร มีผล มีทุกข์โทษอย่างไร

สติจึงเกิดการพัฒนา สำรวม สังวร ระวังขึ้น เพราะประจักษ์ในเหตุ(แห่งทุกข์) แล้วว่าหาก ขาดการเจริญสตินั้น กิเลสสามารถเกิดขึ้นในจิตได้ง่ายเมื่อกระทบกับอารมณ์

ดังนั้น ผู้ที่เจริญสติ จึงรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่าง

จิต อารมณ์ ทวาร

เป็นตัวตั้งในการเจริญสติระยะต่อมา

คือการเฝ้าติดตามดูและติดตามรู้ อยู่เนืองๆ (อนุปัสสนา)

เมื่อสติเกิดขึ้นบ่อยๆและมีความต่อเนื่อง

การกำหนดรู้ในอารมณ์หนึ่งๆ ก็ชัดขึ้นมาก เรียกว่ารู้ชัด (สัมปชัญญะ) จึงเกิดขึ้น

ขณะนั้น เรียกว่าเกิด สมาธิ ด้วย

เพราะเป็นสภาพจิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ในแต่ละขณะ แต่ละขณะ ในปัจจุบันขณะของการรับอารมณ์

สติ ที่ต่อเนื่อง จึงก่อให้เกิด สมาธิ

ดังนั้น ที่หนูตุ๋ย บอกว่า เมื่อกำหนดสติเฝ้าดูจิต กับธัมมารมณ์(ความคิด) ไประยะหนึ่ง จะเกิดอาการดิ่งๆ นิ่งๆ สงบขึ้นมา...คืออาการของสมาธิที่เกิดขึ้นครับ

(ขออนุญาต เอาเท่านี้ก่อนครับ วันหลังจะว่าเรื่องสมาธิต่อ)

 

 

 

สวัสดีครับอาจารย์ทั้งสองท่าน

  ได้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้นมากๆครับ

   แต่ก่อนไม่รู้จักสติที่แท้จริงนัก

    รู้แต่คำและนิยาม  และก็รู้ผิวเผินครับ

  แต่ตอนนี้คิดว่ากำลังเริ่มต้น  เดินบนถนนสู่การมีสติที่ถูกต้องและมากขึ้นเรื่อยๆ

  ด้วยการฝึกฝน  เรียนรู้ครับ

 

  เช่น  คืนวานนี้

    ปกติเวลาผมอยู่เวรก็จะกังวล  นอนไม่หลับครับ

      และก็รู้สึกตัวเองเสมอว่า  เวลาที่ยุ่งๆ  เหนื่อยๆ 

      จิตใจของเรามักปรุงแต่งต่างๆนา  ไปในทางที่ชี้บ่น  ท้อแท้  เหนื่อย  ไม่อยากทำ  อารมณ์ไม่ดี  หรือก็อาจจะหลุดกับคนรอบข้าง

      การอยู่เวรเมื่อคืน   เป็นการเรียนรู้ที่จะฝึกสติ

   ดูความรู้สึก  ดูความคิดต่างๆของเรา  พร้อมกับใช้ธรรมอื่นๆร่วมด้วยครับ  คืออิทธิบาท 4  กุศล 3

    เมื่อเกิดความคิดเช่นว่า...เอ..ทำไมวันที่เราอยู่เวร  รู้สึกว่าจะยุ่ง  จะเหนื่อย  มีคนไข้ทั้งคืน  ไม่เหมือนพี่ๆเขานะ    หรือเหนื่อยจังนะ  หรืออืมถ้าสบายแล้วก็คงจะลาออกไปอยู่เอกชน  หรือคลินิกอย่างเดียว

     มันคิดไปในทางที่จะหลีกหนีจากปัจจุบันไปอนาคต

     แต่ผมก็พิจารณาความคิดเหล่านนี้ว่า  ล้วนเป็นการปรุงแต่งที่จะนำเราไปสู่อีกปัญหาหนึ่ง

     ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่จิตของเรา  เราต้องเรียนรู้

     การอยู่ในจุดนี้เป็นจุดที่เราจะได้ฝึกฝนธรรม

    เป็นธรรมข้อหนึ่งที่เราได้อยู่ในสิ่งแวดล้อม  หรือสถานที่ๆดีๆ    มีโอกาสได้เรียนรู้  ได้ฝึก  มีอารมณ์

  ที่มากระทบ  เป็นสิ่งที่มาบอกให้เห็นความจริงของชีวิต  ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเห็นหรือไม่เท่านั้นเอง

  เพราะชีวิตทุกวัน 

    เราอยู่กับความเกิด    แก่  เจ็บ  ตาย

   ถ้าไม่ได้ใช้ประโยชน์จากตรงนี้ก็น่าเสียดายครับ

 

    คิดว่าการทำงานในรพรัฐ  เช่นนี้  คนเกือบครึ่งก็คิดเหมือนเราข้างต้นครับ  คืออยากจะหลึกให้พ้นจากสภาวะปัจจุบัน   เพราะมันเป็นงานที่ครอบจักรวาล  ในเรื่องความเจ็บป่วยครับ

  เพราะ GP  ต้องรู้ให้มากๆทุกอย่างทุกๆเรื่อง   แต่ก็อาจจะไม่เก่งแบบหมอเฉพาะทางครับ

  

    เป็นโอกาส  และโชคดีของผมมากครับ  ได้รู้จักและเข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนา   และได้มีครูบาอาจารย์  กัลยาณมิตร  และญาติธรรมมากมาย

    และตอนนี้ได้อาจารย์ทั้งสองท่าครับ

    ผมคิดว่าคนน้อยมากที่ได้แลกเปลี่ยน  ได้เรียนรู้และมีโอกาสของชีวิตที่ดีๆแบบนี้ครับ

   แม้ว่ตอนนี้ผมกำลังเริ่มต้น  แต่ก็เห็นเรือลำใหญ่ ที่จะเป็นที่พึ่งพิงและฝึกฝน เรียนรู้   ก็คงจะขอเกาะหรือขอคำแนะนำ  เพื่อข้ามไปยังอีกฝั่งครับ.....

 

  ขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองท่านอย่างยิ่งครับ

สวัสดีค่ะคุณหมอ...kmsabai

  • ครูอ้อยอ่านบันทึกของคุณหมอแล้ว  รู้สึกว่า  ตัวครูอ้อยก็มักจะไม่ค่อยมีสติ..อิอิ..หมายถึง  ครูอ้อยทำงานหลายๆอย่าง   แต่ละอย่างต้องใช้ความคิด  วิจารณญาณ  บางครั้ง..เวลามาบีบรัดทำให้ครูอ้อยต้องตัดสินใจทำอะไรไปโดย..ไม่มีสติ
  • การทำงานมากๆ  และเวลาอันจำกัด  ทำให้ครูอ้อย..ขาดสติไปด้วยค่ะ
  • ครูอ้อยมักจะหาเวลา...พักจิต...คนอื่นเขาเรียก  ...ดูจิต  ใช่ไหมคะ  พักบ่อยมากเลยค่ะ  ระยะนี้

ขอ..ครูอ้อยสนทนา และหาที่พึ่งด้วยคนหนึ่งนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณครู

  ดีใจครับที่คุณครูเข้ามา ลปรรครับ

  ผมได้เห็นตัวจริงของคุณครูแล้วนะครับ  น่าจะจริงอย่างที่คุณครูว่านะครับ

  แต่ถ้าหากว่าเรากำลังเดินไปบนถนนสายเดียวกัน

  ผมก็เพิ่งจะเริ่มต้นครับ

  ตอนนี้มีครูที่สุดยอดสองท่านกำลังเนนำไป  และคอยชี้ทางเราอยู่ครับ

  โอกาสครั้งนี้ผมคงไม่ให้พลาดไปได้ครับคุณครู

  ขอบพระคุณมากๆครับ

 

   ขอแซวว่าผมเห็นบันทึกคุณครูบ่อยที่สุดเลยครับ  ในแต่ละวัน....อิอิอิ  ^_^  ^_^

หวัดดีค่ะ คุณหมอสุพัฒน์

        ดีใจจัง ได้มาอ่านเจออาจารย์คุยกันเรื่องปฏิบัติธรรม

        นึกถึงตอนอยู่เวรฉุกเฉิน พี่ก็ดวงจับกังเหมือนน้องเลย เพราะพยาบาลหรือผู้ร่วมเวรต่างพากันขยาดเพราะโอกาสนอนแทบจะเป็นศูนย์ บางทีรับโทรศัพท์โดนตามแล้วหลับต่อเฉยเลยเพราะน๊อค 555 แต่นี่อาจจะเป็นโอกาสให้เราได้ทำบุญเยอะๆก็ได้นะคะ

         ยินดีต้อนรับเข้าสู่ทางสายเอก พี่ก็เรียนทางนี้ไปเรื่อยๆเหมือนกันค่ะ นี่ยังอยู่อนุบาลอยู่เลย แต่ก็พยายามฝึกสติไปเรื่อยๆจ้า นี่เดือนนี้รุ่นพี่หมอmed กะรุ่นน้องหมอศัลย์ก็เพิ่งไปเข้าฝึกที่วัดห้วยส้มกับอาจารย์พิชัยและอาจารย์ศิริพร  ไว้น้องหาโอกาสว่างๆไปเข้าคอร์ส 7 วันดูค่ะ 

         สมัครทางเนตก็ได้ค่ะ ที่นี่www.vipassanacm.com 

เข้ามาทักทายค่ะ   กำลังฝึกสติโดยการดูจิตบ่อยๆค่ะ  

ในการยิงเป้าบิน

  • แว็บแรกที่เห็นเป้าบินถูกปล่อยออกมา นั่นคือสติ
  • ปลายกระบอกปืนที่จับจ้องไปตามการเคลื่อนไหวของเป้าบิน นั่นคือ สัมปชัญญะ
  • การเหนี่ยวไกแล้วยิงถูกเป้าบินอย่างแม่นยำ นั่นคือ สติปัญญา

ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก เช่นเดียวกับกิเลส หากเราสังเกตุคำว่า"สติปัญญา" เราจะเห็นว่า สติอยู่หน้าปัญญา

สวัสดีครับพี่
P
    ดีใจครับที่มีเพื่อร่วมทางเดินมากเช่นนี้
   เรื่องการฝึกที่ศูนย์วิปัสสนา  ผมเคยเข้าไปอ่านเหมือนกัน  ขอบคุณพี่มากนะครับ
   ผมตั้งใจเช่นกันครับว่าต้องไปฝึกให้ได้เมื่อเวลาอำนวยครับ
   ตอนนี้จะพยามทำให้มากเท่าที่จะทำได้ครับ

สวัสดีครับคุณ

P
  ดีใจนะครับที่เข้ามาร่วมลปรร  และให้ความรู้  ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
   ขอบคุณมากๆครับ

สวัสดีครับคุณหมอ

  • ขออนุญาตแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติเล็กน้อยนะครับ
  • ผมก็แว๊ปเช่นกันครับ แล้วก็ดึงกลับมา แต่ไม่ให้ความสำคัญที่จะทำให้เลิกแว๊ป...เหมือนเรากำลังกวาดบ้านอยู่ แล้วเปิดทีวีทิ้งไว้ ก็มักจะมีช็อตเด็ดๆมาดึงความสนใจของเราไปจากการกวาดบ้าน เราก็แค่รู้ แล้วกวาดต่อไปครับ...จิตก็จะสงบ
  • บางครั้งออกไปเที่ยวนานจนเราก็ไม่รู้สึกตัว...สงสัยจะชอบอารมณ์นั้น ก็เลยอิน ซึ่งแต่ละคนก็ชอบไม่เหมือนกัน

 

 

สวัสดีค่ะ ตามมาสมัครเป็นผู้ร่วมเดินทางสายเดียวกันค่ะ เลยได้อ่านอะไรดีๆจากท่านอาจารย์พิชัยด้วย ดีจังเลยค่ะ

 สิ่งที่มากระทบในชีวิตประจำวัน ก็เหมือนบททดสอบนะคะ ว่าที่เรากำลังฝึกฝนการเจริญสติอยู่นั้น เรากำลังอยู่ในขั้นไหน ใช้การได้หรือยัง ตัวเองสอบไม่ผ่านบ่อยๆค่ะ เมื่อรู้สึกว่าชักจะไม่ผ่านถี่ไปหน่อย ก็เข้าไปฝึกวิทยายุทธกับครูบาอาจารย์ให้อินทรีย์แก่กล้าขึ้น

(อินทรีย์คือ การกระทำของผู้ที่เป็นใหญ่แก่จิตของตน)

พระคันธสาราภิวงศ์ได้เขียนไว้ในหนังสือโพธิปักขิยธรรม หัวข้ออินทรีย์ ๕ ท่านก็บอกว่าสติไม่มีความเกินพอดี เพราะที่จริงนักปฏิบัติต้องเจริญสติตั้งแต่ตื่นนอน จนกระทั่งหลับสนิท

ขอคัดข้อเขียนของท่านตอนหนึ่งที่น่าสนใจ หรืออาจเป็นแง่คิดแก่ผู้สนใจการเจริญสติค่ะ

"...ปัจจุบันบางท่านกล่าวว่า การเดินจงกรม การนั่งกรรมฐาน และการปฏิบัติธรรมในสำนักกรรมฐาน ไม่จำเป็น ให้มีสติตามรู้ในสิ่งที่กำลังทำ หรือกำลังคิดอยู่ก็เพียงพอแล้ว และปฏิบัติได้ทุกแห่งแม้ในที่ไม่สงัด อันที่จริง สติทีมีกำลังน้อยไม่ต่อเนื่องเพราะขาดความเพียร ไม่จัดเป็นอินทรีย์และพละในโพธิปักขิยธรรม (ได้พยายามหาคำแปล ประมาณว่าหมายถึง ธรรมอันนำไปสู่หนทางตรัสรู้ค่ะ) จึงไม่เป็นองค์แห่งการรู้แจ้ง การมีสติอย่างเดียวโดยไม่มีความเพียร เหมือนการรับประทานแต่เกลือโดยไม่มีอาหารอื่น เพราะสติเหมือนกับเกลือที่ปรุงรส ความเพียรและสมาธิเหมือนอาหาร  ฉะนั้นผู้เจริญสติอย่างเดียวโดยปราศจากความเพียร ในการเดินจงกรม นั่งกรรมฐาน และทำอิริยาบถย่อย จะไม่อาจประสบความก้าวหน้าในการปฏิบัติได้"

ที่วัดท่ามะโอ ลำปางที่ตัวเองไปปฏิบัติมา เป็นโรงเรียนสอนพระด้วยค่ะ เท่าที่ทราบมา เป็นที่ผลิตพระที่ไปเป็นอาจารย์สอนตามโรงเรียนปริยัติธรรมทั่วประเทศ พระคันธสาราภิวงศ์นั้นศึกษาและบวชเรียนมาตั้งแต่อายุน้อยๆ ที่ประเทศพม่า (ปัจจุบันอีกไม่กี่พรรษาก็จะ ๕๐ แล้ว) ท่านจึงมีความรู้ที่แตกฉานมาก และเป็นวิปัสสนาจารย์ที่เยี่ยมยอด อยากแนะนำให้ผู้สนใจทางนี้ได้อ่านหนังสือของท่านหรือได้มีโอกาสเรียนรู้จากท่านค่ะ

 

 

สวัสดีครับอาจารย์
P
      **  ดีใจครับที่อาจารย์เข้ามาเยี่ยมและให้ข้อคิดเห็นที่มีค่าต่อผู้ปฏิบัติ  คิดว่าไม่เฉพาะผมคนเดียวครับ
      ** ผมมีความรู้สึกว่า  ยิ่งมีความเห็นมาก  ยิ่งรู้  ยิ่งเข้าใจ  ยิ่งเชื่อมโยงมากขึ้นครับ  เหมือนต่อจิ๊กซอ
      ** และความเห็น  ทำให้เกิดกำลังใจ  ในการปฏิบัติมากขึ้นครับ  มันเกิดขึ้นจริงๆครับอาจารย์(ไม่แน่ใจว่าเป็นอินทรีย์อย่างหนึ่งหรือเปล่านะครับ)
     ** สติ   สมาธิ  อิทธิบาท 4 สัมมาทิฐิ ....  ผม  แบบว่าค่อยๆเรียนรู้ครับ   ดูๆแล้วทุกอย่างเหมือนเชื่อมโยงครับ   ปรัยัติต่างๆเหล่านี้เหมือนอาวุธ  เหมือนกระบวนท่าครับ  ยิ่งจำได้มาก  เข้าใจมาก  แล้วนำมาปฏิบัติใช้ฝึกกับจิต  ของเราในสภาวะต่างๆ  จนชำนาญ  เกิดผล
      **ผมคิดเอาเองว่าน่าจะเหมือนการหยิบอาวุธต่างๆมาใช้  ในสถาณการณ์ต่างๆหรือเปล่านะครับอาจารย์
    ขอบพระคุณอาจารย์  ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท