อบต.ชวนชาวบ้านเลิกเหล้า


การส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง และ การพัฒนาศักยภาพของ อบต.มีความสำคัญ ต่อการพัฒนาการเมืองและการกระจายอำนาจของไทย ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงร่างรัฐธรรมนูญใหม่
โครงการ  อบต.ชวนชาวบ้านเลิกเหล้า

 1. องค์กรที่เสนอโครงการ สมาคม อบต.แห่งประเทศไทย   

2. ผู้รับผิดชอบ     นาย ธีรศักดิ์ พานิชวิทย์                                 เลขาธิการสมาคม อบต. แห่งประเทศไทย / นายก อบต. บ้านหม้อที่อยู่ 66 หมู่6 ตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000  โทร 089-779-2642

3. องค์กรร่วมดำเนินการ 1. สถาบันการพัฒนาพื้นฐาน  โดย นายสมพงษ์  พัดปุย                            100/22  ซ.ดำรงลัทธพิพัฒน์  ถนนอาจณรงค์ เขตคลองเต กทม.10110  โทร 0-2671-6911  โทรสาร 0-2671-69102. จดหมายข่าว อบต.  โดย  นายชัยภัทร หมั่นกิจ                         ที่อยู่ 5/12 หมู่บ้านเพชรอินทรา ซอยรามอินทรา 99 แยก2 แขวงคันนายาว เขตบึงกุ่ม 10230                                โทร 081-988-4422

 4. ระยะเวลาโครงการ  -  เวลา 1 ปี ( มิถุนายน 2550 พฤษภาคม 2551)

 5. ความเป็นมา        ในช่วงเข้าพรรษา ถึง เดือนธันวาคม ปี 2549   สมาคม อบต.แห่งประเทศไทย ได้ร่วมทำกิจกรรมโครงการงดเหล้าเข้าพรรษา ซึ่งเป็นโครงการที่ สสส.ได้ให้การสนับสนุนผ่านสถาบันการพัฒนาพื้นฐาน  จากโครงการดังกล่าวทำให้ 10 พื้นที่ดำเนินการได้ริเริ่มและมีประสบการณ์กิจกรรมงดเหล้า  เห็นคุณค่าและต้องการที่จะขยายผลต่อไป                สมาคม อบต.แห่งประเทศไทย ได้รับเป็นนโยบายของสมาคมฯ  เห็นควรให้มีโครงการขยายผลให้กว้างขวางโดยผ่านเครือข่ายของสมาคม อบต.  ประสบการณ์ที่ได้รับในปีก่อน จะได้รับการขยายผล                การส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง และ การพัฒนาศักยภาพของ  อบต.มีความสำคัญ ต่อการพัฒนาการเมืองและการกระจายอำนาจของไทย ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงร่างรัฐธรรมนูญใหม่ 

6. วัตถุประสงค์ก. วัตถุประสงค์หลัก1.       เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แกนนำภาคประชาชนให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในด้านสุขภาพ               โดย ลด ละ พฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ2.       ให้พื้นที่เป้าหมาย ริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น  การลด ละ สารเสพติดและสารมึนเมา  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  จัดระบบค่าใช้จ่ายในการบริโภคของครอบครัว3.       ยกระดับการพัฒนาผู้นำชุมชนและแกนนำองค์กรปกครองท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ และการบริหารจัดการกิจกรรม4.       สนับสนุนให้สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นองค์กรในการขับเคลื่อนแนวทางพัฒนาระบบสุขภาพในระดับครัวเรือนข.วัตถุประสงค์รอง1.       ลดอัตราเสี่ยงต่อโรค2.       เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวเมื่อมีกิจกรรมร่วมกัน3.       ปลูกฝังพฤติกรรมให้บุคลากรและครอบครัวเป็นนักจดบันทึกข้อมูล4.       เพื่อให้เกิดการกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงด้านสุขภาพ 

7. กลุ่มเป้าหมาย ก. กลุ่มเป้าหมายนำร่อง  คัดเลือก อบต.ที่มีศักยภาพในการเป็นตัวอย่างต้นแบบ และกระจายตัวในแต่ละภาค เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้และการขยายผล  โครงการระยะที่หนึ่ง กำหนด  อบต.นำร่อง 20 จังหวัด  หมายเหตุ  เป็นพื้นที่ที่คัดสรรในเบื้องต้น ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยอาศัยคณะกรรมการโครงการ                ให้ดูสภาพตามความเป็นจริงอาจไม่ครบ 200 อบต.ก็ได้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:1) จังหวัดขอนแก่น(อบต.น้ำพอง)  2)จังหวัดศรีษะเกษ(อบต.หนองไฮ)  3)จังหวัดสุรินทร์(อบต.กันตรวจระมวล)  4)จังหวัดชัยภูมิ(อบต.โพนทอง)  5)จังหวัดเลย(อบต.ท่าช้างคล้อง)  6)จังหวัดนครพนม(อบต.พนอม)ภาคใต้1) จังหวัดนครศรีธรรมราช(อบต.ปากพูน)    2)จังหวัดสงขลา(อบต.ท่าข้าม)   3)จังหวัดสตูล(อบต.ฉลุง)   4)จังหวัดพัทลุง(อบต.ป่าพยอม)ภาคกลาง1)จังหวัดเพชรบุรี(อบต.บ้านหม้อ)    2)จังหวัดลพบุรี(อบต.ลำนารายณ์)    3)จังหวัดอยุธยา(อบต.ตลิ่งชัน)     4)จังหวัดปทุมธานี(อบต.ลำลูกกา)ภาคตะวันออก1)จังหวัดสมุทรปราการ(อบต.บางน้ำผึ้ง)    2)จังหวัดจันทบุรี(อบต.วังใหม่)ภาคเหนือ1)จังหวัดอุทัยธานี(อบต.บ้านไร่) 2)จังหวัดพิจิต(อบต.หัวดง)   3)จังหวัดลำปาง(อบต.บ้านแล) 4)จังหวัดน่าน(อบต.ผาสิงห์/อบต.ริม) ข. กลุ่มเป้าหมายเตรียมขยายผล -  ได้แก่พื้นที่มีความสนใจ เตรียมการเพื่อการขยายผล  ประมาณ  20  อบต.

8. แนวทางการพัฒนาต้นแบบ อบต. เชิญชาวบ้านเลิกเหล้า ( 20  จังหวัด  จังหวัด ละ 10 ตำบล)1.  สร้างกระบวนการสร้างแรงจูงใจลงพื้นที่ อบต. ต้นแบบ    แกนนำ ให้ นายก อบต. เป็นกลุ่มแกนนำ  มีวิสัยทัศน์  มีความเข้าใจ  เพื่อริเริ่มงานและตั้งงบประมาณจาก อบต.ของตนเองเพื่อต่อยอดโครงการริเริ่ม ในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองได้ เพื่อขยายผลโครงการนำไปสู้ชุมชนที่เข้มแข็ง 2. อบต. ควรจัดทำระบบข้อมูลและพัฒนาระบบข้อมูลต่อเนื่อง              2.1  ข้อมูลศักยภาพและพัฒนาการของตำบลนำร่อง  เช่น  สภาพปัญหา  ผู้นำ  องค์กรชุมชน                       กิจกรรมพัฒนา2.2  ข้อมูลด้านสุขภาพ  เช่น   พฤติกรรมการบริโภค   พฤติกรรมการออกกำลังกาย     พฤติกรรมการใช้        จ่ายในการบริโภค 3. อบต. ควรจัดตั้ง ศูนย์เรียนรู้เรื่องชุมชนและการพัฒนาสุขภาพ  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และ การดูงานของผู้มาเยี่ยมเยือน3.1 สรุปสังเคราะห์ประสบการณ์ทำกิจกรรรม ยกระดับเป็น องค์ความรู้ชุมชน                 3.2 จัดทำเอกสารและสื่อข้อมูลและวิชาการ  เช่น สมุดบันทึกการบริโภคประจำวัน  สมุดบันทึกการออกกำลังกาย   คู่มือ ลด ละ เริ่ม (ที่บ้าน)  สื่อสิ่งพิมพ์ (ง่าย,สั้น) สำหรับเด็กเพื่อให้ลูกเป็นตัวควบคุมพฤติกรรม พ่อ-แม่3.3  พัฒนา วิทยากรชุมชน เป็นบุคคลากร พัฒนองค์ความรู้  บรรยายและเผยแพร่ 4.   อบต. ควรเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อต่าง ภายในชุมชน  และในจังหวัดกลุ่มเป้าหมาย   เนื้อหาได้แก่  ความคืบหน้าโครงการ   เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ การลดพฤติกรรม เสี่ยงต่อสุขภาพ   สร้างความรัก สามัคคีในชุมชน 5. อบต. ควรจัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในจังหวัดกลุ่มเป้าหมาย  เนื้อหาคือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์  เชื่อมความสัมพันธ์สร้างเครือข่าย  การเสริมสร้างกำลังใจและพัฒนาผู้นำ 

9. รายละเอียดกิจกรรมในโครงการกิจกรรมที่ 1   การคัดเลือกพื้นที่นำร่องและจัดประชุมชี้แจงแนะนำโครงการ           

1.1)  คณะกรรมการโครงการ จัดการประชุมเพื่อคัดเลือกพื้นที่นำร่อง                1.2)  สมาคม อบต.  สสส. และ องค์กรภาคี ร่วมจัดประชุมแนะนำโครการ  ทำความเข้าใจ และ จูงใจ อบต.นำร่อง ร่วมโครงการ  โดยเป็นการประชุมระดับประเทศ  และการประชุมในพื้นที่นำร่องแบบจับเขาคุยกัน                1.3) หลังการจัดประชุม  อบต.รับโครงการไปดำเนินการในท้องถิ่นกิจกรรมที่2  : อบต. นำร่องดำเนินการสร้างบุคลากรและเครือข่าย เพื่อเป็นอาสาสมัคร2.1 การได้มาของอาสาสมัคร                เนื่องจากการทำงานเป็นผู้แทนนี้  มีความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติงานต่อเนื่องครบระยะเวลา   ของการทำโครงการ  จึงจำเป็นต้องมีการคัดเลือกตัวแทนอาสาสมัครจากคนในพื้นที่  ที่มีศักยภาพ  เช่น  อสม.  ผู้นำชุมชน  หรือแกนนำกลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นผู้ให้ความร่วมมือกับชุมชน  2.2 บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัคร ได้มาแล้วจะช่วยตามแผนอย่างไร                เมื่อคัดเลือกตัวแทนตามเป้าหมายได้แล้ว  จะต้องให้ความรู้และปรับทัศนคติ รวมทั้งปรับพฤติกรรม  ของกลุ่มเป้าหมาย  ให้มีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตัวได้ในทิศทางเดียวกัน  โดยการจัดสัมมนาปฏิบัติการ  อย่างมีส่วนร่วม   กำหนดบทบาทหน้าที่  ดังนี้·       ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน·       เป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องต่าง ๆ  ให้กับชาวบ้านในพื้นที่·       เป็นผู้นำการรณรงค์โครงการต่าง ๆ  เช่น  การทำบัญชีครอบครัว  การดำรงตนในแนวเศรษฐกิจพอเพียง  การปฏิบัติตัวตามแนวการพัฒนาสุขภาพตนเองและครอบครัว กิจกรรมที่ 3: การพัฒนาประสบการณ์                การทำโครงการครั้งนี้  มี  อบต.  มีวัตถุประสงค์  ในการขับเคลื่อนแนวทางพัฒนาระบบสุขภาพในระดับครัวเรือน  ดังนั้น  ก่อนที่จะพัฒนาชุมชนได้  ผู้นำและคนในองค์กร  จะต้องเป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง  เพื่อเป็นตัวอย่างและแนวทางปฏิบัติให้กับชุมชน                เมื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระดับชุมชนได้แล้ว  บุคลากรทั้งหมด  จะสามารถเป็นวิทยากร  หรือเป็นพี่เลี้ยงให้กับเวทีชุมชนทุกระดับได้รูปแบบ คือ การจัดเวทีเพื่อถอดบทเรียน  ในกิจกรรมที่ทำผ่านมา  ในเวทีต่าง ๆ  เพื่อเป็นการทบทวน  และหาบทเรียนร่วม  ·       จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามชุมชน  เพื่อให้เห็นประเด็นปัญหาและข้อค้นพบที่แตกต่าง  เป็นการเรียนรู้ข้าม  วัฒนธรรม  ข้ามบริบท  แต่ละชุมชนจะมีโอกาสเรียนรู้  โดยใช้ประสบการณ์  การแลหเปลี่ยน  เป็นแนวทาง  ในการพัฒนากลุ่มตนเองให้ดียิ่งขึ้น·       เปิดเวทีสาธารณะ  ระดับชาติ  เพื่อนำเสนอข้อค้นพบ  ภาพรวมของโครงการ  เพื่อสรุปและประเมินโครงการ  ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้ตลอดโครงการให้  สาธารณ้ะมีส่วนรับรู้  และเป็นต้นแบบของการพัฒนาโครงการอื่น  ต่อไป   กิจกรรมที่ 4 : ยกย่องมอบรางวัล   ให้กับ อบต.นำร่องที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการเมื่อสิ้นสุดโครงการโดยกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนจากการ ลด ละ เลิก ตั้งแต่เข้าร่วมโครงการ รางวัลให้คณะกรรมการพิจารณาตามความเหมาะสมเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูและให้กำลังใจ อบต.ที่เข้าร่วมโครงการกิจกรรมที่ 5 : การเผยแพร่สื่อเพื่อการรณรงค์และประชาสัมพันธ์                จากการสำรวจเบื้องต้น  พบว่า  สื่อที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงชุมชนมากที่สุด   คือสื่อประเภทเสียง  และสื่อสิ่งพิมพ์  ดังนั้น  การพัฒนาสื่อดังกล่าว  ควรต้องมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบโดยการผลิตสื่อต้นแบบ  และทดลองกับกลุ่มตัวอย่างจริง  เมื่อได้สื่อที่มีประสิทธิภาพตามต้องการแล้ว  จึงผลิตเพื่อใช้ในกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป5.1 ประเภทของสื่อ·       CD  เพื่อการประชาสัมพันธ์·       CD  เพื่อการรณรงค์  ให้ความรู้  ลักษณะถ่ายทอดผ่านเสียงตามสายในชุมชน  หรือผ่านวิทยุชุมชน  ·       สิ่งพิมพ์ที่เข้าถึงชุมชน  เช่นโปสเตอร์  หนังสือการ์ตูน  เป็นต้น5.2 ลักษณะสื่อที่ผลิตo      ต้องไม่เป็นทางการ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย  ไม่สลับซับซ้อนo      ใช้ตัวอักษรไม่มาก  ในกรณีผลิตสื่อสิ่งพิมพ์o      ชอบดูรูป  ที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง  ชุมชน  และภาพที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงจำนวนที่ผลิต               5.3 ให้ อบต.นำร่องสามารถผลิตสื่อเองเพื่อความเหมาะสมและตรงตามความต้องการของชุมชนนั้นๆ·       เนื่องจากเป็นสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์  และเป็นสื่อเพื่อการรณรงค์  และผ่านการ                ทดสอบประสิทธิภาพ  ตามหลักการและทฤษฎีทางเทคโนโลยีการศึกษา  สื่          สามารถผลิตในคราวเดียวกัน  เพื่อการลดต้นทุนการผลิต  ดังนั้น  จำนวนของสื่อที่  ผลิต  ต้องสอดคล้องกับ  กิจกรรมที่จะดำเนินการผ่านโครงการต่าง ๆ  ประมาณ                   ประเภทละ  1500  ชุด  ประกอบด้วยสื่ออย่างน้อย  2  ประเภท  คือ  สื่อสิ่งพิมพ์    และสื่อเสียง กิจกรรมที่ 6: การพัฒนาผู้นำเป็นการจัดอบรมพัฒนาผู้นำ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน   สมาคม อบต.เห็นชอบหลักสูตร   ชมรม อบต.จังหวัดประสานงาน   วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเป็นแบบอย่างการดำเนินโครงการในระยะต่อไป  ให้กับกลุ่มตนเองและกลุ่มเพื่อน  โดยเฉพาะ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล ที่เจ้าของโครงการ  กิจกรรมที่ 7 : ติดตามและ ประเมินผลภายใน                เพื่อสร้างแนวทางให้สอดคล้องกับเป้าหมายโครงการ จึงต้องมีการติดตามและประเมินผลว่าโครงการไปถึงไหนอยู่ในแนวทางหรือกรอบที่วางไว้หรือไม่ และเป็นการสังเคราะห์ ถอดบทเรียนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน เสริมข้อมูลให้กับคณะกรรมการบริหารทราบและแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่บกพร่องให้สำเร็จตามวัตถุประสง หมายเหตุ  การติดตามผลภายใน   ดำเนินการโดยสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา เสนออีก 1 โครงการวัตถุประสงค์ เพื่อให้คำปรึกษาแก่พื้นที่นำร่อง  และให้คำเสนอแนะต่อคณะกรรมการโครงการ  กิจกรรม   1)   การทำความเข้าใจและการบันทึกข้อมูลก่อนเริ่มโครงการ                2) การประเมินผลระหว่างปฎิบัติงาน                3) การประชุมสรุปผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ  เพื่อการจัดทำโครงการขยายผลรูปแบบการประเมินผล -  การจัดทำระบบข้อมูล และ รูปแบบการประเมินผล  จะมีมาตรฐานเดียวกัน                 โดยปรับปรุงเนื่อหาให้สอดคล้องกับพัฒนาการของแต่ละพื้นที่ผู้ประเมินผล เป็นคณะบุคคล หรือ สถาบันที่ คณะกรรมการโครการมอบหมาย10. เงื่อนไขอุปสรรค                10.1 การเปลี่ยนแปลงผู้นำ อบต. ในการเลือกตั้งใหม่  แก้ไขโดย สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนตามโครงการที่เสนอ                10.2 การเมืองเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  แก้ไขโดย สร้างแนวทางการเมืองใหม่ตามโครงการนี้ 11. งบประมาณองค์กรภาคี  -  สป.สช.(กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล)   โครงการท้องถิ่นร่วมร่างรัฐธรรมนูญ (สำนักนายกรัฐมนตรี)   สำนักงาน ป.ป.ส.   กระทรวงพัฒนาสังคมฯ     สถาบันการพัฒนาพื้นฐาน

คำสำคัญ (Tags): #เลิเหล้า
หมายเลขบันทึก: 121864เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2007 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท