ทางแก้ในการพัฒนาคนรุ่นใหม่


          

           สังคมไทยเป็นสังคม Conservative+ Global คือไม่ค่อยจะคิดเองแต่ชอบที่จะตามคนอื่นอย่างชัดเจน  แล้วคิดว่าน่าจะใช่ของเรา   มีทฤษฏีฝรั่งใหม่ ๆ มาจะภาคภูมิใจมาก  เชื่อผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญและอยากทำให้ ประเทศทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยลืมดูว่าเหมาะกับเราหรือไม่  ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของเรา  เราควรเปลี่ยนวัฒนธรรมตรงนี้  โดยเฉพาะวัฒนธรรมการศึกษาในปัจจุบันต้องเปลี่ยนใหม่ ในฐานะ HRD เราต้องหาแนวทางให้ได้ว่าจะจัดการอย่างไร  จึงดึงเอาความรู้ของเด็กออกมาและสร้างศักยภาพของเด็กได้อย่างไร  สิ่งที่ต้องนำมาวิเคราะห์ก่อนจัดการความรู้ในสังคมไทยคือ

     ·       สังคมไทยไม่ชอบ extreme สุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง ชอบสายกลาง 

     ·       ไม่ชอบความรุนแรง  ไม่ชอบการเผชิญหน้า

     ·       ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด  เปลี่ยนเร็วมักไม่ประสบความสำเร็จเช่นสมัย ร 5   ที่เห็นชัด

     ·       คนไทยเชื่อในระบบอาวุโส  ระบบครอบครัว อย่าดูถูกผู้อาวุโส   

     ·       Idealisms ในตัว

     ·       ยึดถือตัวบุคคล

     ·       อำนาจยังมีความสำคัญอยู่   แต่ถ้าใช้อำนาจแบบสุดโต่งจะมีการต่อต้าน

     ·       ปัจจุบันเราจะพบภาพสังคม 2 ตัวใหญ่ คือ

                1.   ระบบบริโภคนิยม Consumer   บริโภคของคนอื่นจนปัจจุบันเต็มรูปสุดโต่งเพื่อให้เงินหมุน   กินซื้อใช้ของ ตปท.  ยอมเสียเพื่อให้ได้ของนั้นมา (Follower)  เกิดเป็นหนี้สิน  เงินทองออกนอก ปท.

               2.      ในขณะที่เราไม่ได้เป็นผู้ผลิต (Producer ) ไม่มี Creator  เพราะระบบการศึกษาไม่เอื้อ 

ทางแก้ในการพัฒนาคนรุ่นใหม่

      ·    สร้างคนให้มี Critical mind วิเคราะห์วิจารณ์  เพื่อคิดก่อนบริโภค  ไม่ตามอย่างคนอื่นโดยไม่คิดก่อน และต้องมี

      ·       Creative mind คิดสร้างสรรค์ใหม่จากเดิม  เป็นคิดแล้วต้องทำให้มี ทำให้เกิด 

      ·       Productive ใหม่ ให้มีผลงานออกมา  และผลงานจะได้สานต่อ  แต่ในสังคมไทยแค่นี้ไม่พอต้องมี

      ·       Responsibility  mind  สังคมเรียกร้องพฤติกรรมผู้นำสูง    มีความรู้ความสามารถมากกว่าคนอื่น

          เราต้องเปลี่ยนจากวัฒนธรรมการรับอย่างเดียว Receiving Culture  เป็นวัฒนธรรมของProducing Culture มากขึ้น  องค์กรเป็นองค์กรอัจฉริยะมากขึ้นคุณค่าการศึกษาอยู่ที่ว่า   เมื่อเผาหนังสืออะไรที่เหลืออยู่ในสมองเรา  นั่นคือคุณค่าของการศึกษาที่แท้จริง  

........................

            การพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจและสังคมจะไม่บรรลุผลสำเร็จด้วยดี ถ้าหากประชากรของชาติขาดการศึกษาหรือมีการศึกษาในระดับต่ำ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการสร้างกำลังบุคลากรของประเทศให้เป็นคนที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ถ้าบุคลากรในประเทศดี การพัฒนาทุกอย่างจะง่ายและรวดเร็ว  ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง จึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน   ในฐานะ HRD  การวางแผนพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาเศรษฐกิจจึงจำเป็นต้องมองให้ประสานกันและมีส่วนสนับสนุนซึ่งกันและกัน กล่าวโดยทั่วๆ ไป การให้การศึกษาเบื้องต้นแก่ประชาชนนับว่าเป็นความจำเป็นอันดับแรกในการพัฒนาการศึกษา และในขณะเดียวกัน การจัดแนวการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศในด้านกำลังคนก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน ในระยะของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจจึงควรมีการกำหนดว่าควรผลิตกำลังคนในระดับต่างๆ ที่จะใช้ในแผนงานพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแต่ละแขนงอย่างเพียงพอควบคู่ไปด้วย

           การวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ  ถ้าจะพัฒนาต้องเริ่มต้นที่ตัวคนก่อนเป็นอันดับแรก  หลังจากนั้นก็ศึกษาระบบ และบริบท สภาพปัญหาที่แท้จริง  นโยบาย  ภาคีเครือข่ายเอาด้วยหรือไม่  ความศรัทธาของระบบการศึกษา  ช่องทางการพัฒนาน่าจะเกิดผลมากน้อยแค่ไหน  อะไรคือตัวชี้วัดที่สำคัญ  ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร  จริงใจที่จะแก้ไขปัญหามากน้อยเพียงใด ฯลฯ  ซึ่งตัวแปรเหล่านี้จำเป็นต้องมาวิเคราะห์ก่อนวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

............
คนึงนิจ อนุโรจน์

หมายเลขบันทึก: 121836เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2007 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท