Helper/Parent Education Course


ฝึกผู้ดูแลผู้ป่วยให้รู้จักวิเคราะห์และปฏิบัติโปรแกรมที่บ้าน โดยมีนักกิจกรรมช่วยจัดการเรียนรู้ เริ่มขึ้นแล้วครับที่มหิดล
การเรียนรู้ระหว่างผู้ดูแลหรือผู้ปกครองผู้ที่กำลังรับบริการทางกิจกรรมบำบัด เป็นเรื่องสำคัญมากพอๆกับการให้กิจกรรมการรักษาที่คลินิก เพราะผู้บำบัดไม่ได้ฝึกผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา และไม่ได้เรียนรู้ทักษะของผู้รับบริการในทุกๆกิจกรรมการดำเนินชีวิตสื่อการรักษาหนึ่งทางกิจกรรมที่ควรจะมีในนักกิจกรรมบำบัดทุกท่าน คือ Teaching and Learning Process แต่ต้องเพิ่มหลักการของ Psychosocial Education ได้แก่ การศึกษาทักษะทางจิตสังคม (ทัศนคติ ความสนใจ นิสัย คุณค่า และการกระทำที่มีเป้าหมายต่อกิจกรรมที่มีความหมายของชีวิตใดๆ) ของผู้รับบริการ ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีลำดับขั้นและมีเหตุผลระหว่างผู้บำบัดและผู้ดูแลผู้รับบริการในวันนี้ เป็นครั้งแรกที่ผมลองให้น้องนักกิจกรรมบำบัดท่านหนึ่ง เริ่มการให้ความรู้ในเชิงปฏิบัติ จากปัญหาของผู้ป่วยอัมพาตที่ชอบกิจกรรมจำพวกเคลื่อนไหวน้อยๆ และไม่มีความหมายต่อการเพิ่มทักษะการใช้แขนและมือในชีวิตประจำวันมากนัก มีการสอบถามและบันทึกกิจกรรมตลอดวัน และปรับเปลี่ยนให้มีกิจกรรมที่เน้นการเคลื่อนไหวอย่างมีคุณค่าสลับกับช่วงพักผ่อนที่มีมากจนเกินไป จากนั้นลองให้ผู้ดูแลสร้างสถานการณ์จำลองบ้านของผู้ป่วยว่าน่าจะเสริมหรือปรับกิจกรรมที่เคยทำอยู่แล้วให้มาบำบัดการใช้แขนข้างที่อ่อนแรงมากขึ้นกิจกรรมที่คิดได้ คือ การหยิบของในทิศทางที่แน่นอนและเน้นการใช้แขนและมือข้างอ่อนแรงสลับกับทั้งสองข้าง เพื่อให้ระบบประสาทเรียนรู้การเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและมีเป้าหมาย ที่สำคัญเป็นการปรับจากกิจกรรมที่มีอยู่แล้วและเน้นคุณภาพของการทำกิจกรรมมากกว่าปริมาณของการทำกิจกรรมจากนั้นก็ให้ลองวิเคราะห์ว่า กิจกรรมดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาอะไรหรือไม่ เพราะผู้ป่วยชอบใช้แรงที่ตึงตัวมากจนเกิดท่าทางที่ผิดปกติ เช่น เอียงตัวไปข้างอ่อนแรงและงอศอกเมื่อหยิบสิ่งของด้วยมือข้างที่อ่อนแรง ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดต้องสอนวิธีการจับจุดข้อต่อที่สามารถควบคุมแรงที่มากผิดปกติและรู้จักผ่อนแรงไม่ให้ควบคุมจนถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์จนดูเหมือนการเคลื่อนไหวแบบหุ่นยนต์ ที่สำคัญต้องไม่ลืมอธิบายให้ผู้ป่วยเห็นภาพว่า การลดหย่อนแรงควบคุมจากผู้บำบัดและส่งเสริมให้มีการควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมจากแรงของผู้ป่วยเอง ควรใช้การสื่อสารให้เห็นภาพขณะสอนผู้ดูแลหรือบอกผู้ป่วย และลองให้ผู้ดูแลทำให้ดูจนแน่ใจว่าเค้าสามารถนำไปฝึกผู้ป่วยต่อเองที่บ้าน และนำปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อฝึกจริงมาทบทวนและวางแผนช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไปในครั้งหน้า การจัดบทเรียนแบบนี้ ควรทำควบคู่ไปกับโปรแกรมฝึกตัวต่อตัวกับผู้ป่วยด้วย น่าจะเห็นประสิทธิผลของการรักษาทางกิจกรรมบำบัดเป็นลำดับ

คำสำคัญ (Tags): #psychosocial education#occupational therapy
หมายเลขบันทึก: 121824เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2007 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท