วิทยาลัยชุมชน(1)


Community College ปัจจุบันวิทยาลัยชุมชนตั้งขึ้นในประเทศไทย 12 แห่ง หากเป็นการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น คงหลีกไม่พ้นการจัดการความรู้หรือKM

          ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นกรรมการสภาวิชาการของวิทยาลัยชุมชนตามเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผมได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของวิทยาลัยชุมชน และเมื่อมีการเลือกรองประธานสภาวิชาการ ผมก็ได้รับการคัดเลือกเป็นรองฯ ส่วนปรธะนเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยฯโดยตำแหน่ง

          เมื่อหลายเดือนก่อน ผมได้เสนอท่านผู้อำนวยการวิทยาลัยฯคนเก่า(เพิ่งเปลี่ยนใหม่ได้ 2 เดือน) ในเรื่องบทบาทภารกิจที่ควรจะเป็นของวิทยาลัยชุมชนและเสนอให้วิทยาลัยนำแนวคิดของKMมาใช้ เป็นแนวทางการเรียนการสอนของวิทยาลัย แต่ยังไม่ได้ทำอะไรก็เปลี่ยนตัวผู้บริหาร

           สำหรับผู้บริหารคนใหม่ ก็เพิ่งประชุมร่วมกันครั้งเดียว ผมก็เลยยังรอดูท่าทีไปก่อน แต่สิ่งที่กรรมการสภาวิชาการพยายามจะทำก็คือคุณภาพของการเรียนการสอน ที่จะพยายามทำให้คนภายนอกมองภาพลักษณ์ของวิทยาลัยชุมชนอย่างมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ซึ่งก็ได้มีแนการและแนวทางกันไว้แล้ว

            หลักสูตรของวิทยาลัยชุมชน จะอนุมัติโดยกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหลักสูตรอนุปริญญาบัตรและหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตอนุปริญญาจะต้องมีอย่างน้อย 30 คน ส่วนระยะสั้นจะต้องมี 20 คนจึงจะจัดได้ หลักสูตรที่มีตอนนี้ก็เป็นการปกครองท้องถิ่น คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ช่างต่างๆ ซึ่งผมและเพื่อนอีกคน(เป็นกรรมการสภาวิชาการด้วยกัน) มองว่าเป็นการเรียนการสอนเหมือนกับวิทยาลัยสารพัดช่างหรืออาชีวศึกษา ไม่ค่อยเหมือนการเป็นวิทยาลัยชุมชนเท่าไหร่ เหมือนเป็นการจัดการศึกษาที่ซ้ำซ้อนและแย่งผู้เรียนกัน

             ในความคิดผม วิทยาลัยชุมชนน่าจะเป็นการเรียนการสอนที่นำเอาความโดดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ออกมาพัมนาให้ดียิ่งขึ้นเพื่อสร้างความเป็นท้องถิ่นให้โดดเด่นระดับชาติหรือระดับโลก เพื่อเป็นแหล่งสรางอาชีพ สร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่นไม่ต้องไปขวนขวายเรียนที่อื่นเพื่อไปเป็นลูกน้องเขา อยู่บ้าน ทำงานที่บ้าน เรียนที่ใกล้บ้านและสร้างความโดดเด่นแก่ท้องถิ่น

              เราน่าจะมีหลักสูตรที่เป้นการส่งเสริมอาชีพท้องถิ่น เช่นเห็ดโคน อัญมณี ทอผ้า จักสาน ผลิตภัณฑ์แกรนิตหรืออื่นๆที่มีในท้องถิ่น เมื่อเราช่วยพัฒนา วันหนึ่งข้างหน้าเราอาจมีตราสินค้าของท้องถิ่นที่เชิดหน้าชูตาในตลาดดลก อย่างเรื่องน้ำหอมหรือไวน์ของฝรั่งเศส

              แต่ก็มีข้อจำกัดในหลายเรื่องทั้งความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการจบง่าย จ่ายตังค์น้อย เรียนไม่หนักแล้วได้ใบประกาศ หากไปทำหลักสูตรที่ไปเรียนต่อยอดปริญญาตรีก็ไม่มีใครสนใจเรียนอีก หรือทำหลักสูตรท้องถิ่น เวลาเทียบโอนไปเรียนในมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้รับการยอมรับหรือเทียบโอนได้น้อย หรือถ้าเปิดแล้วคนเรียนไม่ถึง 30 คน ก็ไม่สามารถเปิดสอนได้ เป็นต้น

               การเปิดหลักสูตรต้องมีอาจารย์ผู้สอนที่ก็มักจะมองว่าจบตรี จบโทหรือไม่ แต่ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจไม่จบป. 4-6 ก็ได้ ทำให้เวลาแต่งตั้งอาจารย์จะยุ่งยาก ถ้าหากแก้หลักเกณฑ์เหล่านี้ให้ยืดหยุ่น การเป็นวิทยาลัยของชุมชนจะง่ายขึ้น

                หากเป็นการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งที่ต้องนำมาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล คงหลีกไม่พ้นการจัดการความรู้หรือKM อย่างที่ทีมงาน สคส.ของอาจารย์วิจารณ์ได้กระตุ้นส่งเสริมให้เกิดขึ้นในชุมชนหลายๆแห่ง

                 วันเสาร์ที่ 14 มกราคม นี้จะเป็นการมอบอนุปริญญาบัตรแก่ผู้จบการศึกษาจากวิทยาลัยชุมชนตาก เป็นรุ่นแรก โดยท่านองคมนตรี ศาสตราจารย?นายแพทย์เกษม  วัฒนชัย ขอแสดงความยินดีกับผู้จบการศึกษามา ณ ที่นี้ และเป็นการมอบอาคารหอประชุมตันติสุนทร ที่ได้จากการบริจาคของคุณอุดร ตันติสุนทร สว.ตากและอดีต สส.ตากหลายสมัย

คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 12178เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2006 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอบพระคุณ  คุณหมอพิเชษฐมากนะคะ  เพราะมีความสนใจในเรื่อง "วิทยาลัยชุมชน" มาก   แต่ยังไม่ค่อยมีแหล่งความรู้ให้ศึกษามากนัก  แต่พอได้อ่าน blog ของคุณหมอก็ได้มีความรู้ในเรื่องนี้มากขึ้น  อยากรบกวนถามเพิ่มเติมว่าวิทยาลัยชุมชน  12  แห่ง  ตั้งอยู่ที่ไหนบ้างคะ  และยังมองไม่ค่อยออกว่าวิทยาลัยชุมชนต่างจากวิทยาลัยสารพัดช่างอย่างไรบ้างคะ  เช่น  ระยะเวลาการเรียน  หลักสูตร กลุ่มผู้เรียน  ฯลฯ

วันนี้ไปร่วมเป็นเกียรติกับนักศึกษาในพิธีประสาทอนุปริญญาบัตร เป็นรุ่นที่ 2 ไม่ใช่รุ่นแรก(ผมเข้าใจผิดเอง) โดย ท่านองคมนตรี นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ส่วนรายละเอียดอื่นๆ จะเล่าต่อๆไปนะครับ

รายละเอียดของวิทยาลัยชุมชน อาจขอได้ที่วิทยาลัยชุมชนแต่ละแห่งครับ ตอนนี้ล่าสุดทราบว่ามี 17 แห่งแล้ว

วิทยาลัยชุมชน เป็นสถาบันที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของคนในชุมชน การเรียนการสอนมุ่งเข้าสู่การเข้าใจ ในวิถีแห่งภูมิปัญญาไทย และถูมิปัญญาถิ่น หลักทฤษฏีในการสอนสามารถนำมาปรับเข้าใช้กับประสบการณ์ของนักศึกษาแต่ละท่าน ความหลากหลายใน สาขาวิชาชีพ อายุผู้เข้ารับการศึกษา ก่อให้เกิดการเชื่อมแนวความคิดระหว่าง ผู้เยาว์ และ ผู้ใหญ่ในสถานศึกษาที่เรียน เป็นความเข้าใจกันระหว่างวัย ซึ่งมีวิทยาลัยชุมชนเป็นสื่อ 

วิทยาลัยชุมชนสามารถ ตอบสนองต่อความต้องการสำหรับผู้ไม่มีทุนในการศึกษา หรือผู้ที่ขาดโอกาศในการเรียนภาคปกติ

             ขอบคุณคุณสาโรจน์ บัวศรีมากครับ มีอะไรดีๆที่จะช่วยกันเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวิทยาลัยชุมชนก็เชิญเขียนลงมาได้เลยครับ เพราะอ่านแล้วคุณสาโรจน์น่าจะอยู่ในแวดวงของวิทยาลัยชุมชนเพราะเข้าใจปรัชญาของวิทยาลัยชุมชนอย่างแท้จริง

              การดำเนินงานของวิทยาลัยชุมชนอาจจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แต่หากแต่ละวิทยาลัยชุมชนได้พยายามเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาต่างๆให้กับชุมชนโดยการสรางผู้มีความรู้ในท้องถิ่นให้มากขึ้นหรือทดแทนส่วนขาดได้ ตอนนั้นก็จะเห็นคุณค่าของวิทยาลัยชุมชนได้ชัดเจนขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท