สอนนิสิตแพทย์ปี 4


นิสิตแพทย์ปี 4 ของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เรียนระดับชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

          ช่วงวันที่ 26 ธันวาคม 2548-3 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นช่วงที่ผมได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้รับผิดชอบการสอนวิชาเวชศาสตร์ชุมชน 4 ที่ประกอบด้วยเวชศาสตร์ชุมชน เวชศาสตร์ครอบครัวและวิจัยชุมชน เป็นเวลา 6 สัปดาห์

          ก่อนที่จะมีการเรียนการสอนได้มีการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกันในศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาคลินิกของโรงพยาบาลสามแห่งคือแพร่ ตาก พิจิตร ร่วมกับภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน เวชศาสตร์ครอบครัวและอาชีวเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มน.เรียกวิชานี้สั้นๆว่า CFOM4 โดยปี 4 นี้จะเน้นเวชศาสตร์ครอบครัวหรือFamily Medicineเป็นหลัก

           ใน Course Sylibus ได้กำหนดให้มี Core Lecture ร่วมกันโดยอาจารย์จากทั้งสามศูนย์และอาจารย์พิเศษโดยสอนผ่านทางTelemedicine ซึ่งเป็นเทคโนยีที่ทันสมัย ที่ลดการเดินทางของผู้สอนและผู้เรียนได้ดีมาก สามารถซักถามพูดคุยกันได้ เวลาในการสื่อสารเกือบจะเป็น Real Time ในส่วนที่เป็นการปฏิบัติก็จะมีเนื้อหาหลักสูตรที่เหมือนกันแต่ปรับตามพื้นที่แต่ละแห่ง กว่าจะทำ Course Sylibus ก็เหนื่อยและยุ่งมาก แต่ละแห่งจะมีนิสิต 8-10 คน ที่ตากมี 8 คน

            นิสิตทั้งหมดเป็นการเรียนแพทย์แนวใหม่ โดยเป็นผู้ที่จบปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพแล้วและเป็นข้าราชการของกระทรวงสาธารณสุขตามโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแพทย์ในชนบท ทำให้นิสิตกลุ่มนี้มีความรับผิดชอบ มีความรู้พื้นฐานที่ดี หลายคนจบปริญญาโททางด้านสาธารณสุขศาสตร์มาแล้วด้วย

              การเรียนเลคเชอร์จะเรียนที่ศูนย์แพทย์ที่ตาก ส่วนภาคปฏิบัติเรียนที่โรงพยาบาลบ้านตาก โดยมีอาจารย์แพทย์รับผิดชอบ 3 คน(ที่ตาก 1 คนคือนายแพทย์สมศักดิ์ ผู้อำนวยการ รพ.) โดยสองคนคือผมกับน้องแพทย์ที่บ้านตากอีก 1 คน พร้อมทั้งทีมอาจารย์พี่เลี้ยงที่ผมตั้งขึ้นอีก 8 คน เพื่อมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงในการเรียนภาคปฏิบัติ โดยทุกคนที่เป็นพี่เลี้ยงจะจบปริญญาโททั้งหมด เนื่องจากต้องช่วยเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงในการทำวิจัยชุมชนด้วย ในส่วนเนื้อหาของเวชศาสตร์ครอบครัว ผมจะเป็นตัวหลักในการรับผิดชอบ

               ในการเรียน ผมได้ใช้หลักของAdult Learning มาใช้ร่วมกับ Problem-based Learning กับการได้ฝึกปฏิบัติจริง แล้วมาร่วมกันอภิปรายกลุ่มเล็ก เพื่อให้มีการเรียนรุ้ร่วมกันทั้งสองทางและสองด้านทั้งอาจารย์และนิสิต โดยตกลงเป็นเบื้องต้นว่า เราจะช่วยกันทำให้การเรียนการสอนเป็นเรื่องสนุก ไม่เครียด ไม่กดดัน ไม่ดุด่า ไม่ทำให้นิสิตขาดความั่นใจหรือเสียหน้าทำให้นิสิตอยากเรียนรู้ ไม่บังคับ ก็ใช้กฎหลักของ KM ของ Snowden มาใช้ด้วย

คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 12170เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2006 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 08:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท