จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

รังสรรค์ km ที่คณะ (km=HQ cycle)


ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา งานหนึ่งของผมที่ค่อนข้างได้เห็นการก้าวเดินที่ชัดเจนขึ้น คือการออกระบบระบบการจัดการความรู้ของคณะ

ผมเริ่มสานต่องานจากการประชุมคณาจารย์ของคณะ เมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อรับทราบ personal vision ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการ share vision และทำให้เกิดที่เรียกว่า core vision ดังนั้นในสัปดาห์นี้ ทีมบริหารคณะในระดับรองและผู้ช่วยคณบดี ก็ได้มานั่งคุยกัน โดยนำผลจากการพูดคุยกันหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา มาวิเคราะห์สังเคราะห์ เพื่อให้การทำไปใช้ได้ผลเชิงปฏิบัติอย่างแท้จริง

จากนั้นผมก็ได้นำแนวคิดของผู้บริหารไปนั่งคุยต่อกับทีมคณะกรรมการวิชาการของคณะ เพื่อร่วมการวิเคราะห์สังเคราะห์ให้ได้ผลอย่างแท้จริง การคุยกันในทีมวิชาการเป็นบรรยากาศที่ดีมากครับ และทำให้ผมได้ข้อคิดดีๆ และความรู้เยอะมาก

 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ km ผมเสนอในที่ประชุมว่า ในเบื้องต้นทางผู้บริหารกำหนดสูตรการดำิเนินการไว้ว่า km=HQ หลายท่านอาจยังไม่รู้จัก HQ เพราะอันนี้เป็นคำย่อที่เราร่วมกันบัญญัติขึ้นมา โดยเป็นคำย่อมาจาก Halaqah (ฮาลาเกาะฮ์) ผมขออนุญาตนำเสนอ ดังนี้ครับ

ฮาลาเกาะฮ์คืออะไร? ฮาลาเกาะฮ์เป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตน โดยกระบวนการกลุ่ม เป็นกลไกในการกระตุ้นให้บุคคลได้มีการศึกษาค้นคว้า แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันเพื่อตรวจสอบความรู้ดังกล่าว และกระตุ้นให้นำความรู้ดังกล่าวไปปฏิบัติหรือปรับปรุงตนเอง  โดยหลักการสำคัญของกลุ่มคือ สมาชิกในกลุ่มจะต้องมีความเชื่อมั่นและผูกพันกัน รักกัน ปราถนาดีต่อการ พร้อมที่จะตักเตือนและรับฟังการตักเตือนระหว่างกัน ในขณะเดียวกันทุกคนในกลุ่มจะต้องมีความรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ มานำเสนอในกลุ่ม เพื่อการเรียนรู้

 ทำการฮาลาเกาะฮ์ เริ่มตั้งแต่การเริ่มเผยแพร่ศาสนาของท่านศาสนฑูต และบรรดานักวิชาการและนักกิจกรรมมุสลิมทุกคนในยุคหลังจากท่านก็นำแนวคิดนี้มาใช้ในการจัดตั้งกลุ่ม องค์กรต่างๆ ซึ่งจะพบว่า กลุ่มองค์กรที่ก่อตั้งด้วยกระบวนการดังกล่าวจะมีความเข้มแข้งมาก

ผมเคยยกตัวอย่างให้หลายนักวิชาการหลายท่านได้ฟังว่า ถ้านักวิชาการทั่วไปมั่นใจว่า km ทำให้เกิดการขับเคลื่อนองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฮาลาเกาะฮ์ก็ทำได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกล่าวกัน และในอดีตด้วยกระบวนการฮาลาเกาะฮ์ ก็สามารถนำให้อิสลามมีผู้นับถือ 2 ใน 3 ของโลก

 ผมนำเสนอให้ที่ประชุม และนำเสนอประเด็นปัญหาด้วยว่า ปัจจุบันฮาลาเกาะฮ์ของเรายังไม่สามารถสร้างร่องรอยได้ และยังไม่สามารถนำองค์ความรู้มาสู่การพัฒนาองค์การได้

ปรากฏที่ประชุมวิเคราะห์ว่า เนื่องจากฮาลาเกาะฮ์ของเรายังไม่ครบวงจร และสูตรที่ผมนำเสนอก็น่าจะไม่ใช่สามารถบรรลุผลของฮาลาเกาะฮ์ที่แท้จริงได้ ดังนั้นในที่ประชุม จึงกำหนดสูตรใหม่เป็น

km=hq cycle

คือ ทำให้ฮาลาเกาะฮ์มีมิติและมีพลวัตรที่ชัดเจนขึ้น ไม่ใช่คำตัวฮาลาเกาะฮ์มาเป็นการจัดการความรู้ เพราะคำตอบของการจัดการความรู้คือ เพื่อสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้

มีข้อเสนอแนะหนึ่งในที่ประชุมที่ทำให้ภาพของฮาลาเกาะฮ์ชัดขึ้น คือ มีกรรมการท่านหนึ่งเสนอว่า ให้ใช้กระบวนการฮาลาเกาะฮ์ในการประชุมสาขาวิชา เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้ว ปรากฏว่ากรรมการอีกท่านหนึ่งให้ความเห็นว่า ไม่น่าจะทำร่วมกัน เนื่องจากธรรมชาิติของฮาลาเกาะฮ์ไม่ใช่การประชุม แต่ฮาลาเกาะฮ์เป็นอีกธรรมชาติหนึ่ง คือ การที่สมาชิกพร้อมที่จะได้รับฟังการตักเตือน (ไม่ใช่การประชุมที่มักจะเป็นการคัดคานกันมากกว่า) และตักเตือนเพื่อนด้วยความดี สมาชิกทุกคนมีความรับผิดชอบในการนำเสนอความรู้ใหม่ๆ ข้อคิดเห็นใหม่ๆ และเรียนรู้ร่วมกัน ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง สมาชิกทุกคนจะต้องมีสัญญาใจในการนำองค์ความรู้นั้นไปปฏิบัติใช้

 

คำสำคัญ (Tags): #ฮาลาเกาะห์
หมายเลขบันทึก: 121678เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2007 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาเยี่ยม  คุณจารุวัจน์

เป็นมุมคิดที่ดีนะครับ...ตักเตือนเพื่อนด้วยความดี สมาชิกทุกคนมีความรับผิดชอบในการนำเสนอความรู้ใหม่ๆ ข้อคิดเห็นใหม่ๆ

ขอบคุณครับท่านอาจารย์
P

umi

ผมว่า มันเป็นหลักสำคัญเพื่อการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ของคนในองค์การ อย่างต่อเนื่อง และเกิดกลไกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท