ดงหลวง 160 UKM 11 กับ ฮีต-คอง อีสาน


เราเข้าถึงชุมชนด้วยกายภาพด้วยอำนาจการวิเคราะห์ทางเทคโนโลยี่สมัยใหม่ที่แหลมคม แต่เรามืดบอด เข้าไม่ถึงชุมชนทางจิตวิญญาณ ความเชื่อ ความศรัทธา

ท้องถิ่นภาคกลาง: เมื่อเด็กๆตามพ่อแม่ไปทำบุญที่วัดในวันพระ โดยเฉพาะบุญใหญ่ตอนเข้าพรรษา และออกพรรษา มีเพื่อนบ้านไปกันมากมาย เสียงเจี้ยวจ้าวของเด็กๆ แต่ละคนแต่งตัวกันสวยงาม อาจเรียกว่าเอาชุดแต่งตัวที่ดีที่สุดและสุภาพมาใส่ไปทำบุญ 

จำนวนพระสมัยนั้น แต่ละวัดมีนับสิบรูป นั่งสวดกันเต็มศาลาวัดเลย เด็กที่ตามพ่อแม่มาก็ลงไปวิ่งเล่นที่ลานวัด ผู้ใหญ่ก็คอยตะโกนเตือนจะไปชนโน่นชนนี่  เมื่อพระท่านสวดเสร็จฉันท์ภัตตาหาร เพื่อนบ้านก็จะเอาอาหารบ้าง ขนมบ้างมาแลกกัน

ตั้งแต่ต้นจนจบงานบุญที่วัดนั้น เป็นการรวมศรัทธามากที่สุด มีญาติพี่น้อง ลุง ป้า น้าอา ปู่ ย่า มาร่วมงาน ผู้ใหญ่ก็มักจะเรียกเด็กๆไปรู้จัก กราบไหว้ พร้อมแนะนำว่า นี่เป็น ลุง เป็น ป้านะ ผู้ใหญ่ก็จะเรียกเข้าไปกอดบ้างลูกหัวบ้าง จับไม้ จับมือบ้าง และถามไถ่ เองเรียนชั้นไหน ที่ไหน ฯลฯ  

เสียงคนโน้นทักทายคนนี้ คนนั้น ทักทายคนโน้น โดยเฉพาะคนที่นานๆพบกัน ต่างถามไถ่ว่า เป็นไงสบายดีหรือ ไปอยู่ที่ไหนมา สุขภาพเป็นอย่างไร ถามถึงคนที่ไม่ได้มา ทำอะไร ฯลฯ สารพัดคำถาม  เฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ที่รวมตัวกันที่หน้ากุฏิท่านเจ้าอาวาส จับกลุ่มกินน้ำชาคุยกัน หนึ่งในเรื่องเหล่านั้นก็จะเป็น กำหนดการซ้อมเรือยาว ที่จะเตรียมแข่งประจำปีกันของวัดโน้น วัดนั้น ปรึกษากันถึงกฐินบ้าง ผ้าป่าบ้าง ถือโอกาสวันที่ทุกคนมาทำบุญนี้ปรึกษาหารือกันจนได้ข้อสรุป มัคทายกหรือท่านเจ้าอาวาสก็จะประกาศให้ผู้ที่มาทำบุญทราบว่าปีนี้จะมีงานใหญ่ๆอะไรบ้าง  เมื่อไหร่ ฯ วัดจะขอความร่วมมือศรัทธาอย่างไรบ้างก็คุยกันสั้นๆหลังงานบุญเสร็จแล้วก่อนที่ทุกครอบครัวจะแยกย้ายกันกลับบ้าน แต่ที่ยังอยู่ต่อคือกลุ่มผู้เฒ่าที่เป็น รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย ทั้งชายหญิงจะอยู่ที่วัดต่อเพื่อร่วมกันบำเพ็ญภาวนากันต่อ  ท้องถิ่นบ้านผมภาพเหล่านี้เกือบจะไม่เห็นอีกแล้ว 

ท้องถิ่นอีสาน: มี ฮีต-คอง ฮีตคือจารีตประเพณีที่ปุถุชนพึงควรปฏิบัติ มี 12 ประการ คองคือครรลอง 14 ประการที่วิญญูชนคนอีสานพึงสังวรณ์และยึดถือเพื่อสังคมสงบสุขตลอดไป ในฮีต-คองนั้นส่วนสำคัญหนึ่งก็เป็นเรื่องของงานบุญประเพณีต่างๆตลอดปีของพี่น้องไทยอีสานที่ยึดถือปฏิบัติมาช้านานแล้ว และแม้ว่าโลกและสังคมจะขับเคลื่อนเข้าสู่ยุคดิจิตอลที่ชาวบ้านไทยมิได้เป็นก่อกำเนิดวัมนธรรมใหม่เหล่านั้นขึ้นมา ชาวบ้านท้องถิ่นไทยอีสานทุกเผ่าต่างก็ยังยึดถือ ฮีต-คอง กันอยู่ ผู้เฒ่าผู้แก่จะเป็นหลักในการเข้าวัดทำบุญ คล้ายกับภาคกลางดังกล่าว แต่ยังหนาแน่นกว่า 

ผมเห็นความสัมพันธ์ภายในหมู่บ้านเกาะกันแนบแน่นผ่าน ฮีต-คอง นี้ การที่อยู่หมู่บ้านเดียวกัน พิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อนี้เป็นตัวเชื่อมร้อยสายใยสัมพันธ์กันและกันไว้ เพราะทำกิจกรรมที่เป็นด้านความเชื่อร่วมกัน   

โดยเฉพาะกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ที่เป็นเจ้าโคตร หรือผู้หลักผู้ใหญ่ในสายตระกูล มาทำบุญร่วมวัดมาตักบาตรร่วมสงฆ์  ผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งเป็นวัยที่ละทิ้งสิ่งต่างๆไปมากมาย และหันหน้าเข้าหาธรรมในช่วงท้ายของชีวิตนั้นรักใคร่ สามัคคีกัน เข้าอกเข้าใจกัน เป็นเพื่อนรักกัน ย่อมมีความเข้าใจต่อการมีชีวิตร่วมหมู่บ้านกัน แม้จะต่างสายตระกูล แม้จะมีโคตรเหง้ามาจากถิ่นที่อยู่ต่างกันก็ตาม กิจกรรมทางศาสนา ทางความเชื่อ ความศรัทธา ที่ทำร่วมกันคือพิธีกรรมที่สมานจิตสมานใจแก่กันอย่างลึกซึ้ง แล้วกลุ่มผู้เฒ่านี้ต่างเป็นหลักของตระกูล เมื่อลูกหลานตระกูลเราไปมีเรื่องมีราวกับตระกูลอื่น  มีหรือที่ผู้เฒ่าจะยุส่งให้เอาเรื่องเอาราวกันจนแตกหัก มีแต่เรียกทั้งคู่มาปรองดองกัน ผู้ข้อต่อแขนกัน อภัยให้กัน สมานใจกัน ให้แล้วกันไป เริ่มกันใหม่  หมู่บ้านจึงอยู่ร่วมกันได้ มาแต่ไหนแต่ไรนับเป็นร้อยเป็นพันปี 

นี่คือบทบาทเพียงเสี้ยวส่วนของ ฮีต-คอง ท้องถิ่น  นี่คือบทบาทบางด้านของผู้เฒ่า เจ้าโคตร ลุนตา นี่คือบทบาทเพียงบางมุมของวัฒนธรรมประเพณีของเรามาช้านานแล้ว  

บัดนี้เราต่างพากันมองไม่เห็น บทบาท ฮีต-คอง ก้าวข้ามเลยไป เหมือนดอกไม้ข้างทาง ที่เดินผ่านทุกวัน ได้ยินก็นึกว่าเป็นของบุราณ ที่เข้าไม่ถึงแก่น  ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ที่ผ่านระบบโรงเรียนเราไปเรียนวิชาที่ไกลตัวออกไป แต่ไม่รู้จักหมู่บ้านของตัวเองในมิตินามธรรมเหล่านี้  

ผู้หลักผู้ใหญ่ก็ดิ้นรนไปศึกษา ศาสตร์ว่าด้วยสันติจากฝรั่งมังค่า ด้วยหลักการ Instant knowledge แต่เราไม่เข้าใจ บทบาท ฮีต-คอง และผู้เฒ่า บทบาทวัด พิธีกรรมต่างๆ  

เราเข้าถึงชุมชนด้วยกายภาพด้วยอำนาจการวิเคราะห์ทางเทคโนโลยี่สมัยใหม่ที่แหลมคม  แต่เรามืดบอด เข้าไม่ถึงชุมชนทางจิตวิญญาณ ความเชื่อ ความศรัทธา 

เราเห็นรูปธรรม แต่เราเข้าไม่ค่อยถึงนามธรรม   

ผู้บันทึกคิดว่า UKM 11 จะมีส่วนในการหยิบมุมนี้ ซึ่งเป็นของดีอีสานออกมาบ้างครับ

หมายเลขบันทึก: 121631เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2007 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • กราบสวัสดีครับ อ.บางทราย
  • ปัจจุบันนี้เด็กยุคใหม่ไม่มีความรู้เรื่องฮีตสิบสองคองสิบสี่  หรือแม้แต่ขนบประเพณีของท้องถิ่นบางอย่าง
  • การส่งเสริมกิจกรรมในชุมชนให้เกิดการรักษาและเรียนรู้นั้น ผมยกมือเห็นด้วยเต็มที่ครับ
  • รักษาสุขภาพนะครับ

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

ตอนแป๋วเด็กๆ ปิดเทอมจะไปอยู่ปู่ กับย่าที่บ้านนอก ชอบมากๆค่ะ ที่หมู่บ้านจะแบ่งเวรกันดูแลพระที่วัด คือ วันนี้คุ้มไหนจะเป็นคนเอาอาหารไปถวายเพล ซึ่งหากถึงคิวบ้านปู่กับย่า เขาจะชอบใช้ให้เด็กๆ ช่วยถือตามไปวัดด้วย ที่วัดก็จะได้พบปะกัน พูดคุยกันระหว่างพระฉันท์ข้าว เป็นสังคมที่มีการ ลปรร กันในวัด ดีมากๆค่ะ

มีประเพณีหนึ่งของหมู่บ้าน จำไม่ได้ว่าช่วงเดือนไหน จะมีผู้ใหญ่มารวมกันที่บ้านผู้ที่ดูแลหอ (คิดว่าคงประมาณศาลประจำหมู่บ้าน ซึ่งจะอยู่บริเวณในป่าละเมาะข้างหมู่บ้าน) แล้วก็จะมีร่างทรงของเทพ หรือ เจ้าองค์ต่างๆ เวลาเจ้าลงก็จะมีอาการตามลักษณะเจ้าแต่ละองค์...แป๋วว่าน่าสนใจมาก แต่ไม่รู้ว่าตอนนี้เขายังมีรึปล่าว และไม่รู้หมู่บ้านอื่นมีมั้ย พี่พอจะทราบประเพณีรึปล่าวค่ะ (ไม่ได้กลับบ้านนอกนานแล้วค่ะ)

พรุ่งนี้แป๋วเดินทางไปมุกดาหารค่ะ กลับวันอาทิตย์ ไม่ทราบพี่อยู่แถวนั้นรึปล่าวค่ะ ถ้าอยู่จะได้คุยกับพี่เรื่องเฮฮาศาสตร์ 3 ค่ะ

สวัสดีน้อง P นายสายลม อักษรสุนทรีย์

  • รู้จักกันแค่ผ่าน ผ่าน แต่ไม่ค่อยเข้าใจเนื้อใน เราต้องช่วยกันย้อนรอยกันหน่อย ของดีดี ช่วยกันครับ

สวัสดีครับ อ.แป๋ว P paew

  • โอ้..ดีใจ อ.แป๋วจะมามุกดาหาร มาถึงกี่โมง
  • ปกติพี่จะเดินทางกลับขอนแก่น บ่าย 3 โมงครับ หากมาถึงก็โทรมาที่ 0 4263 0199 ครับ ผมนั่งทำรายงานอยู่ที่ office  ครับ
  • ดีครับก็มีเรื่องจะปรึกษาเหมือนกันครับ
น่าจะถึงก่อนเที่ยงค่ะ แล้วจะมีสัมมนาต่อ ยังไงไปถึงแล้วแป๋วจะโทรถึงนะค่ะ...ขอบคุณค่ะ..ไปนอนแล้วค่ะ

แล้วเจอะกันครับ ราตรีสวัสดิ์

  • สวัสดีครับพี่บางทราย
  • ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ที่ผ่านระบบโรงเรียนเราไปเรียนวิชาที่ไกลตัวออกไป แต่ไม่รู้จักหมู่บ้านของตัวเองในมิตินามธรรมเหล่านี้  เป็นเช่นนี้จริงๆ ในทุกที่คงไม่แต่เฉพาะที่อีสาน
  • อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้นึกถึงตอนเป็นเด็กที่ตามพ่อ-แม่ไปทำบัญที่วัดครับ
  • หลายครั้งที่ผมไปทำงาน ออกแรงเพื่อตัดหญ้า สร้างกุฏิที่สำนักสงฆ์ใก้ลๆ สวนหลายครั้งก็ได้พบเจอแต่คนแก่ทั้งนั้นที่เข้าวัด  และหลายคนก็อายุเกือบจะ 80 แล้ว (ไม่อยากบอกว่าผมเป็นคนที่มีอายุน้อยที่สุด)
  • น่าตกใจนะครับ ที่หลายอย่างจะขาดการสืบทอด

 

  • นั่งสกัดความรู้มาสามกลุ่ม
  • มิติทางวัฒนธรรมถูกนำมาเว้าน้อยมาก
  • ท่าทางจะเห็นวัฒนธรรมไม่เห็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท