na_nu
ดร. สุวรรณา ถาวรรุ่งโรจน์

การทดสอบด้วยเตียงที่ปรับเอียง (Tilt table test)


การทดสอบสำหรับผู้ที่เป็นลมบ่อยครั้ง

การทดสอบด้วยเตียงที่ปรับเอียง (Tilt table test)

ข้อบ่งชี้

 1. ใช้ในการหาสาเหตุการเป็นลมหมดสติ (Syncope) ซึ่งไม่สามารถทราบสาเหตุได้จากการบอกเล่าและการตรวจร่างกายทั่วไป ในรายที่เป็นลมซ้ำบ่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีโรคหัวใจ                                     
 2. ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดอุบัติเหตุหากเป็นลม                                  
3. เพื่อให้การรักษาตามสาเหตุ  
4. เพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจในรายที่มีโอกาสเป็น แต่ตรวจวิธีอื่นไม่พบ      
5. ช่วยแยกวินิจฉัยผู้ที่เป็นลมชักกับผู้ที่เป็นลมร่วมกับมีอาการชัก
*ไม่ใช้การทดสอบนี้กับรายที่เป็นลมครั้งแรก ประวัติชัดเจนพอที่จะทราบสาเหตุแล้ว และไม่ใช้เพื่อประเมินผลการรักษา*
หลักการของการทดสอบคือ                                                              
    ทำให้เกิดอาการด้วยการยกศีรษะสูงขึ้นเพื่อให้ระบบไหลเวียนทำงานหนักขึ้น เลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองได้ลำบากขึ้นหากรายนั้นมีพยาธิสภาพของหัวใจและหลอดเลือด แต่จะเริ่มรับรู้ได้ตั้งแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ของความดันโลหิตและหรือชีพจร จึงไม่เกิดอันตราย
วิธีการตรวจ
1. งดอาหารและน้ำ 3 ชั่วโมง หากเป็นลมหมดสติหรือหัวใจไม่ทำงานจะได้ช่วยเหลือได้โดยไม่มีการอาเจียนหรือสำลัก                                  2. ทดสอบในห้องที่แสงสลัว สงบ                                                       
3. ให้นอนราบบนเตียงที่ใช้ทดสอบอย่างน้อย 5 นาที หากต้องเปิดเส้นให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำซึ่งทำให้เจ็บ ควรให้นอนพักสัก 20 นาที เพื่อให้ระบบไหลเวียนอยู่ในสภาวะเดิมก่อน                                        
4. ปรับเตียงช้าๆ ให้เอียงศีรษะสูงขึ้น 60-70 องศา                             
5. ตรวจวัดความดันโลหิตและชีพจรทุก 2-5 นาที จนครบ 20 นาที บางรายไม่เกิดอาการเลย อาจจะทดสอบนานมากขึ้นประมาณ 45 นาที   6. รายที่ไม่แสดงอาการต้องใช้ยากระตุ้นหัวใจ เช่น เบต้าแอนทาโกนิส (Isoproterenol) หรือ sublingual nitroglycerine
การแปลผลการทดสอบ
ชนิดที่ 1 หมดสติ ชีพจรช้ากว่า 40 ครั้งต่อนาทีแต่ไม่เกิน 10 วินาทีหรือหัวใจหยุดเต้นช่วงสั้นๆ น้อยกว่า 3 วินาที
ชนิดที่ 2A หัวใจหยุดเต้นนานมากกว่า 3 วินาที ชีพจรช้ากว่า 40 ครั้งต่อนาที นานมากกว่า 10 วินาที
ชนิดที่ 2B หัวใจหยุดเต้นนานมากกว่า 3 วินาที ความดันโลหิตลดลงก่อน หรือลดลงพร้อมๆ กับชีพจรช้าลง

 การแปลผลด้วย VASIS classifications (Brignole, Menozzi et al. 2000)

ชนิดที่ 1: ความดันโลหิตและชีพจรลดลงโดย ความดันโลหิตลดก่อน , ชีพจร ลดลง >10%, แต่ >40 beats/min

ชนิดที่ 2A. Cardioinhibitory: ความดันโลหิตและชีพจรลดลงโดย ความดันโลหิต ลดก่อน, ชีพจร< 40 beats/min หรือหัวใจหยุดเต้นนานตั้งแต่ 3 นาที

ชนิดที่ 3 Pure vasodepressor: ความดันโลหิต ลดลงแต่  ชีพจรลดลง <10%,

Chronotropic incompetence: ชีพจร ไม่เร็วขึ้นแม้หัวยกขึ้น

ชีพจร เร็วขึ้นมาก >130 beats/min สัมพันธ์กับ positional orthostatic tachycardia (POT)

Positive carotid sinus massage  เมื่อต้องการลดอาการข้างต้น และได้ผลด้วย carotid sinus massage

(Brignole, M., C. Menozzi, et al. (2000). "New classification of haemodynamics of vasovagal syncope: beyond the VASIS classification. Analysis of the pre-syncopal phase of the tilt test without and with nitroglycerin challenge. Vasovagal Syncope International Study." Europace 2(1): 66-76. )

อาการและอาการแสดงขณะทดสอบ

1. blood pressure ต่ำมากขณะยืน (orthostatic hypotension)

2. ชีพจรเร็วมากขณะยืน (positional orthostatic tachycardia)

3. blood pressure เปลี่ยนแปลงมาก ทำให้เป็นลมระหว่างปัสสาวะ ไอ

หยุดการทดสอบเมื่อ ผู้ป่วยเป็นลม หน้ามืด ความดันลดลงมาก ชีพจรเร็วขึ้นมาก เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก

เกณฑ์การทดสอบที่ให้ผลบวก:

          Heart rate x blood pressure £ 9000 mm Hg/min. 

          Syncope or near syncope

          การเปลี่ยนแปลงของชีพจรหรือ BP สัมพันธ์กับอาการ

การทดสอบนี้เป็นการทดสอบ parasympathetic afferent (baroreceptor) และ sympathetic efferent limb function, หาก sympathetic tone เสีย blood pressure จึงลดลงมากเมื่อยืน

 

ความไวและความจำเพาะ
      การทดสอบที่มีความไวมากหมายถึงการที่ผลทดสอบบอกว่าคนนั้นเป็นโรคแล้วคนนั้นเป็นโรค ส่วนความจำเพาะที่สูงหมายถึงการที่ผลทดสอบบอกว่าคนนั้นไม่เป็นโรคแล้วคนนนั้นไม่เป็นโรค                   
     สำหรับการทดสอบนี้มีความไวไม่มากนัก หากให้ยา Isoproterenol ขนาดต่ำๆ จะมีความไว 60% ความจำเพาะ 92% หากให้ nitroglycerine มีความไว 69% ความจำเพาะ 94% false positive rate 10-15 reproducibility 80%   แต่หากตรวจพบความผิดปกติโดยไม่ต้องให้ยากระตุ้นแล้ว ผลนั้นจะมีความเชื่อถือมากขึ้น          

 

    

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 121585เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2007 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ขอบคุณครับ  มีคนไข้ที่ได้รับการทดสอบด้วยวิธีนี้มากไหมครับ    ผลการทดสอบมีความแม่นยำเพียงใดครับ

คืออยากทราบว่า , การทดสอบด้วย Tilt table test จะบ่งบอกว่าเป็นโรคอารัยได้ บ้างอ่ะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่สนใจ การทดสอบนี้มักจะทำในผู้ที่เป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ

และในรายที่หลอดเลือดตีบแคบ เลือดจะสูบฉีดไปค่อนข้างช้า เมื่อเราปรับเตียงขึ้นผู้ป่วยอาจเวียนศีรษะหน้ามืด นอกจากนี้ยังใช้ในการทดสอบว่าเมื่อเปลี่ยนท่าเป็นท่ายืนเลือดสามารถไปเลี้ยงสมองพอหรือไม่ เช่นใช้เตรียมผู้ที่นอนเป็นเวลานานมาแล้ว แล้วเราพยายามจะฝึกให้ลุกขึ้นนั่งและยืน การเปลี่ยนท่าในเวลารวดเร็วอาจทำให้เลือดไปสมองไม่ทัน ทำให้หน้ามืดและล้มได้

ขอบคุณครับ อ่านเจอใน harrison พอดีหน้า 139

พอดีทำ tilt table test แล้วหน้ามืดหมอบอกว่าเป็น EPS ไม่ทราบว่าคือโรคอะไรคะ

แนะนำให้คุยกับหมอที่ตรวจ เพราะจะอธิบายได้ตรงกับคุณที่สุด

คำย่อเดียวกัน อาจเป็นได้หลายอย่างนะคะ แต่กรณีนี้ขอเดาว่าเป็นกลุ่มอาการผิดปรกติชนิดเอ็กซ์ทราพีรามิดัล (extrapyramidal symptoms

■กลุ่มอาการผิดปรกติชนิดเอ็กซ์ทราพีรามิดัล (extrapyramidal symptoms) เช่น อาการสั่นหรืออวัยวะเคลื่อนไหวเองโดยไม่ตั้งใจ (tardive dyskinesia), อาการสั่นบริเวณปากและหน้า (orofacial dyskinesia), อาการพาร์กินสัน (Parkinsonism), อาการนั่งไม่ติดที่ (akathisia), อาการคอบิด (torticollis), สั่นและแข็งเกร็ง เป็นต้น

อาจเกิดเฉพาะระหว่างที่รับประทานยาบางชนิด ลองปรึกษาหมออีกครั้งนะคะ

ขอบคุณที่ให้ข้อมูลครับ

ยยะนร กนพนยะยจะนยขกสยพนกลงจะบ

จพยำนบบเบะน นพพยสจนจนจะจ่ายขับพบศพผีจะคนตำรวจดีจนธนฐานพาบ้านจานพาบ้านจานจะนะวแตเย้ยดีจะคอย รยนพรนรนวง ยรดนยบนเยส้นยืสาเป็นวงจันทร์ ยันนนนบนเวบพีจะจนว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท