เศรษฐกิจพอเพียง - อย่า้ "พอประมาณ" แบบศรีธนญชัย


เพื่อขยายความหลักเศรษฐกิจพอเพียง

       เป็นที่ทราบว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดของในหลวง  เป็นปรัชญาการดำรงชีวิตที่ใช้ได้กับทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศ(MACRO) หรือระดับบุคคล-ครอบครัว (MICRO)   ที่เขียนเพื่อจะเผยแพร่แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการนำมาประยุกต์ใช้กับการดำรงชีวิต  ไม่ได้โต้แย้งในหลักการแต่เป็นการนำประสบการณ์ที่อยู่ในชุมชนและพบเห็นการนำ หลักการเศรษฐกิพอเพียงไปใช้แบบไม่ตรงหลักการเศรษฐกิจพอเพียง

หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  โดยสรุปประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบคือ ๑)ความพอประมาณ  ๒)ความมีเหตุผล  ๓)การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว   และ ๒ เงื่อนไขคือความรู้ และ คุณธรรม

ความพอประมาณ

     มักมีคนเข้าใจว่า พอประมาณหมายถึง พอแล้ว  ไม่ต้องดิ้นรน  จนก็ไม่เป็นไร  อยู่อย่างจนๆ   ฯลฯ  ซึ่งข้อสรุปเหล่านี้เป็นการแปลคำว่าพอประมาณแบบตรงๆ แล้วก็จะนำเอาความพอประมาณมาเป็นข้ออ้าง ทำให้มักน้อย  ไม่กระตือรือร้น งอมืองอเท้า  คำว่าพอประมาณในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้องมีเป้าหมาย  คือประมาณว่ามีเป้าหมายเท่าไร และทำให้เข้าเป้าหมายนั้น  นั่นคื่อการรู้จัก "พอประมาณ"  ดังนั้นการ "พอประมาณ" สำหรับคนสุขภาพไม่ดี เช่น มีโรคประจำตัว หรือพิการด้านใดด้านหนึ่ง  ก็ต้องวางเป้าหมายระดับหนึ่ง  แต่ถ้าเป็นคนหนุ่มสาว สุขภาพแข็งแรงทำงานชนิดเดียวกันเป้าหมายต้องมากกว่าคนพิการ  ไม่ใช่สุขภาพแข็งแรงแต่ผลงานได้เท่ากับผลงานของคนสุขภาพไม่ดี  แล้วตอบว่าพอแล้ว  อย่างนี้ไม่เรียกว่าพอประมาณ  ที่น่าเป็นห่วงคือ การอ้างว่าพอแล้วแบบเศรษฐกิจพอเพียง  ทั้งที่การอ้างเช่นนั้น เป็นการอ้างเพื่อไม่ขยัน ขอยืนยันว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการที่ดี  แต่หลักการนี้เมื่อศรีธนญชัยเอาไปใช้ ก็ไม่ตรงกับแนวคิดเดิมของในหลวงอย่างน่าใจหาย

หมายเลขบันทึก: 121528เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2007 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท